เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13305 อยากทราบผลกระทบทางด้านสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ.2475
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


 เมื่อ 28 เม.ย. 14, 20:41

พอดีกำลังเรียนเรื่องนี้ที่โรงเรียนกวดวิชาค่ะ แล้วก็เคยอ่านหนังสือแล้วก็กระทู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้และผู้เกี่ยวข้องมาบ้าง ส่วนใหญ่มักจะพูดถึงเจ้านายหรือข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในตอนนั้นสักเท่าไหร่
เลยอยากทราบว่าตอนนั้นผู้คนรู้สึกกันอย่างไร มีความรู้สึกยังไงกับเหตุการณ์นี้ มองว่าเป็นประโยชน์หรือโทษมากกว่า แล้วผลกระทบของการปฏิรูปช่วยกระตุ้นให้คนไทยพัฒนาตัวเองขึ้นไหม เช่น ผู้หญิงเรียนหนังสือสูงขึ้น ทำงานหาเลี้ยงตัวเองมากขึ้น เพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ทำนองนั้น

แล้วอีกหนึ่งอย่างที่อยากรู้ก็คือหลังการปฏิรูปประชาชนเห็นความสำคัญของสถาบัน และเชื้อพระวงศ์ลดลงหรือเปล่าคะ เพราะที่เรียนและอ่านตามอินเตอร์เน็ตบ้างหนังสือบ้าง เจ้านายหลายพระองค์ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ บางคนก็ถูกรัฐบาลจับตัวไป ถูกลดบทบาทอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ทั้งนั้นคือตั้งข้อสงสัยไว้ว่าสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่รวดเร็วฉับไวเหมือนตอนนี้ ผู้คนตื่นตัวกับเหตุการณ์นี้แค่ไหน มีปฏิกิริยายังไงบ้้าง

อาจจะถามวกไปวนมาหน่อยนะคะ เรียบเรียงภาษาไม่ค่อยดี T____T
ตั้งกระทู้เป็นครั้งแรกในเรือนไทยเลย ขอบคุณทุกๆ ความเห็นนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 เม.ย. 14, 20:54

โรงเรียนกวดวิชาสอนประวัติศาสตร์ด้วยหรือคะ?  นึกว่าสอนเฉพาะวิชาที่จะเอาไปสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ภาษาของหนูดีมาก น่าจะเป็นครูมากกว่านักเรียน

ส่วนคำตอบ  ยกให้คุณ NAVARAT.C  ดีกว่า ท่านเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้มากในเรือนไทย

บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 เม.ย. 14, 21:15

เรียน คุณเทาชมพู

วิชาสังคมน่ะค่ะ แล้วต้องเรียนเรื่องประวัติศาสตร์การเมือง เคยไล่อ่านกระทู้ในเรือนไทย ห้องประวัติศาสตร์ พอไปฟังในห้องเรียนก็รู้สึกสนุก เพราะมีความรู้เล็กๆ น้อยๆ ติดมาบ้างเลยเข้าใจแล้วก็จำเนื้อหาได้ง่าย
ขอขอบคุณคุณเทาชมพูที่ชมเรื่องภาษานะคะ อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นนักเรียนสายศิลป์ภาษา อ่านบทความหรือนิยายผู้ใหญ่บ่อยๆ คงติดภาษามาบ้าง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 11:16

อ้างถึง
ส่วนใหญ่มักจะพูดถึงเจ้านายหรือข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในตอนนั้นสักเท่าไหร่ เลยอยากทราบว่าตอนนั้นผู้คนรู้สึกกันอย่างไร มีความรู้สึกยังไงกับเหตุการณ์นี้ มองว่าเป็นประโยชน์หรือโทษมากกว่า
ในช่วงต้นของการพยายามจะเป็นประชาธิปไตยแต่ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่(๒๔๗๕-๒๔๘๑) ผมประเมินภาพรวมว่า ประชาชนแบ่งออกเป็นสองกลุ่มครับคือกลุ่มที่ไร้การศึกษา กับกลุ่มที่มีการศึกษา

กลุ่มที่ไร้การศึกษานั้นไม่ต้องพูดถึง ประชาชนพวกนี้สนใจแต่เรื่องทำมาหากินไปวันหนึ่งๆ เรื่องอื่นๆที่ไกลตัวออกไป ส่งผลกระทบไม่ถึงก็ไม่สนใจ และรัฐบาลก็ยังไม่มีปัญญาที่จะเข้าไปดำเนินนโยบายประชานิยมได้ ความรู้สึกของคนจึงเป็นแบบเดิมๆ
กลุ่มที่มีการศึกษา แต่ไม่มีผลกระทบกับเรื่องผลประโยชน์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ก็คงไม่มีความรู้สึกในเชิงบวกหรือลบรุนแรง ส่วนใหญ่จะเข้าใจดีว่าระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบที่ล้าสมัยแล้ว วันหนึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงไม่ช้าก็เร็ว หากจะเป็นไปแบบใดเท่านั้น โชคดีที่การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นมิได้ทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด คนส่วนใหญ่จึงพยายามมองโลกว่าสวยต่อไป

ครั้นเมื่อประชาธิปไตยกลายพันธุ์เป็นคณาธิปไตย ตั้งแต่ ๒๔๘๑ไปจนยุคญี่ปุ่นบุก นายกรัฐมนตรีตั้งตนเองเป็นผู้นำ ทำตนเป็นราชาที่ไม่สวมมงกุฎขึ้นมา คนจึงเริ่มจะคิดถึงพระราชาที่แท้จริงมากขึ้น
ก็อีกนั่นแหละครับ ไม่ใช่ทั้งหมด นักการเมืองและสมุนบริวารที่มีผลประโยชน์จากการเมืองในยุคนั้นก็ย่อมจะคิดต่าง

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 11:21

อ้างถึง
แล้วผลกระทบของการปฏิรูปช่วยกระตุ้นให้คนไทยพัฒนาตัวเองขึ้นไหม เช่น ผู้หญิงเรียนหนังสือสูงขึ้น ทำงานหาเลี้ยงตัวเองมากขึ้น เพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ทำนองนั้น
รัฐบาลทุกรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นระบอบใด ในประเทศไหน ก็พยายามทำเรื่องพื้นฐานต่างๆเหล่านั้นอยู่แล้ว คงจะอ้างไม่ได้เรื่องยุคนี้ยุคนั้นไหนดีกว่ากัน เพราะเวลา เงื่อนไข และสิ่งแวดล้อมตามวิถีโลก แตกต่างกัน

ส่วนสโลแกนที่ว่า ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน จะมาพูดครอบจักรวาลก็ไม่ใช่ ควรจะระบุลงไปว่าเรื่องอะไร เรื่องไปกาบัตรเลือกตั้งหรือการดำเนินชีวิตหลังกาบัตรเลือกตั้ง หรือสิทธิ์อะไร
บางทีพอยกตัวอย่างขึ้นแล้ว คุณก็สามารถตอบตัวเองได้ว่า คนอย่างเราๆท่านๆ มีสิทธิ์ที่ว่าเท่าๆกับพวกเขาหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 11:38

หลังจาก ๒๔๗๕ ดูเหมือนว่าทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ในส่วนของกรุงเทพ ความเจริญด้านการค้าขายก็ดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อนและรัดตัว ในด้านต่างจังหวัดก็ยังไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลยยังคงใช้ชีวิตตามเฉกเช่นทุกวันที่ผ่านมา ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่กรุงเทพระหว่าง ๒๔๗๕ - ๒๔๘๙ สภาพบ้านเรือนกรุงเทพยังไม่เปลี่ยนแปลงมาก

การก้าวกระโดดของสังคมไทยนั้นผมว่าเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วน่าจะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก้าวกระโดดแบบรวดเร็วมากๆ


บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 13:11

ถ้าไม่ได้หาข้อมูลเพื่ออ้างอิงวิชาการ ลองอ่านสี่แผ่นดิน กับร่มฉัตรสิคะ
ตอนตาแต่งงานกับยาย ผู้ใหญ่ฝ่ายยายพอใจด้วยเหตุผลว่า ตาไม่ใช่นักการเมือง ค่ะ
จากที่ฟังเล่ามาก็เหมือนประชาชนไม่ค่อยอยากเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองสักเท่าไหร่
ก็ขอแค่ใช้ชีวิตสงบสุขเท่านั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 17:33

อีกเรื่องหนึ่ง คือการเปลี่ยนแปลงกฎมนเฑียรบาล ว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์ 

   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า กฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการ สมรสพระราชวงศ์นั้น ได้ทรงพระราชดำริมาก่อนที่ได้ตราพระราชบัญญัติธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 แล้วว่า ควรจะเปลี่ยนแปลงให้ เหมาะแก่สมัย สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบด้วยพระราชดำริ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตรากฎมนเฑียรบาลขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

มาตรา 1* ให้ใช้กฎมนเฑียรบาลนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2475/-/256/11 สิงหาคม 2475]

มาตรา 2 ตั้งแต่วันที่ใช้กฎมนเฑียรบาลนี้สืบไป ให้ยกเลิกบรรดา กฎหมาย กฎมนเฑียรบาล กฎและข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วใน กฎมนเฑียรบาลนี้ หรือซึ่งแย้งกับกฎมนเฑียรบาลนี้

มาตรา 3 พระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ถ้าจะทำการสมรส กับผู้ใด ท่านว่าต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เสียก่อน

มาตรา 4 เจ้าหญิงองค์ใด ถ้าจะทำการสมรสกับผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าในพระราชวงศ์ อันเป็นการไม่ต้องด้วยพระราชประเพณีนิยม ท่านว่าต้องกราบ ถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เสียก่อน

มาตรา 5 ถ้าพระราชวงศ์องค์ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา 3 และมาตรา 4 ท่านว่าให้ถอดเสียจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ประกาศมา ณ วันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับพระบรมราชโองการ
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ประธานคณะกรรมการราษฎร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 17:37

แปลง่ายๆคือหม่อมเจ้าหญิงสามารถสมรสกับสามัญชน หรือผู้มีฐานันดรต่ำกว่าหม่อมเจ้า แต่ต้องถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เสียก่อน
ในพ.ศ. 2475  มีหม่อมเจ้าหญิง 3 องค์ทรงลาออก
    23 สิงหาคม - หม่อมเจ้าหญิงพรรณเพ็ญแข เพ็ญพัฒน์  (11 กันยายน พ.ศ. 2448 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในพระองค์แรกในราชวงศ์จักรี ที่ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร
    23 สิงหาคม - หม่อมเจ้าหญิงฉวีวงศ์ รุจจวิชัย (พ.ศ. 2448 - ไม่มีข้อมูล) พระธิดาในพระองค์เจ้าชายรุจาวรฉวี (ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส
    20 กันยายน - หม่อมเจ้าหญิงเกษรสุคนธ์ โตษะณีย์ พระธิดาในพระองค์เจ้าโตสินี (ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C

บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 20:34

ส่วนใหญ่จะเข้าใจดีว่าระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบที่ล้าสมัยแล้ว วันหนึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงไม่ช้าก็เร็ว หากจะเป็นไปแบบใดเท่านั้น โชคดีที่การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นมิได้ทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด คนส่วนใหญ่จึงพยายามมองโลกว่าสวยต่อไป


ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่คุณ NAVARAT.C เข้ามาให้ความรู้ในกระทู้นี้นะคะ คลายข้อสงสัยไปได้เยอะเลย
ส่วนข้อความที่อ้างอิงด้านบน แสดงว่าการปฏิวัติครั้งนั้นดำเนินไปอย่างเงียบเชียบมากเสียจนประชาชนไม่เอะใจอะไรเลย
ครูที่สอนในห้องอธิบายคล้ายๆ ว่า รอให้ในหลวงเสด็จออกนอกพระนคร แล้วลงมือลักไก่ปฏิวัติ ก็คงจะไม่ผิดซะทีเดียว
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 20:44

เรียน คุณ siamese

เมื่อกี้ลองไปค้นดูว่าทำไมช่วงหลังสงครามโลกสังคมไทยถึงพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ก็เห็นว่าจอมพลป. ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึงเก้าปี
แต่ก็ไม่ใช่ช่วงที่ได้ประกาศรัฐนิยม เพราะจอมพลป. ได้ประกาศใช้ตอนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก (จขกท.เข้าใจว่ารัฐนิยมเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไป)

ช่วยอธิบายได้ไหมคะว่าอะไรที่ทำให้สังคมพัฒนาไปอย่างมาก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ฟังดูเหมือนให้สอนเด็กประถมบวกลบเลขยังไงก็ไม่รู้ เคยค้นกระทู้เก่าๆ ในห้องประวัติศาสตร์ ก็ยังไม่เคยเห็นพูดถึงเรื่องนี้ ถ้าเคยมีคำถามแล้วก็ขออภัยนะคะ
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 20:56

เรียน คุณ ืnoon
 
ก่อนอื่นเลยขอขอบคุณนะคะที่เข้ามาตอบคำถามในกระทู้
เคยอ่านสี่แผ่นดินเหมือนกันค่ะ แต่ก็หลายปีแล้ว ตอนนั้นก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง โดยเฉพาะเวลาพูดถึงเจ้านาย แล้วก็เหตุการณ์ทางการเมือง
แต่ถ้ามีโอกาสจะลองหยิบมาอ่านอีกครั้งค่ะ ตอนนั้นคงเป็นเพราะยังไม่มีพื้นฐานความรู้ทางประวัติศาสตร์เท่าไหร่ โดยเฉพาะฉากอธิบายห้องต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง จำได้ว่างงมากๆ นึกภาพไม่ออก

ส่วนร่มฉัตรเคยอ่านรีวิวตามบล็อกนักอ่าน ก็น่าสนใจเหมือนกัน ถ้ามีโอกาสจะลองอ่านนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ  ยิ้มกว้างๆ


เรียน คุณเทาชมพู
ได้เข้าไปอ่านตามลิงค์วิกิพีเดียแล้ว น่าสนใจมากค่ะ เพิ่งรู้ว่าเจ้านายฝ่ายในสมัยก่อนหลายพระองค์ไม่ได้อภิเษกสมรสตลอดพระชนม์ชีพ
เข้าใจว่าเจ้านายฝ่ายในสามารถกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่ออภิเษกสมรสกับผู้มีฐานันดรศักดิ์ต่ำกว่า มาตั้งแต่โบราณแล้ว
ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงนะคะที่อ.เทาชมพูเข้ามาให้ความรู้ในกระทู้นี้  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 21:20

อ้างถึง
แสดงว่าการปฏิวัติครั้งนั้นดำเนินไปอย่างเงียบเชียบมากเสียจนประชาชนไม่เอะใจอะไรเลย
ครูที่สอนในห้องอธิบายคล้ายๆ ว่า รอให้ในหลวงเสด็จออกนอกพระนคร แล้วลงมือลักไก่ปฏิวัติ ก็คงจะไม่ผิดซะทีเดียว

ถ้ายังไม่เคยอ่านมหากาพย์การเมืองสมัย๒๔๗๕ ก็ลองเข้าไปดูนะครับ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3363.0

เรื่องที่คุณเคยได้ยินจากครูนั้น รายละเอียดเริ่มตั้งแต่คคห.ที่๗ แต่อ่านไปเสียตั้งแต่ต้นก็ไม่ได้เสียเวลาอะไร
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 21:57

เรียน คุณ NAVARAT.C
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 10:59

อ้างถึง
อ้างถึง
siamese
การก้าวกระโดดของสังคมไทยนั้นผมว่าเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วน่าจะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก้าวกระโดดแบบรวดเร็วมากๆ
ช่วยอธิบายได้ไหมคะว่าอะไรที่ทำให้สังคมพัฒนาไปอย่างมาก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ผมเป็นเด็กที่เกิดหลังสงครามเลิกหมาดๆ ตั้งแต่จำความได้และทบทวนดู เห็นว่าในช่วงเติบโตตั้งแต่ปฐมวัยจนจบชั้นประถมนั้น บ้านเมืองยังเป็นแบบเดิมๆไม่ค่อยจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ ออกจากกรุงเทพไปนิดเดียวก็เป็นบ้านนอกแล้ว ถนนสุขุมวิทตั้งแต่ทางรถไฟแถวเพลินจิต บ้านเรือนมีแค่สองฝากถนน เลยทองหล่อไปก็บางตาแล้ว หลังแนวบ้านยังมีสภาพเป็นท้องทุ่งท้องนาอยู่ อยู่บนสุขุมวิทยังแลเห็นรถไฟสายปากน้ำวิ่งอยู่ปลายคันนาโน่น

ขนาดกรุงเทพยังอย่างนี้ ต่างจังหวัดไม่ต้องพูดถึง เวลานั่งรถยนต์ไปเที่ยวหัวหิน บางแสนหรืออยุธยา(บ้านเมืองมีถนนลาดยางไม่กี่สายหรอก) จะเห็นกระต๊อบชาวนาเก่าๆหลังคามุงแฝกเป็นพื้น ในหมู่บ้านนั้น หลังไหนหลังคามุงสังกะสี ถือเป็นคหบดี หรือบ้านคนใหญ่คนโตเช่นกำนัน ซึ่งทั้งหมดสร้างฐานะมาจากให้ชาวนากู้ยืมเงิน แล้วลูกหนี้ไม่มีปัญญาใช้ ยอมให้ยึดนาแล้วอพยพครอบครัวไปทำไร่ถางป่าเปิดผิวดินเป็นที่ทำกินผืนใหม่


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง