SILA
|
ความคิดเห็นที่ 240 เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:53
|
|
แม้ว่าบทเพลงชีวิตของฟอสเตอร์จะได้บรรเลงจบไปนานแล้ว แต่ผลงานเพลงของเขา ยังคงบรรเลงกล่อมโลกต่อเนื่องกันมายาวนานนับศตวรรษ
รูปสลักของ Stephen Foster ที่ University of Pittsburgh, Pensylvania
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 241 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 09:31
|
|
จากเพลงเกี่ยวกับคนดำประพันธ์โดยคนขาวแล้ว มาฟังเพลงเกี่ยวกับคนพื้นเมือง ผู้เป็นเจ้าบ้าน เจ้าเรือน ณ อเมริกาอยู่มาแต่เก่าก่อนที่คนขาวจะมาเยือนแล้วยึดครอง ประพันธ์ โดยคนขาวเช่นกัน เป็นเพลง ballad เล่าเรื่องรักต้องห้ามข้ามเผ่า ฟังแล้วไม่เศร้าเท่าไหร่ และไม่เครียดด้วยเรื่องความขัดแย้งทำลายล้างเผ่าพันธุ์จากผู้รุกราน
Running Bear - Johnny Preston
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 242 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 09:33
|
|
ผลงานการประพันธ์โดย J. P. Richardson เวอร์ชั่นที่โด่งดังที่สุดได้ยินสมัยเด็ก เป็นเวอร์ชั่นปี 1959 จากเสียงร้องของ Johnny Preston ซึ่งเป็นเพื่อนกับริชาร์ดสัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 243 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 09:35
|
|
เนื้อเพลงเล่าเรื่องคู่รักที่ไม่อาจสมหวัง แนวโรเมโอ จูเลียต ที่จบลงด้วยความตายในสายน้ำ ฝ่ายชายชื่อ หมีวิ่ง ที่ความจริงเกี่ยวกับสัตว์ร่างใหญ่แลดูเทอะทะตัวนี้ก็คือ เจ้าหมีหนัก 500 ปอนด์นั้น สามารถวิ่งได้เร็วเท่ากับม้า นั่นคือ 30 ไมล์ต่อชั่วโมง ส่วนฝ่ายหญิงชื่อ พิราบขาว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 244 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 09:37
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 245 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 09:38
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 246 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 09:40
|
|
เนื้อเพลงตอนท้ายกล่าวถึง ทุ่งล่าแสนสุข Happy hunting ground ซึ่งเป็น แนวคิดของชนพื้นเมืองเรื่องดินแดนหลังความตาย คล้ายกับสวรรค์ของชาวเมือง หลังความตาย "วิญญาณ"(โดยนัยความเชื่อที่ไม่ตรงกับ"วิญญาณ" ทางพุทธศาสนา) เมื่อจากร่างเดิมแล้วจะได้ไปอยู่ที่ทุ่งแสนสุขนี้(ยกเว้นในรายที่ถูกถลกหนังหัว) ที่ซึ่งมีสัตว์ให้ล่า เป็นอาหารมากมายไม่มีหมด อากาศก็สดชื่นรื่นรมย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 247 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 12:59
|
|
เคยฟังเพลงนี้ครั้งแรกตอนอยู่ม. ต้น ชอบมาก จังหวะกลองอินเดียนแดงเร้าใจดีค่ะ แล้วยังมีเสียงร้อง อ๊บ อ๊บ เหมือนเสียงกบอยู่ในแบคกราวน์ด้วย
เคยสงสัยตามประสาเด็กว่า สองคนนี้ไม่อาจข้ามแม่น้ำไปถึงกันได้ ได้แต่ชะเง้อมองกัน แล้วเป็นแฟนกันได้ไง หนอ สองเผ่ามันข้ามไปถึงกันไม่ได้นี่นา แล้วมันรบกันได้ไง เมื่อรบกันได้ก็ต้องมีทางข้ามไปสู่สนามรบกันได้ซี ทำไมพระเอกนางเอกไม่ยักใช้เส้นทางนั้น กลับโดดลงน้ำเชี่ยวจนตายกันไปทั้งคู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 248 เมื่อ 28 ก.ค. 14, 13:02
|
|
คุณปู่มาร้องให้ฟังอีกครั้ง ในวัย 80 up เสียงคุณปู่ยังแจ๋ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 249 เมื่อ 29 ก.ค. 14, 09:16
|
|
เสียงร้องแบ็คกราวนด์ เสียงโห่ร้องโรมรัน(Indian war cries) บ่งบอกภาวะทะเลาะ วิวาทประกาศสงครามกันระหว่างสองเผ่าสองฝั่งแม่น้ำ เป็นเสียงของริชาร์ดสัน ผู้ประพันธ์ และ George Jones นักร้องเพลงคันทรี่ เพลงนี้ได้รับการบันทึกเสียงแล้วออกเผยแพร่ในเดือนสิงหาคม ปี 1959 หลังจากที่ ริชาร์ดสัน(The Big Bopper) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางเครื่องบิน* 9 เดือน เพลงประสบ ความสำเร็จด้วยแนวเพลงรักระทมโดนใจวัยรุ่นยุคนั้น
* อุบัติเหตุครั้งนั้นได้สร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ต่อวงการเพลงอเมริกา เนื่องจากว่าได้คร่าชีวิต ของอีกสองนักร้องดัง นั่นคือ Buddy Holly และ Ritchie Valens ด้วย วันที่เกิดเหตุการณ์ - วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1959 นั้น คือวันที่ Don McLean ประพันธ์ไว้ ในเพลง American Pie ว่าเป็น The Day the Music Died
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 250 เมื่อ 29 ก.ค. 14, 09:36
|
|
จากการค้นหาตำนานเรื่องราวความรักของทั้งสองตามเว็บต่างๆ ปรากฏเรื่องเล่าดังเช่น ในเนื้อเพลงนี้ที่เว็บแห่งหนึ่งซึ่งได้กล่าวถึง เขตสงวนชนพื้นเมือง Lac Coutre Oreilles Indian Reservation ใน Wisconsin แถบตะวันตกเฉียงเหนือ ที่นี่, ในอาคารส่วนหน้ามีรูปสลักไม้ขนาดสูงกว่า 6 ฟุตตั้งอยู่ (อ้างว่า) เป็น รูปของหมีวิ่ง นักรบเผ่า Chippewa ผู้สร้างตำนานรักต้องห้ามเพราะสงครามระหว่างสองเผ่ากับพิราบน้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 251 เมื่อ 29 ก.ค. 14, 09:46
|
|
ส่วนตำนานเผ่าอินเดียนแดงที่เล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ สายน้ำ ความรัก และ ความตาย นั้น เว็บแห่งหนึ่งเล่าถึงตำนานหินโกเมน The Legend of Garnet Rock ความว่า
กาลครั้งหนึ่งช่วงหน้าร้อนคราวนั้น ชนเผ่าพื้นเมืองได้ย้ายถิ่นมาตั้งกระโจมพำนักที่ริมฝั่ง Fish Creek ซึ่งปัจจุบันนี้คือ Central New York เพื่อที่จะใช้เวลาหน้าร้อนนี้ตกปลาและหาอาหารเก็บไว้ ใช้ในหน้าหนาว
Fish Creek, Central New York วันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 252 เมื่อ 29 ก.ค. 14, 09:50
|
|
วันหนึ่ง ขณะที่นักรบผู้กล้านามว่า หมีวิ่ง กำลังล่าปลาในลำธาร เขาได้พบกับหญิงงาม นามว่า แก้วตา(โกเมน Garnet Eyes) ซึ่งเป็นสาวน้อยต่างเผ่า เธอกำลังล้างรากต้นอ้อที่เพิ่ง เก็บมาได้จากชายน้ำ ทั้งสองต้องใจรักผูกสมัครสมานเตรียมการแต่งโดยมีสมาชิกในเผ่าของทั้งสองฝ่ายต่าง ร่วมยินดีและสนับสนุน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 253 เมื่อ 30 ก.ค. 14, 09:21
|
|
เย็นวันหนึ่ง ลมแรงหอบพายุฝนมาตกลงตรงแถบนี้ ในขณะที่แก้วตาลงไปเก็บผลไม้ บริเวณชายฝั่งแม่น้ำ กระแสอุทกภัยที่ไหลล้นท้นท่วมฉับพลันก็ได้พัดพรากเธอจากไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 254 เมื่อ 30 ก.ค. 14, 09:24
|
|
หมีวิ่ง รับรู้ข่าวร้ายในเวลาต่อมาด้วยหัวใจสลาย เขากลับไปยังก้อนหินขนาดใหญ่ ที่ซึ่งเขาได้พบกับแก้วตาเป็นครั้งแรกแล้วอ้อนวอนผีเจ้าให้ช่วยพาเขาไปพบกับแก้วตาด้วย และ จากวันนั้นมาก็ไม่มีใครได้พานพบหมีวิ่งอีกเลย ส่วนที่หินก้อนนั้นน้ำตาของเขาที่รินร่วง ลงมาได้กลายเป็นเกล็ดแก้วโกเมนทอประกาย
คงจะเห็นคล้ายเป็นแบบนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|