เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 77702 เพลงเก่า เล่าอดีต
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 10:41

          จากเนื้อร้องซึ่งบรรยายความรู้สึกคิดถึงบ้านไร่ที่จากมา อาลัยครอบครัวและญาติผู้ใหญ่
ที่ยังอยู่หลังของคนผิวสี ทำให้ฟอสเตอร์โดนข้อหาแรกว่า นำเรื่องทาสมาทำให้เป็นเรื่องโรแมนติค
และ
          การใช้คำของคนผิวสีในเนื้อเพลงนี้(เช่น ribber - river, mudder - mother และ
โดยเฉพาะคำว่า darkeys) ก็ก่อเสียงวิจารณ์จากบางคน(โดยที่บางคนอื่นก็ไม่เห็นด้วย) ว่า
เพลงนี้เข้าข่ายเหยียดผิว(racism) ทั้งที่ตัวฟอสเตอร์เองนั้นเป็นพวกฝ่ายเหนือที่เห็นอกเห็นใจ
ชนผิวสี

Old Folks at Home โดยคณะนักร้องประสานเสียง Robert Shaw Chorale

            
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 10:45

          ส่วนภาพและบรรยากาศบ้านไร่ที่เนื้อร้องบรรยายนั้น เขาว่าเข้าได้กับชีวิตบ้านไร่
ในศตวรรษที่ 19 ของ South Carolina แถบแม่น้ำ Pee Dee มากกว่าพื้นที่แถบหนองน้ำ
และฟาร์มเล็กๆ ของจอร์เจียและฟลอริด้า

               Still longing for de old plantation

In a cotton field of South Carolina, 1860 -1900


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 10:48

             And for de old folks at home

ภาพถ่าย 5 Generations จาก Beaufort County, South Carolina ในช่วง 1860s


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 10:50

            One little hut amond de bushes,
            One dat I love, 

South Carolina Plantation Slave Houses


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 10:51

           When will I hear de banjo tumming
           Down in my good old home?

"The Old Plantation" painting, ca. 1790. Shows leisure activities of slaves
in South Carolina


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 11:17

ชอบเพลงนี้มาก เคยร้องประสานเสียงในโรงเรียนตอนเด็กๆ  และเคยเล่นเพลงนี้ด้วย   ขอบคุณคุณ SILA  ที่นำเบื้องหลังมาเล่าให้ฟังค่ะ
เพลงของคนดำอีกเพลงที่ชอบมาก  คือ Old Black Joe ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 12:25

แม่น้ำอะไร้ ชื่อไทยชะมัด



แม่น้ำสุวรรณี  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 14:29

         ชื่อของแม่น้ำนี้ มีที่มาอ้างอิงต่างกัน เว็บไซท์ของ University of South Florida
บอกว่า มาจาก

              Timucuan Indian word Suwani means Echo River ...
              River of Reeds, Deep Water, or Crooked Black Water

รูปแม่น้ำสุวรรณีจากโพสท์การ์ดของเก่า


       ทั้งชื่อแม่น้ำและชื่อไทยต่างก็มาจาก"อินเดีย"(Timucuan Indian กับ สันสกฤต) หนอ,คุณเพ็ญ 555    
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 15:08

ชนพื้นเมืองอเมริกันเผ่าทีมูกัว กับ ชนชาวอินเดียในชมพูทวีป  มีเชื้อสายและภาษามาจากคนละแหล่งแน่นอน พวกแรกเป็นมองโกลอยด์ พวกหลังที่เคยใช้สันสกฤตเป็นพวกคอเคซอยด์

ความหมายของคำว่า "สุวรรณี" หรือ "สุวรรณา" ในสันสกฤต ก็ต่างจาก "Suwannee" ในภาษาทีมูกัวเหลือเกิน

ป.ล. คุณศิลาระวังคุณหมอนวรัตนจ่าย "น้ำแป้งเท้ายายม่อม" รักษา "โรคหนอ" หนอ ๕๕๕  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 15:22

         ชอบแล้ว ยิ้มเท่ห์ ที่คุณเพ็ญมารับมุกที่ส่งไป แล้วช่วยอธิบายเผื่อใครจะเข้าใจผิด
คิดว่าพูดเรื่องจริงหนอ  รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 15:29

         ตัวฟอสเตอร์นั้นเกิดใน Lawrenceville ริมแม่น้ำ Allegheny แล้วต่อมาครอบครัว
ย้ายข้ามแม่น้ำไปยัง Allegheny City, Pittsburgh, Pennsylvania
          เขาไม่เคยไปเยือนทั้ง Georgia หรือ Florida ในขณะที่ความนิยมชมชอบเพลงนี้
ได้พาให้นักเดินทางหลั่งไหลมาฟลอริดาเพื่อจะได้เห็นแม่น้ำสุวรรณีในเพลง

นักแต่งเพลงมีพรสวรรค์เรื่องจินตนาการ ฟังประวัติที่คุณศิลาเล่าถึงเพลงนี้ ผู้แต่งไม่เคยไปเห็นแม่น้ำสุวรรณี  นึกถึงเพลงดัง ๆ ของไทย ครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้แต่งเพลง "ภูกระดึง" ก็ไม่เคยขึ้นภูกระดึงสักครั้งเดียว  ครูไสล ไกรเลิศก็แต่งเพลง "ผู้ชนะสิบทิศ" ที่ขึ้นต้นว่า "ฟ้า.. ลุ่ม อิรวดี คืนนี้ มีแต่ดาว" ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่เคยไปเห็นแม่น้ำอิรวดีสักครั้งเหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 15:35

เพลงประกอบ หนอ






เพลงนี้ชื่อ บุเรงนองรำลึก   แต่คนมักจำว่าชื่อ ผู้ชนะสิบทิศ ตามตอนท้ายของเพลง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 15:53

เพลงนี้ชื่อ บุเรงนองรำลึก   แต่คนมักจำว่าชื่อ ผู้ชนะสิบทิศ ตามตอนท้ายของเพลง
ขออนุญาตคุณศิลาวิสัชนาเรื่องนี้สักหน่อย ใน เว็บชรินทร์โชว์ ให้ข้อมูลว่า "ชื่อแรกเริ่มของเพลงนี้คือ บุเรงนองรำลึกต่อมามีการเสริมเนื้อเพลงบางส่วน และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของผู้ชนะสิบทิศดังทุกวันนี้"

ฟังจากคำร้องของเพลงที่คุณเทาชมพูหามา น่าจะเป็นเพลง "ผู้ชนะสิบทิศ"  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 16:26

            จำได้อย่างเช่นที่กล่าวไว้ว่า คนนิยมเรียกเพลงผู้ชนะสิบทิศจากคำลงท้ายของเพลง
แทนชื่อจริง   

             นอกจากสองเพลงที่คุณเพ็ญยกมาแล้ว ที่นึกได้อีกก็คือเพลงคือ มนต์เมืองเหนือ
ของครูไพบูลย์ บุตรขัน ประพันธ์โดยที่ตัวครูเองนั้นไม่เคยไปเชียงใหม่(ไปแค่ลำปาง)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 17 ก.ค. 14, 16:47

    เพลงของครูไสล ไม่ว่าจะแต่งเนื้อเก่าเนื้อใหม่เพิ่ม ชื่อ บุเรงนองรำลึก ค่ะ    เนื้อใหม่เป็นที่นิยมแพร่หลายกว่า   เนื้อเก่าก็เลยถูกลืมเลือนไป 

    เพลงชุดจุฬาตรีคูณ  ทั้งครูแก้วครูเอื้อไม่เคยไปอินเดียเหมือนกัน   ประพันธ์ขึ้นจากบทประพันธ์ของเด็กนักเรียนมัธยมปลาย ชื่อฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง