เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140925 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 29 มิ.ย. 14, 22:32

ชั้น asthenoshere นี้เองแหละคือตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆในชั้นผิวโลก     เนื่องจากตัวของมันนั้น มีทั้งที่มีสภาพเป็นของนิ่มก็มี ของไหลก็มี และของเหลวก็มี    บริเวณใดที่มีความร้อนสูง ก็จะไปสร้างให้เกิดกระบวนการ convection current เป็นสายพานที่ดึงให้ผิวโลกที่วางทับอยู่ให้ค่อยๆแยกออกจากกัน  เริ่มต้นจากทำให้ผิวโลกในบริเวณนั้นๆบางลง จนในที่สุดก็ปริ แยกออกจากกัน คล้ายกับที่เราพยายามดึงขนมชั้นให้ขาดออกจากกัน

    รอยปริที่เกิดขึ้นนี้ มีลักษณะเป็นริ้วเป็นแนวที่ตั้งฉากกับแรงที่ดึงมัน  ในธรรมชาติ ก็คือ fault ที่ศัพท์บัญญัติเรียกว่า รอยเลื่อน นั่นเอง
    เมื่อแยกออกจากกัน ตัวหินละลายก็จะผุดขึ้นมาระหว่างผิวโลกสองฝั่งที่ถูกดึงแยกออกไป  เกิดเป็นทิวเป็นแนวของหินละลายที่ทะลักออกมาตรงกลาง เหมือนกับน้ำประปาที่ผุดขึ้นมาตามรอยแตกของถนนเมื่อเวลาเกิดท่อประปาแตก
    เมื่อถูกดึงจนบางลง ระดับต่ำลง น้ำทะเลก็เข้า นานเข้ามากๆก็เห็นมหาสมุทร
    กรณีที่เล่าทั้งหมดมานี้ อยู่ในเรื่องของแรงที่ทำให้เกิดการขยาย (extension)

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 29 มิ.ย. 14, 23:09

มหาสมุทรแอตแลนติค ก็เกิดจากเหตุการนี้และครับ  เป็นมหาสมุทรที่มีอายุประมาณ 80 ล้านปี มีภูเขาใต้น้ำเป็นทิวยาวอยู่ประมาณกึ่งกลางมหาสมุทร เรียกกันว่า mid-oceanic ridge (ในกรณีนี้เรียกว่า mid-Atlantic Ridge) ซึ่งก็คือแนวที่หินลาวาที่ไหลทะลักออกแล้วไหลไปทั้งสองฟากๆ ไปเป็นพื้นท้องมหาสมุทรใหม่ มหาสมุทรก็ขยายใหญ่ไปเรื่อยๆ ผลักให้แผ่นดินสองฟากห่างกันไปเรื่อยๆ  จำได้ว่ามีอัตราการขยายตัวประมาณ 6 ซม.ต่อปี 
บางส่วนของทิวเขาใต้น้ำก็โผล่ขึ้นมา เป็นประเทศ Iceland      ส่วนที่อยู่ใต้น้ำก็ออยู่ลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 2 กม.
สองฝั่งของมหาสมุทรก็จะมีสภาพเป็นหน้าผา เนื่องจากถูกผลักให้ขาดออาจากกัน กลายเป็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ชายฝัั่ง Galway ใน Ireland 

ใกล้ชายฝั่งทั้งสองฝั่งก็จะมีส่วนของแผ่นดินราบจมอยู่ใต้น้ำ ที่เรียกว่า continental shelf อาจจะมีอยู่หลายระดับ  เป็นเขตน้ำที่ค่อนข้างตื้น ทำประมงได้ดีมาก ในยุคแรกๆนั้นประเทศที่มีชายทะเลลักษณะนี้ก็จะหวงพื้นที่กัน และใช้คำว่า เขตใหล่ทวีป    ต่อมาเทคโนโลยีดีขึ้น ทำประมงในน้ำลึกขึ้น แถมมีเครื่องบ่งชี้ว่าน่าจะอุดมไปด้วยน้ำมันและแร่ธาตุ ก็เลยหันไปใช้คำว่า เขตเศรษฐกิจนอกชายฝั่ง (EEZ_Exclusive Economic Zone) กลายเป็นเขต 200 ไมล์ทะเลไป

มหาสมุทรแอตแลนติคนั้น ยิ่งไกลฝั่งก็ยิ่งลึก ต่างกับแปซิฟิก ที่ลึกมากใกล้ชายฝั่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 19:43

ภาพของการกระบวนการเกิดของมหาสมุทรแอตแลนติคที่เล่ามานี้ ก็คือกระบวนการแยกห่างออกจากกัน (rifting)     ซึ่งก็มีพวกที่เริ่มเกิดมาแล้ว แล้วก็หยุดไป เหลือให้เห็นแต่ซาก เช่น พื้นที่ในทวีปอัฟริกาที่เรียกว่า East African Rift Valley

เมื่อเกิดการ rifting และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก็หมายความว่าจะต้องมีพื้นท้องมหาสมุทรเกิดขึ้นใหม่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ  ซึ่งวัสดุก็ต้องมาจากการไหลออกมาของลาวาไปทั้งสองด้านของ mid-oceanic ridge นั่นเอง    จึงเรียกภาพนี้ว่า sea floor spreading     เท่ากับมีการเกิดใหม่ของผิวเปลือกทั้งสองด้านตลอดแนว mid-oceanic ridge    เป็นลักษณะของการกำเนิดแผ่นเปลือกโลกใหม่ที่เเขามีแรียกกันว่า เป็นแบบ divergent

เอาละครับ จากภาพที่เล่ามาทั้งหมด แสดงว่าทุกอย่างยัของงไม่หยุดนิ่ง คือ ยังเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า ยัง active อยู่ (ศัพท์บัญญัติใช้คำว่า มีพลัง)  ก็หมายความว่า รอยเลื่อน (หรือ fault) ที่เห็นอยู่ในระบบ ก็เป็นแบบมีพลัง    ซึ่งหากเป็นไปตามความรู้และความเชื่อแบบตรงไปตรงมาของคนที่มีระบบคิดแบบระบบ close system ก็หมายความว่ามันมีโอกาสสร้างให้เกิดแผ่นดินไหวที่สร้างให้เกิดความเสียหายได้ รวมทั้งมีโอกาสทำให้เกิดคลื่น tsunami ได้ด้วย  ชิมิ ชิมิ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 19:15

ก่อนจะไปต่อ ขอย้อนกลับไปที่คำว่า rift   เพราะว่า คงจะมีหลายท่านที่ได้อ่านศึกษาเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงในเปลือกโลก และพบคำว่า rift บ้าง  drift บ้าง
   
rift มีความหมายในทางรูปแบบที่เกิดขึ้น คือ เกิดการแยกตัวออกจากกัน
drift มีความหมายในทางกระบวนการที่กระทำอย่างต่อเนื่อง คือ การดึงแยกออกไปเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 20:28

เอาละครับ  ในมหาสมุทรแอตแลนติค มี tsunami ใหม

คำตอบ คือ มีครับ (แบบเหนียมๆ)    ซึ่งมีน้อยครั้งมาก  ก็มีอย่างน้อยก็ 2-3 ครั้ง ที่สร้างความเสียหายค่อนข้างมาก  ครั้งหนึ่งก็เกิดในช่วงประมาณกลางศตวรรษที่ 18  จากเหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งทะเลปอร์ตุเกตุ  ซึ่งเชื่อว่ามาจากการขยับเขยื้อนของผิวโลกในพื้นที่ของรอยเลื่อนที่เกิดมาจากกระบวนการดึงแยกผิวโลกที่กล่าวมาแล้ว  ซึ่งก็คือ ในลักษณะที่แผ่นดินด้านหนึ่ง _ฝั่งนอกชายฝั่ง_off shore side_ทรุดตัวลงไปตามระนาบรอยเลื่อน (fault plane)  (คล้ายกับภาพของถนนที่บริเวณใหล่เขาทรุดตัวลงเป็นกระบิ_slumping)
 สถาปนิก
อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากจำไม่ผิด ก็คิดว่าเป็นในช่วงเวลาประมาณการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในญี่ปุ่นในปี 1923 ที่ทำให้โตเกียวราบพณาสูร ยกเว้นแต่โรงแรมอิมพีเรียลที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียวและซุึ่งออกแบบโดย Frank Lloyd Wright  (สถาปนิกชื่อดังที่ท่านนวรัตน์น่าจะได้รับอิทธิพลทางแนวคิดบางประการ) tsunami ในครั้งนั้น พบได้ตลอดแนวชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา  แต่ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้จะไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหวโดยตรง แต่เกิดจากเหตุการณ์ตะกอนดินหินทรายใต้พื้นท้องทะเลถล่ม (submarine landslide) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ (tremor) ที่เกิดอยู่ตามปรกติ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 20:40

รวมทั้งมีโอกาสทำให้เกิดคลื่น tsunami ได้ด้วย  ชิมิ ชิมิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 20:58

เผ่นดีกว่า


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 22:25

ต่ออีกนิดนึง เรื่อง sub-marine landslide

ตามภาพของท้องทะเลที่ได้บรรยาย    ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ใหล่ทวีปนั้นก็ย่อมมีตะกอนดินทรายไปกองทับถมอยู่เป็นธรรดา และก็จะมีกองทับถมกันไปจนถึงขอบใหล่ทวีป ก่อนที่พื้นท้องทะเลจะเปลี่ยนเป็นหน้าผาชัน (continantal slope) ลงไปสู่พื้นท้องมหาสมุทรส่วนลึก (abysal plain)   ไอ้ส่วนที่กองอยู่ตรงขอบหน้าผานี้แหละที่จะไหลถล่มทลายลงไปสู่ก้นทะเล และดึงเอาตะกอนส่วนอื่นๆตามลงไปด้วย  เกิดเป็นเหตุการณ์ sub-marine landslide

ขยายต่อไปอีกนิดนึง เพื่อให้เห็นภาพอย่างหยาบๆในอีกเรื่องหนึ่งว่า   ตรงบริเวณรอยต่อของใหล่ทวีปนี้เอง ที่น้ำเย็นจากในท้องมหาสมุทรพบกับน้ำที่อุ่นกว่าในใหล่ทวีป  สร้างสรรพอาหารขึ้นมา ทำให้มีแพลงตอนมาก สร้างห่วงโซ่อาหารที่สำคัญหมุนเวียนไม่รู้จบ  ครับ ปลาที่แพงๆ ที่ว่าเนื้ออร่อยๆกันนั้น ก็จับได้กันในพื้นที่ลักษณะอย่างนี้แหละ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 22:56

ดูไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกันเลย ระหว่างการถล่มทะลายของตะกอนดินทรายในท้องทะเล

เกี่ยวครับ จะเป็นโดยตรงเสียด้วย  อธิบายอย่างง่ายๆว่า กองตะกอนจำนวนมหาศาลที่ไหลลงไปสุูท้องมหาสมุทรนึ้ ทำให้พื้นท้องทะเลถูกขุดออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการยุบตัวของระดับน้ำอย่างรวดเร็ว (ในบริเวณที่เกิดการถล่มของตะกอน)  น้ำจะต้องปรับระดับใหม่อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดคลื่นกระจายออกไป เป็นคลื่น tsunami

เมื่อครั้งเกิด tsunami ครั้งประวัติศาสตร์ในมหาสมุทรอินเดียที่กระทบชายฝั่งด้านทะเลอันดามันของไทยนั้น จุดเริ่มต้นของคลื่นก็คือ การที่พื้นท้องทะเลมีการเคลื่อนตัว (ยกตัว/ทรุดตัว) ตามระนาบรอยเลื่อน ในลักษณะข้างหนึ่งสูงอีกข้างหนึ่งต่ำ ซึ่งก็คือ การส่งผลให้ระดับน้ำที่อยู่เหนือท้องทะเลที่ยกตัว/ทรุดทั้งสองด้านเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

มาถึงตรงนี้ ก็กลายเป็นว่า tsunami นั้น ไม่ได้เกิดจากการไหวของแผ่นดิน แต่เกิดจากผลของการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน ซึ่งการเคลื่อนตัวของแผ่นดินนั้นเป็นตัวการทำให้เกิดแผ่นดินไหว  ชักมึนอีกแล้วล่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 18:47

มีคำว่า tsunami แล้ว ก็เลยทำให้นึกถึงคลื่นอีก 2 ชนิดที่ทำให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินหรือชีวิตในพื้นที่ชายทะเลไม่แพ้กัน คือ tidal wave และ storm surge

tidal wave ก็คือคลื่นทะเลตามปรกติที่เกิดในช่วงที่ระดับน้ำทะเลสูงและต่ำ ซึ่งก็คือ คลื่นในระดับน้ำที่ขึ้นและที่ลงในอิทธิพลของดวงจันทร์ (เมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง)

หากเราไปเดินในพื้นที่ชายทะเล เราจะเห็นว่า ที่บริเวณรอยต่อของพื้นที่ราบด้านในของแผ่นดินกับส่วนที่เป็นชายหาดจะมีสภาพเป็นตะพัก โดยตะพักส่วนพื้นที่ต่ำ (ส่วนที่เป็นชายหาด) ก็จะประกอบด้วยทรายและไม่มีต้นพืช หรือมีพืชอยู่บ้าง (เช่น ต้นผักบุ้งทะเล ที่เอาใบมันมาขยำในน้ำจืดแล้วชะโลมแก้ปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณที่ถูกแมงกระพรุนไฟ)  ส่วนตะพักที่เป็นที่ราบส่วนที่สูงกว่านั้นจะพบว่ามีพืชคลุมดิน  ตะพักนี้เรียกว่า berm      เมื่อเดินลงชายหาดต่อไปก็จะพบอีกตะพักหนึ่ง เป็นอีก berm หนึ่ง แล้วจึงเป็นชายหาดราบลงสู่ทะเล

ตะพักด้านใกล้น้ำทะเลเกิดจากการกัดเซาะช่วงระดับน้ำทะเลต่ำสุด  ตะพักอีกอันหนึ่งที่อยู่ที่ระดับสูงกว่าเกิดจากการกัดเซาะในช่วงที่มีระดับน้ำทะเลสูงสุด  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปในระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกันไปในแต่ละปี  ความเสียหายที่สำคัญก็คือ ชายหาดถูกกัดเซาะลึกเข้าไป  เช่น ชายทะเลบริเวณชายหาดชะอำ ที่ถนนเลียบชายหาดถูกกัดเซาะออกไป



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 19:01

tidal wave ในอีกลักษณะพื้นที่หนึ่ง คือ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เป็นทะเลโคลน (mud flat) เช่น บริเวณปากอ่าวระหว่างปากแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง  ซึ่งในช่วงที่น้ำทะเลมีระดับต่ำ ก็จะมีแต่เพียงน้ำเอ่อท่วมพื้นที่โคลน  แต่ในช่วงที่น้ำทะเลมีระดับสูง ก็จะมีคลื่นระลอกใหญ่ๆซัดให้เห็น
พอเพียงเท่านี้นะครับ มากกว่านี้ไปจะกลายเป็นการเล่าเรื่องการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเล (shoreline erosion) ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ของไทยเราในปัจจุบันนี้  ที่พบแทบจะตลอดชายฝั่งในพื้นที่อ่าวไทย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 19:34

เรื่องของ storm surge นั้น   โดยพื้นเรื่องอย่างง่ายๆของเรื่องราว ก็คือ ในพื้นที่ที่เกิดพายุนั้น จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ซึ่งจะเป็นผลทำให้ระดับน้ำในทะเลในบริเวณนั้นยกตัวสูงขึ้น  ดังนั้น ในพื้นที่ชายทะเลที่มีระดับพื้นดินไม่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากนัก เมื่อระดับน้ำยกตัวสูงขึ้น ถูกลมพายุพัดผ่าน ทำให้เกิดคลื่นสูง พัดเข้าหาฝั่ง ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมและคลื่นลมแรง กระหน่ำอาคารบ้านเรือนให้เกิดความเสียหาย
 

เล่าไว้เป็นกระษัยว่า ได้พบกันว่า อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป 1 องศา C (โลกร้อน) นั้น จะทำให้แนวปะทะของอากาศร้อนและเย็นเคลื่อนที่ไปได้ไกลถึงประมาณ 700  กม.  โดยสรุปก็คือ พายุจะไปเกิดในทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่งมากขึ้น  ซึ่งทำให้สังคมอนุรักษ์นิยมของโลกหันไปให้ความสนใจกับเรื่องปัญหาของเมืองในที่ราบชายฝั่งทะเล ที่จะถูกน้ำเอ่อท่วมและเมืองจมน้ำ (inundate coastal area)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 22:22

กลับเข้ามาต่อเรื่องแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวในพื้นที่ครอบคลุมมหาสมุทรแอตแลนติคนั้น เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นแนวแคบๆตลอดแนวสันเขากลางมหาสมุทร เป็นแบบขนาดเล็กประมาณ 2-3 +/- ริกเตอร์ และมีจุดกำเนิดอยู่ตื้นมาก ที่จริงแล้วเกือบจะเรียกได้ว่าเป็น tremor แต่เนื่องจากไม่ได้เป็นความรู้สึกของคน รู้ได้ก็เพราะเครื่องมือมันตรวจวัดได้ ก็เลยเรียกกันว่ามี seismic activity (เป็นการกล่าวถึงในภาพกว้าง)  และเรียกว่า earthquake เมื่อกล่าวถึงในลักษณะการผนวกขนาดการเกิดของมันเข้าไป   แผ่นดินไหวตามแนวที่ว่านี้เป็นความสั่นสะเทือนที่เกิดมาจากการเคลื่อนตัว หรือการไหลผุดขึ้นมาของหินหลอมละลาย

คราวนี้ลองนึกถึงผลส้ม แล้วลองเอาปากกาขีดที่ผิวให้เป็นเส้นในแนวบน-ล่าง  (ลองคิดสิว่า เส้นนี้เป็นเส้นตรงหรือไม่ น่าคิดนะครับ)  และหากเกิดมีลาวาผุดขึ้นมาแล้วไหลออกไปทั้งสองข้างของเส้นตรงนี้บนผิวส้มลูกกลมๆนี้   

กำลังคิดว่าจะอธิบายอย่างไรกับบรรดาเส้นและระนาบบนผิวทรงกลม

เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน จะบอกว่ามันเกิด transform fault  ในแนวที่ตั้งฉากกับแนวเส้นที่เราลากเส้นไว้บนผิวส้ม

ขอพักแก้งงก่อนครับ



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 19:34

ก็ยังหาคำอธิบายแบบง่ายๆไม่ได้ ที่เกี่ยวกับเส้นและระนาบทั้งหลายที่เกิดขึ้นบนผิวและภายในในวัตถุทรงกลมทั้งหลาย   

เอาแบบเรียนลัดดีกว่านะครับ    ลองไปหาดูแผนที่ภูมิประเทศโลกที่แสดงพื้นที่ใต้ท้องมหาสมุทรต่างๆ  จะเห็นว่ามีแนวทิวเขาใต้น้ำอยู่แถวๆพื้นที่กลางมหาสมุทร (ทุกมหาสมุทร) แล้วก็จะเห็นมีร่องหรือแนวขวางตัดเกือบจะตั้งฉากกับทิวเขาเหล่านั้น ร่องของแนวเหล่านั้น คือ ร่องของรอยเลื่อนที่เรียกว่า transform fault    ซึ่งเป็นเรื่องในบริบทของแนวที่มวลวัตถุสองฝั่งเคลื่อนที่ผ่านกัน   

ในทะเลนั้น transform fault ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเหมือนกัน ก็หมือนกับการฉาบปูน ที่จะต้องมีการสะดุดบ้างเป็นธรรมดา แต่สภาพของที่เกิดเหตุในพื้นที่ท้องทะเลเกือบทั้งหมด อยู่ในลักษณะที่เป็นหินชนิดเดียวกันเคลื่อนที่ผ่านกัน (หิน basalt) และระนาบที่เคลื่อนที่ผ่านกันนั้น ก็เป็นระนาบแบบที่เกือบจะตั้งตรง (คล้ายผนังกำแพง) แรงที่ทำให้มันเคลื่อนที่ผ่านกันก็เป็นแต่เพียงแรงผลักไปในทิศทางเดียวกัน (อยู่ในฝั่งเดียวกันของทิวเขาใต้ท้องมหาสมุทร) ก็๋จึงคล้ายกับกับการวิ่งแข่งกัน วิ่งแซงกัน การเกิดการสะดุดติดแล้วหลุดออกจากกัน ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหว จึงไม่รุนแรงนัก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 21:20

เจ้า transform fault นี้ ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีพิษภัยในย่านมหาสมุทรแอตแลนติคมากนัก แต่แท้จริงแล้วในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกกลับไปอีกเรื่องนึงเลย มันนี่แหละเป็นตัวสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆ สร้างความเสียหายได้ครั้งละมากๆ 

สำหรับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในภูมิภาคที่ครอบคลุมและเกี่ยวข้องกับมหาสมุทรแอตแลนติคนี้ ผมจะไม่ขยายความต่อไปนะครับ  เพราะว่ามันแทบจะเป็นเรื่องในอีกบริบท (context) และในอีกชุดของเรื่องราว (regime) ที่แตกต่างไปจากเรื่องของเราในภูมิภาคแปซิฟิก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง