เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141086 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 19:52

กลับมาต่อเรื่อง "การคาดเดา" ล่วงหน้าเกี่ยวกับการเกิดของเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย

ครับ   ในบริบทของกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นบนของโลกใบนี้ นั้น อาจกล่าวได้บนหลักความจริงว่า  ทั้งกระบวนการตั้งแต่เหตุจนถึงผล ทั้งหลายเหล่านั้นต่างก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและให้ผลซ้ำๆกันตลอดมาตลอดช่วงกาลทางธรณ๊วิทยาของโลกเรา    กล่าวได้ว่าเป็นกฎเกณฑ์ในบริบทของ Uniformitarianism  (หรือ Law of Uniformitarianism) แปลง่ายๆ ก็คือ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำซาก

ส่วนความเข้มข้น (intensity, degree, etc.)  ผลที่เกิดขึ้น (deformation, effects, changes, etc.) พื้นที่หรือบริเวณที่เกิด (area, spatial distribution, etc.) และเวลาหรือช่วงเวลาที่เกิด (time frame, eruption, etc.)  เหล่านี้นั้น ก็จะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบรอบตัวต่างๆ  

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 21:30

จิ้มๆแพร๊บเดียว

หลับไปอีกแล้วเหรอ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 18:00

ใกล้เคียง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 19:07

เขียนไปเขียนมา เหมือนขี่ม้าเลียบค่าย  แท้จริงแล้วก็เพียงความพยายามจะทำให้เกิดความกระจ่างในเรื่องราวของมัน

ครับ  โดยความเป็นจริงแล้ว   กระบวนการเกิด การดับ และการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เป็นอยู่ในธรรมชาตินั้น เป็นระบบเปิด (open system) มิใช่ระบบปิดแบบตรงไปตรงมา (close system)    กล่าวอย่างง่ายๆโดยนัยเปรียบเทียบ ก็คือ ในธรรมชาตินั้น ผล (consequence) ที่ได้รับเหมือนกัน มิได้หมายความว่าจะต้องเกิดมาจากต้นเหตุ (origin)เดียวกัน และต้นเหตุเดียวกันก็มิได้หมายความว่าจะต้องส่งให้เกิดผลเหมือนกัน  เพราะว่า ที่แต่ละจุดต้นกำเนิดแต่ละจุดนั้น ต่างก็มีลักษณะขององค์ประกอบเป็นของตนเอง ต่างก็มีสภาพแวดล้อมเฉพาะของตนเอง และแต่ละองค์ประกอบและแต่ละสภาพแวดล้อมเหล่านั้นต่างก็มีตัวแปรผัน (variables) ที่ต่างกันในแง่มุมต่างๆ

ปรัชญามากไปหน่อยครับ    แต่นี่เป็นเรื่องที่คนในวิชาชีพธรณีวิทยาถูกปลูกฝังมา   จึงเป็นเรื่องที่ปรกติมากๆที่คนในวิชาชีพนี้จะไม่วินิจฉัยในเรื่องใดๆแบบฟันธง จะมีแต่คำว่า "น่าจะ"  "คิดว่า"  ฯลฯ แม้ว่าคำอธิบายเรื่องราวทั้งหมดเหล่านั้นจะตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลและผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 19:35

อย่าเพิ่งหลับไปอีกนะเพื่อน ลืมตาไว้ ๆ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 20:10

(ด้วยภาพที่ผมได้บรรยายออกไปนี้ ธรณีวิทยาจึงยังคงเป็นสาขาวิชาหรือศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียนจบใม่ง่ายในระดับ post grad.)

ครับ คงเป็นคำอธิบายข้อปุจฉาของ อ.เทาชมพู ใน คห.139 ในแง่มุมทางวิชาการ   คือ ผมพยายามจะกล่าวว่า ผู้ใดก็สามารถจะคาดเดาได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้น เป็นไปตามธรรมชาติ และก็เพราะมันอยู่ในกฎเกณฑ์ของ Uniformitarianism  

ส่วนในอีกแง่มุมหนึ่งในเรื่องของช่วงเวลา   เรื่องนี้เป็นการเดา ซึ่งอาจตั้งอยู่บนฐานของ mundane astrology (เป็นโหราศาสตร์แขนงหนึ่ง ผมไม่ทราบคำแปลครับ) หรือ เป็นการคาดการณ์ตามหลักวิชาสถิติ ที่เรียกว่า โอกาสที่จะเกิดเหมือนเดิมซ้ำอีก_return period_(ผมไม่ทราบศัพท์บัญญัติทางวิชาการ)  


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 20:11

เอาไม้จิ้มฟันถ่างไว้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 20:31

ถ่างไว้ดีแล้วนะครับ ผมจะได้รออ่าน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 22:11

ทบทวนหน่อยครับ

    ได้กลาวถึงมาแล้วแต่ต้นว่า แผ่นดินไหวเป็นลักษณะอาการที่แสดงออกสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวผ่านไปของคลื่นแผ่นดินไหว
คำบรรยายอาการของภาษาไทยเรา ดูจะมีแต่คำว่า สั่น หรือ สั่นสะเทือน แต่ในภาษาอังกฤษนั้นมีหลายคำ ซึ่งแต่ละคำให้ความหมายลึกๆที่แสดงถึงความรู้สึกต่างๆ (เช่น tremor, shake, jolt, rattle, vibrate, rock เป็นต้น) ซึ่งคำเหล่านี้นั้นพอที่จะนำมาใช้สำหรับการประเมินภาพในเบื้องแรกของเหตุการณ์และความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

   ต้นกำเนิดของคลื่นแผ่นดินไหวนั้น ก็ได้กล่าวถึงมาแล้วว่า จัดได้เป็น 3 พวก โดยสรุปง่ายๆก็คือ จากการเคลื่อนตัวของหินผ่านกันบนระนาบรอยเลื่อน (fault plane)   จากการเคลื่อนตัวของหินละลายของภูเขาไฟและภูเขาไฟระเบิด   และจากการกระทำของมนุษย์

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 23:07

การกระทำของมนุษย์โดยทั่วไป (เช่น งานระเบิดทางวิศวกรรม) ทำให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรง และคลื่นไม่กระจายไปไกล อย่างไรก็ตาม คลื่นจากแหล่งกำเนิดในลักษณะดังกล่าวนี้ก็สามารถจะตรวจจับได้โดยเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวในสถานีที่อยู่ใกล้หรือไกลก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งกำลังขยายการรับสัญญาณคลื่นของเครื่องตรวจวัด

แต่ก็มีการกระทำที่ทำให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่กระจายไปไกล ซึ่งได้แก่การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน   คลื่นแผ่นดินไหวจากการทดลองระเบิดนี้สามารถตรวจจับได้โดยสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวทั่วโลก
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ได้มีการตั้งสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ใช้เครื่องตรวจมาตรฐานเดียวกัน ตั้งเป็นโครงข่ายเรียกว่า WWSSN (World-Wide Standardized-Seismographs Network) วัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ใช้ในการตรวจจับว่ามีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่ใหนบ้างในโลกนี้   ในปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย แต่ก็ยังคงมีการใช้ระบบการตรวจวัดคลื่นแแผ่นดินไหวในการเฝ้าระวังและตรวจจับว่ามีการละเมิดสนธิสัญญาห้ามทดลองระเบิดนิวเคลียร์โดยองค์กร CTBTO  (The Comprehensive Nuclear-Test-Band Treat Organization)

อาจจะเริ่มมีข้อสงสัยแล้วว่า แล้วเขาจะแยกออกได้อย่างไรว่าคลื่นแผ่นดินไหวนั้นๆเป็นเรื่องธรรมชาติ หรือ เป็นเรื่องที่มนุษย์ทำขึ้น
แยกออกครับ แต่ต้องใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งแท้จริงแล้วใช้ข้อมูลจากเพียงไม่กี๋สถานี แต่ต้องที่ตั้งกระจายอยู่ในซีกโลกต่างๆ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 07:55

เดี๋ยวจะค่อยๆแกะอ่านะค้าบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 10:47

หัก&ร้าวอีกแล้ว...พระธาตุจอมหมอกแก้วศักดิ์สิทธิ์กับพิษแผ่นดินไหว

http://www.oknation.net/blog/cradm/2014/06/25/entry-1


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 10:58

อ้างถึง
คำบรรยายอาการของภาษาไทยเรา ดูจะมีแต่คำว่า สั่น หรือ สั่นสะเทือน แต่ในภาษาอังกฤษนั้นมีหลายคำ ซึ่งแต่ละคำให้ความหมายลึกๆที่แสดงถึงความรู้สึกต่างๆ (เช่น Tremor, shake, jolt, rattle, vibrate, rock เป็นต้น)

ผมพยายามเข้าเวปภาษาอังกฤษดูกว่าคำจัดความของการสั่นแต่ละอย่างตามคำศัพท์ที่อ้างอิงนั้นเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่ได้เรื่อง นักอักษรศาสตร์หรือนักภาษาศาสตร์จะลองบ้างไหมครับ ไม่ต้องคำแปลตรงตัวแต่เป็นคำอธิบายก็ได้ หรือท่านนายตั้งหากสะดวกจะขยายความเอง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 13:11

อา ร ร ร์..... ได้rockมาหนึ่งคำ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 27 มิ.ย. 14, 13:13

นี่เป็นอาการของแผ่นดินไหวน้อยๆ พอสบายๆ ตรงกับคำศัพท์ใดหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง