เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141118 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 13:19

นี่แบบshakeพอได้ไหม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 13:41

นี่ก็สั่นเหมือนกัน น่าจะประมาณ2ริกเตอร์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 13:44

หลังแผ่นดินไหวที่บ้านท่านนายตั้ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 13:48

เชิญต่อนะครับ เรื่องสาระหนักๆอย่างนี้นานๆจะมีคนมาให่วิทยาทาน เห็นท่านผู้เขียนเอาไม้จิ้มฟันถ่างตาก็จะพลอยทำให้ผู้อ่านง่วงไปด้วย ลูกคู่ต้องออกมาช่วยเสริมหน้าม่านหน่อย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 16:23

เชียงรายเจอแผ่นดินไหวที่อ.แม่ลาวขนาด3.8เมื่อตอนตี1และตอนตี4ขนาด2.5รู้สึกได้ถึงแรงสั่นไหว สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวรายงานว่า เช้าวันนี้ (27 มิถุนายน 2557) เมื่อเวลา 01.00 น. ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1izBIcO



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 19:12

ท่าน N.C หาภาพมาประกอบได้เข้าท่าเลยทีเดียวครับ

rock เป็นอาการในลักษณะของการ กระชากไปมา ใกล้เคียงกับอาการคล้ายกับภาพใน คห. 163 แต่จะเป็นการกระชากไปมาที่ช้ากว่ามาก คล้ายกับภาพของพ่อครัวอาหารฝรั่งที่กำลังขยับกระทะเพื่อไม่ให้อาหารคิดกระทะในขณะทอดหรือผัด

ภาพใน คห.164 เป็นลักษณะอาการของการแกว่งไปมา ไปตรงกับคำว่า vibration  เป็นการโยกไปโยนมาที่ค่อนข้างจะมีความนุ่มนวลและมีวงรอบ (จะบอกว่าเป็นลักษณะของ sine wave ก็เกรงว่าจะต้องขยายความอีก..แหะๆ) คล้ายกับการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกานั่นแหละ

ภาพใน คห.165 ตรงเผงกับอาการของคำว่า shake คือ กระชากไปมาในหลายทิศทาง

เอาละครับ  สอบผ่านสบายๆ
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 19:16

ยังขาดภาพของลักษณะ tremor, rattle และ jolt อยู่ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 19:42

อ้อ  ภาพใน คห.168 น่าจะใกล้เคียงกับลักษณะอาการของคำว่า jolt  คือ ผลักในทันใดให้โงนเงนไปมา ครับ

ทำให้นึกไปไกล...ถึงความวิลิศมาหราของภาษาไทย   
     โยก ก็มีความหมายนึง พอเพิ่ม ข เข้าไปเป็น โขยก ก็ไปในอีกความหมายนึง
     เพิ่ม เยก หลังความว่า โยก ก็ให้ในอีกความหมายนึง แล้วก็พอเพิ่ม ข เข้าไปเป็น เขยก ก็เป็นอีกความหมายนึง
     แถมเอาสองคำมารวมกันเป็น โยกเยก ก็ให้อีกความหมายนึง พอเป็น โขยกเขยก ก็ไปอีกเรื่องนึงไปเลย

เคยสังเกตอยู่ว่า คำในภาษาไทยที่มีสระ เ เป็นตัวสะกดนำหน้า จะมีความหมายไปในทางไม่ค่อยจะดีอยู่มากคำเลยทีเดียว


อ้าว  ไปไกลกว่าเรื่องแผ่นดินไหวเสียหลายลี้แล้ว กลับเข้าเรื่องดีกว่านะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 22:18

ติดค้างอยู่ที่ว่า แล้วรู้ได้อย่างไรว่าเป็นคลื่นแผ่นดินไหวที่กำเนิดจากธรรมชาติหรือจากฝีมือของมนุษย์

คำตอบ คือ จุดกำเนิดมันตื้น อยู่ใกล้ผิวดินมาก มันเป็นลักษณะคลื่นความถี่สูง และมันเป็นคลื่นที่กระจายออกไปรอบตัวจากการระเบิดของลูกระเบิด เป็นแรงที่เบ่งออกไปรอบทิศจากจุดระเบิด
ในภาพง่ายๆก็คือ เป็นแรงที่ไปดัน (compress) ให้ผิวโลกโป่งขึ้น   ทำให้ลักษณะของเส้นกราฟที่ขยับครั้งแรก (first kick หรือ first motion) บนแผ่นกราฟของเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่มีสถานีวัดตั้งกระจายอยู่ทั่วโลกนั้น เหมือนกันหมด คือเป็นในลักษณะของการผลัก (push) ให้เครื่องวัดเคลื่อนที่ มิใช่การดึง (dilate) ให้เครื่องวัดเคลื่อนที่

ใจเย็นๆนะครับ รู้ว่ายังงงๆอยู่  แล้วก็จะค่อยๆเข้าใจไปเองเมื่อเรื่องราวต่างๆมันผูกพันกันมากขึ้น

แผ่นดินไหวธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตนั้น จะเป็นพวกที่มีทั้งแรงที่ดันออกไปจุดกำเนิดและแรงที่ดึงเข้ามาหาจุดกำเนิด  พอจะเห็นภาพลางๆใหมครับว่า มันย่อมมีความต่างของผลกระทบ ระหว่างการผลัก กับ การดึง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 23:03

อ้างถึง
ยังขาดภาพของลักษณะ tremor, rattle และ jolt อยู่ครับ

เอาtremorไปก่อน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 23:04

rattle


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 23:05

jolt


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 23:07

ภูเขาไฟระเบิดนั้น เกิดจากการที่หินหนืด (magma) เคลื่อนตัวออกจากเบ้าหลอม (magma chamber)ที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ค่อยๆเคลื่อนสูงขึ้นสู่ผิวโลกด้วยการละลายหินที่อยู่รอบข้าง ทำให้เกิดเป็นช่องทางเดินของ magma ที่ร้อนและเหลว (อุณหภูมิระหว่าง 1300 -1400 องศาเซลเซียส) ส่วนประกอบดั้งเดิมของหินหนืดซึ่งเริ่มต้นละลายที่ระดับลึกมากๆนั้น จะมีองค์ประกอบของธาตุแมกนีเซียมและเหล็กในปริมาณสูง เมื่อค่อยๆเคลื่อนตัวตื้นขึ้นมาด้วยการละลายหิน ก็ทำให้ได้ธาตุอลูมินัมและซิลิกาเพิ่มเข้ามาในมวลหินหนืด ทำให้มีความหนืดน้อยลง ไหลได้ง่ายขึ้น พอถึงระดับใกล้ผิวโลกจริงๆก็ผนวกน้ำเข้าไปอีก เหลวมากขึ้นไปอีก คราวนี้ก็เลยได้โอกาสพ่นพวกของเหลวออกมา มีทั้งไอน้ำ ควัน เศษหิน และในที่สุดก็หินหลอมเหลว (lava)   ในหลายกรณีก็ไม่มีการระเบิด มีแต่การไหลออกมาของลาวา

การเคลื่อนที่ของหินหนืดใต้ดินลึกๆนี้ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนได้ หากคนรับรู้การสั่นนั้นได้ ก็เรียกว่า tremor  แต่ส่วนมากจะรับรู้ได้ด้วยเครื่องวัดแผ่นดินไหว เลยเรียกว่า seismic activity

นักธรณีฯสายวิชาการแผ่นดินไหว เขาจะวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวจากเครื่องที่เอาไปตั้งไว้ในพื้นที่ภูเขาไฟเหล่านั้น เพื่อทราบว่ามวลหินหนืดได้เดินทางจากไหนไปไหน อยู่ลึกหรือตื้นเพียงใด อยู่ใกล้ปากกล่องภูเขาไฟเพียงใดแล้ว เมื่อผนวกกับข้อมูลที่มันปลดปล่อยกาซบางชนิดออกมา ก็ทำให้สามารถคาดได้ว่าควรจะอพยพหนีหรือยัง ความเสียหายต่อชีวิตอันเนื่องมาจากภูเขาไฟระเบิดจึงมีค่อนข้างจะน้อยมาก ทั้งๆที่เป็นประเภทภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 23:16

tremor น่าจะตรงกับคำว่า กระเทือน   แบบบ้านกระเทือนเมื่อรถสิบล้อวิ่งผ่าน

ภาพลักษณะของ jolt เข้าท่าแฮะ

แต่ rattle นั้น   อืม์...ก็ใช่อยู่นะ เพราะเสียงจาก rattle นี้ ส่วนมากก็ทำให้ตื่นกลัวจนขนหัวลุกได้

ครับผม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 29 มิ.ย. 14, 21:48

ผ่านต้นเหตุของแผ่นดินไหวมาแล้ว 2 อย่าง คราวนี้ก็มาถึงต้นเหตุสำคัญที่มักสร้างให้เกิดความเสียหายอย่างจริงจัง  แต่ก่อนจะเข้าไปสู่เรื่องที่ค่อนข้างจะมีความโยงใยถึงกันและกันไปหมดนี้ จะขอนำพาออกไปให้เห็นภาพพอสังเขป (ภาพหยาบๆจริงๆ) ของโลกที่ไม่เคยอยู่นิ่ง เพื่อปูทางและเป็นองค์ประกอบไปสู่ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้ครับ

    เปลือกโลกส่วนที่เป็นผิวโลก (earth crust) ของเราในบริเวณที่เป็นแผ่นดินของทวีปต่างๆนั้น มีความหนาประมาณ 30 กม. สำหรับในบริเวณที่เป็นมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 8 กม.(ลึกจากพื้นหินท้องมหาสมุทรลงไป)
    หินที่ประกอบกันเป็นผิวโลกในส่วนที่เป็นแผ่นดินจะมีมวลที่เบามากกว่าหินที่วางตัวรองเป็นพื้นอยู่ก้นมหาสมุทร 
    เปลือกโลกส่วนที่เป็นผิวโลกนี้มีสภาพทางกายภาพเป็นของแข็ง แต่เมื่อพ้นขีดความลึกที่ประมาณ 30 กม.ลงไป วัสดุจะมีสภาพออกไปทางของนิ่ม (plastic หรือ ductile materials)  ซึ่งพอเทียบเคียงได้กับชิ้นพลาสติกที่เราสามารถดัดไปมาได้ แต่บางบริเวณก็มีสภาพเป็นของไหล (fluid) ซึ่งพอจะเทียบได้กับลักษณะของลาวาจากภูเขาไฟ หรือดินโคลน
    ชั้นหินไหลได้นี้มีความหนาประมาณ 400 กม. (upper mantle หรือ asthenosphere) เมื่อลึกลงไปกว่าชั้นนี้ ก็จะกลายเป็นชั้นหินแข็งอีกจนถึงที่ความลึกประมาณ 2,900 กม. (lower mantle) เราเรียกรวมทั้งสองชั้นนี้ว่าชั้น mantle   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง