เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 22769 ขอรบกวนถามเรื่องนามสกุลประทาน พัฒนางกรู หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับ เจริญ พัฒนางกรูครับ
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 23:29

ขอบพระคุณมากๆเลยครับ
1 . เรื่องตัวรามเกียรติ์รัตนะ มีอยู่ในพิมพ์หินสบู่ เป็นชุดเลยครับ มีที่เดียวด้วยในบ้านช่างหล่อ ผมสงสัยว่าจะเป็นชุดเดียวกัน พอดียังไม่ว่างเข้าไปถ่ายรูป เขาทำขึ้นใหม่นะครับ ทรงเดียวกันเลย ทั้งต้นไม้สภาพแวดล้อม แต่แม่พิมพ์หินมีชุดเดียว
2 . รูปหล่อดังกล่าวผมถามท่านผู้รู้ว่าท่านว่า ในสมัยร 5 หล่อนอกส่วนใหญ่ ผมเลยขอให้ทายาทดูด้านใต้ของรูปหล่อก็คือพบว่ามีดินไทย ดังนั้นก็เป็นหล่อในไทย รูปหล่อไว้ผมแสกกลางเสื้อราชปะแตน ขนาดเล็กทีเดียว กว้างราว 4 นิ้ว ผมสงสัยว่าในสมัยนั้น ช่างที่ปั้นรูปเหมือนได้เห็นจะมีแต่พระองค์เจ้าประดิษฐ์ที่ปั้นรูปเหมือน ร1 -4 เมื่อรัชกาลก่อน ดังนั้นบุคคลท่านที่เป็นหุ่นนี้ต้องไม่ธรรมดา และยังหนุ่มราวสามสิบได้ ใครหนอ

ไม่ทราบมีท่านใดมีรูปพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร ที่ระเบียงวัดเบญจมบพิตร ที่พระยาอัพภันตรีกามาตย์ ขอพระบรมราชานุญาต สร้างในปี พ.ศ. 2450 ไหมครับ ผมสงสัยว่าจะไม่ใช่ฝีมือเดิมของสายพระองค์เจ้าประดิษฐ์ แต่เป็นสายกรมปราบปรปักษ์
เพราะ สายพระองค์เจ้าประดิษฐ์ปั้นพระพุทธชินราชจำลอง สวยมาก แต่แปลกที่ลายประกอบแวดล้อมอื่นๆกลับดูธรรมดา ความวิจิตรพิสดารหายไป
ผมสงสัยว่าน่าจะหายไปตอน 2442 แล้ว สงสัยนะครับ ไม่ใช่บอกว่าใช่
มีผู้อนุเคราะห์ค้นให้ว่า มจ สุบรรณสิ้นด้วยโรคชรา ผมก็สงสัยว่า ถ้าคนเราทำงานไม่ไหวแล้วจะทำเรื่องขอพระราชทานโรงหล่อใหม่ทำไมในปีที่ตนเองเสียชีวิต คือแก่แล้วก็อาจเป็นได้ว่าตายกระทันหัน ถ้าก่อนตายไม่เตรียมตัว ของควรจะอยู่ที่ทายาท ของที่ว่าคือมรดกการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ที่ถือสูงสุดในสายวิวัฒนการของการสร้างพระพุทธรูป เพราะทำยากสุด อยู่ที่ใคร............
ไม่ทราบใครรู้จักทายาทของ มรว เหมาะ ดวงจักร ไหมครับ
บ้านก็ได้
ผมได้ความรู้เยอะมากเลยนะครับ
เดี๋ยวรูปหน้าพระได้แล้วเสนอให้ชมนะครับ
บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 00:17

ใบหน้าพระกว้างหนึ่งฝ่ามือ ทำพระหนึ่งศอก
ทำจากขี้ผึ้งถอดจากพิมพ์ปูนเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ครับ
ช่วยวิจารณ์หน่อยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 01:41

ถ้าเป็นรูปปั้นหล่อครึ่งพระองค์ น่าจะเกิดหลังสมัยรัชกาลที่ 4
เพราะ
สมัยรัชกาลที่ 4 เชื่อกันว่าการนำหุ่นปั้นไปเผานั้นไม่เป็นมงคล
และ ยิ่งหุ่นปั้นครึ่งตัว ยิ่งไม่มี
แต่เมื่ออ. ศิลป์ พีระศรีเข้ามา สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นแบบให้ปั้นรูปพระเศียร
จึงเกิดความนิยมขึ้น เป็นครั้งแรก
ไม่มีหลักฐานอ้างอิงนะคะ ฟังเขาเล่ามา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 08:06

มีผู้อนุเคราะห์ค้นให้ว่า มจ สุบรรณสิ้นด้วยโรคชรา ผมก็สงสัยว่า ถ้าคนเราทำงานไม่ไหวแล้วจะทำเรื่องขอพระราชทานโรงหล่อใหม่ทำไมในปีที่ตนเองเสียชีวิต คือแก่แล้วก็อาจเป็นได้ว่าตายกระทันหัน

คุณตามรอยควรตรวจสอบอีกทีว่า หม่อมเจ้าสุบรรณที่สิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคชราคือ หม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร (ในพระเจ้าอัยกาเธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์) ไม่ใช่ หม่อมเจ้าสุบรรณ ฉัตรกุล (ในพระเจ้าอัยกาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์)  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 08:42

ขอบคุณมากครับ
ผมรู้สึกว่าเคยอ่านที่ไหนจำไม่ได้เรื่องรูปปั้น ของเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต ที่เขมรทำตอน ร 3 แถวปราจีนหรือเปล่าไม่แน่ใจ

แต่ที่เห็นรูปหล่อเต็มองค์ของผู้ที่ไม่มีชีวิตแล้วและน่าจะรวมผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ในพระที่นั่งจักรีหรือเปล่า ที่ปั้นหล่อ ร 1 2 3 4 โดยพระองค์เจ้าประดิษฐ์เทหล่อในวังหลวง ที่กรมพระยานริศท่านมีจดหมายถึงกรมพระยาดำรง (สาสน์สมเด็จ) นะครับ
โดยที่พูดว่าง ช่างหลวงทำเองโดยไม่มีช่างฝรั่ง แล้วปั้นเหมือนด้วย ผมก็เดาว่า ช่างไทย หรือปั้นไทย ปกติ ปั้นสากลไม่ได้ดี เพราะคนละแนวกัน ยกเว้นผู้ที่มีพรสวรรค์ ซึ่งก็มีพระองค์เจ้าประดิษฐ์

คือผมสงสัย เพราะทักษะนี้ก็มีในช่างที่เก่งบางคนของบ้านช่างหล่อ คือ มาลี หรือ มนตรี พัฒนางกูร หลานของเจริญ ช่างประจำวัดบวรในช่วงตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2500 ถึงต้น 252 กว่าๆ
พี่ที่รู้จักสนิทกัน เป็นคนปั้นพระพุทธชินสีห์วัดบวร 9 นิ้ว แล้วแบบชนะ ได้รับการเลือกมาใช้ปัจจบัน เล่าเมื่อไม่กี่วันว่า
เมื่อสมัยหนุ่มๆยังเรียนที่เพาะช่าง เจ้าของโรงหล่อพ่อตาให้ไปหาช่างมาลีหรือมนตรี ไปเร่งงานหน่อย สั่งทำพระพรหมสามหน้า(หรือสี่หน้าจำไม่ได้) ขนาดสองนิ้ว ตั้งนานยังไม่ได้
ไปถึงช่างมาลีบอกว่ายังไม่ได้ทำเลยแต่รอ แป๊ปนึง ดูดบุหรี่ไปมวนหนึ่ง ช่างมาลี ทิ่มๆๆๆๆ ขี้ผึ้ง ภายในบุหรี่หนึ่งมวน เสร็จแล้วก็สวยมากด้วย ใช้ได้เลย พี่แกว่า เก่งสุดไม่เคยเห็นมาก่อน ฉายาช่างมาลีคือ เอารูปอะไร มาวางตรงหน้า ปั้นสด เหมือนด้วย เร็วสุด แต่ถ้าปั้นเองไม่มีแบบ เพี้ยนได้
แกว่าบ้านช่างหล่อปั้น แกว่าเรื่องปั้นตามแบบ เท่าที่เคยเห็น ( พี่อายุห้าสิบกว่าๆ ) อาจารย์มาลีนี่เป็นหนึ่งไม่ใครเทียบ  ไม่นับอดีต เรื่องเล่านะครับ แต่คนเล่ายังอยู่ เป็นเจ้าของโรงหล่อดังเหมือนกัน

สิ่งที่น่าสนใจมากคือพรสรรค์ไม่น่าจะเกี่ยวกับลูกหลาน
แต่ช่างโบราณ มักให้ลูกหลานคลุกคลีแต่เด็กทุกคน คือตั้งแต่เกิด ทุกคนทำ แต่มีแค่คนสองคนเท่านั้นที่จะเป็นผู้ถกเลือกให้เป็นป็นผู้สืบทอด ถ้าเลือกผิดสายช่างจะขาดตอน ช่างไทยเลยสูญหายหมด


บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 08:49

ขอบคุณครับ
ตามหาข้อมูล หม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร ครับ ทายาทพระองค์เจ้าดวงจักร  เกือบเข้าใจผิดไปแล้วครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 09:45


ยังติดใจเรื่องรูปหล่อนี้    ฝีมืองามมาก  แบบก็งามมากเช่นกัน   ในเมื่อสมัยนั้นงานหล่อรูปบุคคลยังไม่แพร่หลาย  การที่ช่างจะหล่อใครสักคนก็น่าจะมีความหมายสำคัญ
แต่บุคคลนี้ หากเป็นเจ้านายสำคัญพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง  ไหนๆหล่อทั้งที  ทำไมช่างไม่ให้นายแบบแต่งตัวเต็มยศ หล่อออกมาดูมีสง่าราศีเหมาะจะวางประดับวัง     แต่กลับสวมเสื้อราชปะแตนธรรมดา  แม้แต่เหรียญตราก็ไม่มีสักดวงเดียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 11:03

การพระราชทานเพลิงศพกระทำที่วัดบุปผาราม พระราชทานเงิน ๑๐๐ เฟื้อง ผ้าขาว ๒ พับ

ดังนี้การสิ้นชีพิตักษัยที่ลงในหนังสือราชการจะไม่บอกว่าฆ่าตัวตายหรอกครับ เคยอ่านราชกิจจาฯ ในยุคต้นรัชกาลจะบรรยายว่าป่วยเมื่อไร กินน้ำข้าวต้มไปกี่องค์ ลมจับเมื่อไรจนกระทั่งสิ้นชีพิตักษัย


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 11:22

รูปหล่อใน คห. ๑๖ สะดุดตามากค่ะ  รูปดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริงๆ  ตรงผม คิ้ว หนวด ดูละเอียด  น่าทึ่งคือเป็นรูปหล่อ  และมีขนาดเล็กด้วย  ตามที่คุณตามรอยว่าแค่ ๔ นิ้ว  แสดงว่าต้องขึ้นแบบอย่างประณีต

ท่านผู้เป็นต้นแบบ ตาเรียวเป็นตาหงส์  จมูกโด่งตรงสวย  แก้มอิ่มเต็ม  ปากบาง  ถ้ามีตัวตนจริงต้องรูปงามทีเดียว  อายุก็ยังดูไม่มาก  ท่านใดหนอ?

ถ้าสั่งหล่อเป็นรูปเล็กนี่  เหมือนจะสั่งทำไว้ชมเองหรือตั้งไว้เป็นที่รโหฐานกระมังคะ?  คงไม่ได้ตั้งโชว์โดดเด่น
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 11:34

พระเนตรงามๆ ทรงนี้  จะเป็นสายกิติยากรหรือเปล่าคะ  พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์  กรมพระจันทบุรีนฤนาถ



รูปนี้เป็นรูปพระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ที่กระทรวงพาณิชย์จัดสร้างประดิษฐานไว้หน้าตึกที่ทำการกระทรวงพาณิชย์  ถนนสนามไชย  เป็นพระรูปขนาดเท่าครึ่งพระองค์ประทับบนเก้าอี้ ทรงพระภูษาผ้าม่วง สวมฉลองพระองค์คอปิดกระดุม ๕ เม็ด  มีรายละเอียดว่ากระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้นายช่างในกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร  ดำเนินการหล่อพระรูปด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงแล้วรมดำตามแบบที่ได้รับพระบรมราชานุญาต  ในระหว่างที่มีการหล่อพระรูป ก็ได้มีการจัดสร้างฐานรองรับพระรูป โดยกรมศิลปากรได้ออกแบบเป็นแท่นหินอ่อน เมื่อได้ดำเนินสร้างพระรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนฐานพระรูป เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

เสียดายไม่เห็นพระพักตร์ชัดๆ  จะได้ลองเทียบเคียงดู

บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 12:21

ขออนุญาตถามคุณตามรอยว่ารูปหล่อเล็กๆ นี่  เขาจะแกะพิมพ์ให้ละเอียดอย่างไรคะ  หรือพอหล่อออกมาแล้วต้องมาแกะสลักเก็บรายละเอียดอีก  เพราะบางรูปอย่างรูปกวางหรือรามเกียรติ์นั่นรายละเอียดเยอะเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 15:14

เห็นคำว่า ฆ่าตัวตาย
บุคคลที่ทำลายชีพตนเอง ไม่มีสิทธิขอพระราชทานเพลิงและเครื่องประกอบเกียรติยศค่ะ

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของท่านเจริญ คือ ลูกทั้งห้านั้นแม่เดียวกันไหมคะ
คือท่านอาจมีลูกกับภรรยาอื่นมาก่อน ดังนั้นสรุปยากว่าท่านเกิดเมื่อใดค่ะถ้าหากไม่รู้แน่ว่าใครคือลูกคนโต

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 15:23

ข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษานี้เป็นของ หม่อมเจ้าสุบรรณ ฉัตรกุล



ไม่ใช่ของ หม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร หนอ   ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 19:08

ตรวจสอบจากอักขรานุกรมนามสกุลพระราชทานแล้ว  พระเจ้าไอยกาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์นั้น  พระนามเดิม พระองค์เจ้าฉัตร  ทรงเป็นต้นราชสกุลฉัตรกุล 
หม่อมเจ้าสุบรรณ ที่คุณตามรอยจึงทรงเป็นหม่อมเจ้าสุบรรณ  ฉัตรกุล และทรงเป็นพระอนุชาหม่อมเจ้านิล  ฉัตรกุล พระบิดาในจอมพล ดจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณ  ฉัตรกุล)  อดีตเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม

ความสัมพันธ์ในราชสกุลฉัตรกุลนี้น่าจะอธิบายที่มาของนามสกุลพัฒนางกูรที่คุณตามรอยกำลังตามหาได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 01 พ.ค. 14, 20:43

ตอบเรื่องรูปปั้นค่ะ หมายถึงว่า การปั้นรูปผู้ที่ยังมีชีวิตนั้น มีการปั้นแต่ว่าก่อนสมัยอ.ศิลป์จะเต็มตัว คือไม่มีแบบครึ่งอก หรือเฉพาะใบหน้า
สมัยรัชกาลที่ 4 ก็มีรูปปั้นพระองค์ท่าน โดยช่างไทยแล้ว แต่ไม่มีการหล่อโลหะเพราะต้องใช้ไฟค่ะ รูปปั้นบางองค์ปั้นไว้ก่อนแล้วมาหล่อทีหลังจากสิ้นพระชนม์ค่ะ
ช่างไทยปั้นจากรูปถ่าย รูปวาดได้ ส่วนช่างฝรั่งชอบปั้นจากคนจริงมานั่งเป็นแบบค่ะ  รัชกาลต้นๆ กรุงรัตนโกสินทร์ ภาพวาด (ขออนุญาตใช้คำสามัญ) กับรูปหล่อ
ช่างเขียนและปั้นจากคำบอกเล่าผู้เคยเห็นพระองค์จริงค่ะ

ที่คิดทบทวนทั้งหมดนั้นเพื่อจะสันนิษฐานว่า รูปปั้นเล็กๆ ที่พบ น่าจะเป็นรุ่นหลังอ.ศิลป์เข้ามาแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง