เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 28 29 [30]
  พิมพ์  
อ่าน: 77682 เพลงเก่า เล่าอดีต
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 435  เมื่อ 16 ม.ค. 18, 09:58



             เพลง It's Just Another New Year's Eve เสียงร้องของ Barry Manilow
ประพันธ์โดย Barry Manilow และ Marty Panzer ใช้เวลาเพียง 2-3 วันก็บันทึกเสียงสำเร็จ

             ทำนองอิงเพลง Goldberg Variations ของ Bach เมื่อออกเผยแพร่แล้วสามารถไต่ไปถึง
อันดับ 33 ชาร์ทเพลง Adult Contemporary ในปี 1977
             ท่วงทำนอง,เรียบเรียงเสียงประสานประกอบเสียงร้องเร้าอารมณ์ให้คล้อยตาม มองย้อนวันเก่าๆ
ที่มีทั้งดี,มีทั้งพลาด วันนี้ที่ก็เป็นเพียงคืนวันเหมือนวันอื่นๆ และ วันข้างหน้าที่มียังความหวังว่าจะเป็นวันที่ดี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 436  เมื่อ 16 ม.ค. 18, 10:05

            บันทึกแรกสุดของเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ ปรากฏย้อนหลังไปที่ 4,000 ปีก่อน ชาว Babylon นับ
วันจันทร์ดับ หรือ อมาวสี (New moon - ปรากฏการณ์ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์
เมื่อมองจากโลกดวงจันทร์หันด้านมืดเข้าหาโลก ทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์ มักเกิดในวันแรม 14 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ,
บางครั้งเกิดในข้างขึ้นอ่อน ๆ เพราะปฏิทินจันทรคติคลาดเคลื่อนจากดวงจันทร์จริงบนท้องฟ้า) วันแรกหลังจาก
วันวสันตวิษุวัต
(vernal equinox — วันที่ 20 หรือ 21 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน เป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างสู่ฤดู
ใบไม้ผลิส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง) เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่
             พวกเขาจัดพิธียิ่งใหญ่ทางศาสนาเรียกว่า Akitu (แปลว่า barley ที่เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ) เป็นเวลา
นาน 11 วัน  มีการแห่รูปพระเจ้าไปตามท้องถนน นอกจากนั้น,พิธีราชาภิเษกราชาองค์ใหม่ยังถูกจัดขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วย

Artist: Peter Jackson
A New Year's Day religious procession through the streets of ancient Babylon


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 437  เมื่อ 17 ม.ค. 18, 11:15

           ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ก็มีการนับปีปฏิทินแตกต่างกันไปโดยอ้างอิงตามเหตุการณ์ทางการเกษตร
หรือดาราศาสตร์ เช่น
           จีน,ปีใหม่เริ่มที่วันจันทร์ดับวันที่สองหลังวันเหมายัน(Winter Solstice คือ วันที่กลางคืนยาวที่สุด
กลางวันสั้นที่สุด เมื่อซีกโลกเหนือในหน้าหนาวเอียงห่างจากดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่ตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม)
           อียิปท์ - ปีใหม่เริ่มเมื่อถึงฤดูแม่น้ำไนล์ท่วมท้น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 438  เมื่อ 17 ม.ค. 18, 11:18

            อียิปท์เรียกเทศกาลเริ่มต้นปีว่า Wepet Renpet แปลว่า opening of the year คือวันที่แม่น้ำไนล์
ไหลท่วมท้น(เริ่มเดือนมิถุนายนจนถึงระดับสูงสุดเดือนกรกฎาคม) ประชาชนแต่งกายในชุดพิธี,มีการจัดงานเลี้ยง
และแลกเปลี่ยนของขวัญ
            จากตำนานเล่าถึงเทวีสงครามผู้มีศีรษะเป็นสิงห์พิโรธหมายทำลายล้างมวลมนุษย์แต่เทพพระอาทิตย์ได้
ขัดขวางไว้ด้วยการมอบเมรัยสีเลือดให้พระนางดื่มโดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเลือดมนุษย์,ส่งผลให้พระนางเมามาย
หมดสติไป
            ชาวอียิปท์จึงเฉลิมฉลองการรอดพ้นโดยการดื่มต้อนรับปีใหม่อย่างหนักจนหมดสติฟุบลงตามทางหรือ
บนพื้นวิหาร ส่วนพวกที่ไม่หมดสติมีหน้าที่เดินตีกลองไปตามถนนเพื่อปลุกพวกที่เมามายไปร่วมพิธีทางศาสนา
ขอพรเทพให้ปกปักรักษาในปีใหม่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 439  เมื่อ 18 ม.ค. 18, 09:44

          ที่โรมัน,ปฏิทินเดิมเริ่มปีใหม่ในเดือนแรก คือ มีนาคม(ชื่อเดือนบางเดือนที่ใช้กันทุกวันนี้สะท้อน
การลำดับเดือนตามนี้ นั่นคือ septem ภาษาละตินแปลว่า  "seven", octo - "eight", novem - "nine"
และ decem - "ten") จนกระทั่งเมื่อ 153 B.C จึงได้มีการเพิ่มเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เข้ามาแต่ยัง
คงฉลองปีใหม่กันในวันที่ 1 มีนาคมเช่นเคย    
          ต่อมาจักรพรรดิ์ Julius Caesar ได้ปรับแก้ไขปฏิทินใหม่ตามสุริยคติเมื่อ 46 B.C และกำหนดให้
วันที่ 1 มกราคม - January เป็นวันแรกของปีใหม่(ชื่อเดือนนี้มาจากเทพ Janus ผู้มีสองหน้ามองไปเบื้องหลัง
และข้างหน้า เป็นเทพแห่งการเริ่มต้น) ชาวโรมันเฉลิมฉลองโดยการทำพิธีสังเวยเทพ,มองของขวัญให้แก่กัน,
ประดับตกแต่งที่อยู่อาศัยด้วยกิ่ง laurel และจัดงานเลี้ยง

A Roman Feast  by Roberto Bompiani


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 440  เมื่อ 18 ม.ค. 18, 09:47

         ส่วนที่ยุโรปยุคกลางเดิมมีการฉลองปีใหม่ในวันที่ 25 ธันวาคม ต่อมา พระสันตปาปา Gregory XIII ได้
ปรับปรุงปฏิทินใหม่โดยยังคงใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันเริ่มปีใหม่ตั้งแต่ปี 1582 ปฏิทินใหม่นี้เป็นที่ยอมรับทั่วไปใน
ประเทศแคธอลิค แต่กว่าจะเป็นที่ยอมรับในประเทศโพรเทสแทนท์ก็ล่วงเข้าถึงปี 1752 ก่อนหน้านั้นในจักรวรรดิ์บริทิช
และอาณานิคมอเมริกาจึงคงฉลองปีใหม่ในเดือนมีนาคม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 441  เมื่อ 19 ม.ค. 18, 11:21

           ที่สุวรรณภูมินี้, แต่ปางบรรพ์พันปี นับสิ้นปีเก่าเดือน ๑๒ แล้วขึ้นปีใหม่ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(เดือน ๑)
ตามฤดูกาลที่เปลี่ยนจากฝนเป็นหนาว(ในเดือนอ้าย - ปลายฝน ต้นหนาว) โดยที่ปีนักษัตร(รับจากเปอร์เซียผ่านมา
ทางจีน) ก็เปลี่ยนเมื่อสิ้นเดือน ๑๒ หลังจากลอยกระทงขอขมาแม่น้ำให้น้ำลดลงเพื่อจะได้เกี่ยวข้าวในเดือนยี่
           ในราชสำนักอยุธยากำหนดปีเก่า-ใหม่ วันสงกรานต์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕  ตามคติพราหมณ์(ก่อนที่จะแพร่
ออกไปนอกรั้ววังในเวลาต่อมา*) ในขณะที่ราษฎรยังคงนับปีใหม่ตามเดิมในเดือนอ้ายหลังลอยกระทงเดือน ๑๒
ซึ่งตรงกับราว ปลายพฤศจิกายน-ธันวาคม-ต้นมกราคม (จดหมายเหตุลาลูแบร์ บันทึกว่า กรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์นั้น ราษฎรทั่วไปขึ้นปีใหม่หลังลอยกระทงในวันรุ่งขึ้น)

จิตรกรรมฝาผนังวัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยา
แสดงภาพกระบวนเรือและเสาโคมในพิธีจองเปรียง (ลอยกระทง)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 442  เมื่อ 19 ม.ค. 18, 11:24

* ยุคธนบุรีไม่พบหลักฐานเรื่องสงกรานต์ มาพบหลักฐานสงกรานต์ชัดเจนจากจารึกวัดโพธิ์ ในนิทานเรื่อง แห่เศียร
ท้าวกบิลพรหม  ภายหลังรัชกาลที่ ๓ จึงแพร่ไปโดยผ่านทางพระ นิราศเดือนของเสมียนมี(กวีต้นรัตนโกสินทร์ร่วม
สมัยสุนทรภู่) กล่าวถึงสงกรานต์ว่า ...มนุษย์สุดสุขสนุกครัน
                   ในรัชกาลที่ ๔ ปรากฏคำประกาศวันสงกรานต์ แจ้งแก่ประชาชนให้มาคอยดูรูปมหาสงกรานต์(นางสงกรานต์)
ที่เขียนแขวนไว้ที่พระบรมมหาราชวัง
                   สมัยรัชกาลที่ ๕ ชาวประชาเล่นสงกรานต์กันสนุกสนานดังปรากฏโคลงพระราชพิธีทวาทศมาสว่า

     สงกรานต์ชาวบ้านเที่ยว         ตามสบาย
หญิงปะปนฝูงชาย                    แซ่ซ้อง


เดือน ๕ ถือเป็นช่วงเถลิงศกใหม่ ทั้งพระราชพิธีหลวงและราษฎร ถือปฏิบัติคล้ายคลึงกัน คือทำบุญตักบาตร ทำทาน
ก่อพระเจดีย์ทราย สรงน้ำพระและเทวรูปซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภาพจากจิตรกรรมพระอุโบสถวันราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 443  เมื่อ 22 ม.ค. 18, 10:01

          เนื่องจากการนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์(เมื่อดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ) จากการคำนวณ
ตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์นั้นมีความคลาดเคลื่อนไปในแต่ละปี ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ พ.ศ. ๒๔๓๒ ซึ่ง
ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่
ของไทยนับแต่นั้นมาเพื่อให้วันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ

Bangkok 1889 (พ.ศ. ๒๔๓๒)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 444  เมื่อ 22 ม.ค. 18, 10:02

           แต่คนทั่วไปยังคงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ทำให้วันปีใหม่ ๑ เมษายนเป็นวันเงียบๆ ไม่มีงานฉลอง
เพราะจะรอไปจัดในวันสงกรานต์
           จนหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยทางราชการเห็นควรให้ชุบชีวิตชีวาวันขึ้นปีใหม่ที่
๑ เมษายน จึงประกาศให้จัดงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ใน กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และ
ได้แพร่ต่อไปตามต่างจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙ จึงได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัดพร้อมกัน
           ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ได้มีมติให้เปลี่ยน
วันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากล "ให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก" จึงกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
เป็น วันขึ้นปีใหม่ ของปีนั้นและตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

วันนี้ในอดีต ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒ เปิดงานฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเทศบาลนครกรุงเทพ ที่ท้องสนามหลวง

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 445  เมื่อ 22 ม.ค. 18, 10:04

วันนี้ในอดีต ๑ มกราคม ๒๕๑๔ บำเพ็ญกุศลวันขึ้นปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๑๔



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 446  เมื่อ 19 มิ.ย. 20, 10:34

            คุณย่าทวด ผู้ร้องเพลงเก่า เล่าอดีต (There'll Be Bluebirds Over) The White Cliffs of Dover

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5984.msg136398#msg136398

           Dame Vera Lynn ได้จากไปด้วยวัย 103 ปี เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. นี้

           คุณย่าทวดได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็น สมบัติแห่งชาติ และ หวานใจสามเหล่าทัพ จากผลงานเพลงและ
กิจกรรมที่ได้กระทำในช่วงเวลาวิกฤตสงครามโลกครั้งที่สอง
           เมื่อกรุงลอนดอนถูกเยอรมันโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วง ในปี 1940 คุณย่าทวดยังคงไปจัดรายการชื่อ
Starlight ที่ห้องส่งใต้ดินของ BBC ที่ Criterion Theatre ใจกลางมหานครลอนดอน ออกอากาศตอน 2:30am
กระจายเสียงไปยังค่ายทหารในสมรภูมิทั่วโลกเป็นเวลา 15 นาที นำเสนอเพลงซึ้งเข้าถึงจับใจเหล่าทหารหาญคนไกล
ที่จากบ้าน,จากคนรัก จนเป็นที่มาของสมญา Forces' Sweetheart

ภาพจากทวิต Clarence House


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 447  เมื่อ 19 มิ.ย. 20, 11:27

RIP ค่ะคุณทวด
คลิปนี้พิสูจน์ว่าคุณทวดเป็นขวัญใจทหารมากขนาดไหน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 448  เมื่อ 19 มิ.ย. 20, 11:28

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 449  เมื่อ 19 มิ.ย. 20, 12:43

เทคโนโลยีพาคุณทวดมาร้องเพลงกับนักร้องสาวรุ่นเหลน Hayley  Westenra ได้

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 28 29 [30]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง