ตามรอย
อสุรผัด

ตอบ: 28
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 01 พ.ค. 14, 21:53
|
|
ขอบคุณมากนะครับ ทุกๆความเห็นมีประโยชน์มากๆ
ผมเห็นเค้าหน้าแล้วคล้ายกรมพระจันทบุรีนฤนาทมากนะครับ
เรื่องหล่อโลหะนี่ อันนี้มั่นใจใจครับว่าเขาหล่อได้ตั้งแต่โบราณตั้งแต่สุโขทัย หล่อดินไทย ใช้ถ่านไม้ เมื่อก่อน บ้านช่างหล่อใช้ถ่านไม่ไผ่ ขนมาทางเรือแจว รูปหล่อรัชกาลที่ 1-4 ในพระที่นั่งนั้นหล่อในวัดพระแก้ว เดี๋ยวผมค้นเอกสารมาให้นะครับ ถ้าจำไม่ผิดนะครับ
เรื่องหม่อมเจ้าสุบรรณ หมายถึงบุคคลที่อยู่ในเอกสาร สร้างโรงกรมช่างหล่อ ร .ศ. 118 วันที่ 2 ส.ค. ที่คาดว่าจะเป็นพระบิดาของ มรว. เหมาะ ดวงจักร ที่ปั้นพระพุทธชินราชจำลอง ที่ท่านผู้รู้กรุณาให้ข้อมูลมาในกระทู้ก่อนครับ ได้ข้อมูลว่าท่านสิ้น 7 ตุลาคม พ.ศ. 2442 ครับ
อย่างไรก็ตาม พรุ่งนี้ ผมจะเข้าไปถ่ายรูปเพิ่ม และมีผู้รู้หลายท่านจากหลายหน่วยงานจะเข้าไปดู ยังไงผมจะมาเล่าอีกทีนะครับ ผมตามหาทายาทของ ราชสกุลนี้อยู่ ยังไม่เจอ แต่พอได้เค้าแล้ว ถ้าได้ข่าวแล้วจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ตามรอย
อสุรผัด

ตอบ: 28
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 01 พ.ค. 14, 22:01
|
|
เรื่องปู่เจริญ นี่ มีภรรยาคนเดียวนะครับ ชื่อย่าส้มจีน มีลูก 6 คน (ข้อมูลล่าสุด คนแรกเปลี่นเป็นหลุยส์ เจียร ....) คนใหม่อีกคนเป็นคนที่สาม เป็นผู้หญิง ญาตอาวุโสเพิ่งบอกมา ย่าส้มจีนตายก่อน ปู่เจริญไม่เผา เอาใส่โลงไม้สัก นั่งพิง ทำงานพระ จนตาย คือรักย่าส้มจีนมาก แล้วเผาพร้อมกัน มีเพิ่มลูกอีกสองคน เป็น 4 ศพ ที่วัดหมื่นรักษ์ครับ
กำลังหาว่าคนแรกกลายเป็นหลุยส์นี่เกิดปีอะไรแน่ และกำลังหาว่า ทำไมลูกคนที่ห้าถึง ชื่อ ลืม ซึ่งเกิดราว 2440-2445 เกี่ยว กับ 2442 หรือไม่อย่างไร ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ตามรอย
อสุรผัด

ตอบ: 28
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 01 พ.ค. 14, 23:25
|
|
ขอเรียนถามคุณ siamese ครับว่าพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศนี้ อยู่ที่ไหนครับ ขอบคุณครับ
เรื่องเจ้าสุบรรณและเจ้าสุบัน ผมคิดว่าคนเดียวกัน เพราะถามผู้รู้แล้วว่าสมัยนั้ สะกดต้วหนังสือแบบเรียกตามคำอ่าน เช่น งัวลำพอง กับวัวลำพอง ก็อันเดียวกัน ผมเห็นในแผนที่ 2439 ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ืnoon
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 01 พ.ค. 14, 23:30
|
|
ขอแสดงความเห็นอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันค่ะ วิชาการหล่อโลหะของไทยมีมานานแล้วค่ะ คือเป็นพระพุทธรูป แต่ การปั้นหล่อรูปเหมือนคนจริง เกิดหลังรัชกาลที่สี่ค่ะ เพราะสมัยก่อนไม่ใช้ไฟ กับรูปปั้นของผู้ที่ยัง "มีชีวิตอยู่" ค่ะ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วจึงจะปั้นหล่อรูปได้ค่ะ และช่างปั้นไทยแต่เดิมจะปั้้นเต็มตัวค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ืnoon
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 01:09
|
|
เนื่องจากการปั้นรูปครึ่งองค์ เกิดขึ้นหลังปี 2466 จึงคิดว่า รูปหล่อที่ว่าหล่อจริงๆ นั้น ไม่น่าจะใช่ฝีมือท่านเจริญค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 07:27
|
|
ภาพปริศนานี้เป็น ๑ ใน ๔ ภาพที่รัชกาลที่ ๕ พระราชทานดุ๊กออฟเจนัว คราเสด็จฯ สยาม ในปี ๒๔๒๓ ปัจจุบันอยู่ที่ Castello di Aglie' เมืองตูริน อิตาลี สองภาพแรก  ภาพที่สาม  และภาพที่สี่  ในห้องที่เก็บพระรูปทั้ง ๔ ยังมี ของที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์  ตัวหนังสือในภาพข้า่งบน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 08:11
|
|
ทำความรู้จัก Castello di Aglie' ที่เมืองตูริน และของขวัญพระราชทานแด่ดุ๊กออฟเจนัว นาทีที่ ๑๐.๒๐ - ๑๓.๐๕ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ตามรอย
อสุรผัด

ตอบ: 28
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 10:44
|
|
ขอบคุณมากครับเรื่องการหล่อผูมีชีวิตและครึ่งองค์ ส่วนคนปั้นนั้น ไม่ทราบว่าใคร และทางรุ่นลูกช่างหรัสก็ไม่ได้ปั้นคนเหมือนรวมทั้งไม่ได้เกี่ยวกับกรมศิลปด้วย และคิดว่าไมใช่ปู่เจริญเพราะทำแต่พระกริ่ง แล้วมาไงก็ไม่ทราบคงไม่ได้ซื้อมา เพราะอยู่ในเก็บพิมพ์ที่ตกทอดมาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 10:54
|
|
ขอบคุณมากครับเรื่องการหล่อผูมีชีวิตและครึ่งองค์ ส่วนคนปั้นนั้น ไม่ทราบว่าใคร และทางรุ่นลูกช่างหรัสก็ไม่ได้ปั้นคนเหมือนรวมทั้งไม่ได้เกี่ยวกับกรมศิลปด้วย และคิดว่าไมใช่ปู่เจริญเพราะทำแต่พระกริ่ง แล้วมาไงก็ไม่ทราบคงไม่ได้ซื้อมา เพราะอยู่ในเก็บพิมพ์ที่ตกทอดมาครับ
ไม่รู้ซิครับ ผมดูจากรูปหล่อแล้ว ในความคิดผมดูอารมณ์แล้ว น่าจะช่วงประมาณรัชกาลที่ ๖-๗ ครับ พระกริ่งที่ทำนี้เป็นสายวัดไหน วัดสุทัศน์หรือวัดบวรนิเวศ ซึ่งทั้งสองวัดจะมีการหล่อเบ้ากระทำที่วัด แต่การสร้างหุ่น ติดผึ้ง เข้าพิมพ์คงทำที่อื่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 11:25
|
|
ผมเห็นเค้าหน้าแล้วคล้ายกรมพระจันทบุรีนฤนาทมากนะครับ ดิฉันคิดว่าไม่ใช่นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ืnoon
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 13:06
|
|
โรงหล่อพระนั้นรับหล่อรูปปั้นบุคคลและอนุสาวรีย์ด้วย ช่างไทย เมื่อจะปั้นรูปจากภาพถ่าย ภาพวาด มักเริ่มปั้นแบบจำลององค์เล็กก่อน จึงเป็นไปได้ว่า รูปหล่อขนาด 4 นิ้ว ทำเพื่อเป็นต้นแบบสามมิติ หรือเป็นการฝึกวิชาค่ะ บางงานพอทำรูปปั้นใหญ่แล้ว ก็จะมีขนาดเล็กให้เช่าบูชาด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 15:12
|
|
1.หลังจากพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการสิ้นพระชมน์ในปีพ.ศ. 2428 หลังจากนั้น มีใครอยู่ที่วังท่านอีก ในระหว่างปี 2429 - 2442 ก่อนที่ทำเป็นที่ทำการของกระทรวงเกษตราธิการ ตอนที่ ๒ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๑
๒๐ วังริมสนามชัย วังเหนือ วังนี้ปรากฏว่าเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นอินทรพิพิธเมื่อในรัชกาลที่ ๒ อาจจะสร้างพระราชทานเมื่อในรัชกาลที่ ๑ เพราะเปนพระเจ้าลูกยาเธอชั้นใหญ่ ฤๅมิฉนั้นจะเสด็จอยู่วังที่ ๖ ที่ถนนหลักเมืองก่อน ย้ายมาประทับอยู่วังนี้ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อจะสร้างโรงไหมก็เปนได้ กรมหมื่นอินทรพิพิธสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ต่อมาโปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดวงจักร์ ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้นเสด็จอยู่ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าดิศในกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระองค์เจ้าประดิษฐวรการเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ได้อยู่ต่อมา จนสร้างเปนสวนสราญรมย์ ในรัชกาลที่ ๕
ตอนที่ ๖ ว่าด้วยสร้างวังในรัชกาลที่ ๕
พระราชอุทยานสราญรมย์ เขตร์พระราชอุทยานถูกที่วังซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๑ ที่ริมสนามชัยทั้ง ๓ วัง ในขณะนั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการประทับอยู่วังเหนือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทรประทับอยู่วังกลาง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพประทับอยู่วังใต้ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสร้างวังใหม่พระราชทานแทนวังเดิมทั้ง ๓ พระองค์ แต่กรมขุนวรจักร์ ฯ สมัครจะทรงสร้างวังโดยลำภังพระองค์ ไปทรงซื้อที่สวนที่ริมถนนเจริญกรุง ตอนนอกพระนครสร้างวังใหม่ (ที่ริมถนนวรจักร์บัดนี้) จึงคงต้องสร้างวังพระราชทานแต่ ๒ แห่ง โปรด ฯ ให้จัดที่สวน (ครั้งรัชกาลที่ ๓) ที่ริมคลอง (ตลาด) คูเมืองเดิมฟากตวันตก ตั้งแต่เชิงสพานหัวจรเข้ไปทางใต้สร้างเปนวัง ๑ วังสวนหลวง วังเหนือ เปนวังกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร เสด็จประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ ๒ วังสวนหลวง วังใต้ เปนวังพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ เมื่อวังทั้ง ๒ นี้ว่าง จึงโปรด ฯ ให้สร้างสถานที่ว่าการกระทรวงเกษตราธิการในที่นั้นต่อมา. ข้อมูลจาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๖ เรื่องตำนานวังเก่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 15:36
|
|
1.หลังจากพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการสิ้นพระชมน์ในปีพ.ศ. 2428 หลังจากนั้น มีใครอยู่ที่วังท่านอีก ในระหว่างปี 2429 - 2442 ก่อนที่ทำเป็นที่ทำการของกระทรวงเกษตราธิการ ตอนที่ ๒ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๑
๒๐ วังริมสนามชัย วังเหนือ วังนี้ปรากฏว่าเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นอินทรพิพิธเมื่อในรัชกาลที่ ๒ อาจจะสร้างพระราชทานเมื่อในรัชกาลที่ ๑ เพราะเปนพระเจ้าลูกยาเธอชั้นใหญ่ ฤๅมิฉนั้นจะเสด็จอยู่วังที่ ๖ ที่ถนนหลักเมืองก่อน ย้ายมาประทับอยู่วังนี้ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อจะสร้างโรงไหมก็เปนได้ กรมหมื่นอินทรพิพิธสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ต่อมาโปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดวงจักร์ ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้นเสด็จอยู่ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าดิศในกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระองค์เจ้าประดิษฐวรการเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ได้อยู่ต่อมา จนสร้างเปนสวนสราญรมย์ ในรัชกาลที่ ๕
ตอนที่ ๖ ว่าด้วยสร้างวังในรัชกาลที่ ๕
พระราชอุทยานสราญรมย์ เขตร์พระราชอุทยานถูกที่วังซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๑ ที่ริมสนามชัยทั้ง ๓ วัง ในขณะนั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการประทับอยู่วังเหนือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทรประทับอยู่วังกลาง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพประทับอยู่วังใต้ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสร้างวังใหม่พระราชทานแทนวังเดิมทั้ง ๓ พระองค์ แต่กรมขุนวรจักร์ ฯ สมัครจะทรงสร้างวังโดยลำภังพระองค์ ไปทรงซื้อที่สวนที่ริมถนนเจริญกรุง ตอนนอกพระนครสร้างวังใหม่ (ที่ริมถนนวรจักร์บัดนี้) จึงคงต้องสร้างวังพระราชทานแต่ ๒ แห่ง โปรด ฯ ให้จัดที่สวน (ครั้งรัชกาลที่ ๓) ที่ริมคลอง (ตลาด) คูเมืองเดิมฟากตวันตก ตั้งแต่เชิงสพานหัวจรเข้ไปทางใต้สร้างเปนวัง ๑ วังสวนหลวง วังเหนือ เปนวังกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร เสด็จประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ ๒ วังสวนหลวง วังใต้ เปนวังพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ เมื่อวังทั้ง ๒ นี้ว่าง จึงโปรด ฯ ให้สร้างสถานที่ว่าการกระทรวงเกษตราธิการในที่นั้นต่อมา. ข้อมูลจาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๖ เรื่องตำนานวังเก่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์  ตกลงคุณตามรอยกล่าวว่า - ต่อมาเป็นที่ทำการของกระทรวงเกษตราธิการ คุณเพ็ญฯอ้างตำนานวังเก่า กล่าวว่า - ต่อมาเป็นอุทยานสราญรมย์ ตกลงอันไหนถูกต้องครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 02 พ.ค. 14, 16:07
|
|
แนบแผนผังวังสนามชัย (วังเหนือ วังกลาง วังใต้) ให้ชมกันจะได้ทราบว่าอยู่พิกัดไหนบ้าง วังกลุ่มสีเขียวคือวังที่กำลังสนใจกล่าวถึง
ที่มา มรว.แน่งน้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|