เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140926 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 27 พ.ค. 14, 22:35

สวัสดีครับ
หลังจากเงียบหายไปเสียหลายเดือน วันนี้ขอกลับเข้ามารายงานตัวใหม่อีกครั้งหนึ่งครับ
สาเหตุที่อยู่ดีๆก็เงียบไปนั้น ก็ด้วยมีหลายเรื่องเกิดขึ้นผสมผสานกันในช่วงเวลาเดียวกัน อุปกรณ์และระบบสำหรับการสื่อสารที่รวนเป็นเรื่องแรก ตามมาด้วยสุขภาพกาย แล้วก็ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางสังคม

ส่วนสาเหตุที่ตะแล็บแก็ปเข้ามาในวันนี้ ก็เพราะเห็นว่า ถึงเวลาที่จะต้องมาขยายความรู้จักและความเข้าใจในเรื่องแผ่นดินไหวให้ละเอียดมากขึ้น
ผ่านมาเกือบจะ 3 อาทิตย์แล้วที่ได้เกิดแผ่นดินไหวที่เชียงรายต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งคิดว่าคงมีผู้คนที่อยากจะได้รู้อะไรๆมากขึ้นกว่าข้อมูลข่าวสารที่ปรากฎอยู่ในสื่อต่างๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 พ.ค. 14, 22:54

ขอเกริ่นนำเล็กน้อยก่อนที่จะเข้าเรื่องนะครับ

เหตุการ์แผ่นดินไหวที่เชียงรายช่วงเดือนนี้ มีจำนวนการเกิดรวมๆกันแล้วใกล้จำนวนพันครั้งหรือถึงพันครั้งเข้าไปแล้ว เกิดทุกวัน วันละหลายๆครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน มีจุดกำเนิดอยู่ไม่ลึกจากผิวดิน (น้อยกว่า 10 กม.) พบเป็นกลุ่มกระจายอยู่บริเวณรอยต่อ อ.พาน อ.แม่สรวย อ.แม่ลาว และ อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่รุนแรงนัก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 พ.ค. 14, 23:11

ผมไปเชียงรายในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนี้พอดี ตั้งแต่การเกิดครั้งแรก แล้วนอนอยู่กับมันต่อมาอีกเกือบ 2 อาทิตย์ และที่มากไปกว่านั้นก็คือ พักอยู่ในพื้นที่ใกล้กลุ่มจุดกำเนิดของมัน (ในระยะทางตรงประมาณ 10 +/- กม.)

รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งหลังจากการเกิดครั้งแรก ผมก็ได้ไปสำรวจดูความเสียหายที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านใกล้ที่พัก แล้วก็ได้ขยายพื้นที่สำรวจกว้างขึ้นไปในวันหลังๆ หลังจากที่มันเขย่าต่อมาอีกหลายร้อยครั้ง

ก็คิดว่าได้เห็นอะไรต่อมิอะไรมากพอที่จะนำมาเล่าเป็นประสพการณ์และความรู้สู่กันฟัง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 พ.ค. 14, 23:43

โดยการศึกษาและอาชีพ   ความสนใจและถนัดทางวิชาการเฉพาะทางของผม ทำให้ผมต้องเรียน ต้องรู้ เรื่องของแผ่นดินไหวในมุมทางวิชาการหรือวิทยาการสาขาอื่นๆต่างๆที่เกี่ยวข้อง  ก็เพื่อนำข้อมูลแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพมาประมวลใช้ในการทำความเข้าใจถึงเรื่องราวทางธรณีวิทยาของพื้นที่ต่างๆ  ซึ่งเป็นการศึกษาในลักษณะย้อนกลับไปกลับมา คือ เอาผลที่เกิดขึ้นไปขยายความรู้และความเข้าใจถึงต้นเหตุ เอาต้นเหตุไปขยายความรู้และความเข้าใจผลที่เกิดตามมาอย่างต่อเนื่อง ผลสุดท้ายที่อยากจะได้รับก็สุดแท้แต่ว่าจะเอาไปเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับเรื่องอะไร ซึ่งได้ทั้งเพื่อทางวิชาการและเพื่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

เรื่องที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ จะขอเขียนออกไปทางวิชาการ แล้วก็จะมีภาษาอังกฤษปนอยู่ ซึ่งเป็นคำปรกติที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน (แต่ในความหมายทางเทคนิค) ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 02:36

รีบเข้ามาฟังครับ เพราะไม่ว่าเฉพาะทางหรือไม่เฉพาะ ทุกกระทู้ของท่านnaitangแม้ลีลาจะต่างจากอาจารย์NAVARAT.C แต่ก็ลื่นไหลเห็นภาพตามเข้าใจแจ่มแจ้ง โดยเฉพาะงวดนี้ของจริงประสพการณ์ตรง นักเรียนทั้งหลายพลาดไม่ได้ ท่านลงจากเรือนไปนานจนคิดถึง
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 03:13

รีบเข้ามา ล้างหูน้อมรับฟัง ด้วยความสนใจอย่างยิ่งครับ
และ
ดีใจที่ท่านเจ้าของกระทู้ กลับมาเยือนเรือนไทยอีกครับ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 06:38

ขอฟังด้วยคนค่ะ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 06:39

ดีใจที่กลับมาครบทุกองค์ประกอบครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 08:48

ดีใจที่ได้เห็นคุณตั้งกลับมาเรือนไทยอีกหน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 08:58

มาต้อนรับคุณตั้ง กลับสู่เรือนไทยค่ะ  พร้อมกับน้ำชาแก้คอแห้ง   
แฟนๆมานั่งแถวหน้ากันสลอนแล้ว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 09:53

          รออ่านเรื่องราวเรื่องเล่าจากคุณตั้ง



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 21:07

ขอบพระคุณทุกๆท่านครับ สำหรับการต้อนรับด้วยความอบอุ่น

ขอเกริ่นต่ออีกนิดหน่อยว่า ถึงผมจะได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้มามากกว่าปรกติ และได้มีโอกาศทำงานในเรื่องที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวของไทยพอสมควร ผมก็อยากจะขอเรียนว่า ผมมิใช่ผู้รอบรู้ในศาสตร์เรื่องแผ่นดินไหว (Seismology) มากพอที่จะถูกจัดเป็นนักวิชาการแผ่นดินไหว (Seismologist) ผมเพียงมีความรู้และความเข้าใจเพียงพอที่จะผูกเป็นภาพในองค์รวมแบบหลวมๆของเหตุการณ์นั้นๆเท่านั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 21:57

เมื่อเราได้รับข่าวสารว่ามีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น เรามักจะเห็นภาพและเข้าใจในความหมายที่หมายถึงแผ่นดินเกิดอาการสั่นสะเทือน และอาคารบ้านเรือนเกิดอาการโยกไหวไปมา ทำให้เกิดผลที่ไม่พึงปราถนาติดตามมา คือ ความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต และรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบนผิวดินและภูมิประเทศ ขยายต่อไปถึงการเกิดซึนามิตามชายฝั่งทะเล
 
สำหรับผมนั้น แผ่นดินไหวเป็นอาการเคลื่อนไหวของ earth materials และ man made materials ที่เกิดขึ้นเมื่อคลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ผ่านไป ซึ่งลักษณะและรูปแบบของอาการเคลื่อนไหวนั้นๆขึ้นอยู่กับลักษณะของคลื่น ความรุนแรง และความเข้มข้นของคลื่นที่วิ่งผ่านไป (ซึ่งคลื่นนั้นๆก็คือรูปแบบของพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากจุดต้นกำเนิดของเหตุการณ์ _ จุด focus)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 22:32

แวะออกข้างทางแป็บนึงครับ

ดูๆไปแล้ว คลื่น (wave) ต่างๆที่เรารู้จักกัน  ซึ่งมีทั้งที่มีต้นกำเนิดต่างกัน (เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า_electromagnetic wave  คลื่นแผ่นดินไหว_seismic wave) และมีทั้งที่มีต้นกำเนิดเดียวกันแต่จัดแบ่งความถี่ออกเป็นช่วงๆ แล้วเรียกมันในชื่ออื่นๆต่างกันออกไป (เช่น short wave, ultraviolet, sound wave, white light, x-ray)
 
คลื่นทั้งหลายเหล่านั้น ต่างก็เป็นตัวการสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งต่างๆที่ประกอบกันเป็นโลกของเรา ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและเป็นสิ่งไม่มีชีวิต และในทางที่เป็นการทำลายและที่เป็นการสร้างสรรค์

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 พ.ค. 14, 23:07

ต้นตอที่ปล่อยพลังงานออกไปในรูปของคลื่นแผ่นดินไหวนั้น มีอยู่ 3 แบบ คือ
    - พลังสะสมที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งบนระนาบที่หินใต้พิภพเคลื่อนที่ผ่านกัน (fault plane) ถูกปล่อยออกไป   เหมือนกับเราพยายามเลื่อนไม้กระดานสองแผ่นที่วางทับกันไปในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งจะพบว่าความไม่เรียบของผิวกระดาน จะทำให้ไม้ทั้งสองแผ่นเคลื่อนที่ผ่านกันลำบาก สะดุดติดเป็นช่วงๆ ซึ่งทุกครั้งเมื่อหลุดจากการสะดุดกัน จะรู้สึกว่ามีการกระชุ่นเกิดขึ้น พลังที่รู้สึกได้จากการกระชุ่นนี้ก็คือพลังงานที่ถูกปล่อยออกไป
   -พลังจากการเคลื่อนที่ของหินละลาย (magma) ใต้ภูเขาไฟ และแรงระเบิดของภูเขาไฟ
   -จากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง