เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141123 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 19:12

นึกขึ้นได้ว่า ผู้ที่เขียนเผยแพร่เรื่องภูเขาไปที่ประจวบฯนี้ อาจไปเอาตำแหน่งของ อานัคการากาตัว (Anak Krakatoa) ที่มีการ pin ผิดที่ใน Google Earth  แล้วเอาเรื่องราวพัฒนาการของมันมาบรรยายเสริมเติมแต่งเพิ่มเข้าไป     กองเปลือกมะพร้าวที่ติดไฟอยู่ในแถบนั้นก็ดูจะเข้าบรรยากาศของลาวา ควัน และเถ้าถ่าน ฯลฯ   

     ณ บริเวณที่เป็นภูเขาไฟกะรากะตัว (Krakatoa) ซึ่งได้ระเบิดครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งเมื่อร้อยกว่าปีมี่ผ่านมานั้น จัดเป็น hot spot (เบ้าหลอมหิน) ที่สำคัญจุดหนึ่ง เมื่อกะรากะตัวระเบิดไปแล้ว ไม่นานก็มีรุ่นลูกค่อยๆปูดตามขึ้นมาในพื้นที่เดิม ซึ่งมีการตั้งชื่อว่า Anak Krakatoa เหตุการณ์ที่เกิดอย่างต่อเนื่องมาก็คือ  มีผืนหินค่อยๆปูดขึ้นมาจากทะเล ค่อยๆสูงขึ้นๆ จนในปัจจุบันถึงสูงประมาณ 300 เมตร  มันก็พ่นทั้งเถ้าถ่านและปล่อยหินละลายไหลออกมาตลอดเวล   ไม่รู้ว่าอีกนานเพียงใดจึงจะระเบิด (อีกหลายรอยปีแน่นอน) อย่างไรก็ตาม ก็มีการเฝ้าติดตามศึกษาตลอดมา 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 18 ม.ค. 15, 18:34

กลับมาต่อเรื่องพื้นที่แผ่นดินไหวในเขตประเทศไทยที่เราน่าจะพึงให้ความใส่ใจ

กลับไปทบทวนนิดนึง      ต้นตอของแผ่นดินไหวปกติจะจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ พวกที่เกิดจากการขยับปรับตัวของผิวโลก  พวกที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก  และพวกที่เกิดจากผลของการกระทำของมนุษย์

พวกแรก เป็นพวกที่เราอยู่กับมัน เช่นเดียวกันกับคนทั้งโลก   พวกที่สอง เราไม่ได้อยู่ในพื้นที่ๆเป็นเนื้อตัวของมัน เราอยู่ห่างจากมันพอสมควร แต่ได้รับผลกระทบปลายแถวจากมัน   พวกที่สาม เราคงมีกิจกรรมน้อยมากที่จะไปเกี่ยวข้องกับมัน

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ณ ที่ใดๆในแผ่นดิน คำอธิบายเกือบทั้งหมดมักจะไปเกี่ยวพันกับรอยเลื่อนใดลอยเลื่อนหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมันโยงกันไปหมด และในหลายๆกรณีก็ยังโยงไปถึงผลจากการกระทำของมนุษย์ร่วมด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 18 ม.ค. 15, 19:15

คำว่ารอยเลื่อน หรือ Fault ที่เราได้ยินกันในคำอธิบายหรือในการอ้างถึงบ่อยๆนั้น  จะมีอีกวลีหนึ่งต่อท้ายเข้ามา ได้แก่  ...มีพลัง 

รอยเลื่อนมีพลัง ตรงกับศัพท์ว่า active fault  ซึ่งหมายถึงว่า มันยังมีพลังงานหรือมีการสะสมพลังงานอยู่ตลอดเวลา หากมีมากพอ มันก็พร้อมที่จะเคลื่อนขยับปรับตัว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมา  ซึ่งก็ยังมีการจำแนกแบบหยาบๆออกไปอีกว่า เป็นพวกทำลายล้าง (destructive) หรือพวกไหวธรรดาๆ (non-destructive) โดยการย้อนไปดูประวัติและลักษณะความเสียหายที่มันเคยทำๆมา

เมื่อมีการจำแนกรอยเลื่อนที่พลังออกมาได้ ก็ย่อมต้องมีอีกกลุ่มรอยเลื่อนในทางตรงกันข้าม ซึ่งก็คือพวกที่ไม่มีพลัง ซึ่งก็จำแนกออกไปอีกได้ว่า จะเป็นประเภทไม่มีอะไรในกอไผ่อีกแล้ว เรียกกันว่า dead fault (ตายไปแล้ว)    หรือจะเป็นพวกที่มีโอกาศฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้เป็นพักๆ เรียกกันว่า inactive fault  ก็คือไม่แน่ใจว่ามันตายไปแล้วหรือยังไม่ตายจริง เพียงสลบไป จะตื่นมาเมื่อใดก็ไม่ทราบ จึงได้แต่เป็นการเดา (แบบมีหลักวิชาการทางสถิติ) โดยการย้อนกลับไปดูประวัติอาการของมันในอดีต (เท่าที่มีการบันทึกมาจะโดยธรรมชาติหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติก็ตาม)  นั่นก็เลยเป็นที่มาของคำว่า "ในรอบ...ปี" (return period)   

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 18 ม.ค. 15, 19:37

เล่ามาถึงตรงนี้ ก็คงพอจะวิเคราะห์และจำแนกได้บ้างแล้วว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้น อะไรควรจะเป็นอย่างไร 
 
ยิ่งมีความสนใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงการมีความรอบรู้สภาพต่างๆในอดีตเพื่อเปรียบเทียบกับในปัจจุบัน    บรรดาภาพที่ได้จากข้อมูลในอดีตเพื่อการเปรียบเทียบเหล่านั้น หนีไม่พ้นที่จะต้องรวบรวมเก็บมาทำการประมวลจากเรื่องราวต่างๆในอดีต ซึ่งก็หมายถึงว่า ต้องอ่านเอาความจากเรื่องราวในอดีตในแง่มุมต่างๆ       ครับ จะจรรโลงชีวิตให้มีความสุขก็คงหนีไม่พ้นที่จะรู้และเรียนรู้จากประวัติศาสตร์   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 18 ม.ค. 15, 20:25

ก็เข้ามาถึงจุดที่ว่า รอยเลื่อนทั้งแบบ active กับรอยเลื่อนแบบ inactive ต่างก็ขยับปรับตัวได้  แล้วจะจำแนกมันอย่างไรกันดี

ที่รู้และจำแนกออกได้ตั้งแต่ต้นเลย แน่ๆก็คือ แบบ active นั้นมันมีร่องรอยของการเคลื่อนที่ต่อเนื่องตลอดกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกหรือของผืนดิน 

ส่วนแบบ inactive นั้น โดยนัยก็คือ รู้อยู่จากหลักฐานหลายอย่างว่า มันยังไม่ตายสนิท  หลายๆปีมันก็จะเคลื่อนหรือขยับตัวครั้งหนึ่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 20 ม.ค. 15, 18:38

ก็เข้ามาถึงจุดที่ว่า รอยเลื่อนต่างๆนั้นมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะในพื้นที่ๆเป็นเทือกเขาและทิวเขา   ซึ่งมันก็เป็นพวกที่สร้างให้เกิดภูมิประเทศอันสวยงาม เป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เป็นแหล่งพื้นที่อยู่อาศัย เป็นภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ ฯลฯ

เมื่อรอยเลื่อนเป็นหนึ่งในต้นตอของแผ่นดินไหว (จากเหตุที่แต่ละผืนดินที่อยู่คนละด้านของรอยเลื่อนมันเคลื่อนที่สวนทางกัน)  ซึ่งการไหวของแผ่นดินนั้นก็กระจายออกไปรอบทิศ ใกล้จุดกำเนิดก็แรงหน่อย ไกลจุดกำเนิดก็เบาหน่อย อยู่ในพื้นที่ๆรองรับด้วยหินแข็งก็รู้สึกคล้ายกับถูกเขย่า อยู่ในพื้นทีๆรองรับด้วยดินอ่อนก็รู้สึกคลัายอยู่บนที่นอนยาง  ก็เป็นอันว่า โดยนัยแล้ว จะอยู่ที่ใหนก็มีโอกาสต้องสัมผัสกับแผ่นดินไหวได้ทั้งนั้น    ยิ่งชอบวิวทิวทัศน์ อากาศบริสุทธิ์ และสิ่งแวดล้อมอันสุนทรีย์ ยังไงๆก็ต้องนอนอยู่กับมันไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่นั้นๆเป็นช่วงเวลาสั้นๆหรือยาว




 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 20 ม.ค. 15, 20:19

เมื่อรอยเลื่อนมีเป็นจำนวนมากมาย แต่ละตัวก็มีประวัติการเคลื่อนตัวของตัวเองทั้งในมิติของเวลา และในมิติของปริมาณและคุณภาพ  แล้วเราจะมีความสามารถที่จะไปรู้จักตัวตนของแต่ละรอยเลื่อนได้ครบทั้งหมดหรือ ?    ไม่ง่ายเลย
   
ก็ทำให้มีวิธีการง่ายๆที่จะพิจารณากรณีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวใดๆ ใน 2 วิธีการ คือ จากข้อมูลโดยตรงของรอยเลื่อนใดๆที่ วิเคราะห์โดยนักวิชาการเฉพาะด้าน     และในมิติทางเวลา โดยพื้นฐานของกิจกรรมทางสังคม

ในมิติทางวิชาการนั้น ในความเห็นของผม ก็ต้องรับฟัง เก็บเป็นข้อมูลและความรู้  ส่วนจะเชื่อได้หรือไม่นั้น คงจะต้องพิจาณาแหล่งที่มาของข้อมูล และผู้ที่ออกมาแถลง     กระบวนการทางธรรมชาตินั้นมันเป็นระบบเปิด (open system) เรียนไม่รู้จบครับ

ในมิติทางเวลานั้น น่าจะเป็นเรื่องที่สร้างให้ตัวเราเกิดความรู้สึกถึงความเชื่อมั่นได้ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าเราพอใจในกรอบเวลาใด เช่น ในรอบ 100 ปี หรือ 500 ปีที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวบ้างหรือไม่ ขนาดใหนและรุนแรงมากน้อยเพียงใด       

     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 21 ม.ค. 15, 19:01

กรอบเวลานี้  โครงการงานก่อสร้างทางวิศวกรรมทั้งหลายเขาก็ใช้กัน และก็เป็นเรื่องแรกๆที่เข้ามาในความคิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ในรอบ 500,000 ปีที่ผ่านมา จะต้องไม่มีการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน หรือแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เป็นต้น  จัดเป็นการอนุมานในเบื้องแรกสุดว่า ในกรอบเวลานั้นๆ โครงการก่อสร้างนั้นๆน่าจะมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่     สำหรับการศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับวงรอบของการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใดๆนั้น (return period) ไปเกี่ยวข้องในเรื่องของความแข็งแรงทนทาน คือ จะออกแบบให้รับแผ่นดินไหวได้ขนาดใหน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 21 ม.ค. 15, 19:11

ดังนั้น เราจึงสามารถกำหนดเงื่อนไขของความเสี่ยงและความรู้สึกปลอดภัยของเราเองได้ในระดับที่ดีเลยทีเดียว

คำพูดในลักษณะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเอง แล้วเราก็ตัดสินใจเองว่าจะเอาแบบใหน  อาทิ

  - นานๆมันก็เกิดทีนึง
  - สองสามปี (หรือ ...ปี ครั้งนึง)
  - มันก็เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ก็คงจะไม่แรงไปมากกว่านี้เท่าใดหรอก
  - บ้านเราแข็งแรงพอ รับได้กับขนาดที่ใหญ่กว่านี้
  - คงไม่โชคร้ายขนาดนั้นมั๊ง
  - อะไรมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด

  ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 22 ม.ค. 15, 17:15

จะหายหน้าไปสามสี่วันนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 18:12

วลีที่ได้ยกตัวอย่างมา  นอกจากจะเป็นเรื่องของการปลอบใจตนเองแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงการตัดสินใจว่า ตนเองได้ตกลงปลงใจที่จะเลือกสถานที่พักหรืออยู่อาศัย ณ สถานที่นั้นๆเรียบร้อยไปแล้ว   ซึ่งก็หมายถึงการยอมรับความเสี่ยงในระดับนั้นๆ
     
จะตัดสินใจอย่างใดก็ตามนะครับ ก็ขอให้เพิ่มเรื่องของการลดความเสี่ยงเฉพาะตนหรือหมู่คณะของตนลงไปอีกให้ได้มากที่สุด เช่น การเลือกตำแหน่งของสถานที่อยู่ การทำความรู้จักกับพื้นที่นั้นๆให้ดีเท่าที่จะทำได้ เป็นต้น     หรือง่ายๆก็คือ อย่าลืมพิจารณาเรื่องของทางหนีทีไล่ให้ดีๆด้วย  จะถูกว่าๆเป็นการคิดในทางลบก็ได้ หรืออาจจะถูกว่าๆคิดมากหรือประสาทก็ได้ ฯลฯ        อย่าสนใจไปเลยครับ  ตำราพิชัยสงครามของท่านซุนวูแต่โบราณกาลกล่าวว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 18:25

ครับ ก็คือการรอบรู้สถานะการณ์ หรือสิ่งแวดล้อม หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ  ทั้งที่เป็นธรรมชาติ ที่เป็นการสรรสร้างขึ้นมาโดยฝีมือมนุษย์ และที่ความเป็นตัวตนของมนุษย์ (ความคิด จิตใจ หลักคิด หลักนิยม ...)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 31 ม.ค. 15, 18:55

ก็มีอยู่อีก 2 ประโยคที่จะต้องกล่าวถึง คือ earthquake susceptible area กับ earthquake hazard area  ซึ่งทั้งสองเรื่องดังกล่าวนี้ มีความหมายต่างกันแทบจะโดยสิ้นเชิง แต่ข่าวสารที่ปรากฎอยู่ในสื่อ (ไม่ว่าจะมีต้นทางจากกลุ่มคนทางวิชาการหรือจากกลุ่มคนทางสื่อ) มักจะมีเนื้อหาหรือความมายสื่อไปในทางของเรื่อง hazard (ภัยพิบัติ)   

ในกรณีเรื่องของ susceptible area นั้น เป็นเรื่องของการที่พื้นที่นั้นๆสามารถรับรู้ และเกิดการไหวเมื่อมีคลื่นแผ่นดินไหวผ่านมา (ขนาดใดขนาดหนึ่งและจากต้นตอจุดใดจุดหนึ่ง)
   
ตัวผมเองจัดให้พื้นที่ภาคอีสาน พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง และพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยเราเป็นพื้นที่ๆเกือบจะไม่สามารถรับรู้การไหวของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ณ ที่ใดๆในโลก แม้กระทั่งที่เกิดในพื้นที่รอบๆประเทศของเรา    ต่างกับพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ที่เป็นพื้นที่ๆที่สามารถรับรู้และเกิดการไหวของแผ่นดินได้ ซึ่งก็ยังพอจะจำแนกย่อยลงไปได้อีก

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 31 ม.ค. 15, 19:32

จะขออธิบายหลักง่ายๆ ก่อนที่จะแยกย่อยลงไปครับ  คือ
   คลื่นใดๆก็ตาม เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางที่วางตัวคล้ายระนาบซ้อนกัน    คลื่นที่มีทิศทางของการเดินทางต้องทะลุผ่านแต่ละตัวกลาง พลังและความเข้มข้นของคลื่นนั้นๆจะลดลงเป็นลำดับอย่างรวดเร็วเมื่อได้วิ่งทะลุผ่านแต่ละชั้นไป    ต่างกับคลื่นที่เดินทางอยู่ในระหว่างชั้นของตัวกลางแต่ละระนาบ ที่คลื่นนั้นๆจะคงรักษาระดับพลังและความเข้มข้นและเดินทางไปได้เป็นระยะทางไกล แต่ก็จะค่อยๆลดลง มากน้อยตามคุณสบัติของตัวกลางนั้นๆ
 

 




บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 19:02

ตามหลักดังกล่าวนี้

พื้นที่บริเวณกลางๆภาคอีสาน ก็จะจัดได้ว่า คงจะไม่รับรู้แผ่นดินไหวจากต้นกำเนิดใดๆ  ยกเว้นเฉพาะพื้นที่ด้านมุมตะวันออกเฉียงเหนือ (แถบบึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร) ซึ่งมีโอกาสจะได้รับคลื่นแผ่นดินไหวจากกลุ่มรอยเลื่อนที่พบอยู่ในเวียดนามตอนบนและลาว (รวมทั้งรอยเลื่อนตามแม่น้ำศรีสงคราม) ที่มีแนวและมีความยาวต่อเนื่องเข้าไปในพื้นที่ของจีนตอนใต้

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง