เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140924 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 21:39

ขอพักแก้งงก่อนครับ
หายงงเมื่อไหร่จะไปสอบเทียบเอาอีกซักปริญญานึง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 04 ก.ค. 14, 21:55

ไม่ยากหรอกครับ  ธรรมะซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติในรูปของนามธรรมยังเรียนและเข้าใจได้  เรื่องที่เล่ามานี้ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติเหมือนกันและก็เป็นเรื่องในรูปของรูปธรรมเสียมากด้วย จะเรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายกว่าเยอะเลย 

ใช่ใหมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 04 ก.ค. 14, 22:20

อย่างที่ได้กล่าวมาแต่ต้นว่า ในกระทู้นี้จะมีภาษาอังกฤษมากหน่อย  ต้องขออภัยจริงๆครับ   กรุณาอย่าไปคิดว่าผมอยากอวดความรู้ภาษาอังกฤษเลยนะครับ 

ลองดูคำว่า transform fault นี้ซิครับ ทั้งสองคำนี้เมื่อใช้แยกกันมีความหมายไปคนละเรื่องเลย แต่เมื่อเอามารวมกันแล้วกลับกลายเป็นคำเรียกหรือคำศัพท์เฉพาะไปเลย      อ่านต่อๆไปก็คิดว่าคงจะได้เห็นคำว่า เช่น up-down fault, reverse fault, thrust fault, under thrust fault, over thrust fault, strike-slip fault ฯลฯ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 04 ก.ค. 14, 22:27

เชิญท่านนายตั้งให้ความรู้ต่อนะครับ ผมเห็นว่ายากแต่ก็พยายามตามอ่านตามศึกษา บางทีก็งงบ้างว่วงบ้าง ขออย่าได้ถือสาเลยครับ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 04 ก.ค. 14, 23:05

มาดูเรื่องราวทางมหาสมุทรแปซิฟิกกันบ้าง  ซึ่งผมจะขอให้ข้อมูล/ข้อเท็จจริงบางประการเสียก่อนนะครับ คือ กิจกรรมในธรรมชาติของโลกที่เกิดอยู่ หมุนเวียนอยู่ชั่วนาตาปี ย้อนหลังกลับไปได้หลายสิบ หลายร้อยล้านปี ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผิวโลกในส่วนที่เป็นแผ่นดิน หรือต่อชีวิตและทรัพย์สิน ที่ค่อนข้างจะเร็วและรุนแรงนั้น อาทิ แผ่นดินไหว พายุต่างๆ ภูเขาไฟ รอยเลื่อนมีพลังต่างๆ ดินโคลนถล่ม น้ำท่วม เหล่านี้ เกือบทั้งหมดจะเกิดขึ้นในพื้นที่ไม่ไกลเกินกว่าประมาณ 700 กม.จากชายฝั่งทะเล และก็ในความลึกไม่เกินประมาณนี้อีกด้วย  
 
ในพื้นที่ลึกเข้าไปกว่าประมาณ 700 กม.นี้มักจะเป็นพื้นที่ราบ ซึ่งหากอยู่ในบางช่วงของละติจูดก็อาจมีสภาพเป็นทะเลทราย หรือก็อาจมีสภาพเป็นพื้นที่ชุมน้ำ (wet land)




บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 05 ก.ค. 14, 20:16

แล้วก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า แล้วหมู่เกาะฮาวาย  แถวฟิจิ (กลุ่มหมู่เกาะ Tonga Kermadec)   New Zealand  อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น Aleutian  range ฯลฯ จึงมีภูเขาไฟและแผ่นดินไหว ทั้งๆที่เป็นเกาะ

ครับ มีสาเหตุและต่างก็อยู่ในชุดของเรื่องราว (regime) ที่ต่างกัน

สำหรับหมู่เกาะฮาวาย    เป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ เกิดมาจากการปะทุของภูเขาไปประเภทที่เรียกว่า shield volcano คือ เป็นทรงหมวกกุยเล้ย เป็นประเภทไม่ปะทุในลักษณะที่รุนแรง และเป็นประเภทที่มีแต่ลาวาไหลออกมาแบบต่อเนื่อง
 
เรื่องของเรื่องเป็นดังนี้  ตำแหน่งของเกาะฮาวายนั้น ตั้งอยู่เหนือบริเวณที่เรียกว่า hot spot ของเปลือกโลก ซึ่งคือ ณ.ตำแหน่งที่อยู่เหนือบริเวณที่มีหินหลอมละลาย (magma) ในชั้น upper mantle (ชั้น Asthenosphere) จึงมีการปะทุผุดออกมาไหลออกมาของหินละลายอย่างต่อเนื่อง    พื้นที่ที่เป็นแผ่นดินของเกาะฮาวายมีการขยายเพิ่มขึ้นไปทางประมาณทิศใต้อย่างต่อเนื่องทุกๆปีครับ   

คราวนี้ค่อยๆคิดนะครับ คือ บริเวณตำแหน่งในชั้น asthenosphere ที่มีหินละลายและพร้อมจะปะทุขึ้นมานั้น อยู่ที่เดิม แต่แผ่นเลือกโลกที่เกิดใหม่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ  ทำให้ตำแหน่งใดๆบนผิวโลกเคลื่อนที่ไปด้วย (คล้ายกับการเอาแผ่นกระดาษลนเหนือเปลวเทียนแล้วค่อยๆขยับไปเรื่อยๆ)  เลยทำให้ตำแหน่งของจุดปะทุของหินละลายออกมาถึงผิวโลกเคลื่อนที่ตาม เกาะฮาวายจึงขยายตัวแบบเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 05 ก.ค. 14, 20:53


อ้างถึง
สำหรับหมู่เกาะฮาวาย    เป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ เกิดมาจากการปะทุของภูเขาไปประเภทที่เรียกว่า shield volcano คือ เป็นทรงหมวกกุยเล้ย เป็นประเภทไม่ปะทุในลักษณะที่รุนแรง และเป็นประเภทที่มีแต่ลาวาไหลออกมาแบบต่อเนื่อง
 
เรื่องของเรื่องเป็นดังนี้  ตำแหน่งของเกาะฮาวายนั้น ตั้งอยู่เหนือบริเวณที่เรียกว่า hot spot ของเปลือกโลก ซึ่งคือ ณ.ตำแหน่งที่อยู่เหนือบริเวณที่มีหินหลอมละลาย (magma) ในชั้น upper mantle (ชั้น Asthenosphere) จึงมีการปะทุผุดออกมาไหลออกมาของหินละลายอย่างต่อเนื่อง    พื้นที่ที่เป็นแผ่นดินของเกาะฮาวายมีการขยายเพิ่มขึ้นไปทางประมาณทิศใต้อย่างต่อเนื่องทุกๆปีครับ   

เคยไปเห็นมากับตาอย่างนี้ที่ Big Island of Hawaii ครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 05 ก.ค. 14, 22:44

ดีจังครับที่ได้เห็นของจริง  ผมยังไม่เคยได้ไปเห็นเลย    เคยไปแวะพักที่ฮาวายตอนไปเรียนต่อ 40 ปีมาแล้ว ช่วงนั้นวงวิชาการเพิ่งจะเริ่มประมวลข้อมูลได้เพียงพอที่จะสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกมีจริง และการเปลี่ยนแปลงต่างๆบนผิวโลกที่เราได้เห็นอยู่นั้น ล้วนมาจากผลของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 

ตอนเรียนอยู่ ก็เป็นช่วงที่มีแต่การค้นพบอะไรต่อมิอะไรใหม่ๆทั้งในวงวิชาการของอเมริกาและอังกฤษ  เกิดเป็นทฤษฎี Plate Tectonic อย่างเต็มตัว แล้วกลายเป็นทฤษฎีที่ครอบคลุม (governing theory) และใช้อธิบาย ไขข้อข้องใจทั้งหลาย รวมทั้งสามารถใช้ในการกำหนดพื้นที่ในการแสวงหาทรัพยากรธรณีในพื้นที่ต่างๆในโลกได้อย่างค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 06 ก.ค. 14, 22:10

สำหรับภูเขาไฟในที่อื่นๆ (ที่มิใช่หมู่เกาะฮาวาย) ที่ได้ยกตัวอย่างกล่าวถึงนั้น ล้วนแต่เกิดอยู่ในตำแหน่งเหนือบริเวณที่มีแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากัน โดยแผ่นหนึ่ง (พื้นท้องทะเล_oceanic floor) มุดตัวลวไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง (แผ่นดิน_earth crust)   ซึ่งการเกิดการมุดตัวกันในลักษณะนี้เรียกว่า subduction zone   

     แต่หากเป็นไปในทางกลับกัน กลายเป็นแผ่นพื้นท้องทะเลเกยขึ้นไปบนแผ่นแผ่นดิน  ก็จะเรียกว่า obduction zone   และหากเป็นกรณีเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่เข้าชนกันอย่างยับเยิน กลายเป็นภูเขา เช่น หิมาลัย ก็เรียกว่า collision zone 
   
ทั้งนี้ พื้นที่ (zone) ที่ได้กล่าวถึงมาทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องของบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่น (ซึ่งเคลื่อนในทิศทางที่สวนกัน) มาอยู่ร่วมกัน เลยเรียกลักษณะแบบนี้ในภาพรวมๆว่า  convergent plate boundary   


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 06 ก.ค. 14, 22:36

เป็นอันว่า ขณะนี้เราได้เห็นความสัมพันธ์ของแผ่นเปลือกโลกที่มีระหว่างกันใน 3 รูปแบบ คือ
 
     1). อยู่ติดกันในพื้นที่ๆมีการสร้างเปลือกโลกขึ้นมาใหม่ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ตามแนวทิวเขาใต้น้ำพื้นท้องมหาสมุทรต่างๆ    เรียกลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้ว่า divergent plate boundary 
 
     2). อยู่กันในลักษณะชนกัน มุดกัน เกยกัน   ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่างแแผ่นดินกับมหาสมุทร    เรียกลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้ว่า convergent plate boundary

     3). อยู่กันแบบเคลื่อนที่ผ่านกันไปเรื่อยๆ คล้ายกับการสวนกันของบันใดเลื่อนขาขึ้นและขาลง    เรียกลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้ว่า transform fault plate boundary

     

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 07 ก.ค. 14, 20:05

ขยับไปต่ออีกนิดนึง   ก็สรุปได้อีกเหมือนกันว่า ที่บริเวณแผ่นเปลือกโลกสองสามแผ่นมาอยู่ร่วมกัน นอกจากจะมีภูเขาไฟเกิดร่วมด้วยแล้ว ก็มีแผ่นดินไหวเกิดร่วมอยู่อีกด้วย

อืม์ แล้วตามแนวแผ่นเปลือกโลกเกิดใหม่ (divergent zone) มีภูเขาไฟเกิดด้วยหรือ ?
   
คำตอบ คือ จะว่ามีในลักษณะที่เป็นภูเขาไฟปะทุ พ่นหิน พ่นแกส พ่นเถ้าถ่านออกมา ก็มี (เช่น เกาะ Iceland)    แต่เกือบทั้งหมดจะเป็นแบบมีลาวาไหลผุดออกมาและเกิดอยู่ใต้น้ำที่ก้นท้องมหาสมุทร (คือ ทิวภูเขาใต้ท้องมหาสมุทร_mid-oceanic ridge)  ซึ่งเหล่าภูเขาใต้ท้องน้ำเหล่านี้ก็เกิดจากหินลาวาที่ไหลออกมาแล้วเย็นตัว เกิดเป็นภูเขาแล้วก็ยังเคลื่อนที่ห่างออกจากแนว mid-oceanic ridge อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ 

ภูเขาใต้น้ำเหล่านี้สูงนะครับ บางยอดก็เขาเกิดมาอยู่เรี่ยกับผิวน้ำ จนเหล่าลูกหลานของปะการังบางชนิดที่ลอยฟ่องอยู่ในมหาสมุทรเห็นว่าเหมาะสม (ด้วยคลื่นลมดี ออกซิเจนดี อาหารดี แดดดี ฯลฯ) ก็เลยลงจอดฝังตัวสร้างอาณานิคมให้ใหญ่โต กลายเป็นเกาะปะการังอยู่กลางมหาสมุทร ที่หลายคนใฝ่ฝันจะไปใช้ชีวิตโรแมนติดแบบโบินสัน ครูโซ  เกาะเหล่านี้ตั้งอยู่บนยอดภูเขาใต้น้ำและเคลื่อนที่เข้าหาฝั่งตลอดเวลา น้ำก็ลึกมากขึ้นตลอดเวลาเมื่อเข้าใกล้ฝั่งมากขึ้น ปะการังก็พยายามอยู่รอดด้วยการพอกตัวให้สูงขึ้นเพื่อจะได้อยู่ใกล้ผิวน้ำที่มีแสงแดด เพื่อเก็บกินอาหารพวกแพลงตอนที่ใช้แสงแดดในการสังเคราะห์อาหารและดำรงชีพ (พวก phytoplankton) 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 07 ก.ค. 14, 20:57

นั่งแอบจดเลกเชอร์อยู่หลังสุดของห้องค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 07 ก.ค. 14, 21:58

ขอบพระคุณครับ ที่ยังไม่ผลอยหลับไป 

รู้ว่าเป็นวิชาการมาก หนักไปหน่อย แต่ก็น่าจะเป็นความรู้ความเข้าใจที่มีประโยชน์อยู่มากโข อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์ในเชิงของกระบวนการในธรรมชาติที่ดำเนินมานานเป็นหลายสิบหลายร้อยล้านปีแล้ว แล้วก็ยังจะดำเนินอยู่ต่อไป
 
ผมเล่ามาในมุมที่เยิ่นเย้อ ได้พยายามโยงใยและยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อทำให้ง่าย ก็เพื่อลดความสลับซับซ้อนที่จะต้องอธิบายเรื่องที่เกี่ยวพันหลายๆเรื่อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 08 ก.ค. 14, 07:49

ท่านคุณตั้งอย่าเพิ่งเบื่ออย่าเพิ่งง่วงนะครับ เรื่องอย่างนี้ไม่มีใครเขียนกันเพราะมันยาก สืบต่อไว้หน่อย แต่มันต้องมีสมาชิกบางคนในห้องนี้เข้าใจได้ลึกซึ้ง แม้จะสองสามคนในร้อยก็คุ้มแล้ว

คนรุ่นหลังเรานี่แหละที่จะต่อยอดวิชาการยากๆอย่างนี้ให้บรรลุประโยชน์จริง วันหนึ่งคลื่นลูกหลังอย่างพวกเขาจะทำนายการเกิดของแผ่นดินไหว ซึนามิ หรือพิบัติภัยอื่นๆได้ เป็นคุณอนันต์ต่อมนุษยโลก

ที่ผมเข้ามากวนๆสลับฉากบ้างก็พอเป็นสีสันนะครับ ไม่ได้กะจะเหวง แต่ถ้าเห็นว่าผิดนโยบายจะประกาศเรียกผมไปปรับความเข้าใจก็ได้ ผมยินดีปรองดอง รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 08 ก.ค. 14, 19:21

คุณ NC. ครับ  ขอบคุณมากๆครับ

เป็นกำลังใจอย่างดีเยี่ยมเลยครับ  แทรกเข้ามาก็ได้ช่วยทำให้ผมได้ปิ๊งว่าจะเขียน จะเดินเรื่องต่อไปอย่างไร   

เคยสอนหนังสือในระดับ post grad. ในศาสตร์ของสิ่งแวดล้อมมานานพอควร ก็เลยพอจะมีประสพการณ์กับความเงียบในชั้นเรียน ซึ่งพบว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากความสนใจที่ผู้ฟังได้รับคำอธิบายในข้อกังขาต่างๆให้กระจ่างขึ้น และความเข้าใจกำลังเดินทางไปสู่บางอ้อ   แต่หลายครั้งก็เห็นอาการหลับ ซึ่งก็เพราะเป็นตัวเราเองที่บอกเล่าเรื่องราวแบบไม่ได้เรื่องเอาเลย หรือไม่ก็เข้าไปอยู่ในระดับฝอยลิงหลับ

ก็พยายามจะเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในวัตถุทรงกลม (โลก) ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากควา่มพร้อมและความเหมาะเจาะในหลายๆมิติ   เช่นในเรื่องของรูปทรง (กว้าง ยาว หนา...ฯลฯ)     ในเรื่องของมวล_mass (ความหนาแน่น ส่วนประกอบ ฯลฯ)    ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม (environment, condition ...ฯลฯ)      + เวลา อาทิ ระยะเวลาหมักหมมตัว (resident time) จังหวะเวลาที่จะเกิด (time of occurrence)        +ตัวแปรที่เปิดแบบไม่จำกัดเพราะเป็น open system      และแถมด้วยเหตุ หรือผลกระทบจากการกระทำจากนอกโลกหรือสื่งที่มาจากนอกโลก  (extraterrestrial impact)

ครับ ก็พยายามจะอธิบายเรื่องราวและความสัมพันธ์ต่างๆให้ง่ายโดยแปลงไปสู่ระบบ 2 มิติ คือ บนแกน x แกน y   เลยต้องเยิ่นเย้อหน่อย ก็ขออภัยด้วยครับ

   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง