เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 78031 เพลงเก่า เล่าอดีต
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 09:48

           การเต้นรำไปกับจังหวะดนตรีที่เร่งเร้าอย่างเมามัน ราวกับว่าพวกเขาได้ปลดปล่อยสำแดง
ตัวตน(identity) ออกมา ย่อมจะเป็นที่หนวกหูและขัดตาผู้ใหญ่ในสมัยนั้น(ที่มักโดนข้อหาว่า ล้าสมัย,
ไม่เข้าใจวัยรุ่น) เป็นอย่างยิ่ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 09:50

          จนแนวเพลงนี้ถูกเรียกว่า ดนตรีของปีศาจ(Devil's Music) ซึ่งมีผู้อธิบายว่าเหมือนกับ
เพลงบลูส์ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 ที่ถูกเรียกเช่นนี้มาก่อนโดยกลุ่มอเมริกันชนผิวสีที่นับถือคริสต์
ศาสนา แล้วร็อคแอนด์โรลที่สืบสายมาจากบลูส์ก็รับสมญาสืบทอดมา

ลีลาโยกและคลึงของราชาร็อกแอนด์โรล  Elvis Presley จาก Jailhouse Rock


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 09:53

          Oh, lawdy, mama those Friday nights
When Suzie wore her dresses tight
And the Crocodile rocking was out of sight

          คำว่า Lawdy Mama เป็นประเด็นให้ถกกันในบางฟอรั่ม ที่สมาชิกขุดคำนี้(Lawdy)
ได้จากนิยายเรื่อง Gone with the Wind ตอนที่เด็กสาวผิวสีบอกกับนายหญิงสการ์เล็ทว่า
 
           "Lawdy, Miz Scarlett, I don't know nothin' 'bout birthin' babies!"


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 09:57

           คำนี้ปรากฏเป็นชื่อของเพลงบลูส์ Hey Lawdy Mama หรือ Oh Lordy Mama(1934)
และเมื่อนำมาใช้ในเพลงนี้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าคำนี้ได้ช่วยบ่งชี้ทั้ง  

            (black) American expression/pronunciation และ American song  

          สื่อถึงต้นกำเนิดแนวเพลงร็อคแอนด์โรลนี้ ที่พัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 40s
จาก rhythm & blues(ซึ่งก็สืบมาจาก blues, woogie-boogie และ jazz) ทั้งยังได้รับอิทธิพลมา
จากเพลงแนว gospel, country and western และ traditional folk ด้วย
          เป็นการผสานดนตรีของคนผิวขาวกับผิวดำเข้าด้วยกันได้เป็นดนตรีที่มีจังหวะแรงกว่าเดิม กลายเป็น
rock and roll ที่ได้รับความนิยมในยุค 50s
          และ rock 'n' roll นี้ก็ได้กลายเป็นแนวทางพื้นฐานให้พัฒนาต่อไปในช่วงกลางทศวรรษ 60s
เป็นดนตรี rock

คืนวันศุกร์สนุกสุดเหวี่ยง ซูซี่แต่งชุดรัดรูป คงจะประมาณ Olivia Newton John(กับ John Travolta)
ใน Grease


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 09:57

          But the years went by and the rock just died
Suzie went and left me for some foreign guy
Long nights crying by the record machine
Dreaming of my Chevy and old blue jeans
 
        เวลาวันผันผ่าน วันวานหวานและเพลงสนุกสนานล่วงไป ใจคนเปลี่ยนแปร เหลือเพียง
แต่ความทรงจำให้รำลึกถึงด้วยความสุขปนเศร้า 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 09:59

          But they'll never kill the thrills we've got
Burning up to the Crocodile Rock
Learning fast as the weeks went past
We really thought the Crocodile Rock would last     
     
           เพลงเก่าคึกคักวันนั้น วันนี้กลับกลายเป็นเพลง ballad

       

King of Rock and Roll ราชาโยกและคลึง จากไปในปี 1977 ด้วยวัยเพียง 42 ปี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 10:03

แยกเข้าซอยเอลวิส ครับ

              บันทึกสาเหตุการตายของเอลวิสระบุว่าเป็นจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ที่ไม่ได้บันทึกไว้
คือการใช้ยาต่างๆ ในกลุ่มสารเสพติดมากมายที่อาจมีส่วนทำให้ตายเร็ว  
              หลังการตายหลายปี ข้อมูลเพิ่มเติมระบุว่าเอลวิสมีภาวะหัวใจโต และ แพทย์ประจำตัวที่จ่ายยา
ออกฤทธิ์จิตประสาทให้เอลวิสบอกว่า โรคท้องผูกเรื้อรังจากภาวะลำไส้ไม่ทำงาน(เคลื่อนไหว) คือฆาตกร
              ผลการชันสูตรศพพบว่าลำไส้ใหญ่ของเอลวิสมีเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวมากกว่าปกติ
ทั้งยังพบอุจจาระเก่าเก็บเป็นเดือนอยู่ภายใน  และ    
              เกือบ 40 ปีหลังการจากไป ปีนี้ก็ยังมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการตายของเอลวิสออกมาอีกว่า
ผลการตรวจ DNA จากเส้นผมเอลวิสระบุว่า เขามีโรคกล้ามเนื้อหัวใจ hypertrophic cardiomyopathy
ซึ่งเป็นโรคกรรมพันธุ์ มีผลทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
 
หมายเหตุ   เส้นผมที่อ้างว่าเป็นของเอลวิสนี้ได้มาจากเพื่อนของช่างตัดผมประจำตัวเอลวิสขายให้ในราคา
2,000 เหรียญ            


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 10:09

มาร่วมรำลึกความหลังของ The King สมญาของเอลวิส เพรสลีย์ ค่ะ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 10:14

ลีลาเคลื่อนไหวส่ายสะโพกของเอลวิส ในจังหวะร็อคแอนด์โรล  เป็นเรื่องช็อคบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ใหญ่ในยุค 50s มาก
ด้วยเห็นว่าเป็นลีลาที่อุจาดบาดตา ถึงขั้นลามกอนาจาร
ดังนั้นเมื่อเอลวิสรับเชิญมาออกรายการทีวี  กล้องจึงจับเฉพาะส่วนบนเป็นส่วนใหญ่  เมื่อให้เห็นทั้งตัว ขาสองข้างของเอลวิสก็ต้องปักอยู่บนพื้นอย่างแน่นหนา จะมาสะบัดเหวี่ยงตามใจชอบไม่ได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 03 ก.ค. 14, 10:15

นักร้องเพลงร็อคสมัยนั้นต้องสุภาพเรียบร้อยแบบนี้ค่ะ

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 06 ก.ค. 14, 09:20

             หลังจากข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคแล้ว คราวนี้ชวนกันข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค
ไปขึ้นฝั่งที่ออสเตรเลีย ฟังเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของประเทศที่เป็นทวีปนี้กัน ครับ

                  Waltzing Matilda

            เพลง "bush ballad" อายุกว่า  100 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นที่สุดของออสเตรเลีย
ทรงคุณค่าและความหมายทางจิตใจชาวออสเตรเลีย กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกสำนึกถึงแดนดินถิ่นมาตุภูมิ

bush ballad - บทเพลงพื้นบ้านหรือร้อยกรองแห่งถิ่นฐานย่าน outback(ดินแดนร้อนแล้ง,กว้างใหญ่,
ห่างไกล) ในออสเตรเลีย

               เนื้อร้องประพันธ์โดยกวีนามว่า Banjo Paterson(คนเดียวกับที่ร้อยกรอง The Man From
Snowy River) ในปี 1895

คีตกวี Banjo Paterson บนธนบัตร 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย  


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 06 ก.ค. 14, 09:23

            ที่ฟาร์ม Dagworth Homestead ใกล้กับ Winton ในรัฐควีนส์แลนด์ ตามทำนอง
เพลงที่ Christina Macpherson ได้ยินและจดจำมาจากเพลง The Craigielee March
ซึ่งแต่งตามทำนองเพลงพื้นบ้าน celtic ในสก็อตแลนด์ผลงานของ Robert Tannahill
ในปี 1806


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 06 ก.ค. 14, 09:27

           ส่วนเรื่องราวที่มาของเพลงนั้น เวอร์ชั่นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางกล่าวว่า
เนื้อร้องมาจากเหตุการณ์
           การประท้วงของคนงานตัดขนแกะใน Dagworth เมื่อปี 1894 ที่ยืดเยื้อยาวนานหลายเดือน
แล้วทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อผู้ประท้วงยิงปืนขึ้นฟ้าและเผาโรงตัดขนแกะ เจ้าของฟาร์มและตำรวจได้ออก
ไล่จับหัวโจกชื่อ Samuel Hoffmeister ที่ไม่ยอมมอบตัวแต่ตัดสินใจยิงตัวตายตรงแอ่งน้ำที่เรียกว่า
Combo Waterhole
           กวีผู้ประพันธ์เพลงคงจะได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นขณะขี่ม้าผ่านบริเวณนี้กับพี่(หรือน้อง)ชาย
ของคริสติน่า ประกอบกับได้เห็นซากศพของแกะเพิ่งถูกฆ่าทิ้งไว้โดยที่น่าจะเป็นผลงานของหนึ่งในคนจร
ตกงานนับหลายพันที่ตระเวนหางานในย่านนี้ จึงเกิดความสะเทือนใจผูกเรื่องราวเป็นคำร้องลงในทำนอง
เพลงดังกล่าว

กวีผู้ประพันธ์ Banjo (คนขวามือ)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 06 ก.ค. 14, 09:28

Combo Waterhole วันวาน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 06 ก.ค. 14, 09:30

และ วันนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง