เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 77688 เพลงเก่า เล่าอดีต
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:47

           หลังจากปฏิบัติภารกิจสำเร็จแล้วพอลพา Enola Gay บินกลับฐานโดยสวัสดิภาพ
ส่วนที่ฮิโรชิมา, บันทึกบางส่วนของประวัติศาสตร์โลกต้องจารึกเล่าว่า

            40 วินาทีหลังคลอด ลูกน้อยก็ปลดปล่อยพลังงานระเบิดเทียบเท่า TNT ขนาด 15,000 ตัน
ที่ระดับความสูง 600 ม.เหนือพื้นดิน เกิดเป็นลูกไฟขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 ม. แทบจะในทันที
            ระดับนี้คือตำแหน่งที่จะก่อให้เกิดการทำลายล้างอย่างสูงสุด ต่ำลงไปพลังระเบิดจะเสียเปล่า
ไปในการกระแทกขุดหลุมบนพื้นดิน

            พลังงานมหาศาลที่เจ้าหนูปรมาณูยูเรเนียมปลดปล่อยออกมา 15% เป็นกัมมันตรังสี
(5% เป็นการแผ่รังสีช่วงแรก 10% เป็นส่วนที่เหลือ) 35% เป็นคลื่นความร้อน และที่เหลือ
50% เป็นแรงระเบิด

ภาพแบบจำลองจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Hiroshima Peace Memorial Museum(HPMM)
ลูกกลมสีแดงคือตำแหน่งลูกน้อยระเบิดเหนือฮิโรชิมา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:49

             การจุดระเบิดกำเนิดประกายแสงแรงจ้าขนาดตาบอดและลูกไฟยักษ์ที่ร้อนเร่าเกือบเทียบ
เท่าอุณหภูมิผิวดวงอาทิตย์(5,600 องศา) ด้วยอุณหภูมิ 4000 องศา รังสีและความร้อนแผ่กระจาย
ออกทุกทิศทางระเหิดระเหยชีวิตและแผดเผาหลอมละลายอาคารสถานบ้านเรือน พร้อมแรงระเบิด
กระแทก ผลาญทำลายเมืองเก่าแก่ 400 ปีให้ราพณาสูร
               กองบัญชาการทหารอันดับสองถูกทำลายล้าง รวมทั้งอาคารในระยะรัศมี 4 กม.

ซากบริเวณสะพาน Aioi เป้าหมาย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:50

ground zero(hypocenter) บริเวณพื้นผิวโลกตรง(ด้านใต้) ตำแหน่งระเบิด
ถ่ายในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:53

เงามรณะ(Shadow of Death)

          ร่างของเหยื่อที่เหลือเพียงรอยเงาบนบันไดหินตรงทางเข้าธนาคารซูมิโตโมสาขาฮิโรชิมา
ซึ่งอยู่ห่างจากตำแหน่งใต้การระเบิด(hypocenter) 260 เมตร ผลงานรังสีความร้อนมหาศาล


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:56

ปัจจุบันติดตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์ HPMM


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 10:16

ฮิโระชิมะหลังจาก  ไอ้ตัวเล็ก "Little Boy" มาเยือน  ผ่านสายตาของหนูน้อยโทะโมะโกะ ตกใจ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 10:25

กล้วยไข่



เกิดสงครามพันครั้ง     เด็กก็ยังสวยงาม
เป็นเพียงแค่สงคราม    ความเดียงสาเท่าเดิม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:19

           ความกดดันขนาดสูงลิบลิ่วจากตำแหน่งระเบิดส่งคลื่นกระแทก(shock wave) ที่ทำให้
กระจกหน้าต่างแตกได้ไกลถึง 9 ไมล์ ตามด้วยลมระเบิดรุนแรงที่ล้มอาคารต่างๆ ให้พังพาบพินาศ

แผลผนังอาคารจากกระจกบิน ตั้งแสดงใน HPMM เช่นกัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:21

บาทวิถีริมถนนและท่อระบายน้ำขยับยกสูงขึ้น เป็นอีกหนึ่งผลจากแรงระเบิดทำให้เกิด
ภาวะสูญญากาศดูดสองสิ่งนี้ขึ้นมา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:22

และผู้คนตามริมถนนในฮิโรชิมา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:25

           อันตรายทางกายภาพโดยตรง(ต่อผู้คน) จากระเบิดปรมาณูเป็นผลจากการเผาไหม้ด้วย
รังสีความร้อนและไฟที่กระจายลุกลามไปทั่วเมือง รวมทั้งแรงระเบิดทำให้เกิดการบาดเจ็บ, กระดูกหัก
นอกจากนี้ยังมีอันตรายทางอ้อมที่เป็นผลจากความเสียหายของอาคารบ้านเรือนที่พังครืนและเศษกระจก
แตกกระจาย
            ประมาณผู้คนล้มหายตายไปเป็นจำนวนราว 66,000 ชีวิต ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บอีกราว 70,000 คน

ภาพถ่ายวันรุ่งขึ้นหลังระเบิดถล่ม(วันที่ 7 สิงหาคม) ภายในกระโจมของศูนย์บรรเทาภัย
ของโรงพยาบาลทหาร


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:28

            ในขณะที่รังสีแกมม่าจากปฏิกิริยาลูกโซ่ของธาตุยูเรเนียมนั้นทำอันตรายต่อผิวหนัง
และลงลึกถึงอวัยวะภายใน  ผลของการแผ่รังสีในระยะเฉียบพลันทำให้เกิดอาการที่เริ่มด้วย
คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียอย่างรุนแรง มีไข้และท้องเสีย ตามมาด้วยผมร่วง อาการเลือดออกง่าย
และโรคเลือดในระยะหลัง

ภาพถ่ายเหยื่อที่รอดชีวิตในเดือนกันยายนปีเดียวกัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:30

            ส่วนโรคที่เป็นผลจากรังสีในระยะยาวซึ่งเกิดกับผู้รอดชีวิตจากระยะเฉียบพลันที่แลดู
เหมือนสุขภาพดีแล้วก็คือมะเร็งเม็ดเลือดและมะเร็งอวัยวะอื่น ได้แก่ ต่อมธัยรอยด์
             ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของเหยื่อระเบิดปรมาณูคือ แผลเป็นนูนหนา keloid scar
ที่เจ็บปวดมากและแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดออกแล้วแต่แผลเป็นนี้ก็จะกลับขึ้นมาใหม่อีก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:33

           ประชาชนหลายหมื่นสิ้นชีวิตไป(ในจำนวนนี้ที่ไม่น้อยเป็นเพียงหนูเล็กเด็กชายหญิงไม่เดียงสา)
ไม่ก็ได้รับบาดเจ็บปางตายแล้วตามมาด้วยสภาพพิการ นับจำนวนประชากรที่ถูกลูกชายน้อยทำร้ายเป็น
พลเรือนราว 320,000 คน, ทหาร 40,000 นาย ยอดรวมผู้เสียชีวิตเมื่อตอนปลายธันวาคมปีนั้นอยู่ที่
140,000 ชีวิต ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่สองสัปดาห์แรกหลังระเบิดลง
                      
            พื้นที่ประมาณ 13 ตร.กม. ของเมืองถูกทำลายย่อยยับเป็นซากสงคราม ทางการญี่ปุ่นประมาณ
การว่าอาคารบ้านเรือนถูกทำลายราว 69%  

แบบจำลองเมืองใน HPMM - ก่อนระเบิด


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 09:34

หลังระเบิด


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง