เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140906 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 22:47

สำหรับลักษณะความเสียหายตามภาพใน คห.113 โดยเฉพาะในภาพบนสองภาพนั้น เป็นลักษณะของความเสียหายที่ผมได้พบเห็นค่อนข้างมาก ทั้งในระดับเล็กน้อย จนถึงระดับพังลงมา

เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนที่เป็นมุขบันไดขึ้นบ้าน ซึ่งส่วนที่เป็นหลังคา เสาค้ำหลังคา ลูกกรงและราวบันได เกือบทั้งหมดเป็นการสร้างเสริมคล้ายกับลักษณะของการต่อเติมเชื่อมต่อกับตัวอาคารหลัก

เรื่องแรก คือ บันไดขึ้นบ้านหรือขึ้นศาลาตามวัดต่างๆ  ชาวบ้านนิยมใช้ลูกกรงบันไดเป็นเครื่องดินเผาเคลือบ แล้วใช้ปูนหล่อราวบันไดอย่างหนาทับลงไป (ดังภาพด้านขวาบน) แถมประดับด้วยกระเบื้องปูพื้นบ้านอีกชั้นหนึ่ง
ดังที่ได้เล่าไว้แต่ตอนต้นว่า เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่ใกล้จุดกำเนิดแผ่นดินไหว ดังนั้นจะได้รับผลกระทบจากคลื่นแผ่นดินไหวลักษณะความถี่สูงและการเขย่าจะเป็นลักษณะกระแทกขึ้นลง  
ผลก็คือ ได้เห็นความเสียหายหลายๆแห่งในลักษณะด้านบนของตัวลูกกรงที่อยู่ใต้ราวบันไดแตกค่อนข้างเป็นชิ้นเล็ก ตัวลูกกรงที่ต่ำลงมาจะเป็นลักษณะแตกร้าวแต่ไม่หลุดออกเป็นชิ้นๆ    ตัวราวบันไดยังคงอยู่ มีแต่ส่วนกระเบื้องเคลือบที่ปูทับไว้ร่อนหลุดออกมา  ครับ ก็คล้ายกับเอาคนมายืนเป็นแถวแล้วเอาไม้กระดานมาวางบนหัว แล้วยกไม้กระดานขึ้นมานิดเดียวแล้วปล่อย ก็จะมีแต่หัวแตกกันแต่คอไม่หัก    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 22:56

ให้ความกระจ่างได้รวดเร็วทันใจดีจัง ขอบคุณมากครับ

บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 10 มิ.ย. 14, 11:28

เช้าวันนี้ (10 มิย. 57) มีข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงรายอีกแล้ว
เห็นใจชาวเชียงรายที่ต้องหวาดผวากับภัยนี้ แก้ไขก็ไม่ได้

มนุษย์เข้าใจวิทยาศาสตร์ ยุคหนึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ แต่ความโลภและแข่งกันรวย ก็เลยทำลายโลกมากกว่าประโยชน์ที่ได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 10 มิ.ย. 14, 21:28

ครับ ชาวเชียงรายก็นอนเสียวกันๆไปทุกคืนละครับ
เท่าที่ผมได้สอบถามไป เขาก็ว่ามันก็เป็นของมันอย่างนั้น เมื่อไรจะหยุดก็ไม่รู้ ซึ่งผมแปลความได้ว่า ก็พอจะคุ้นเคยกับมันแล้วแต่ก็ยังรู้สึกยั่นๆอยู่

อันที่จริงแล้ว ข้อมูลที่ผมเคยทราบเมื่อครั้งยังทำงานที่เกี่ยวกับเรื่องของแผ่นดินไหวกับประเทศไทยแถวๆปี พ.ศ.2520-2530 ปรากฎว่าในภาคเหนือของไทยนั้น มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเดือนละหลายๆสิบครั้ง (ข้อมูลจากเครื่องตรวจจับ seismograph) แต่เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่คนอาจไม่รู้สึกได้ (หากไม่สังเกตจริงๆ)    เกิดอยู่ในแอ่งต่างๆซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดและอำเภอในภาคเหนือตอนบน 

ผมยังจำได้ถึงสภาพความกลัวของผมเมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเด็กชาย อยู่บ้านไม้สองชั้นในเขตเวียงเชียงราย ก็น่ากลัวนะครับ โดยเฉพาะเมื่อได้ยินเสียงสั่นแกรก (rattle)ของกระจกที่ใส่อยู่ในวงกบเหนือบานหน้าต่างบ้าน   โดยเฉพาะหากเป็นตอนกลางคืนกำลังหลับสบาย แล้วต้องตกใจตื่นด้วยเสียงรัวแกรกของกระจก นอนตัวแข็งทื่อเลยครับ กระดิกไม่ได้เลย จะเรียกว่าเป็นความกลัว ผมก็ว่าไม่ใช่นะ พอมันหยุดไปก็ลุกเดินได้ หรือขยับตัวพลิกนอนต่อไปได้ มันเป็นลักษณะของอาการช๊อคกับเสียงที่เร้าใจ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 10 มิ.ย. 14, 22:46

ผมเข้าใจสภาพจิตใจและความรู้สึกของคนที่พำนักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยังคงถูกเขย่าด้วยแผ่นดินไหวอยู่ในขณะนี้ดี  เข้าใจในสภาพจิตของเด็กนักเรียนที่ต้องไปโรงเรียน ไปเรียนในอาคารที่มีร่องรอยของความเสียหาย ตามผนังบ้าง ตามรอยต่อระหว่าคานกับหัวเสาของพื้นอาคารเรียน

ผมได้ไปเห็นความเสียหายของโรงเรียนบางแห่ง ของบ้านหลายหลังของเด็กนักเรียนต่างๆ สภาพที่เขาต้องออกมานอนอยู่บนถนนหน้าบ้าน และยังต้องไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน 
กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ จะไปที่ใหนก็ไม่พ้นจากการต้องเห็นและรับรู้สัมผัสกับแผ่นดินไหวที่จะมาเมื่อไรก็ได้อย่างไม่หยุดหย่อน ขณะเรียนก็ต้องหยุดเรียนรีบออกไปอยู่นอกห้อง รีบลงบันไดไปชั้นล่าง กลับมาบ้านก็เจออีก นอนหลับก็ไม่สนิทใจ     สภาพจิตใจจะเป็นเช่นใดหนอ?

เหตุผลลึกๆของผมที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ก็หวังให้เป็นช่องทางหนึ่งเพื่อกระจายความเข้าใจแบบง่ายๆ แบบชาวบ้าน ในเรื่องของแผ่นดินไหว
 
ผมมีความรู้สึกที่แย่มากๆกับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ของสถาบัน หน่วยงานวิชาการ องค์กรทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ไม่ปรกติ และสื่อต่างๆ ทั้งในเชิงของ action, knowledge, mitigation, preparedness, response, salvation ฯลฯ    เห็นแต่แห่กันไปดู ไปดูใ้ห้เห็นเป็นขวัญตา ถ่ายภาพเอามาเผยแพร่ วุ่นอยู่กับตัวเลขและจำนวนอะไรต่อมิอะไรต่างๆ   เป็นเรื่องของ materials ทั้งนั้น ไม่เห็นมีด้าน human touch บ้างเลย  น่าสงสารชาวบ้านที่มีผู้รู้ต่างแห่กันไปดู ไปพบ ไปสอบถาม แต่ชาวบ้านก็ยังคงไม่รู้ว่าแล้วจะกลับเข้าไปนอนในบ้านได้หรือยัง ความเสียหายลักษณะใดอันตราย แบบใดไม่อันตราย แบบใดต้องซ่อมอย่างไร....ฯลฯ

แล้วแผ่นดินไหวมันก็ยังไม่หยุด ไม่เห็นมีใครว่าอะไรต่อไป  ไม่มีแม้กระทั่งจะบอกว่าควรจะชะลอการซ่อมส่วนใหน ควรจะซ่อมเพื่อประทังส่วนใหนก่อน เห็นมีแต่รีบขอให้แจ้งความเสียหายโดยเร็ว เพื่อจะได้จัดเงิน จัดของมาให้ซ่อม ก็มารวดเร็วดีเหมือนกัน  แต่ปัญหามันไปอยู่ที่ว่า มันถูกเขย่าทุกวันๆละหลายครั้ง สิ่งก่อสร้างทั้งหลายมันก็ทนไม่ไหว คลอนกันทั้งนั้นแหละ ช่วงแรกๆก็อาจจะยังดูแข็งแรงดี เขย่าไปทุกวันที่ว่าดูไม่มีปัญหาหรือมีอยู่นิดเดียว มันก็ขยายออกไป   ไอ้ที่ซ่อมแล้วแต่แรกจะอยู่หรือจะไปอีกก็ไม่รู้

ขออภัยที่บ่นมากไปหน่อยครับ    อย่างน้อยผมก็ได้ทำหน้าที่อันพึงทำตามอาชีพและความรู้ที่มี ช่วยชาวบ้านในเชิงของ human touch ทำให้คนในหมู่บ้านของพื้นที่ๆผมอยู่ กลับเข้าบ้าน รู้สึกสบายใจ เข้าใจอะไรในบางเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างบ้านแปงเฮือน สามารถดูความเสียหายที่เป็นอันตรายได้ และพร้อมที่จะผจญเหตุการณ์และอยู่กับมัน     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 10 มิ.ย. 14, 23:10

กลับไปที่เรื่องในภาพ คห.113 ครับ

ลองสังเกตดูบริเวณรอยต่อเชื่อมระหว่างโครงหลังคาของมุขกับตัวบ้านในภาพบนซ้าย จะเห็นว่ามีเป็นการเชื่อมโดยการยึดแปะไว้ด้วยตะปู เกือบทั้งหมดที่ผมเห็นก็ทำด้วยวิธีการในลักษณะนี้ หากเป็นการต่อกับผนังปูน ก็เห็นใช้เหล็กหรือไม้ของโครงหลังคาฝังเข้าไปในผนังดื้อๆก็มี  โดยสภาพในองค์รวมก็เสมือนกับการต่อเชื่อมแบบหลวมๆของสิ่งก่อสร้างสองหน่วย   เมื่อผนวกเข้ากับเสาสองต้นที่ค้ำหลังคาส่วนที่ยื่นออกมานอกตัวบ้าน ที่โดยแนวคิดของชาวบ้านแล้ว เสาสองต้นนี้ก็มีหน้าที่เพียงค้ำหลังคา จึงเป็นเสาเปลือยตั้งโด่เด่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวโยกไปช้ายทีขวาที มันก็ล้ม หลังคาก็ทรุดลงมา บ้างก็เลยไปดึงเอามุขพังลงมาทั้งหมด

ความเสียหายที่มีรายงานโดยใช้คำว่าบ้านพังนั้น เป็นลักษณะการพังแบบนี้อยู่มากโขเลยทีเดียวเลยครับ 
บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 02:47

ที่คุณตั้งเล่ามาคงหมายถึงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งเป็นมานานแล้วตลอดเวลา (ไม่เคยรู้มาก่อนจริงๆครับ เพราะไม่เคยเป็นข่าว เพิ่งทราบจากที่อ่านในกระทู้นี้) เพิ่ง 6.3 ครั้งนี้เอง ดูจากรอย น่าจะเป็นแผ่นดินแยกเสียด้วยซ้ำ เกิดขึ้นเมื่อไร อาจเสียชีวิต หรือหนีเอาชีวิตรอดได้ ก็หมดเนื้อหมดตัว

ผมคิดเอาตามประสาคนที่ไม่มีความรู้ด้านนี้ว่า แผ่นดินไหวเบาๆ ประจำที่ภาคเหนือ ไม่เคยเป็นข่าว ไม่เป็นอันตรายมาเป็นร้อยๆปี ทุกวันนี้ มนุษย์ไปดูดเอาแก๊ส น้ำมันจากใต้ดินจ.กำแพงเพชรบริเวณใกล้ๆกัน ในทะเลอีก ทำให้ใต้ธรณีเสียสมดุล อาการไหวเบาๆ เลยกลายเป็นแผ่นดินแยกอย่างที่เกิดขึ้น ร้ายแรงมากๆเข้า กลายเป็นแผ่นดินถล่มซึ่งคงไม่มีผู้รอดชีวิต

ทราบมาว่า เกาะประเทศญี่ปุ่นก็แผ่นดินไหว อาคารบ้านเรือนสั่นสะเทือนเป็นประจำทุกวัน วันละหน 2 หน แต่ไม่เคยมีข่าวว่าประเทศญี่ปุ่นมีอุตสาหกรรมขุดแก๊สหรือน้ำมันในทะเล ทะเลที่อื่นมี ทะเลแปซิฟิคแถวนั้นก็น่าจะมีบ้าง ที่เกิดซึนามิหลายปีก่อน หรือเป็นผลกระทบจากอุตสาหกรรมขุดเจาะแก๊ส น้ำมันในทะเลก็ไม่ทราบ ถึงขุดเจาะที่อื่นก็อาจส่งผลกระทบไปถึงได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 08:45

อ้างถึง
ผมมีความรู้สึกที่แย่มากๆกับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ของสถาบัน หน่วยงานวิชาการ องค์กรทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ไม่ปรกติ และสื่อต่างๆ ทั้งในเชิงของ action, knowledge, mitigation, preparedness, response, salvation ฯลฯ    เห็นแต่แห่กันไปดู ไปดูใ้ห้เห็นเป็นขวัญตา ถ่ายภาพเอามาเผยแพร่ วุ่นอยู่กับตัวเลขและจำนวนอะไรต่อมิอะไรต่างๆ   เป็นเรื่องของ materials ทั้งนั้น ไม่เห็นมีด้าน human touch บ้างเลย  น่าสงสารชาวบ้านที่มีผู้รู้ต่างแห่กันไปดู ไปพบ ไปสอบถาม แต่ชาวบ้านก็ยังคงไม่รู้ว่าแล้วจะกลับเข้าไปนอนในบ้านได้หรือยัง ความเสียหายลักษณะใดอันตราย แบบใดไม่อันตราย แบบใดต้องซ่อมอย่างไร....ฯลฯ

แล้วแผ่นดินไหวมันก็ยังไม่หยุด ไม่เห็นมีใครว่าอะไรต่อไป  ไม่มีแม้กระทั่งจะบอกว่าควรจะชะลอการซ่อมส่วนใหน ควรจะซ่อมเพื่อประทังส่วนใหนก่อน เห็นมีแต่รีบขอให้แจ้งความเสียหายโดยเร็ว เพื่อจะได้จัดเงิน จัดของมาให้ซ่อม ก็มารวดเร็วดีเหมือนกัน  แต่ปัญหามันไปอยู่ที่ว่า มันถูกเขย่าทุกวันๆละหลายครั้ง สิ่งก่อสร้างทั้งหลายมันก็ทนไม่ไหว คลอนกันทั้งนั้นแหละ ช่วงแรกๆก็อาจจะยังดูแข็งแรงดี เขย่าไปทุกวันที่ว่าดูไม่มีปัญหาหรือมีอยู่นิดเดียว มันก็ขยายออกไป   ไอ้ที่ซ่อมแล้วแต่แรกจะอยู่หรือจะไปอีกก็ไม่รู้
อึมม์...ทุกการกระทำของมนุษย์ล้วนมีฐานมาจากความไม่รู้ ลองผิดลองถูก จนกระทั่งได้มาซึ่งองค์ความรู้ ซึ่งก็ไม่จำเป็นด้วยว่าจะต้องจริงแท้แน่นอน ถ้าไม่ใช่ ก็ลองผิดลองถูกกันต่อ
อ้างถึง
ขออภัยที่บ่นมากไปหน่อยครับ
ท่านคุณตั้ง คงได้บ่นอีกนาน
อ้างถึง
อย่างน้อยผมก็ได้ทำหน้าที่อันพึงทำตามอาชีพและความรู้ที่มี ช่วยชาวบ้านในเชิงของ human touch ทำให้คนในหมู่บ้านของพื้นที่ๆผมอยู่ กลับเข้าบ้าน รู้สึกสบายใจ เข้าใจอะไรในบางเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างบ้านแปงเฮือน สามารถดูความเสียหายที่เป็นอันตรายได้ และพร้อมที่จะผจญเหตุการณ์และอยู่กับมัน
อนุโมทนาสาธุด้วยครับ
อะไรก็ไม่สำคัญเท่าใจ คนเรานั้นถ้าใจไม่เสีย ชีวิตก็เริ่มต้นต่อได้ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด เราอยู่ร่วมกับมันไป
สัจธรรมนี้ผมทราบว่าท่านคุณตั้งตระหนักดีอยู่ อะไรที่ร้ายๆกว่านี้ ท่านก็ผ่านมากับใจตนเองแล้ว  
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 08:55

เช้าวันนี้ (10 มิย. 57) มีข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงรายอีกแล้ว
เห็นใจชาวเชียงรายที่ต้องหวาดผวากับภัยนี้ แก้ไขก็ไม่ได้
ตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวที่เชียงรายในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ก็มีอาฟเตอร์ช็อกเกือบทุกวัน เมื่อวานก็เกิดขึ้น ๒ ครั้งความแรง ๒.๐ และ ๓.๓ ตามมาตราริกเตอร์ วันนี้ก็เพิ่งเกิดขึ้นตอนตีสองกว่า ๆ ความแรง ๒.๔

คุณ scarlet สามารถติดตามรายงานแผ่นดินไหวได้หลายแห่ง เว็บของกรมอุตุฯ ก็น่าสนใจดี  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 08:59

หลบให้คุณเพ็ญก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 09:01

ความแรงตั้งแต่ ๒.๙ ลงมา คนทั่วไปจะไม่รู้สึก หากตั้งแต่ ๓.๐ ขึ้นไปจะรู้สึกได้  

ข้อมูลมาตราริกเตอร์จาก คุณวิกกี้ ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 09:07

หลบให้คุณเพ็ญก่อน

ขออภัย เหตุเพราะข้อมูลต่อเนื่อง

เรียนเชิญคุณนวรัตนต่อ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 09:29

ผมเพียงอยากจะเข้ามาเพิ่มเรื่อง"ความไม่รู้"ต่อว่า คนที่ไหนจะไปน่าเชื่อถือกว่าคนบ้านเดียวกัน

นักวิชาการจากถิ่นอื่นมาบอกว่าโฮ้ยเสียหายแค่นี้ ปลอดภัยๆ หมู่เฮากลับเข้าไปอยู่ในบ้านได้เลย แต่หมู่คิงก็รีบกลับจะไปให้ทันเที่ยวบิน กับนักวิชาการที่เอิ้นภาษาเดียวกัน มีบ้านนอนอยู่แถวนั้นด้วย เปิ้นว่าปลอดภัยแล้วไม่ได้ขี้จุ๊ไปลี้ภัยอยู่ที่ไหน อยู่กินกันที่นั่นทั้งครอบครัวนั่นแหละ น่าเชื่อถือกว่าเยอะ

ถึง after shock ลูกที่ ๑๕๗๗ จะมีขนาด ๗.๒ ริกเตอร์ บ้านทั้งหมู่จะถล่มลงมาจริงๆ ก็คงไม่มีชาวบ้านโทษท่านคุณตั้งอยู่ดี
บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 14:32

เช้าวันนี้ (10 มิย. 57) มีข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงรายอีกแล้ว
เห็นใจชาวเชียงรายที่ต้องหวาดผวากับภัยนี้ แก้ไขก็ไม่ได้
ตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวที่เชียงรายในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ก็มีอาฟเตอร์ช็อกเกือบทุกวัน เมื่อวานก็เกิดขึ้น ๒ ครั้งความแรง ๒.๐ และ ๓.๓ ตามมาตราริกเตอร์ วันนี้ก็เพิ่งเกิดขึ้นตอนตีสองกว่า ๆ ความแรง ๒.๔

คุณ scarlet สามารถติดตามรายงานแผ่นดินไหวได้หลายแห่ง เว็บของกรมอุตุฯ ก็น่าสนใจดี  ยิงฟันยิ้ม

ความจริงผมลืมไปแล้วว่า กรุงเทพมหานครเคยมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อน เพื่อนชี้ให้ดูยอดตึกดุสิตธานีมีอาการเคลื่อนไหว (น่าจะครั้งที่ยังเรียนหนังสือ แต่ไม่แน่ใจ) และก็รู้สึกว่า ไม่กี่ปีมานี้ก็มีแผ่นดินไหวอีกในกรุงเทพ มาอ่านกระทู้นี้ จึงนึกได้

ไม่กี่ปีมานี่ ก็มีคำทำนายอีกว่า ประเทศไทยจะถูกน้ำท่วมหมดตั้งแต่ภาคใต้จนถึงกรุงเทพ เหลือแต่ภาคอีสานกับภาคเหนือ เป็นแผนการนายทุนจะบอกขายที่หรือเปล่าก็ไม่ทราบ ก็ลองพิจารณากันดู
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 11 มิ.ย. 14, 21:25

ขอต่อเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นอีกหน่อยก่อนนะครับ

นอกจากลักษณะความเสียหายตามภาพที่ อ.เทาชมพู ได้นำมาลงแล้ว ก็มีในลักษณะของ
   - รั้วบ้านที่เป็นบล็อกปูนก่อ - ล้มหรือเอียงเป็นแถบ 
   - บล็อกปูนที่ก่อเป็นผนังบ้านช่วงบน (สองสามแถวบน) ที่ไม่มีคานทับหลังหล่อปิดทับไว้ - พังลงมา
   - ที่เห็นค่อนข้างมาก คือ ปูนบริเวณรอยต่อระหว่างหัวเสาตอหม้อกับคานที่รองรับพื้นอาคารแตก ส่อสภาพของการแยกออกจากกัน ไม่เป็นเนื้อเดียวกันอีกต่อไป    ผมเห็นภาพคล้ายกับภาพพื้นอาคารกระเพื่อมขึ้นลงไปกดหรือกระแทกหัวเสา
   - และที่เห็นมากที่สุด คือ รอยปริแยกเป็นเส้นตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเสากับผนัง  วันแรกๆก็ยังไม่เห็นชัด สัก 7 วันต่อมา อะฮ้า..ชัดเจนเลย แถมเป็นรอยกว้างมากขึ้นอีกด้วย

ลักษณะของความเสียหายดังที่กล่าวมานี้ ก็ไม่ต่างไปจากที่คาดไว้   จัดว่าเป็นความเสียหายปรกติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 19 คำสั่ง