เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140932 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 28 ก.ค. 14, 13:07

เข้ามาส่งเสียงว่านั่งอยู่หลังห้องนะคะ คุณตั้ง
จะถามอะไรก็ยังนึกไม่ออก  ขอจดเลกเชอร์ไปพลางๆก่อนละกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 28 ก.ค. 14, 22:56

ขอบพระคุณครับ

ผมยังคิดถึงภาคปัจฉิมบทอยู่ว่าจะเป็นภาพใด  จะเป็นแบบมีคำถามมากมาย ?  จะเป็นแบบ อ้าวจบแล้วเหรอ ?   จะเป็นแบบย่องเงียบแยกย้ายกันไป ?    แต๋โดยเนื้อแท้ของความตั้งใจแล้ว คือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ออกไปให้มากที่สุด

เมื่อครั้งเรียนหนังสือในเรื่องนี้นั้น ยังไม่มี textbook  ใดๆในเรื่องเหล่านี้เลย  ความรู้ทั้งหลายยังกระจัดกระจายอยู่ใน journal  แถมยังเป็น seminar course อีกด้วย   
Prof. ต่างๆบอกว่า ในวงวิชาการจริงๆนั้น  การจะก้าวทันและการที่ยังคงประสงค์จะเรียกตนเองว่าเป็นนักวิชาการในสายนั้นๆ นั้น จำเป็นต้องติดตามอ่านเรื่องราวจาก journal เป็นประจำ จากหลายๆสำนัก หลายๆกลุ่ม   และให้รู้ด้วยว่า ความรู้ที่อยู่ใน textbook ต่างๆนั้น คือความรู้ที่อยู่ใน journal เมื่อประมาณ 8 ปีที่ผ่านมาก่อนหน้านั้น  เหตุผลสำคัญคือ กว่าจะประมวลเรื่องและเขียนออกมาเป็นเล่มได้นั้น จะใช้เวลาประมาณ 5-6 ปี จะใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี ในการจัดพิมพ์ ยกร่าง ตรวจทาน ขออนุญาติในเรื่องสิทธิต่างๆ ฯลฯ

ผมได้จดจำและได้นำมาใช้ได้เพียงระยะประมาณ 15 ปีหลังจากจบ จากนั้นก็ค่อยๆห่างจากการอ่านเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งจึงรู้ว่าอ่าน journal แล้วตามไม่ทันเรื่องที่เขาทำกัน วิจัยกัน ค้นพบกัน แถมพ่วงด้วยเข้าใจเรื่องน้อยลงๆไปทุกทีๆ ในที่สุดก็ไปอยู่แถวหลัง 
 
ด้วยพื้นข้อคิดที่ได้รับมาจาก Prof. นี้  ตั้งแต่จบมา ผมเลยตั้งใจเป็นฝ่ายให้ ถ่ายทอดออกไป ไม่กั๊กไว้ ก็เพื่อผล 2 ประการ คือ เพื่อให้ตนเองจะได้ไปอ่านไปศึกษาเพิ่มเติม จะได้มีความรู้นำหน้าหนึ่งก้าวอยู่เสมอตลอดเวลา และเพื่อเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นหลัง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปย้อนศึกษาเพื่อสั่งสมความรู้ คนรุ่นหลังจะต้องเก่งกว่าผม เขาต้องรู้มากกว่าผม       

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 28 ก.ค. 14, 23:28

ย้อนกลับไปที่เรื่องของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากันจนเกิดการชนกันบ้าง เกยกันบ้าง มุดกันบ้าง เหล่านี้แหละที่เรียกกันว่า plate tectonics หรือ ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่   

คำว่า tectonic นั้น มีความหมายในเชิงของ กลุ่มของโครงสร้าง (หรือกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น)

เรื่องจากนี้ไป ผมจะพยายามจำกัดให้อยู่ในพื้นที่ของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจะเป็นเรื่องของ subduction zone เกือบทั้งหมด อันเป็นต้นเหตุที่ทำให้ชายฝั่งรอบมหาสมุทรนี้ถูกขนานนามว่า วงแหวนแห่งไฟ (The ring of fire) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 29 ก.ค. 14, 22:31

เริ่มกันด้วยของกระบวนการเกิดแบบมหาสมุทรแอตแลนติค (ดังที่ได้เล่ามาแล้ว)  คือ มีแผ่นดินแยกตัวออกจากกัน โดยมีหินลาวา (lava) ที่มาจากหินหลอมละลาย (magma) ใต้ผิวโลก ไหลออกมาเข้ามาแทนที่ช่วงว่างระหว่างแผ่นดินทั้งสองฝั่ง 

สรุปว่า ในกรณีดังกล่าวมานี้ เรามีแผ่นเปลือกโลกอยู่ 2 แผ่น แต่ละแผ่นมีชุดหินที่เป็นส่วนของแผ่นดินและก็มีชุดหินที่เป็นส่วนของพื้นท้องมหาสมุทร  ทั้งสองแผ่นเปลือกโลกนี้มีความสัมพันธ์กันตามแนวทิวเขาใต้ท้องมหาสมุทรซึ่งมีหินลาวาผุดออกมา เป็นลักษณะของ divergent plate boundary
     
เนื่องจากหินที่เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นแผ่นดินนั้น มีความถ่วงจำเพาะที่ประมาณ 2.7+/-  ในขณะที่หินของพื้นท้องทะเลมีความถ่วงจะเพาะประมาณ 3.0+/-

หลายเงิบแล้วครับ เลยต้องขอพัก ไปต่อกันในวันพรุ่งนี้นะครับ

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 30 ก.ค. 14, 20:05

มาต่อกันครับ

ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) ที่ต่างกันนี้หมายความว่า หินในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของพื้นท้องมหาสมุทรย่อมมีมวลที่แน่นกว่าและหนักกว่า เมื่อนำมาเทียบกันในปริมาตรเท่ากันกับหินในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของแผ่นดิน  ซึ่งก็คือ หินของท้องมหาสมุทรเป็นหินลาวาที่เย็นตัวแล้ว (หิน Basalt) ในขณะที่หินในแผ่นดินเป็นกลุ่มหินที่คละกันทั้งหินอัคนี (Igneous rocks) หินตะกอน (Sedimentary rocks) และหินแปร (metamorphic rocks)    ผมจะไม่อธิบายต่อนะครับว่าทำไม ถ.พ. จึงต่างกัน เพราะจะต้องใช้วิชาเคมีมาอธิบาย  (อาจจะกลายเป็นต้องไปเล่าเรื่องในวิชาเคมีอีกด้วย)   เอาเป็นว่าของที่มี ถ.พ.ต่ำกว่าย่อมอยู่เหนือของที่มี ถ.พ.สูงกว่า   ดังเช่น เมื่อรินน้ำหวานแดงเข้มข้นลงในแก้วมีน้ำ มันก็จะจมลงไปอยู่ที่ก้นแก้ว

เอาละครับ เมื่อหินของท้องทะเลได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ขยายพื้นที่ของท้องทะเลออกไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่ง ด้วย ถ.พ.ที่สูงกว่า ก็เกิดการจมตัวลงไปและไปมุดอยู่ใต้ผืนแผ่นดิน  ซึ่งเรียกพื้นที่ๆเกิดสภาพการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ว่า subduction zone
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 19:39

กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเล่าว่า แล้วเกิดอะไรขึ้น หรือ แล้วรู้ได้อย่างไร

เอาเป็นว่าไปในเรื่อง แล้วเกิดอะไรขึ้น ก่อนนะครับ

ลองนึกถึงเครื่องออกกำลังกายแบบเดินบนสายพาน   หากเราเอาไม้กระดาน (เสมือนว่าเป็นเปลือกโลกส่วนแผ่นดิน) ไปวางพาดทับไว้บนสานพาน (เสมือนว่าเป็นพื้นท้องมหาสมุทร) ที่ด้านหัวเครื่อง    อนุมาณเอาว่าเป็นภาพบริเวณก้นทะเลตรงรอยต่อชายฝั่งแผ่นดินกับมหาสมุทรนะครับ   สิ่งที่เราจะเห็นและสัมผัสได้ คือ
     - เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นไม้ และมีการเกิดการสะดุดจนแผ่นไม้กระดอนสูงขึ้นมาเป็นบางครั้ง   ก็เสมือนหนึ่งกับการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งก็จะมีแบบขนาดเล็กมากกว่าหลายเท่าของแบบขนาดใหญ่   ในครั้งที่ไม้กระดานกระดอนขึ้นมานั้น ก็คือภาพของตัวการที่ทำให้เกิด tsunami ซึ่งจะเป็นคลื่นใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับแรงและ displacement ที่เกิดจากการสะบัดหรือการกระชา่กในครั้งนั้นๆ
   
ครับ เป็นภาพให้ดูง่ายๆที่สุดเท่านั้นนะครับ เล่าต่อๆไปก็คงจะเห็นว่ามีอะไรที่สลับซับซ้อนอีกมากมาย

ณ ขณะนี้ เอาเป็นว่า รู้ว่าแผ่นดินไหวเกิดแน่   เกิดขนาดเล็กๆบ่อยๆ (earthquake swamp) แน่  มีทั้งรับรู้ได้โดยเครื่องมือหรือรู้สึกได้ด้วยตนเอง   ไม่รู้ว่าจะเกิดเมื่อใด ?   ไม่รู้ว่าจะเกิดแรงขนาดใหน ?   ไม่รู้ว่าจะเกิดที่ใหน ?  ไม่รู้ว่าจะทำให้เกิด tsunami หรือไม่?  แล้วก็อีกไม่รู้มากมาย    มีแต่ ฮืมฮืมฮืม??  และก็มีแต่เดา (มีเหตุผลพอเพียงหรือไม่มีเหตุผลใดๆ) หรือเพียงรู้สึกว่าน่าจะ.... 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 11:17

จะว่าเป็นการเดาสุ่มเอาในทุกเรื่องก็ไม่เชิงทีเดียวครับ  แทนที่จะเป็นการเดาแบบมโน   ท่านผู้รู้ทั้งหลายก็ประมวลองค์ความรู้ที่เกี่ยวพันทั้งมวล (holistic approach)  ทำการแปรการเดาให้เป็นการคาดการณ์ที่มีเหตุผลสนับสนุนในระดับที่รับได้ว่าเชื่อถือได้  คือ ดูทั้งประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุ พงศาวดาร เรื่องเล่าถ่ายทอด ฯลฯ เท่าที่มีการบันทึกโดยคน    แล้วก็ไปดูหลักฐานเท่าที่จะหาพบหรือที่บันทึกโดยกระบวนการทางธรรมชาติ ทั้งสิ่งไม่มีชีวิต (เช่น ข้อมูลที่ถูกบันทึกโดยกระบวนการทางธรณ๊วิทยา ฯลฯ) และข้อมูลที่ปรากฎในสิ่งมีชีวิต (เช่น เปลือกหอย ปะการัง การหักล้มของต้นไม้ ฯลฯ)  ทั้งหลายเหล่านี้ก็คือข้อมูลที่ได้มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาในอดีต (empirical approach)

เพื่อจะคาดการณ์ต่อไปว่าแล้วจะเกิดเหตอีกเมื่อใด คราวนี้ก็ต้องไปใช้ความรู้และข้อมูลในทางทฤษฎี การทดลอง การจำลอง ฯลฯ รวมๆก็คือ ข้อมูล theoretical approach  เช่น วงรอบของเหตุการณ์ (return period)  สิ่งบ่งชี้ก่อนเกิดเหตุการณ์ (อาทิ การผุดออกมาของแกสจากใต้ดิน_in situ gas leak) ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 11:56

ภาพรวมโดยสรุปในขณะนี้ ก็คือ มีแนวแผ่นดินไหวแถวๆกลางมหาสมุทร แล้วก็มีแนวแผ่นดินไหวแถบชายฝั่งทะเลที่มี subduction zone

เมื่อแผ่นพื้นท้องมหาสมุทรเคลื่อนที่มุดต่ำลงไปใต้ผืนแผ่นดินเรื่อยๆ เกิดการเสียดสีอย่างแรงในบริเวณที่ครูดกัน ก็เกิดความร้อนสูงมากพอที่จะละลายหินในบริเวณที่เสียดสีกันให้หลอมละลาย ซึ่งหินละลายนี้ก็จะค่อยๆแทรกตัวขึ้นมา จนถึงจุดที่พอเหมาะ ก็จะปะทุกลายเป็นภูเขาไฟ (มีทั้งแบบระเบิดเถ้าถ่านออกมาและแบบลาวาไหลออกมา)  ครับก็กลายเป็นเกาะและสถานที่ที่เราชอบไปเที่ยวกัน เช่น เกาะญี่ปุ่น ทิวเกาะของคาบสมุทร aleutian ของอลาสก้า (aleutean arc)  หมู่เกาะตองก้า ฟิจิ  และอีกหลายๆเกาะปะการังต่างๆที่สร้างนิคมอยู่บนยอดภูเขาไฟใต้น้ำ

เกาะภูเขาไฟที่เห็นเป็นทิวอยู่นอกชายฝั่งเหล่านี้ เรียกกันว่า island arc    อาจจะสงสัยว่าทำไมจึงใช้คำว่า arc ซึ่งหมายถึงส่วนของวงกลม  ก็เพราะว่า โลกมันกลม และเส้นตรงบนทรงกลมนั้น สำหรับในแผนที่ที่ใช้ระบบ Transverse Mercator Projection ที่ๆนิยมใช้กันนั้นจะแสดงเป็นเส้นโค้ง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 12:08

island arc เป็นคำเรียกลักษณะทางกายภาพมาแต่เดิม ซึ่งในภายหลังพบว่ามีความสัมพันธ์กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงในทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่   

ในทางวิชาการแล้ว จะเรียกกันว่า volcanic arc เพราะมันเป็นเรื่องของภูเขาไฟ  ทั้งนี้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีสภาพเป็นเกาะอยู่นอกชายฝั่งเสมอไปอีกด้วย แต่สำหรับพวกที่ยังชีวิตอยู่เราจะพบว่าอยู่ใกล้ชายฝั่งเสมอ (ไกลไม่เกินประมาณ 700 กม.)  ส่วนที่มันตายไปนั้นจะไปพบอยู่ที่ตรงใหนในแผ่นดินก็ได้ครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 21:18

ภาษาปะกิตเต็มไปหมดเลยนะครับ  ขออภัยจริงๆ  หลายคำที่แทนด้วยภาษาไทยแล้วอาจจะอ่านแล้วตลกๆ เช่น คำว่า มีชีวิต และ ที่ตายไปแล้ว ซึ่งตรงกับคำว่า active และ inactive

ถึงตรงนี้  ก็สรุปได้อีกว่า ในพื้นที่ของ subduction zone นอกจากจะมีแผ่นดินไหวแล้ว ยังมีภูเขาไฟเกิดร่วมอีกด้วย     

แต่การเกิดแผ่นดินไหวนั้นไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในพื้นที่นี้เสมอไปครับ มีเป็นจำนวนมากพอสมควรเหมือนกันที่เกิดอยู่ในใจกลางทวีป เช่น ในแคนาดา ในอินเดีย ซึ่งเรียกกันว่า intracratonic earthquake   แผ่นดินไหวพวกนี้ เช่น ในตอนกลางของอินเดีย ซึ่งเกิดเป็นแนวขวางในทิศประมาณตะวันออกตะวันตก ก็พอจะบอกแบบเดาๆได้อย่างเลาๆว่า อาจจะกำลังมีการสะสมพลัง ซึ่งจะไปเริ่มกระบวนการบิแผ่นดินให้หักแล้วดันไปกองร่วมกับเทือกเขาหิมาลัยในภายหน้าโน้น.....
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 12:03

เขียน backup เรื่องทางวิชาการไม่ทันเลย  ตอนนี้เกิดมีในยุนนานอีกแล้ว มีทั้งการเสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหายมากมาย

เว้นไปเอาเรื่องสดๆร้อนๆในจีนก่อนนะครับ  สั้นๆพอเห็นภาพแล้วค่อยขยายความทีหลัง

เริ่มต้นก็คงมีปัญหาถามว่า แล้วที่ผมบอกไปว่าแผ่นดินไหวจะเกิดในแผ่นดินในระยะไม่เกินประมาณ 700 กม.จากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกนั้น แต่ในครั้งนี้ห่างจากชายฝั่งมากเลย  ฮืม

ครับ ข้อมูลจากการศึกษาทิศทางของสนามแม่เหล็กโลกโบราณ (Paleomagnetic) โดยนักธรณีวิทยาอาวุโสคนไทย อายุใกล้ 80 แล้ว เป็นวิทยานิพนธ์ปรัญญาเอก ที่บรรดานักแสวงหาทรัพยากรพลังงานชาวต่างชาติผู้เข้ามาแสวงหาในพื้นที่ในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทุกสำนักจะต้องอ่าน   บ่งชี้ให้เห็นภาพว่า ประเทศไทยนั้นเดิมอยู่ติดกับออสเตรเลียในลักษณะด้านขวานชี้ขึ้นไปในทิศเหนือ ในขณะที่แผ่นเปลือกโลก Australian Plate เคลื่อนที่ออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แผ่นดินส่วนที่เป็นแหลมไทยทั้งหมดก็ฉีกตัวออก เคลื่อนไปทางเหนือโดยค่อยๆหมุนกลับหัวกลับหาง แล้วก็ไปชนกับแผ่นดินส่วนที่เป็นจีนตอนใต้และเวียดนาม  บรรดาแนวทิวเขา แม่น้ำ และรอยเลื่อนที่ปรากฎในพื้นที่ย่านฮานอย ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ (แม่น้ำแดงของเวียดนาม ก็ไหลอยู่ในร่องรอยเลื่อน) ซึ่งต่อเนื่องผ่านเข้าไปตอนเหนือของลาวและรอยต่อของพม่ากับลาว เข้าไปในยุนนานของจีน ก็เป็นแนวที่ปะทะกันโดยประมาณของสองแผ่นดิน   กิจกรรมการชนและการหมุนนี้ยังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน แล้วก็เกิดความร้อนมากพอที่จะทำให้เกิดหินหลอมละลายเช่นกัน จึงพบบรรดาหินที่เกิดมาจากหินหลอมลายในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของจีนเป็นหย่อมๆ     

สภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่ในอนุภูมิภาคนี้จึงเป็นลักษณะของแผ่นดินชนกัน (collision) เหมือนกัน แต่ในลักษณะขนาดเล็ก (micro plate) ด้วยสภาพของแรงที่สะสมอยู่จากการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ี้นี้ จึงมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น     

ครับเป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ในอีกระบบโครงสร้างหนึ่งที่เรียกว่า wrench tectonic  ซึ่งก็พบอยู่ในเมืองไทยของเราเหมือนกัน 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 18:39

เรื่องแผ่นดินไหวในจีนนี้ คงจะต้องรอดูภาพถ่ายในแง่มุมต่างๆให้มากกว่านี้เสียก่อน จึงจะพอถกแถลงในเรื่องต่างๆได้ต่อไปโดยไม่เป็นการเดามากไปจนเกินควร 

สำหรับ ณ.ขณะนี้ ภาพความเสียหายบางส่วนเท่าที่ผมเห็นนั้น ดูจะหนักไปในลักษณะผลจากการผลัก/กระชาก (มากว่าที่จะเป็นผลในทางกระแทกขึ้น/ลง) ซึ่งก็ดูจะสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในบริเวณพื้นที่นั้นที่อยู่ในระบบ (regime) wrench tectinic ดังที่ผมเล่าไว้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 19:20

กลับมาต่อเรื่องของ plate tectonic ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของมหาสมุทรแปซิฟิกต่อนะครับ

เราไปถึงจุดที่ว่า มีแผ่นเปลือกโลกที่เป็นพื้นท้องทะเล ทำการมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกที่เป็นแผ่นดิน เป็นผลทำให้เกิดแผ่นดินไหว และเกิดภูเขาไฟ เกิดเป็นแนวเกาะ ดังเช่นเกาะญี่ปุ่น

ครับ ดังที่ได้เล่ามาแล้วว่า ในพื้นที่ประมาณกลางมหาสมุทรมีแนวของหินหลอมละลาย (ลาวา) ผุดขึ้นมาและมีแผ่นดินไหวเกิดร่วมอยู่ด้วยในทุกๆวันทุกๆเวลาตลอดระยะเวลานานมากมาแล้ว  (มหาสมุทรแปซิฟิกมีอายุประมาณ 170+ ล้านปี)  ซึ่งดูจะเป็นเรื่องปรกติที่เรียบง่ายและนุ่มนวลในภาพรวมระยะยาว  ทว่าในสภาพจริงนั้น ในบางครั้งก็เกิดเป็นการปะทุขึ้นมาใต้ท้องทะเลจนกลายเป็นภูเขาไฟใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆเคลื่อนที่ห่างออกมาจากแนวกลางมหาสมุทร (ตามกลไกสายพาน_conveyor belt) ไปในทิศทางเข้าหาฝั่ง (เพื่อตามกันไปมุดลงใต้แผ่นดินที่บริเวณ subduction zone)

ภูเขาใต้น้ำเหล่านี้ หากมียอดสูงเรี่ยผิวน้ำ ก็จะมีปะการังไปสร้างนิคม จนเป็นเกาะประการังอันสวยงาม เช่น ที่เรียกว่า atoll (เป็นวงกลมรอบอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟ)  หรือบางจุดก็กลายเป็นกลุ่มของหินโสโครกไป
 
    ก็มีข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้สึกที่สวนทางกัน คือ จริงๆแล้ว บริเวณน้ำทะเลลึกที่สุดนั้นจะอยู่ใกล้ชายฝั่ง ลึกหลายกิโลเมตรเลยทีเดียว เช่น Mariana trench นั้นลึกในระดับประมาณ 8 กม. ในขณะที่จะตื้นลงเมื่อเข้าใกล้กลางมหาสมุทร ระดับประมาณ 2-4 กม. 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 19:45

นอกเรื่องนิดนึงนะครับ

ภูเขาใต้น้ำที่ได้เอ่ยถึงนั้น เนื่องจากเป็นภูเขาหินที่เย็นตัวมาจากลาวา ซึ่งเป็นหินที่มีแร่ที่มีปริมาณของธาตุโลหะในองค์ประกอบสูง จึงยังผลให้เกิดการเบี่ยงเบนของเส้นแรงแม่เหล็กโลก ทั้งในลักษณะนำเข้าหาตัวและผลักออกไป ทำให้เป็นสถานที่นัดพบหรือเป็นจุดอ้างอิงสำหรับเส้นทางการเดินทางของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรหลากหลายเผ่าพันธ์ุเลยทีเดียว



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 10 ส.ค. 14, 18:25

ยังไปไม่ได้ไกลมากเท่าใด ก็มีข่าวเกิดแผ่นดินไหวในพม่าอีก แล้วก็มีข้อสนเทศแสดงความกังวลและให้ระวังรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ในประเทศไทย ว่าอาจจะขยับเขยื้อนทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้

ก็คงจะมีคำถามว่าแล้วจะเป็นเช่นนั้นจริงๆหรือเปล่า  ตอบยากครับ มันเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันในหลายลักษณะและหลายระดับความเข้มช้น  บางเรื่องก็ทางตรง บางเรื่องก็ทางอ้อม บางเรื่องก็เป็นผลกระทบแบบกระชั้นชิด บางเรื่องก็อยู่ปลายทางห่างไกล 

แผ่นดินไหวในพื้นที่ทิวเขาทางด้านตะวันตกของที่ราบตอนกลางพม่า เกิดมาจากเหตุที่แผ่นทวีปอินเดียชนกับแผ่นทวีปยูเรเซีย (ไทยตั้งอยู่บนแผ่นทวีปนี้) ทำให้เกิดเป็นทิวเขาสลับทับซ้อนกันเป็นแนวต่อเนื่องเข้าไปสู่ระบบทิวเขาหิมาลัย-แอลป์ (Himalayan-Alpine Mountain Chain)

ส่วนที่เป็นทิวเขาสลับซับซ้อนบนผืนแผ่นดินส่วนต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ลึกขึ้นไปในเขตเขตบังคลาเทศ-พม่าและอินเดียตอนบน มีชื่อเรียกกันว่า Arakan Yoma mountain range   สำหรับส่วนล่างของทิวเขานี้ จะหายไปเมื่อเข้าสู่เขตทะเลแล้วจะไปโผล่อีกครั้งเป็นแนวหมู่เกาะที่เรียกว่า Nicobar Islands  ที่เป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของ tsunami ครั้งร้ายแรงในมหาสมุทรอินเดีย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง