เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 77687 เพลงเก่า เล่าอดีต
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 10:15

กลับมาดูเรื่องราวของฟอสเตอร์และเพลงของเขาต่อ ครับ

              เพลงแม่น้ำสุวรรณี นี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงประจำรัฐฟลอริด้ามาแต่ปี 1935 แล้ว
ถูกแทนที่ด้วยเพลงใหม่ในปี 2008

รูปวาด คนเก่า(คนแก่) ที่บ้านเกิด Old Folks at Home ใน Stephen Foster State Park, Florida       


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 10:17

           นอกจากเพลงนี้แล้ว ฟอสเตอร์ ยังเป็นผู้ประพันธ์เพลงดัง Oh! Susanna ที่ขายดิบ
ขายดี เหล่า forty niners มุ่งตะวันตกต่างก็นิยมร้องเล่นเพลงนี้ จนแทบจะกลายเป็นเพลงชาติ
ของชาวตื่นทองแคลิฟอร์เนีย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 10:21

          คลิป Al Jolson ร้องเพลง Oh! Susanna ในหนังชีวประวัติของฟอสเตอร์เรื่อง Swanee River
(มีคลิปจากหนังเรื่องนี้ที่เขาร้องเพลง Swanee River ด้วยแต่เสียงและภาพไม่ชัดเจน)
     
           

นอกจากนี้ปู่ Al ยังเป็นผู้ที่นำเพลง Swanee ซึ่งประพันธ์"ล้อเลียน" เพลง Old Floks at Home
โดยคีตกวีเอก George Girshwin ไปร้องจนโด่งดังกลายเป็นเพลงฮิทเพลงแรกและเพลงที่ทำ
รายได้สูงสุดของเกิร์ชวิน
 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 10:24

            ฟอสเตอร์ยังได้ประพันธ์เพลง My Old Kentucky Home ที่กลายเป็นเพลงประจำ
รัฐเคนทัคกี้ที่ฟอสเตอร์ก็ไม่เคยไป แต่มโนความอาลัยคิดถึงถิ่นฐานขึ้นมา เช่นกัน
            เขามีผลงานเพลงมากมายนับร้อยจนได้รับสมญาว่า บิดาแห่งดนตรีอเมริกัน(Father of
American music) ทั้งยังเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นนักแต่งเพลงอาชีพคนแรกของอเมริกา มีผลงาน
เพลงเป็นที่นิยมแห่งศตวรรษที่ 19


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 10:31

            แต่ชีวิตนักแต่งเพลงอาชีพของเขาในยุคนั้นที่ยังไม่มีการจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ผลประโยชน์
ของผู้ประพันธ์อย่างเป็นระบบระเบียบเช่นสมัยนี้ ส่งผลให้เขามีรายได้จากการตีพิมพ์เพลงเผยแพร่
ไม่มากเท่าที่ควร โน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องของเขา(sheet music) ถูกสำนักพิมพ์อื่นๆ นำไปพิมพ์
ออกขายโดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์ หากเป็นในสมัยนี้เขาน่าจะมีรายได้ปีละนับล้านเหรียญ

อาคารอนุสรณ์รำลึกถึงศิลปินเอกของชาติชาวพิตส์เบิร์ก The Stephen Foster Memorial
ใน University of Pittsburgh* ที่ออกแบบเป็นโบสถ์น้อยสไตล์กอธิค ผนังเป็นกระจกสี
แสดงรูปจากเรื่องราวของเพลงที่เขาแต่ง ภายในเก็บรักษาข้าวของใช้ต่างๆ ของฟอสเตอร์

*ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ฟอสเตอร์เกิดใน Lawrenceville ริมแม่น้ำ Allegheny แล้วต่อมาครอบครัว
ย้ายข้ามแม่น้ำไปยัง Allegheny City, Pittsburgh, Pennsylvania


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 10:34

กระจกสีรูปฟอสเตอร์กับเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่เขาฝึกเล่นเป็น ที่ The Stephen Foster Memorial


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 10:36

           ฟอสเตอร์มีปัญหาดื่มสุราจัดและประสบปัญหาทางการเงินจนต้องขายสิทธิ์เพลงที่
เขาจะแต่งล่วงหน้าไปในปี 1857 ช่วงท้ายของชีวิตเขาย้ายไปนิว ยอร์ค ในปี 1860 ส่วน
ภรรยาและลูกแยกกลับไปพิตส์เบิร์ก
           ช่วงเวลาในนิวยอร์คระหว่างปี 1860 - 1864 นี้เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตฟอสเตอร์
ในขณะที่สงครามกลางเมืองกำลังสู้รบสูญเสียอย่างหนัก บิดาของเขาก็ได้จากไป 'old folks'
ของเขาไม่เหลืออยู่ 'at home' แล้ว ส่วนตัวเขาเองนั้นทั้งรายได้และผลงานก็ลดน้อยด้อยลง
จนต้องอยู่อย่างขัดสนยากไร้

รูปถ่ายในปี 1864 ของฟอสเตอร์กับเพื่อน(Gary Cooper) ผู้ร่วมประพันธ์เพลงและผู้ให้
ความช่วยเหลือเขาในนิวยอร์ค รูปนี้น่าจะเป็นรูปสุดท้ายในชีวิตของเขา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 18 ก.ค. 14, 14:25

จำเพลงนี้ได้  เลยไปหาที่จูดี้ การ์แลนด์ร้องมาเปิดในกระทู้ให้ฟังค่ะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:37

             และแล้ว ฟอสเตอร์ผู้ born on the 4th of July 1826 ก็จากไปในปี 1864
ด้วยวัยเพียง 38 ปี เมื่อฟอสเตอร์ที่นอนซมด้วยพิษไข้อยู่เดียวดายในห้องพักที่โรงแรมใน
นิว ยอร์คพยายามยันกายลุกขึ้นยืนจากเตียงแล้วล้มลงฟาดอ่างล้างหน้าได้รับบาดแผลที่คอ
และศีรษะ เขาเสียชีวิตหลังจากถูกรับรักษาตัวในโรงพยาบาลได้สองวันจากภาวะการเสียเลือด
รุนแรง  

สิ่งที่เหลืออยู่ในกระเป๋าสตางค์เก่าๆ ของเขา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:38

คือธนบัตรและเหรียญ ไม่กี่เซนต์ ไม่กี่เพ็นนี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:39

          ส่วนในกระเป๋า(กางเกงหรือเสื้อ) - pocket เป็นกระดาษโน้ตบันทึกข้อความ
ที่อาจจะเป็นชื่อเพลงใหม่ของเขาว่า Dear friends and gentle hearts


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:40

           พิธีศพถูกจัดขึ้นที่ Trinity Church, Pittsburgh โดยมีเพื่อนของเขามาร่วมพิธี
หลายคน เพลงของเขาที่ใช้ร้องในวันนั้นคือเพลง Old Folks at Home และ
Come Where My Love Lies Dreaming

คลิปจากเสียงร้องโดย Jimmy Rodgers & The Lampliters  

              
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:42

           หลังการจากไปของเขา เพลง Beautiful Dreamer หนึ่งในเพลงที่เขารักมากที่สุด
และเป็นเพลงที่เขาแต่งไว้ไม่นานก่อนจากไปก็ได้ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ และได้รับความนิยมอย่างสูง

เชิญรับฟังเพลงนี้จากเสียงร้องของ Roy Orbison
    
            
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:49

          Old Black Joe เป็นอีกหนึ่งผลงานของฟอสเตอร์ที่เป็นที่นิยม ผู้ร่วมงานอาวุโส
ซึ่งเข้าเรียนในโรงเรียนคริสต์ตั้งแต่อนุบาลจนประถมสามารถจดจำและร้องเพลงนี้กับเพลง
แม่น้ำสุวรรณี ได้จนถึงวันนี้
           ตำนานเล่าว่า ฟอสเตอร์ประพันธ์ขึ้นจากความประทับใจในตัวคนรับใช้ที่บ้านของพ่อตา
และสัญญากับโจผู้ใจดีว่าจะแต่งเพลงเกี่ยวกับตัวเขา แม้เป็นเพลงเกี่ยวกับคนดำเช่นเดียวกับ
เพลงแม่น้ำสุวรรณี และใช้ในการแสดง Minstrelsy ที่จะใช้คำของคนดำในเนื้อร้อง แต่สำหรับ
เพลง Old Black Joe ฟอสเตอร์แหกกฏนี้ ไม่มีคำแบบที่คนดำใช้ในเนื้อร้อง

เชิญรับฟังเพลงแสนเศร้า สุดเหงา ไม่เหลือใคร Old Black Joe จากเสียงร้องของ Bing Crosby 

           
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:52

           แม้ว่าฟอสเตอร์จะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ผลงานเพลงของเขายังอยู่ยืนยงและยังคง
เป็นที่นิยมสืบมา
            เพลงแม่น้ำสุวรรณี นี้ได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีกหลังจากที่ฟอสเตอร์เสียชีวิตไปแล้ว
นักประวัติศาสตร์ดนตรีระบุว่า เพลงนี้พุ่งขึ้นสู่ความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1890s และข้ามมา
ถึงช่วง 1900s

คลิปเพลง Old Folks at Home จากหนังชีวประวัติฟอสเตอร์เรื่อง I Dream of Jeanie*(1952)
เพลงที่สอง ประมาณนาทีที่ 2.22 จากฉากการแสดงของคณะ Christy's Minstrels โดยการร้อง
ของ Edwin Christy ที่รับบทโดย Ray Middleton
*Jeanie คือชื่อเล่นของภรรยาของฟอสเตอร์ Jane Denny McDowell
 
          
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.55 วินาที กับ 19 คำสั่ง