เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 77686 เพลงเก่า เล่าอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 10:15

ยอดเยี่ยมค่ะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 26 มิ.ย. 14, 11:14

ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 10:19

           เพลงต่อไปก็ยังคงเป็นแนว nostalgia และเป็นเรื่อง "(แบบว่า)การปฏิวัติ" เช่นกัน
แต่เป็น "ปฏิวัติวัฒนธรรม" ครับ  

                   Crocodile Rock
 
         บทเพลงโด่งดังในยุค 70's(บันทึกเสียงปี 1972) ผลงานการประพันธ์ของเซอร์ Elton John
(ทำนอง) ร่วมกับคู่หูดูโอ้แต่งเพลง Bernie Taupin(คำร้อง) ที่แหวกออกมาจากผลงานฮิทแนว ballad
ก่อนหน้านี้ของทั้งสอง แล้วโดนใจอเมริกันชนจนทะยานขึ้นอันดับหนึ่งประเภทแผ่น single ในอเมริกา
(อันดับห้าในอังกฤษ บ้านตัวเอง)

หนึ่งในคู่นักแต่งเพลงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดแห่งประวัติศาสตร์ดนตรีของอังกฤษ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 10:25

          เนื้อเพลงหวนหาอาลัยอดีต(nostalgia) ยุคสมัย rock 'n' roll ยังเยาว์
(when rock was young) ช่วงทศวรรษ 50s ซึ่งเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
          หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองผ่านพ้นไปในทศวรรษก่อน(ปี 1945) ทหารหาญ
กลับคืนสู่เหย้าพักรบมาพบรักสร้างครอบครัวเข้าสู่สมัย baby boom ที่ประเทศทั่วโลกต่าง
ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเพิ่มจำนวนประชากรเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาและฟื้นฟูประเทศ
หลังสงคราม ทีวีบุกเข้าเผยแพร่วัฒนธรรมป็อป(pop culture) สู่เยาวชนถึงในบ้าน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 10:28

หนุ่มสาววัยเสรี ควงคู่ออกเดท เต้นร็อค


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 10:31

           ท่านเซอร์จอห์นได้ยินและเกิดแรงดลใจจากเพลง Eagle Rock ของวง Daddy Cool
ณ ออสเตรเลีย เมื่อคราวไปทัวร์คอนเสิร์ทที่นั่นแล้วจึงแต่งเพลงนี้โดยมีดลใจเสริมจากเพลงของ
Del Shannon สองเพลง คือ Cry Myself to Sleep และ Little Darlin มาผสม นอกจากนี้
ในท่อนคอรัสที่ติดหูยังฟังคล้ายกับเพลง  Speedy Gonzales ของ Pat Boone เสียจนทนาย
ตัวแทนผู้แต่งเพลง Speedy ยื่นฟ้องศาลในอเมริกา แต่ท้ายสุดแล้วเจรจาตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย     
         
             เพลงนี้เป็นอีกหนึ่ง(ในหลาย) เพลงดังของท่านเซอร์ ซึ่งเป็นที่จดจำกันได้แม้เวลาผ่านไปนาน
แต่ท่านเซอร์เองบอก(อย่างถ่อมตัว?) ว่า เพลงนี้เป็นบันทึกเรื่องราวสิ่งต่างๆ ที่ท่านเซอร์ได้พานพบและ
เติบโตขึ้นมาด้วยกัน ไม่ได้เป็นสิ่งสร้างสรรค์ใหม่แต่จดจำลอกเลียนมา จึงเป็นแค่เพลงป็อปฟังผ่าน
(disposable pop) ไม่ได้ต้องการให้ใครจดจำตัวท่านเซอร์ได้จากเพลงนี้

จำท่านเซอร์ได้ติดหูจากเพลงไพเราะ และ ติดตาจากเครื่องหมายการค้า - แว่นตา, เปียโน และชุดแฟนซี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 11:05

         


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 09:22

          เพลงจากศิลปินอังกฤษ แต่ฟังแล้วนึกภาพเป็นที่บ้านเกิด rock and roll - อเมริกา
มหาอำนาจแห่งวัฒนธรรมข้ามชาติส่งออกเผยแพร่ไปทั่วโลกรวมถึงบ้านเราแต่เก่าก่อน

       I remember when rock was young
Me and Suzie had so much fun
Holding hands and skimming stones
Had an old gold Chevy, a place of my own

           วันวานเมื่อร็อคยังเยาว์ สองเราเริงสำราญ กุมมือและเล่นขว้างหินกระดอนบนผิวน้ำ
สามสี่เด้ง

stone skimming(or skipping)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 09:24

            โฉบเฉี่ยวไปกับ chevy สีทองคันเก่า

รถ  Chevrolet ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้น ในเพลงดังย้อนอดีตอีกเพลงคือ American Pie(1971)
ของ  Don McLean ก็มีเนื้อร้องกล่าวถึง chevy เช่นกันว่า
                 drove my chevy to the levy
                     
เชฟวี่สีทองในรูปคือ 1957 Chevy Bel Air เป็นรุ่นสองประตูยอดฮิท ปรากฏโฉมในรูปถ่าย, ในหนัง
และจำลองเป็นของเล่นจนได้ชื่อว่า icon car


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 09:27

             a place of my own

          นึกถึงภาพจากหนังฮอลลีวู้ด หนุ่มพาสาวนั่งรถเปิดประทุนไปยังที่ที่มีเพียงเราสอง

Natalie Wood กับ Warren Betty ใน Splendor in the Grass(1961)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 09:29

         But the biggest kick I ever got
Was doing a thing called the Crocodile Rock
While the other kids were rocking round the clock
We were hopping and bopping to the Crocodile Rock

        Crocoodile rock ตามชื่อเพลงนี้ไม่มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นอภิสิทธ์กวีนิพนธ์สร้างสรรค์
ขึ้นมาว่า มีการเต้นรำแบบนี้ที่ท่าจะเด็ดกว่า ใหม่กว่า Rock Around the Clock (เพลงร็อค
ของ Bill Haley ที่โด่งดังทั่วโลกในปี 1954)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 09:42

           คำว่า  rock and roll นี้ ที่จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอเมริกันได้แปลเป็น
ไทยว่า “โยกและคลึง” (- คอลัมน์ตะเกียงเจ้าพายุ โดย อติภพ ภัทรเดชไพศาล หนังสือพิมพ์สยามรัฐ)

            ได้รับการยอมรับว่า ถูกนำมาใช้เรียกเพลงแนวนี้โดยดีเจ Alan Freed เป็นคนแรกในตอนต้น
ทศวรรษ 50s(1950 - 1951) เมื่อฟรี้ดจัดรายการเปิดเพลง Rhythm & Blues(เรียกตามที่บริษัท
ผู้ผลิตแผ่นจัดประเภทให้) แนวใหม่ที่ออกวางขายในตอนนั้นแล้วได้รับความนิยมอย่างสูงที่ Cleveland
           รายการวิทยุของเขาซึ่งประสบความสำเร็จกลายเป็นรายการฮิทนี้มีชื่อว่า Moondog Rock ‘n’ Roll
Party ฟรี้ดบอกว่าที่เรียกดนตรีแนวใหม่อย่างนี้เพราะ “it seemed to suggest the rolling, surging
beat of the music.”

(วลีนี้ที่จริงไม่ใหม่ แต่เคยมีใช้กันมาก่อนแล้วสำหรับเรียก ลักษณะการเคลื่อนไหวของเรือ, ความรักของพระเจ้า
ทั้งยังเคยปรากฏในเพลงในปี 1916 และต่อมายังถูกนำไปใช้ต่อด้วยนัยที่หมายถึงการเต้นรำหรือเซ็กซ์)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 09:47

           ปี 1954 ฟรี้ดย้ายไปจัดรายการที่นิว ยอร์ค ออกอากาศผ่านเครือข่ายกระจายแนวเพลงนี้
ไปสู่เมืองหลักๆ ของอเมริกา ต่อมาฟรี้ดยังได้ไปปรากฏตัวในหนังเพลงและจัดรายการทางโทรทัศน์ด้วย
       แต่ บทสุดท้ายของผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดู rock 'n' roll ให้เจริญเติบโตกลับจบลงอย่างขมขื่น
ฟรี้ดถูกข้อหา payola รับ(ทรัพย์จากบริษัทแผ่นเสียง) จ้างเปิดแผ่นซึ่งเขาปฏิเสธมาโดยตลอด ผลที่
ตามมาจากข้อหานี้คือสถานีวิทยุชั้นนำต่างปฏิเสธการจัดรายการของเขา
            ฟรี้ดเสียชีวิตลงในปี 1965 ด้วยวัยเพียง 43 ปีจากโรคตับแข็งเพราะการดื่มสุรา

หมายเหตุ เรื่องราวของฟรี้ดกับวลีนี้ มีเรื่องราวรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละเว็บ  


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 01 ก.ค. 14, 11:54

          คำว่า  rock and roll นี้ ที่จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอเมริกันได้แปลเป็น
ไทยว่า “โยกและคลึง” (- คอลัมน์ตะเกียงเจ้าพายุ โดย อติภพ ภัทรเดชไพศาล หนังสือพิมพ์สยามรัฐ)

เผอิญสะดุดชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ เลยไปถามคุณกุ๊ก พบ บทความของคุณอติภพ ภัทรเดชไพศาล ในคอลัมน์เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พูดถึงเรื่องนี้ว่า

คำว่า rock อาจมีความหมายในเชิงศาสนาในดนตรีประเภท gospel ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ แต่คำว่า roll นั้่นมีความหมายสื่อไปถึงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลานานมาแล้ว แต่โดยรวมๆ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ในภาษาสแลงของชาวอัฟริกัน-อเมริกัน คำว่า rock and roll นั้นหมายถึงการเต้นรำหรือการมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ (จิตร ภูมิศักดิ์ เคยแปลคำนี้ออกมาตรง ๆ ว่า “โยกและคลึง”)

ท่าเต้นที่มีการยักย้ายส่ายสะโพกของเอลวิส เพรสลีย์จึงสื่อนัยยะไปถึงเรื่องของ sex อย่างไม่มีข้อสงสัย


จิตรต่อต้านอเมริกันก็จริงอยู่ นอกจากในเรื่องการเมืองแล้ว จิตรมีภาพด้านลบต่อภาพยนตร์อเมริกันโดยเห็นว่าเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือย จิตรในนามปากกาว่า "มูฟวี่แมน" เคยวิจารณ์บทบาทของ อลิซาเบ็ธ เทย์เลอร์ ในภาพยนตร์เรื่อง Rhapsody  ในหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ฉบับวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่า ผู้หญิงในท้องเรื่องดูเหมือนจะมีไว้เพื่อให้เรื่องมีรสมีชาติขึ้น ทำนองเดียวกับที่มหาฤกษ์ (หลวงจักรปราณี) กวีเก่า ๆ ว่าไว้ว่า "อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา ถ้าโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ"

แต่อย่างไรก็ตาม จิตรไม่ได้ต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอเมริกัน อย่างน้อยก็มีคนอเมริกันคนหนึ่งชื่อ ดร.วิลเลียม จอห์น เก็ดนีย์ (William John Gedney) ที่ จิตรนับถือดุจ "พ่อบุญธรรม" ทีเดียว

ข้างล่างเป็นส่วนหนึ่งของ บทความเรื่อง จิตร ภูมิศักดิ์ ในประวัติศาสตร์ไทย โดย Craig J. Reynolds  ในหนังสือ เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และคนสามัญ รวมบทความประวัติศาสตร์ของ เครก เจ. เรย์โนลด์ส หน้า ๑๕๗-๑๕๘




บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 09:46

มี จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ไหน(ในเรือนไทย) มี เพ็ญชมพู ที่นั่น  ยิงฟันยิ้ม

          แนวเพลงนี้ที่โดนใจวัยรุ่นอเมริกาอย่างจังในยุค 50s ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกส่งผล
ต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นในสมัยนั้น ทั้งการพูด การแต่งกาย(เสื้อผ้า ทรงผม)

ท่านเซอร์ Cliff Richards เมื่อวันวานในกองถ่ายทำหนังเรื่อง Serious Charge


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.105 วินาที กับ 19 คำสั่ง