เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30
  พิมพ์  
อ่าน: 77690 เพลงเก่า เล่าอดีต
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 405  เมื่อ 02 ต.ค. 14, 10:26

           (เขาว่า) แชปลินก็รู้เรื่องราวความสัมพันธ์(อันเปิดเผย) นี้ และได้ส่งคนตามรอยพฤติกรรม
ของทั้งสอง และแล้ว
           ในที่สุด แอฟแฟร์ของเกอร์ชวินครั้งนี้ที่ดูเหมือนจะจริงจังถึงขั้นเกอร์ชวินขอกอเดอร์ดแต่งงาน
แต่เธอไม่สามารถ ก็ต้องยุติลงอย่างรวดร้าวรวดเร็วในเดือนพฤษภาคม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 406  เมื่อ 02 ต.ค. 14, 10:30

         ไม่พบเรื่องเล่ารายละเอียดของการเลิกร้างระหว่างทั้งสอง คงได้แต่จินตนาการและมโนกัน
ไปตามเนื่อร้องที่ว่า
           No they can't take that away from me ที่อาจจะเป็น(ถ้อยความที่พี่ชายแต่งให้
แทนใจน้อง) เสมือนร้อยกรองของคำพ้อคำมั่นสัญญาแด่กอเดอร์ดว่า
         พวกเขาเหล่านั้นอาจจะพรากร่างแต่ไม่อาจพรากความรักความทรงจำไปจากใจเกอร์ชวินได้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 407  เมื่อ 03 ต.ค. 14, 10:02

           เดือนต่อมา(มิถุนายน 1937) หลังร้างรักจากกัน เกอร์ชวินมีอาการปวดศีรษะอย่าง
รุนแรง แพทย์ตรวจไม่พบความผิดปกติทางกาย(น่าเสียดายที่ยุคนั้นไม่มีการตรวจพิเศษแบบ
CT Scan หรือ MRI เพื่อดูภาพสมอง) แล้ววินิจฉัยว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากความเครียดและ
การทำงานหนัก
           เข้าเดือนกรกฎาคม อาการปวดศีรษะทวีความรุนแรงขึ้นแต่คนใกล้ชิดต่างก็คิดว่าเป็น
จากสภาวะจิตใจ จนกระทั่งวันที่ 10 กรกฎาคม เกอร์ชวินเกิดอาการหมดสติอยู่ในภาวะโคม่า
และได้รับการผ่าตัดสมองฉุกเฉินแล้วพบก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่
           ในที่สุด คีตโลกาก็ต้องสูญเสียคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน เมื่อเกอร์ชวินสิ้นใจใน
วันต่อมา 11 กรกฎาคม 1937 ด้วยวัยเพียง 38 ปี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 408  เมื่อ 03 ต.ค. 14, 10:04

         ผลงานเพลงสุดท้ายที่เกอร์ชวินฝากทำนองไว้คือ (Our) Love is Here to Stay
เป็นเพลงในหนัง The Goldwyn Follies ได้รับความนิยมในปี 1938 แล้วกลับมาเป็นที่
นิยมอีกครั้งในปี 1951 เมื่อปรากฏในหนังเพลงเรื่อง An American in Paris
         เกอร์ชวินผู้พี่ประพันธ์เนื้อร้องหลังจากต้องสูญเสียน้องชายไปทำให้เพลงนี้มีความหมาย
กินใจยิ่งล้ำ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 409  เมื่อ 03 ต.ค. 14, 10:05

         เลือกเวอร์ชั่นจากเสียงร้องของ Ella Fitzgerald นักร้องในตำนานที่ Ira Gershwin
ผู้พี่ให้คำนิยมยกย่องว่า  

          never known how good our songs were until I heard Ella sing them

        
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 410  เมื่อ 05 ก.ย. 17, 14:27

             มีเพลงเก่าเพลงหนึ่งซึ่งอยากจะนำมาพูดถึงแต่ยังได้แค่คิด จนกระทั่งเกิดบันดาลใจจากเหตุการณ์
ขัดแย้งรุนแรงที่ชาร์ล็อตส์วิลในเดือนก่อน เมื่อพวกผิวขาวสุดโต่งนำโดย Ku Klux Klan (KKK) ออกมา
เคลื่อนไหวจึงได้ขุดกระทู้เก่านี้ขึ้นมาชวนฟังเพลงนี้

(wiki,youtube,kalamu.com,khatiashiuka13.blogspot,mapbox,flashbak.com,
vaassignmentjrcr.gitedumontmyon.com)

Billie Holiday - Strange Fruit 1939



กว่าเสียงร้องจะมา,เสียงดนตรีขึ้นนำนานกว่าหนึ่งนาทีเหมือนจะให้เวลาแก่ทั้งนักร้องและคนฟัง
ได้ตั้งสมาธิเตรียมตัวเตรียมใจ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 411  เมื่อ 05 ก.ย. 17, 14:40

            ต้นไม้ในแดนใต้ผลิผลพิกลประหลาด  ใบอาบเลือดสีชาดราดรดรากโคน

ร่างคนดำยามต้องสายลมใต้แกว่งไกวโยกโยน  โน่น..ผลไม้ประหลาดห้อยจากกิ่งต้นหยาง

(poplar tree มีบางที่เรียก ต้นหยาง)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 412  เมื่อ 05 ก.ย. 17, 14:46

           ผลไม้พิกลผลนี้ ได้ถูกนำมาเล่าขานผ่านเสียงเพลงโดยศิลปินหลายท่านแต่หนึ่งเดียวที่เป็นตำนาน
และ เป็นคนแรกที่ร้องเพลงนี้บันทึกเสียงไว้ในปี 1939 คือ Billie Holiday(1915 - 1959) - Lady Sings the Blues
นักร้องผิวสีแถวหน้าในประวัติศาสตร์ดนตรีแดนเมกา
           คุณทวดสมัยยังสาวใส่หัวใจร้องได้อย่างไร้เทียมทัน จนเวอร์ชั่นของคุณทวดนั้นได้รับการยกย่องจาก
นิตยสาร Time ในปี 1999 ให้ครองตำแหน่ง "song of the century"


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 413  เมื่อ 05 ก.ย. 17, 14:54

            ผู้ประพันธ์คำร้อง Abel Meeropol เกิดแรงดลใจเมื่อได้เห็นภาพเหตุการณ์ด้านล่างนี้ซึ่งเกิดขึ้น
ที่ Indiana ในปี 1930


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 414  เมื่อ 05 ก.ย. 17, 15:00

          ความสะเทือนใจมากล้นจนต้องระบบายถ่ายทอดเป็นบทร้อยกรอง ซึ่งได้ถูกนำไปออกเผยแพร่
ทางนิตยสารครูนิว ยอร์ค เมื่อปี 1937 ก่อนที่จะถูกนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงร้องต่อไป


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 415  เมื่อ 05 ก.ย. 17, 16:05

คิดถึงเพลง "ต้นมะขามสนามหลวง" (The Hanging Tree)  ร้องไห้


บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 416  เมื่อ 06 ก.ย. 17, 03:09

ก่อนหน้านี้ผมรู้จักดนตรีของ George Gershwin แค่ Rhapsody in Blues ซึ่งเป็นเพลงที่ Piano บรรเลงตอบโต้กับ Orchestra ที่สนุกสนาน ฟังติดหูมาก
แต่มารู้จักเพลงร้อง(Songs) ของพี่น้อง Gershwin จากหนังเรื่อง Mr. Holland's Opus ซึ่งใช้เพลงของ Gershwin ประกอบหลายเพลง

Mr Holland นักดนตรีแจ๊ซที่เก่งกาจ หนีจากงานในเมืองมาเป็นครูดนตรีโรงเรียนบ้านนอกเพื่อหาเวลาให้ตัวเองในการแต่งเพลง
แต่ด้วยสเน่ห์ของดนตรี ความรักที่มีต่อดนตรีร่วมกัน ทำให้ Mr. Holland เกือบจะมี affair กับลูกศิษย์สาวสวย
ลองดูคลิปนี้ก็จะทราบว่ามันเย้ายวนใจแค่ไหน  55555 ดนตรีไพเราะมากจริงๆ



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 417  เมื่อ 06 ก.ย. 17, 09:42

ตั้งใจไว้จะไม่พูดถึง,จึงถือโอกาสข้ามเรื่อง ต้นผลิผลประหลาด ของบ้านเราไปเพราะคุณเพ็ญชมพู
ได้กล่าวถึงไปแล้ว ยิ้ม

แต่แรกสงสัยอยู่ว่าคุณ paganini พา Gershwin มาจากไหน. อ้อ,จากเพลงเก่ากระทู้นี้เมื่อ 3 ปีก่อน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 418  เมื่อ 06 ก.ย. 17, 10:09


เพลงต้นฉบับจากภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Games: Mockingjay – Part 1



Are you, are you
Coming to the tree?
They strung up a man
They say who murdered three.
Strange things did happen here
No stranger would it be
If we met at midnight
In the hanging tree.

Are you, are you
Coming to the tree?
Where dead man called out
For his love to flee.
Strange things did happen here
No stranger would it be
If we met at midnight
In the hanging tree.

Are you, are you
Coming to the tree?
Where I told you to run,
So we'd both be free.
Strange things did happen here
No stranger would it be
If we met at midnight
In the hanging tree.

Are you, are you
Coming to the tree?
Wear a necklace of rope,
Side by side with me.
Strange things did happen here
No stranger would it be
If we met at midnight
In the hanging tree.
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 419  เมื่อ 06 ก.ย. 17, 10:13

           คำร้องจากร้อยกรอง ผลไม้ประหลาดนี้ กล่าวถึงการลงทัณฑ์(ชนผิวสี) อย่างโหดเหี้ยมด้วยวิธี
ที่เรียกว่า lynching ที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันนานนับศตวรรษในดินแดนตอนใต้ของอเมริกาเป็นหลัก

           คำนี้มีที่มาจาก Lynch law(1811) ซึ่ง(น่าจะ) ได้นามตามนามสกุลของ William Lynch(1742-1820)
แห่ง Pittsylvania, Virginia ผู้ก่อตั้งคณะดูแลรักษาความสงบขึ้นที่นั่นเมื่อปี 1780 ในช่วงการปฏิวัติ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง