เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 78030 เพลงเก่า เล่าอดีต
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 10:18

             อุโมงค์ Great Summit Tunnel ณ Sierra Nevada ความยาว 1659 ฟุต
             ผลงานจากหยาดเหงื่อและหยดเลือดของชาวจีน ขุดเจาะผาหินแกร่งด้วยมือก่อนจะ
วางระเบิด เส้นทางผ่านอุโมงค์นี้ได้ถูกยกเลิกไปใช้เส้นทางใหม่ในปี 1993


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 10:23

           ปัญหาคนงานคลี่คลายไปได้ด้วยแรงงานจีน แต่การสร้างทางฝั่งแคลิฟอร์เนียยังมีข้อ
ข้องขัดในส่วนของตัวรางและขบวนรถ ในขณะที่ไม้หมอนหาได้ในป่าแคลิฟอร์เนีย แต่ล้อ, ราง,
เครื่องจักร และตู้รถไฟนั้น ต้องผลิตในย่านอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกแล้วขนมาทางเรืออ้อมทวีป
อเมริกาใต้ที่ Cape Horn ใช้เวลานานนับครึ่งปีขึ้น บางส่วนก็ขนผ่านทางคอคอดปานามาแต่
ค่าใช้จ่ายสูงกว่า

เส้นทางจากฝั่งตะวันออกสู่ตะวันตก ทั้งทางบก ทางทะเล


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 10:47

ถ้าอาเฮียเหล่านี้ไม่ได้ข้ามมหาสมุทรไปขึ้นฝั่งที่คาลิฟอร์เนีย แต่ลงใต้มาขึ้นฝั่งที่สยาม    ก็คงได้ใช้แรงงานที่เบากว่านี้ เช่นขุดคลอง
หลังจากนั้นถ้าตั้งร้านค้าได้ ก็เป็นเถ้าแก่กันไปแล้ว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 10:45

          คนงานจีนนับร้อย นับพันก็มาเสียชีวิตด้วยโรคภัย อหิวาต์ ไข้จับสั่น ที่อุโมงค์ขุนตาน บ้านเรา
และ ข้อมูลบอกว่า คนงานจีนที่นี่ไม่ยอมเข้าทำงานขุดเจาะอุโมงค์เพราะกลัวภูตผีปีศาจข้างใน

จาก http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1943


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 10:46

         ในส่วนเส้นทางของ Union Pacific นั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 10:48

          การหาคนงานเป็นเรื่องง่ายกว่าฝั่งตะวันตก กรรมกรสร้างทางมาจากผู้อพยพชาวไอริช และ
ในปี 1865 เมื่อสงครามกลางเมืองเหนือใต้ยุติลง ทหารผ่านศึกตกงานนับหมื่นจากสองฝ่ายก็มาร่วมงาน
สร้างทางสร้างชาติกันโดยสันติ ส่วนวิศวกรก็เป็นอดีตทหารที่ผ่านงานรถไฟในช่วงสงครามเช่นกัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 10:52

         คนงานไอริชทำงานขยันขันแข็งและมีฝีมือ มีสไตร๊ค์บ้างเป็นบางคราว เมื่อคนงานขาดแคลน
ก็ได้มีการว่าจ้างคนงานชาวจีนมาสมทบด้วย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 10:55

สะพานค้ำยัน(trestle) ของ Union Pacific


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 11:05

ส่วนภาพนี้เป็น trestle ของ Central Pacific


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 11:07

         งานสร้างทางที่คืบหน้าไปเรื่อยๆ ก่อให้เกิดเมืองเต๊นท์ชั่วคราวที่คอยเคลื่อนย้ายตามรางรถไฟ

ภาพ Benton, Wyoming เมืองเต๊นท์ที่มีอายุยาวนานเพียง 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 1868)
ที่เมืองนี้มีผู้คนคึกคักมากถึง 3,000 คน, บาร์ saloon 25 แห่ง และโรงเต้นรำ 5 โรง
(รับชมเมืองเต๊นท์ได้ในหนัง Iron Horse)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 11:14

           อุปสรรคสำคัญของเส้นทางฟากนี้คือ ภัยจากการจู่โจมทำร้ายของชนพื้นเมือง คนงานต้องติด
อาวุธและหลายครั้งต้องพึ่งการคุ้มครองจากทหารม้าหรือชนพื้นเมืองเผ่าที่เป็นมิตร(ภาพล่าง)



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 10:10

         ส่วนอุปสรรคอื่นๆ ได้แก่  สภาพอากาศหนาวและร้อนจัด, เทือกเขาร็อคกี้

เส้นทาง Union pacific ช่วงลอดอุโมงค์ผ่าน Weber Canyon ในเทือกเขา Wasatch Range
ทอดยาวระหว่างชายแดน Utah-Idaho ชายขอบด้านตะวันตกของเทือกเขาร็อคกี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 10:12

และฝูงควายท้องถิ่น(bison) ที่ต้องจัดหาคนมาล่าเพื่อนำเนื้อมาบริโภคด้วย  

             ชื่อในวงการนักล่าควายที่คุ้นหูชาวไทยจากหนังคาวบอยสมัยก่อน คือ Buffalo Bill
(ชื่อจริง William Frederick Cody) ได้มาเมื่อเขาตกลงทำสัญญาฆ่าควายเพื่อเป็นอาหาร
สำหรับคนงานสร้างทางของ Kansas Pacific Railroad ในช่วงปี 1867–1868

ภาพนักล่าควายในหนังเรื่อง How the West Was Won


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 10:14

          หลังจากมหากาพย์การสร้างทางรถไฟข้ามทวีปสายแรกของโลกผ่านไป 6 ปี ในที่สุด
ตะปูรางรถไฟตัวสุดท้าย(Last Spike) ก็ได้ถูกตอกลงบนรางเชื่อมทางรถไฟสองฟาก เมื่อ
วันที่ 10 พฤษภาคม ปี 1869 ณ ตำแหน่ง(ที่ได้ตกลงกันไว้ในเดือนเมษายนก่อนหน้านี้)
เรียกว่า Promontory Summit
          ที่ซึ่งเป็นบริเวณดอนสูงในตอนเหนือของ Promontory Mountains อยู่ทางตะวันตก
ของ Brigham City และทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Salt Lake City, Utah


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 10:18

           พิธีแต่งงานสองราง "wedding of the rails" ในวันนั้น ตะปูที่ตอกบนรางมีทั้งหมด
สามตัวเป็นตะปูทอง, ตะปูเงิน และ ตะปูผสมทอง, เงิน และ เหล็ก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง