เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 22691 ขอรบกวนถามเรื่องนามสกุลประทาน พัฒนางกรู หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับ เจริญ พัฒนางกรูครับ
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 17 พ.ค. 14, 10:21

เอกสารในหอจดหมายเหตุเรื่อง หม่อมเจ้าสุบรรณ์ประชวรแลสิ้นชีพ ในปี รศ 117
แต่ทูลกรมหมืนพิทยลาภพฤติธาดาว่าตามที่ท่านโทรเลขว่าด้วยหม่อมเจ้าสุบรรณสิ้นชีพ แลสมควรย้ายกรมช่างหล่อมาขึ้นกระทรวงวัง ลงวันที่  9 ตุลาคม รศ 118

เรื่องแม่พิมพ์หินสบู่นั้นได้ตามไปในหัวหน้าบ้านช่างหล่อแล้ว ก็เป็นที่น่าสนใจเพราะ แต่ละบ้านมีกันไม่กี่ชิ้น เพิ่งแกะลายด้วยเหล็กก้านร่มสะท้อนด้วยขี้ผึ้งกันในช่วงรัชกาลที่ 6  ก่อนหน้านั้นสมัยโบราณใช้แท่งโลหะปั่นเป็นหลุมสร้างเป็นลายเม็กพระศก ลูกครึ
 และในซอยบ้านช่างหล่อ เกือบทั้งหมดทำพระในครอบครัวไม่ไใช่เป็นโรงหล่อแยก ใช้ลานในบ้านเทหล่อ


ส่วนหลวงอินทรพิจิตรบันจง มี 3 ชื่อ อ่อน  จัน (รศ 108) และ ส่าน สาณศิลปิน (รศ 118) ครับ

ขอบคุณเรื่องรายชื่อโรงหล่อนะครับ ทำให้เห็นภาพรวมชัดขึ้นครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 พ.ค. 14, 11:43

ข้อมูลหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี ให้ข้อมูลว่า

"หม่อมเจ้าสุบรรณ ประสูติ ๒๓๗๓ สิ้นชีพิตักษัย ๗ ตุลาคม ๒๔๔๒ ชมมายุ ๗๐ พรรษา พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ วนที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๕๓"
บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 25 ต.ค. 15, 23:40

หลังจากการค้นคว้าเอกสารชั้นต้นจำนวนมากในแผนกเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่ง และได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากผู้รู้จำนวนมาก รวมทั้งผู้รู้หลายท่านในเรือนไทย เช่น หลวงเล็ก  ทำให้เราพอจะปะติดต่อเรื่องได้ชัดเจนมากขึ้นเเล้ว
การอธิบายความเป็นไปของภูมิปัญญาสายช่างของพระองค์เจ้าประดิฐวรการ(เขียนตามลายพระหัตถ์ของพระองค์) เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของช่างสิบหมู่ที่สืบทอดมาแต่โบราณราว 500 ปี ในตอนกลางรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องจนปิดฉากสมบูรณ์ในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2469 และเกี่ยวข้องกับผู้สืบทอดสำคัญที่สุด 2 ท่านคือ พระพินิจโลหการ ม.ร.ว.เสนาะ และม.ร.ว.จำเริญ หลวงอินทร์นิมิตร

ม.ร.ว.เสนาะ บุตร ม.จ.ร้าย ในกรมหมื่นอินทรพิพิธ เข้ารับราชการเป็น ม.ร.ว.ช่างในกรมช่างหล่อ พ.ศ. 2422 ด้วยเพราะมีฝีมือทำของเล็กละเอียดอย่างดีในอายุราว 40 ปี คิดว่าท่านน่าจะแต่งงานกับ ม.ร.ว.แข ธิดาองค์โตของพระองค์เจ้าประดิฐวรการและพักอาศัยในวังพระองค์เจ้าประดิฐวรการด้วยกันในปีนี้  สอดคล้องกับหลักฐานในสาระบาญชี พ.ศ. 2426 ต่อมา วัที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2423 ม.ร.ว.แข ท่านก็มีบุตรที่เป็นหลานตา ของพระองค์เจ้าประดิฐวรการ คือ พระยาศึกษาสมบูรณ์ ม.ล.เเหยม อินทรางกูร
พ.ศ.2423 ม.ร.ว.เสนาะ แสดงฝีมือขั้นสูงสุดคือ แกะหินสบู่ทำภาพจับรามเกียรติ์ชุดไม้ระกำในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ปัจจุบันแม่พิมพ์ชุดนี้ทีั้งชุดตกทอดสู่เจริญ พัฒนากูร และวิธีการสร้างภาพจับไม้ระกำขนาดเล็กที่สุดนี้สร้างความงุนงงให้กับช่างในปัจจุบัน
แต่ในที่สุดทางโรงหล่อพัฒนช่างก็เฉลยคำตอบวิธีสร้างที่ถ่ายทอดในเฉพาะพัฒนช่างว่าให้ว่า ไม้ระกำใช้ทำแกนหุ่นเท่านั้น รายละเอียดส่วนต่างเชนหัว มือ แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า สร้างจาก รักสมุก กดถอดจากพิมพ์แล้วสวมติดกับแกนไม้ระกำ
พ.ศ. 2426 ม.ร.ว.เสนาะเป็นพระพินิจโลหการ รักษาราชการแทนพระองค์เจ้าประดิฐวรการในงานสำคัญฉลองพระเดชพระคุณในหลวง ร. ๕ ตลอดเรื่อยมา โดยไม่ทรงใช้ ม.ร.ว.ชื่น  พระโลหเดชพิจิตร จางวางช่างหล่อซ้าย เลย จึงทำให้เห็นความสำคัญของม.ร.ว.เสนาะชัดเจน
พ.ศ.2428 เป็นปลัดจางวางช่างหล่อซ้าย ตำแหน่งใหม่ ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ท่านน่าจะรับผิดชอบ งานทำรูปพระประธาน และพระสาวก 2 องค์ของวัดเทพศิรินทราวาสที่หล่อในเดือนธันวาคม ที่วังพระองค์เจ้าประดิฐวรการ ในหลวงเสด็จเททอง
คิดว่า ตอนนั้น ม.ร.ว.จำเริญเพิ่งมีอายุ 23ปี จึงยังไม่ใช่ผู้สืบทอดหลัก ผู้สืบทอดหลักต้องเป็นบุตรเขยคือพระพินิจโลหการ และต้องเป็นผู้สืบทอดการเป็นครูช่างสิบหมู่หลักด้วย โดยถูกฝึกฝนรับถ่ายทอดวิชาเพียงคนเดียว ที่เก่งที่สุด
หลังจากนั้นไม่เกิน 3 เดือน ท่าเสียชีวิตกะทันหันด้วยเหตุไม่ปกติ เอกสารคำพิพากษาฏีกาในช่วง พ.ศ.2428-2429 สูญหาย มีแต่ก่อนและหลังปีนี้ จึงไม่รู้ว่าไปไหน แต่ไม่มีชื่อท่านอีกในกรมช่างหล่อเลยตลอดไป
พระประธานและพระสาวก 2 องค์ของวัดเทพศิรินทร์เทหล่อเสร็จแล้ว จึงไม่ได้แต่งตัว (คำเรียกของพระองค์เจ้าประดิฐวรการ)  และค้างอยู่ จนถึง พ.ส.2436 จึงแต่งเสร็จ แต่กลับถูกย้ายไปที่โดรงหล่อบ้านม.จ.สุบรรณ ตรงถนนตีทอง ข้างวัดสุทัศน์ จึงมีหมายแห่ไปวัดเทพฯจากที่นี่

การสูญเสียม.ร.ว.เสนาะคือการสูญเสียครูช่างที่สืบทอดวิชาช่างสิบหมู่ของพระองค์เจ้าประดิฐวรการ อัจฉริยะผู้รวบรวมภูมิปัญญาช่างสิบหมู่ไว้แตกฉานขั้นสูงสุด
ช่างสิบหมู่ที่เหลือของพระองค์จึงย้ายไปอยู่กับกรมหมื่นปราบปรปักษ์ เมื่อช่างชุดนี้ตายเกือบหมด ในพ.ศ.2440 กรมช่างสิบหมู่จึงระส่ำอย่างหนัก กรมหมื่นปราบปรปักษ์ท่านไม่ใช่ช่างแต่เดิม แต่ได้ลูกน้องของพระองค์เจ้าประดิฐวรการมาทำงาน จึงทำให้ช่างรุ่นหลังบางท่าน   คิดว่า กรมฯปราบปรปักษ์เป็นช่างฝีมือสูสีกับพระองค์เจ้าประดิฐวรการ แต่ไม่ใช่ ความจริงทั้งหมดคือ พระองค์เจ้าประดิฐวรการ
เรื่องมันยาวมาก เราตรวจพบภูมิปัญญาช่างหล่อหลวงที่น่าอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีใครทราบมาก่อนของพระองค์เจ้าประดิฐวรการ ที่สามารถใช้อธิบายการสร้างพระพุทธรูปหลวงในช่วงต้นและกลางรัตนโกสินทร์รวมทั้งพระโบราณทั้งหมดได้อย่้างเคลียร์ชัด
ทำไมพระองค์เจ้าประดิฐวรการถึงยิ่งใหญ่มาก
ต้องดูพระราชหัตถเลขา ร.5 ท่านทรงโปรดพระองค์เจ้าประดิฐวรการแบบทรงไม่ลืมเลือนแม้ว่าสิ้นพระชนม์ไปนานกว่า 20 ปี แล้วก็ตาม
ต้องไปดูว่าช่างหล่อหลวงรัตนโกสินทร์ฟื้นคืนได้อย่างไร
ทำไมช่างปั้นหลวงถึงฝ่อหดลงแทบหมดความสำคัญใน ร 5
ทำไมจึงมีช่างรูปในช่างหล่อหลวง
อะไรคือกุญแจความสำเร็จที่ทำให้ช่างรูปชนะช่างปั้นใน ร 3-4-5

เราพบความยิ่งใหญ่ของภูมิปัญญาโบราณที่หลงเหลืออยู่ บางส่วน
แต่ก็ทำให้เราตะลึงกับความสามารถและองค์ความรู้ที่สะสมถ่ายทอดสืบต่อกันยาวนาน 500 ปีของชนชาติไทย
ไว้ค่อยอธิบายให้ฟังในลำดับถัดไปครับ

ส่วนนามสุกลพัฒนางกูร
ล้อไปกับ อินทรางกูร
เป็นความสัมพันธ์ในวงญาติ ร. 1 ระหว่าง พอจ. ดวงจักร (ม.ร.ว.จำเริญ ม.ร.ว.แข) พอจ.ทับทิม(ม.ร.ว.เสนาะ) พอจ.ฉัตร (ม.ร.ว.อรุณ) รวมถึงการรับราชการเป็นมจ.มรว. มล.ช่าง ในตอนต้นสมัยร 5 อย่างสอดคล้องกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง