เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140911 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 07:45

ตกลงLove wave ของอาจารย์ฝรั่งคนนั้นก็คงสู้ของไทยไม่ได้ ด้วยว่าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่แกว่งไปมาในแนวราบดังคุณตั้งว่า
ส่วนแผ่นดินไหว Love waveแบบๆไทย อาจเกิดปฏิกิริยาจากการกระซุ่นไปทั่วทั้งดินฟ้ามหานทีได้ ดังกวีท่านพรรณาไว้บทหนึ่งดังนี้


ดุจพายุพรายพัดสะบัดโบก
ปฐพีโยกไหวสนั่นสั่นแดนสรวง
วายุหมุนหนุนพัดเป็นลมงวง
ทะเลหลวงครื้นครั่นสั่นปฐพี

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 10:40

พูดถึงเรื่อง "คลื่นรัก" ในวรรณคดีไทย นึกถึงบทเรียน "แม่กด" ในเรื่อง "กาพย์พระไชยสุริยา" ของท่านอาจารย์สุนทรภู่

ขึ้นกดบทอัศจรรย์                  เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง
นกหกตกรังรวง                     สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง
แดนดินถิ่นมนุษย์                  เสียงดังดุจพระเพลิงโพลง
ตึกกว้านบ้านเรือนโรง              โคลงคลอนเคลื่อนเขยื้อนโยน
บ้านช่องคลองเล็กใหญ่             บ้างตื่นไฟตกใจโจน
ปลุกเพื่อนเตือนตะโกน            ลุกโลดโผนโดนกันเอง
พิณพาทย์ระนาดฆ้อง              ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง
ระฆังดังวังเวง                       โหง่งหง่างเหง่งเก่งก่างดัง
ขุนนางต่างลุกวิ่ง                   ท่านผู้หญิงวิ่งยุดหลัง
พัลวันดันตึงตัง                     พลั้งพลัดตกหกคะเมน
พระสงฆ์ลงจากกุฏิ                 วิ่งอุตลุตฉุดมือเณร
หลวงชีหนีหลวงเถร                ลงโคลนเลนเผ่นผาดโผน
พวกวัดพลัดเข้าบ้าน              ล้านต่อล้านซานเซโดน
ต้นไม้ไกวเอนโอน                  ลิงค่างโจนโผนหกหัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 10:44

^
^
^
ค.ห. 15-31 !!!

ตั้งแต่คำว่า "กระชุ่น" ในค.ห. 14 คำเดียวนะเนี่ย


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 14:52

ขอบคุณคุณตั้งที่เข้ามาเล่าเรื่องแผ่นดินไหวที่เชียงรายให้ฟัง ทั้งๆที่เหน็ดเหนื่อยมามาก
ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

แผ่นดินไหวที่เชียงรายครั้งนี้ดูจะยืดเยื้อ เพราะยังมีแรงสั่นสะเทือนต่อเนื่องอีกยาวนาน
วันนี้(31/5/57) ยังมีแรงสะเทือนอยู่ไหมคะ

มีคำถามเล็กน้อย นะคะ

1. จุดที่แผ่นดินไหว ครั้งนี้เป็นรอยเลื่อนเก่าหรือใหม่คะ เคยมีบันทึกรอยเลื่อนนี้มาก่อนหรือไม่

2. บริเวณนี้เคยมีแผ่นดินไหวครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่คะ

3. ความรุนแรงในระดับนี้หรือใกล้เคียงเคยมีมาก่อนหรือไม่คะ

4. จริงหรือไม่ที่มีข่าวว่า จะส่งผลถึงคลื่นในทะเลได้จนอาจเกิดสึนามิที่รุนแรงกว่าที่เคยเกิดในเมืองไทยได้


วันหลังมาแลกเปลี่ยนเรื่องภาษาถิ่นต่างๆกันบ้างก็สนุกดีนะคะ
ศ.ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี ได้ทำพจนานุกรมภาษาลานนาไว้แล้ว น่าจะช่วยอธิบายได้
แต่ตอนนี้หนังสือไม่ได้อยู่ใกล้ตัว ไม่งั้นจะหยิบมาเปิดดู

เรื่องของภาษาถิ่นเป็นเรื่องที่นักอักษรศาสตร์ ให้การยอมรับว่าเป็นที่มาของภาษากลางด้วย
ในลักษณะคำยืม เราก็ใช้กันมาจนลืม นึกว่าเป็นภาษาของเราไปเลย  ส่วนที่ไม่ได้นำมาใช้
แต่ชาวบ้านในท้องถิ่นเขายังใช้กันอยู่ เราก็ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้เกียรติเจ้าของภาษา
เหมือนที่อยากให้เขา พยายามเรียนรู้ภาษาของเราด้วยทั้งนี้ก็เพื่อไมตรีอันดีต่อกัน



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 21:01

ขอบคุณครับ คุณพวงแก้ว

ก็กะว่าจะเล่าครอบคลุมเรื่องราวที่อยากจะทราบทั้งหมดนั้นอยู่แล้วครับ จะค่อยๆขยายต่อเนื่องออกมานะครับ

สำหรับเรื่องภาษานั้น เป็นความสนใจของผมอยู่แล้ว สักวันหนึ่งคงจะต้องมีกระทู้ก่อนที่จะลืมไปหมด (ตอนนี้ก็ลืมไปมากแล้วครับ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 22:00

ผมปูพื้นเรื่องคลื่นมาก็เพราะว่า คลื่นนั้นมันเป็นตัวเล่าเรื่องราวของแผ่นดินไหวในหลายๆมิติ (ตั้งใจว่าจะใช้คำว่า "หลายๆ aspect" แต่นึกคำไทยที่เหมาะสมไม่ออก เลยเลือกใช้คำว่ามิติ)

ต่อเรื่องคลื่นอีกหน่อยนึงครับ
ผมได้กล่าวถึงคลื่นยาวและคลื่นสั้นมาแล้ว ซึ่งชื่อของมันเป็นการบอกล่าวถึงระยะห่างระหว่างคลื่นแต่ละลูก   ในอีกทางหนึ่ง เราก็สามารถบอกกล่าวได้ในลักษณะของ unit (จำนวนลูกคลื่นต่อระยะเวลาหนึ่ง) ซึ่งมีคำเรียกลักษณะโดยนามว่า ความถี่ (frequency)  พวกคลื่นยาวก็เรียกว่าเป็นพวกความถี่ต่ำ (low frequency) และพวกคลื่นสั้นก็เรียกว่าพวกความถี่สูง (high frequency)

นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องของความสูงของยอดคลื่น (amplitude) อีกด้วย  พวกคลื่นที่มี amplitude สูงคือพวกที่มีพลัง (energy)มากกว่าพวกคลื่นที่มี amplitude ที่ต่ำกว่า พร้อมๆไปกับการเป็นพวกที่มีอิทธิฤทธิ์ (ability) ในการสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า อีกทั้งมีระดับของความรุนแรง (intensity) ที่เกิดขึ้นมากกว่า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณหรือขนาด (magnitude) ของพลังที่สร้างให้เกิดคลื่นนั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 22:35

ให้ครบเครื่องเรื่องคลื่นสำหรับข้อสนเทศของกระทู้นี้อีกนิดเดียวครับ

ความเร็วในการเดินทางของคลื่นนั้น ขึ้นอยู่กับตัวกลางที่มันเดินทางผ่านไป ตัวอย่างที่แสดงนี้เป็นเพียงให้เห็นภาพโดยประมาณ
   - คลื่น tsunami เดินทางในมหาสมุทรด้วยความเร็วประมาณ 800 กม. ต่อ ชม.
   - คลื่นแผ่นดินไหว P-wave เดินทางผ่านชั้นหินแข็ง (solid rock)ด้วยความเร็วประมาณ 28,000 กม.ต่อ ชม. (8 กม./วินาที)
   - คลื่นแผ่นดินไหว S-wave เดินทางผ่านชั้นดินอ่อน (ีืnon consolidated strata) ด้วยความเร็วประมาณครึ่งหนึ่งของคลื่น P-wave
   - สำหรับคลื่น R กับ L wave นั้น ตามมาที่หลัง



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 31 พ.ค. 14, 22:52

มาดูลักษณะของความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวกัน

ที่เราเห็นภาพกันทั่วไปนั้น พอจะแบ่งออกได้เป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้
  - อาคารพังทลายราบ
  - อาคารทรุดเอียงไปทิศใดทิศหนึ่ง ล้ม
  - แต่ละชั้นของอาคารยุบทับกันเป็นขนมชั้น
  - ถนนปริ แยก ทรุด
  - ดินถล่ม

แล้วก็มีภาพไฟใหม้ มีภาพรางรถไฟคด มีภาพแสดงอาคารบางอาคารก็ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ในพื้นที่ซากปรักหักพัง ฯลฯ
 
 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 มิ.ย. 14, 11:44

คำว่า "มิติ" น่าจะเข้าใจได้ง่าย สำหรับคลื่นที่คุณตั้งอธิบายคะ

น่าแปลกใจที่ คลื่นที่ผ่านชั้นหินแข็งกลับมีความเร็วมากที่สุด ซึ่งถ้าคนที่ไม่ได้เรียนมาอย่างดิฉัน
จะเข้าใจในทางตรงข้าม  ว่าการถ่ายเทแรงน่าจะผ่านสิ่งที่อ่อนกว่าได้ มากกว่า....

ฉะนั้นต้องมารอฟังต่อค่ะ..........  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 มิ.ย. 14, 22:02

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในตอนเย็นของวันที่ 5 พ.ค. 2557 นั้น ผมอยู่ทีบ้านโป่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย เป็นบ้านชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐโบกปูน เดิมนั้นเป็นบ้านไม้ ใช้เสาปูนหล่อ ใต้ถุนสูงประมาณ 3 เมตร   

อาการแผ่นดินไหวครั้งแรกนั้น คือ บ้านโยกไปมาราวๆสักครึ่งนาทีเห็นจะได้ ก็ไม่ได้ตกใจอะไร เดินออกมานอกบ้าน ส่วนภรรยาผมนั้นนอนดูทีวีอยู่เฉยๆจนผมต้องตะโกนเรียกให้ออกมาจากบ้าน ก็เดาเอาว่่าน่าจะเป็นขนาดในระดับ 5 +/- ริกเตอร์  พอหยุดไหวก็เข้าไปสำรวจดูว่ามีอะไรเสียหายบ้าง ปรากฎว่าที่ชั้นบนมีกรอบรูปล้ม แต่ไม่ตกลงมาจากชั้นวาง พระพุทธรูปบนหิ้งก็ไม่ล้ม แต่ขยับออกจากฐานและหมุนเล็กน้อย ส่วนที่ชั้นล่างนั้นไม่มีอะไรตกจากชั้นเลย และก็ไม่มีอะไรล้มด้วย  ไม่นานนัก ก็มี aftershock ตามมา แล้วก็ตาม แล้วก็ตามมาาาาาาาาาาาา ทั้งคืน แล้วก็ทุกคืน ส่วนในเวลากลางวันนั้นไม่ค่อยมีการไหวสะเทือน แต่พอเข้าช่วงเย็น แดดล่มลมตก ก็จะเริ่มเกิดอีก 

จากสภาพดังที่เล่ามา ผมก็เดาเอาจากความรู้และข้อมูลเก่าๆที่ยังไม่ลืมและเลือนหายไป ผนวกกับข้อมูลความเสียหายเบื้องต้นที่ได้รับจากชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 1.5 กม. สรุปได้ในเบื้องแรก ดังนี้ คือ จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว (epicenter) ครั้งนี้คงจะอยู่ไม่ไกลจากบ้านที่อยู่มากนัก แลจุดกำเนิดคงจะต้องอยู่ตื้นอีกด้วย (ลึกไม่เกิน 10 กม.) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 มิ.ย. 14, 22:20

ได้รู้ว่าชาวบ้านกลัวที่จะอยู่ในบ้านกัน ก็เลยขนที่นอนหมอนมุ้งมานอนอยู่บนถนนในหมู่บ้าน ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บใดๆเลย ผมก็รู้สึกดีใจ

มันเกิดมากครั้งเสียจนผมเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่ามันจะเป็น aftershock   ยิ่งพอได้รับรู้ข้อมูลตำแหน่ง ขนาด และจำนวนครั้ง เลยทำให้เกิดกังวลอยู่ในใจว่า เอ หรือว่ามันจะเป็นการเตือนก่อนจะเกิดลูกใหญ่ตามมาอีกลูกหนึ่ง

 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 07:59

ถามต่อได้อ๊ะยัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 08:04

ต้องซีเครียดหน่อย

แสดงว่าบ้านของคุณตั้งคงไม่มีความเสียหาย แล้วบ้านอื่นๆในละแวกข้างเคียงมีเสียหายบ้างไหมครับ ทำไมอาคารวัดวาต่างๆที่มีข่าวว่าเสียหายนั้น อยู่ไกลจากศูนย์กลางออกไปอีก กลับเกิดความเสียหายมาก
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 12:26

มีคำถามในใจคล้ายคุณNAVARAT.C ถามพอดีค่ะ

เคยได้ยินคำอธิบายตอนเกิดคลื่นสึนามิว่า ถ้าเราโยนก้อนหินลงไปในน้ำ จะเกิดแรงกระเพื่อม
เป็นวงแผ่กว้างออกไป จุดที่ใกล้ศูนย์กลางน้ำจะยกตัวสูงน้อยกว่าวงที่ไกลออกไปเป็นลำดับ
ไม่ทราบเข้าใจถูกหรือเปล่าคะ

แรงกระเพื่อมที่เกิดขึ้นในชั้นดิน กับ ในน้ำเหมือนกันไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 19:25

คิดอยู่แล้วว่าจะต้องมีข้อสงสัยในทำนองเดียวกันกับที่คุณ NAVARAT.C ได้หยิบยกขึ้นมา ซึ่งได้แก่ความแตกต่างในลักษณะความเสียหายที่ไม่เหมือนกันในพื้นที่ต่างๆกัน รวมทั้งในหลายๆกรณีว่า ทำไมในที่ห่างไกลจาก epicenter จึงได้เกิดความเสียหายรุนแรงมาก

ครับ คำอธิบายเกือบทั้งหมดมันไปเกี่ยวกับคลื่นแผ่นดินไหวนั่นเอง ผมจึงได้เริ่มเรื่องที่เรื่องของคลื่น สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องอื่นๆนั้นจะมีตามมาและพอจะแทรกอธิบายได้ไม่ยากนัก อาทิ เรื่องของความลึกของจุดกำเนิด (focus หรือ foci) กลไกในการสร้างพลังสะสม (mechanism) ลักษณะทางธรณีวิทยา (หิน การวางตัวของหินต่างชนิด ต่างอายุ ต่างคุณสมบัติ) แล้วก็เรื่องของพลังและรูปแบบที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง (tectonics)  รวมไปถึงการออกแบบและการก่อสร้างอาคารต่างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง