เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140912 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 435  เมื่อ 04 ส.ค. 18, 19:13

ขอขยายความตามความรู้ที่พอจะมี หรือจำเป็นจะต้องมี (เพื่อประกอบในการทำงานทางวิชาการด้านธรณีฯที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเขื่อน)

ส่วนเปราะบางที่สุดของเขื่อนก็คือสันเขื่อน เราจะเห็นสันเขื่อนส่วนมากจะมีความกว้างขนาดประมาณถนนสองถึงสามเลน ก็ลองนึกดูภาพน้ำที่ไหลหลากท่วมถนนที่เราใช้สัญจรกันตามปกตินะครับ ยังทำให้ถนนขาดได้ สันเขื่อนก็ไม่ต่างกันนัก  เพื่อกันไม่ให้น้ำไหลบ่าข้ามสันเขื่อน ก็เลยต้องทำทางน้ำให้ไหลออกเพื่อตัดตอน ที่เราเรียกว่า spill way ซึ่งก็มีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณน้ำที่จะระบายได้ ซึ่งตามปกติก็จะไม่ระบายน้ำในปริมาณที่มากไปกว่าปริมาณน้ำที่ไหลสูงสุดของแม่น้ำที่สร้างเขื่อนกั้นไว้ ก็คือพยายามมิให้เกินกว่าปริมาณน้ำสูงสุดที่เคยเป็นไปตามธรรมชาติที่ผ่านๆมา ก็หมายความว่าที่อดีตน้ำเคยท่วมเช่นใดก็จะพยายามไม่ปล่อยน้ำให้ท่วมต่างไปจากเคยมีในอดีตมากนัก     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 436  เมื่อ 04 ส.ค. 18, 20:04

ก็เข้ามาในอีกเรื่องหนึ่ง   เขื่อนนั้นมีหลายแบบ  แบ่งแบบง่ายๆก็มี 3 แบบ คือในลักษณะใช้ค้ำยันตั้งแผงขวางแม่น้ำ ใช้น้ำหนักของกองหินดินทรายกองขวางแม่น้ำ   และการทำแบบโค้งเอาสองข้างไปยันไว้ที่ไหล่เขาทั้งสองข้าง (เขื่อนขนาดใหญ่นิยมทำกันแบบนี้) 

เขื่อนแบบโค้งนี้ก็มีการทำกันทั้งแบบใช้คอนกรีต แบบหินทิ้งโดยมีแกนดินเหนียว หรือแบบดาดหน้าด้วยคอนกรีต

เขื่อนแบบมีแกนดินเหนียวนี้ เป็นที่นิยมสร้างกันเพราะมีความยืดหยุ่นสูง คือคล้ายคันธนู จะโก่งไปมามากน้อยตามปริมาณน้ำที่อยู่หลังเขื่อน แต่ตัวแกนดินจะต้องมีความชุ่มชื้นที่พอเหมาะ มากไปก็จะคล้ายโคน แห้งไปก็เหมือนดินแห้งๆ จะต้องรักษาความชุ่มชื้นให้พอเหมาะคล้ายกับดินเหนียวที่เราใช้อุดน้ำตามร่องหรือรูรั่วต่างๆ  น้ำในเขื่อนขึ้นเร็วไปก็ไม่ดี เพราะดินยังชุ่มน้ำไม่ทัน....   

ครับ..ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับช่วงเวลาและระยะเวลาของการกักน้ำและการปล่อยน้ำให้มีความพอเหมาะเพื่อรักษาประสิทธิภาพของเขื่อน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 437  เมื่อ 05 ส.ค. 18, 19:02

เมื่อมีฝ่ายคิดที่จะสร้างเขื่อน ก็จะมีฝ่ายที่ต่อต้าน  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติทั่วไปในโลก ซึ่งประเด็นที่นำขึ้นมาถกเถียงกันเกือบทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในสื่อจะอยู่ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องทางนิเวศน์วิทยาที่เกิดมาจากการเข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือรบกวนระบบตามปกติของธรรมชาติ   เรื่องอื่นๆก็เช่น ด้านเศรษกิจ ด้านวิศวกรรม ด้านธรณีวิทยา และด้าน Earth science อื่นๆ.... เรื่องเหล่านี้มักจะไม่ปรากฎเป็นข่าวสาธาณะ ด้วยอาจจะเป็นเรื่องทางวิชาการลึกๆและถกเถียงกันอยู่เฉพาะในวงแคบๆ

เรื่องทางธรณีวิทยาที่มักจะกล่าวถึงมักจะเกี่ยวกับเรื่องของการสร้างเขื่อนคล่อมรอยเลื่อน เรื่องของฐานราก และเรื่องของแผ่นดินไหว ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในสนาม รายงานทางวิชาการ และสถิติต่างๆ ฯลฯ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 438  เมื่อ 05 ส.ค. 18, 20:04

เรื่องสร้างเขื่อนคล่อมรอยเลื่อน  เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องตกใจกัน และก็น่าที่จะคิดได้เช่นนั้น เพราะว่าเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหลายจะสร้างขวางแม่น้ำในช่วงที่แม่น้ำไหลตรงผ่านช่องเขาแคบๆ  ซึ่งรับรู้กันว่า บรรดาเส้นตรงที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศหรือบนแผนที่ภูมิประเทศเหล่านั้นเป็นแนวของรอยเลื่อน แล้วก็คิดว่ามันจะต้องมีโอกาสที่รอยเลื่อนจะเคลื่อนตัวจนเกิดแผ่นดินไหวที่ตรงนั้น   

เรื่องนี้มีทั้งถูกและไม่ถูก  บรรดาเส้นตรงเหล่านี้ปรากฎให้เห็นจากหลายสาเหตุ เรียกรวมกันว่า lineament   หากจะเป็นรอยเลื่อนก็ยังต้องยังต้องรู้ต่อไปอีกว่ามันเกิดมาได้อย่างไร (ภายใต้ภาวะแรงดัน แรงดึง หรือแรงเฉือน) มันมีความยาวและมีระนาบลึกลงไปใต้ดินมากน้อยเพียงใด มันมีอายุและมีประวัติการเคลื่อนตัวอย่างไร หมดพลังไปแล้ว (inactive)หรือยังคงมีพลังอยู่ (active) หรือหยุดการเคลื่อนตัวมานานแล้วมากน้อยเพียงใด 

เรื่องเหล่านี้เป็นข้อมูลทางธรณีวิทยาที่นำไปพิจารณาในการออกแบบเขื่อน ซึ่งเขื่อนเองก็ให้ความความสำคัญอย่างสูงตั้งแต่ออกแบบจนสร้างเสร็จ และก็ยังติดตั้งเครื่องมือใว้ที่เขื่อนเพื่อติดตามตรวจสอบตลอด

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 439  เมื่อ 05 ส.ค. 18, 20:25

เอาเป็นว่า  ที่เขื่อนเจ้าเณรบนแม่น้ำแควใหญ่และเขื่อนเขาแหลมบนแม่น้ำแควน้อยนั้น มีการติดตั้งเครื่อง accelerometer เพื่อวัดแรง (อัตราเร่ง) จากแผ่นดินไหวในภูมิภาคนั้นที่มากระทำต่อตัวเขื่อน ซึ่งเท่าที่มีแผ่นดินไหวเกิดในไทยและในพม่าในช่วงระยะเวลาที่การสร้างเขื่อนเสร็จแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีผลกระทบต้องมีความกังวลต่อตัวเขื่อนเลย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 440  เมื่อ 06 ส.ค. 18, 20:18

สำหรับแผ่นดินไหวที่มีการพูดถึงว่า มีเกิดเพิ่มมากครั้งขึ้นในพม่าและเกี่ยวโยงกับรอยเลื่อน Sagan (ที่วางตัวเป็นแนวยาวตามขอบชายเขาทางตะวันตกของที่ราบของพม่า) ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจจะทำให้บางรอยเลื่อนในประเทศไทยขยับตัวและเกิดแผ่นดินไหว หรือแผ่นดินไหวที่เกิดในพม่าอาจจะยังผลให้เกิดความเสียหายในไทยได้นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้   ทั้งนี้ ขนาดของความรุนแรงของแผ่นดินไหวในไทยจะอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยกว่าที่เกิดขึ้นรอบๆเพื่อนบ้านเรา  ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมีมากหรือน้อยเช่นใด จะไปขึ้นอยู่กับเรื่องในด้านคุณภาพ (การออกแบบ โครงสร้าง การคำนวนทางวิศวกรรม ด้านวัสดุ และผู้ทำการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง)  สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งหลายจึงมีการออกแบบที่ต้องผนวกงานทางวิศวกรรมในเรื่องของความคงทนต่อการสั่นสะเทือน การขยับโยกเยกของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ (แผ่นดินไหว ลม...) 

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 441  เมื่อ 06 ส.ค. 18, 21:06

เมื่อมีการเอาเรื่องแผ่นดินไหวมากล่าวคู่กับเรื่องเขื่อน  ก็คงจะทำให้ทุกคนจินตนาการไปในเรื่องเขื่อนอาจจะแตกเนื่องจากแผ่นดินไหว  ผมนึกไม่ออกว่ามีการบันทึกเรื่องแผ่นดินไหวทำให้เขื่อนแตกบ้างมากน้อยเพียงใด ที่แน่ๆมีที่ญี่ปุ่นอยู่ครั้งหนึ่ง ที่อื่นๆก็เป็นแต่เพียงเรื่องของความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณเฉพาะจุดหรือกับอุปกรณ์ต่างๆ

ผมเห็นว่า เรื่องของดินถล่มในพื้นที่อ่างเก็บน้ำน่าจะเป็นประเด็นที่ควรจะให้ความสนใจมากกว่า เพราะมันเกิดขึ้นได้เนื่องจากความฉ่ำของน้ำในดินที่อยู่ตามพื้นที่ลาดเอียง(ไหล่เขา)ต่างๆ  ฉ่ำน้ำมากไปดินก็ไหลเองได้ แต่หากได้แรงช่วยจากแผ่นดินไหวก็เกิดได้เร็วกว่ากำหนด  แท้จริงแล้วมันก็เป็นเหตุการปกติที่มีอยู่เรื่อยๆในช่วงอายุต้นๆของเขื่อน แต่ในปริมาณน้อย  แต่หาก slide ในภายหลังในปริมาณมาก มันก็จะลงไปแทนที่น้ำ ดันให้น้ำมีระดับสูงขึ้น ขยับต่อเนื่องเคลื่อนไปเป็นคลื่นดั่ง tsunami น้อยๆ แล้วก็กระฉอกข้ามสันเขื่อนไป  กลายเป็นเรื่องของน้ำท่วมฉับพลันไป (flash flood)    เพียงแต่คลื่นแผ่นดินไหว ที่เกืดหรือจะเกิดในบ้านเรา ด้วยตัวมันเองก็คงจะมีแรงไม่มากพอที่จะทำให้น้ำในเขื่อนกระเพื่อมจนกระฉอกข้ามสันเขื่อนได้อย่างง่ายๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 442  เมื่อ 07 ส.ค. 18, 18:49

ขอพ่วงไปเรื่องเขื่อนแตกใน สปป.ลาว หน่อยนึง

เท่าที่ผมพอจับความได้จากสื่อต่างๆ  ก็พอจะสรุปได้ว่า เขื่อนที่แตกนั้นเป็นเขื่อนประเภทที่เรียกว่า Saddle Dam  ซึ่งในความเข้าใจง่ายๆก็คือทำเพื่อยกระดับขอบอ่างน้ำในบางบริเวณที่มีระดับต่ำกว่าระดับน้ำที่น่าจะกักเก็บได้โดยเขื่อนหลัก  เขื่อนแบบนี้สามารถช่วยเขื่อนหลักให้สามารถกัดเก็บน้ำได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้อีกมากในกรณีที่มีวัตถุประสงค์ในเรื่องปริมาณน้ำเพื่อการใช้สอย หรือเพื่อการยกระดับน้ำในอ่างให้สูงขึ้นเพื่อจะได้ head มากขึ้นสำหรับใช้ในการปั่นไฟ หรือทำเพื่อวัตถุประสงค์ทั้งสองเรื่อง 

ในเมืองไทยก็มีเขื่อนประเภทนี้เหมือนกัน อยู่แข็งแรงทนทานผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายสิบปีแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 443  เมื่อ 07 ส.ค. 18, 19:16

ครับก็พอจะแชร์ความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเรื่องของเขื่อนได้บ้าง    ด้วยได้เคยสำรวจทางธรณีฯ ถกกันเองในทางวิชาการในพื้นที่ๆจะสร้างเขื่อนก่อนที่จะลงมือสร้างจริง ส่งต่อข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญ ได้ดูได้เห็นกระบวนการสร้าง ได้เห็นปัญหาและการแก้ไข รวมทั้งร่วมถกและชี้แจงในเรื่องสำคัญๆบางเรื่องพอควร ก็มี เขื่อนท่าปลา เขื่อนเจ้าเณร เขื่อนเขาแหลม เขื่อนท่าทุ่งนา     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 444  เมื่อ 07 ส.ค. 18, 19:29

กำลังเตรียมจะขยายความเรื่องของรอยเลื่อนและแผ่นดินไหวด้วยภาพแบบง่ายๆ เพื่อความเข้าใจลงไปถึงแก่น ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นสาธารณะประโยชน์สำหรับคนทั่วไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 445  เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:51

https://mgronline.com/around/detail/9610000082751

ด่วน!! USGS ประกาศ เกิด "แผ่นดินไหวลอมบ็อก" ความแรง 6.3 วันนี้ ยังไม่มีรายงานความเสียหาย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 446  เมื่อ 21 ส.ค. 18, 15:19

แผ่นดินไหว 8.2 ใกล้หมู่เกาะฟิจิ มีการเตือนสึนามิ ยังไม่ทราบความเสียหาย

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1357481

ตอนนี้ในไลน์แชร์กันว่อน ตามเนื้อหาข้างล่างนี้ค่ะ
ก็รู้ละว่าอะไรที่ส่งทางไลน์โดยไม่มีที่มาชัดเจน เชื่อไม่ค่อยได้   แต่ก็อยากฟังผู้รู้ชี้แจงอีกที

แผ่นดินไหวใหญ่ที่ ฟิจิระดับ 8.2 ลึก 563 กม.เมื่อเช้าตามเวลาบ้านเรา มีคนทำนายว่าเป็นการไหวที่แรงสุดของระดับความลึกที่สุดที่เคยเห็น เลยทำนายว่า ภายใน 1 - 7 นอกจากนี้ จะมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ไปทั่วทั้งโลก และต้องระวังเรื่อง สึนามิด้วย

ดัชซินบอกว่า พลังงานไม่สูญหายไปไหน
แผ่นดินไหว 8.2 ริตเตอร์ ลึก 560 กม.ที่ฟิจิในเวลา 7.19 น.ของเช้าวันนี้
มันคือแผ่นดินไหวที่ใหญ่และลึกที่สุดของการเกิดแผ่นดินไหวในระดับนี้
เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เมื่อดูรัศมีของวงกลมบ่งบอกถึงอาณาบริเวณพื้นที่จะได้รับผลกระทบ
จะเห็นได้ว่าครอบคลุมโลกทั้งใบ

ดังนั้นในอีก 1-7 วันข้างหน้า สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิด
1.แผ่นดินไหวระดับ 8.2+1.1=9.3 ริตเตอร์ ในบริเวณใกล้เคียง

2.แผ่นดินไหวไปทั่วโลก
ด้วยแรงดันที่จะขึ้นมากระทบกับแผ่นเปลือกโลกทะลุออกมาตามรอยแยกที่ง่ายต่อการปลดปล่อยพลังงานโดยจะเริ่มวิ่งตามเส้นสีแดงออกมาทางซ้ายมือมุ่งหน้าไปอินโดนีเซียทะลุไปถึงยุโรปหรืออกมาตามลูกศรคู่สีแดงข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปอเมริกาใต้หรือขึ้นเหนือไปญี่ปุ่น อลาสก้า ตีลงมาหาชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ

3.จะมีผลกระทบรุนแรงกับภูเขาไฟทั่วโลก

จะเกิดขึ้นอย่างใดอย่าวหนึ่ง หรือเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมด ตอนนี้คงยังบอกไม่ได้เพราะเป็นเรื่องใหม่ ที่แน่ๆก็คือนิวซีแลนด์เจอไปแล้ว 3 ครั้ง 6.0 5.7 และ 5.0ในวันนี้
มีการไม่รายงาน และสุดท้ายก็ยอมรายงานให้แล้วว่า เมืองไครซ์เชิร์ช นิวซีแลนด์เจอ 5.0. (ที่นี่มีวัดพุทธสามัคคีของหลวงพ่อวัดนาคปรกท่านไปสร้างไว้ อ.อำไพ เพิ่งจะชวนนบพ์ไปช่วยงานสอนกรรมฐานเดือนพย.นี้
นบพ์ได้ตอบท่านไปว่า"เกรงว่าจะไม่เหลือให้ได้ไป" ท่านก็ งง งง กับคำตอบ วันนี้อาจจะเริ่มเข้าใจสิ่งที่นบพ์พูดไป

ดังนั้นขอให้ช่วยกันแจ้งเตือน และส่งข่าวนี้ไปให้กับผู้ที่อยู่อาศัยตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก ที่จัดเป็นพื้นที่เสี่ยง เช่นตามแนววงแหวนไฟ ให้ได้รับรู้รับทราบกันด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 447  เมื่อ 21 ส.ค. 18, 18:50

เพิ่งไปอ่านพบว่ามีการแชร์เรื่องดังกล่าว ซึ่งอ่านแล้วดูแปลกๆ เลยย้อนไปสืบค้นต้นตอที่เป็นภาษาอังกฤษและอื่นๆ ก็ได้พบว่าเป็นบทความการวิเคราะห์ที่ปรากฎอยู่ในสื่อที่ชื่อว่า Dutchsinse  ซึ่งนิยมเขียนข้อวิเคราะห์เชิงวิชาการที่เกี่ยวกับโลก (earth science)  ซึ่งข้อเขียนเหล่านั้นมักจะถูกตอบโต้โดยนักวิชาการสายนั้นๆว่า เป็นข่าวสารที่ไม่เป็นเรื่องจริง (fake news) และถูกจัดว่าเป็นข่าวสารทางวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudoscience)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 448  เมื่อ 21 ส.ค. 18, 20:29

เพื่อความสบายใจ  ขออธิบายดังนี้ก่อนครับ

แผ่นดินไหวขนาดไม่ใหญ่ที่อยู่ไม่ลึกจากผิวโลกมีอันตรายมากกว่าแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อยู่ลึกๆใต้ผิวโลก

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้เกาะฟิจิในครั้งนี้ อยู่ในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกมุดตัวลงไปข้างใต้แผ่นออสเตรเลีย  ซึ่งนักวิชาการในสาขาเรื่องการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก (Plate tectonic) เรียกบริเวณนี้กันว่า Tonga Kermadec arc หรือ Tonga Kermadec system ซึ่งมีแนวต่อขึ้นไปทางเหนือผ่านหน้าทิวเกาะญี่ปุ่น และลงใต้ผ่านฝั่งตะวันออกของนิวซีแลนด์  จัดเป็นพื้นที่ๆเป็นครูแห่งความรู้เกี่ยวกับระบบกลไกต่างๆของ Plate tectonic  (จุดที่เกิดแผ่นดินไหวลึกในระดับนี้แสดงถึงบริเวณที่เป็นระนาบด้านล่างของแผ่นแปซิฟิก)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 449  เมื่อ 22 ส.ค. 18, 19:27

ขยายความแบบสังเขปได้ดังนี้ ครับ

เมื่อเอาโลกกลมๆของเรามาผ่าดู จะพบว่ามันแยกออกเป็นชั้นๆ ส่วนในสุดเรียกว่า Core (ด้วยคลื่นแผ่นดินไหวที่เดินทางผ่านส่วนในของโลก ทำให้เรารู้ว่ามันแบ่งออกสองชั้น)   มีส่วนกลางหุ้มอยู่รอบๆ core เรียกว่า Mantle (คลื่นแผ่นดินไหวบอกว่ามันแยกออกเป็นสองชั้นอีกเช่นกัน)  แล้วก็มีส่วนที่หุ้มอยู่รอบๆชั้น mantle จนถึงเปลือกโลก  ส่วนนี้แยกย่อยออกเป็นส่วนผิวนอกสุดที่เรียกว่าเปลือกโลก (Earth Crust) หนาประมาณ 10-30 กม.+/-  ลึกลงไปใต้ผิวเปลือกโลกจะเป็นชั้นของแข็งหนาประมาณ 150 กม. (เรียกว่า Lithosphere) ซึ่งเป็นชั้นที่เสมือนลอยตัวอยู่บนชั้นของไหล (ที่เรียกว่า Asthenosphere) ซึ่งมีความหนาประมาณ 500 กม.   

บวกลบโดยรวมๆแล้ว ความลึกจากผิวโลกลงไปถึงส่วนล่างสุดของชั้นของไหลก็จะประมาณ 700+/- กม. ซึ่งเป็นบริเวณส่วนหนึ่งในกระบวนการทางธรรมชาติต่างๆที่ยังให้เกิดผลทางด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีกระทบต่อสิ่งมีชีวิต (Biosphere)ต่างๆบนผิวโลก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.111 วินาที กับ 19 คำสั่ง