เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 22690 ขอรบกวนถามเรื่องนามสกุลประทาน พัฒนางกรู หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับ เจริญ พัฒนางกรูครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 เม.ย. 14, 16:32

ต้องปฏิรูป(ตัวสะกด)ไหมคะ


บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 เม.ย. 14, 21:05

ขอโทษด้วยครับ ไม่ทันสังเกต ใส่สระผิดที่

นามสกุล พัฒนางกูร

เรียนถามคุณเพ็ญชมพูด้วยครับ
ของขวัญที่เป็นรูปอะไรครับ
ผมเห็นที่มีที่ตระกูลนี้คือ ชุดรามเกียรติ์รัตนะ คล้ายๆพระรัตนะ 2นิ้ว มีครบทั้งพระลักษณ์พระราม นางสีดา .... เป็นสิบแบบ เดี๋ยวจะไปถ่ายรูปมา

มีรูปเพิ่ม สองรูป ขันตรา จจจ ไม่ทราบว่าตรา ของใครครับ
และรูปหล่อโลหะเล็กๆนี้ ไม่ทราบว่ามีคนรู้จักไหมครับว่าใคร



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 08:11

เรียนถามคุณเพ็ญชมพูด้วยครับ
ของขวัญที่เป็นรูปอะไรครับ

ของที่ระลึกในงานพระศพของทั้งสองพระองค์ คุณ Sig.ra Colombo  เล่าว่า ชิ้นแรกเป็นกวาง ๒ ตัวแม่ลูกคู่กัน ชิ้นที่สอง เป็นควาย ๒ ตัวแม่ลูกเช่นกัน  ยิงฟันยิ้ม

ขันตรา จจจ ไม่ทราบว่าตรา ของใครครับ

"จ.จ.จ." เป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ มาจาก "จุฬาลงกรณ์จุลจอมเกล้า"  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 10:00

เรียนถามคุณเพ็ญชมพูด้วยครับ
ของขวัญที่เป็นรูปอะไรครับ

ของที่ระลึกในงานพระศพของทั้งสองพระองค์ คุณ Sig.ra Colombo  เล่าว่า ชิ้นแรกเป็นกวาง ๒ ตัวแม่ลูกคู่กัน ชิ้นที่สอง เป็นควาย ๒ ตัวแม่ลูกเช่นกัน  ยิงฟันยิ้ม

ขันตรา จจจ ไม่ทราบว่าตรา ของใครครับ

"จ.จ.จ." เป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ มาจาก "จุฬาลงกรณ์จุลจอมเกล้า"  ยิงฟันยิ้ม

แล้วตัวเลขไทยด้านล่างอักษรพระปรมาภิไธย มีความหมายอะไรหรือคุณเพ็ญฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 13:04

แล้วตัวเลขไทยด้านล่างอักษรพระปรมาภิไธย มีความหมายอะไรหรือคุณเพ็ญฯ

"๘๗   ๑๑๒" หมายถึง ร.ศ. ๘๗ (พ.ศ. ๒๔๑๑) คือปีที่รัชกาลที่ ๕ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก  จนถึง ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นเวลาที่ทรงได้เถลิงถวัลยราชสมบัติมาครบ ๒๕ ปี

ขันทองเหลืองนี้คงเกี่ยวเนื่องกับ "พระราชพิธีรัชดาภิเษก" ในรัชกาลที่ ๕  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 15:03

การสำรวจสำมะโมประชากรในสมัยรัชกาลที่ ๕ กำเนิดจากกิจการไปรณีษย์นัั้นทำให้เราทราบว่าย่านบ้านขมิ้นมีรายชื่อช่างทำพระและงานที่เกี่ยวข้องเหล่านี้อยู่คือ

นายพลอย บุตรนายทองขึ้นพระองค์เนาวรัต ช่างพระ

มรว.เอี่ยม ทำศาลพระภูมิขาย

นายรอด บุตรมวดสอน ขึ้นอาสาจาม ช่างพระ

นายทิมบุตรนายรอด ขึ้นราชวัง ช่างหล่อ

นายแสงบุตรนายจัน ช่างพระ

อำแดงตาด ช่างตัดกระจกขาย

หลวงสอนบุตรขุนอัคนีพิจิต ขึ้นช่างสิบหมู่ (เคยมีทายาทมาตั้งกระทู้ถามหาประวัติ)

นายคล้ำ บุตรหลวงละไม กรมช่างสิบหมู่
บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 เม.ย. 14, 23:54

ขอกราบขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูมากเลยนะครับ เรื่องขันทองเหลือง
จากคำบอกเล่าที่ตกทอดในสกุลนี้ เขาสั่งว่าเป็นขันใส่ข้าว ที่ ในหลวงทรงใช้ตักข้าวใส่บาตรพระครับ คือฟังมาอย่างนี้นะครับ ภาษาชาวบ้าน ลูกหลานเขาว่าไม่รู้ว่าในหลวงพระองค์ไหน
สำหรับเรื่องของเจริญ พัฒนางกูรนั้น พอได้ข้อมูลคร่าวๆว่า มีลูก 5 คน คือ เจียร หลุยส์ หรัส ลืม ลำเจียก ตามลำดับ
เจียร ลูกสาวคนโต เกิดปีพ.ศ.2434 เสียชีวิต พ.ศ. 2527
ลำเจียก ลูกสาวคนเล็ก เกิดพ.ศ. 2447 เสียชีวิต พ.ศ.2533
สันนิฐานว่าถ้า เจริญ มีบุตรคนแรกตอนอายุ 20 ปี มีบุตรสาวคนสุดท้อง ตอนอายุ 33 ปี ดังนั้น ตอนพ.ศ. 2423 การพระสพ......... ก็มีอายุ 9 ขวบ คงไม่ใช่ช่างที่แกะลายบนสบู่
           ถ้า เจริญ มีบุตรคนแรกตอนอายุ 30 ปี มีบุตรสาวคนสุดท้องตอนอายุ 43 ปี  ดังนั้น ตอนพ.ศ. 2423 การพระสพ......... ก็มีอายุ 19 ปี ก็ยัง คงไม่ใช่ช่างที่แกะลายบนสบู่

ดังนั้นลายบนหินสบู่ดังกล่าวย่อมได้รับสืบทอดมาจากผู้อื่น

เดาเอาว่า ได้รับมอบมรดกของช่างพระชุดนี้จาก หม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร ในพ.ศ. 2442
จึงขอเรียนถามด้วยนะครับว่า

 1.หลังจากพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการสิ้นพระชมน์ในปีพ.ศ. 2428 หลังจากนั้น มีใครอยู่ที่วังท่านอีก ในระหว่างปี 2429 - 2442 ก่อนที่ทำเป็นที่ทำการของกระทรวงเกษตราธิการ
2.จากเอกสารเรื่องสร้างโรงกรมช่างหล่อ ร.ศ. 118 โรงหล่อของหม่อมเจ้าสุบรรณที่อ้างในเอกสารนั้น ใช่โรงหล่อเดียวกับของพระองค์ประดิษฐ์หรือไม่ครับ และแต่ละโรงอยู่ที่ไหน
3. ทำไมจู่ๆ หม่อมเจ้าสุบรรณถึงตายไปกระทันหัน ในปีที่ขอพระราชทานโรงหล่อ อะไรเกิดขึ้นหลังก่อน ระหว่าง หม่อมเจ้าสุบรรณตาย กับ วังคลองตลาดเปลี่ยนเป็นกระทรวงเกษตราธิการ
4. หม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร มีทายาทหรือไม่ครับ
5. คนในวังคลองตลาดย้ายไปอยูไหนหลังจากวังเปลี่ยนเป็นกระทรวงเกษตราธิการ


ขอบคุณมากนะครับ คำถามดูจะดูปลึกย่อยไปหน่อย 

สำหรับเรื่องสารบาญชีนั้นขอบคุณมากๆนะครับ ทีอุตสาห์ย่อยให้ มีประโยชน์มากครับ
เท่าที่ผมเห็นช่างพระชุดนั้น เป็นชุดช่างชาวบ้านของบ้านช่างหล่อ

กราบพระคุณทุกท่านนะครับที่อุตส่าห์เสียเวลาอ่านและค้นคว้ารวมทั้งย่อยเอกสารให้ครับ

บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 00:07

ผมเกือบบกพร่องมองข้ามเรื่องสำคัญไปอย่างมาก
กวางสองตัว และ ความสองตัวนั้น เป็นที่ระลึกในพระศพพระนางเรือล่ม
แถบโบว์ตัวหนังสือที่ติดอยู่ที่ด้านใต้ ก็คือตัวหนังสือที่ถอดออกมาจากแม่พิมพ์หินสบู่นั่นเอง
ตอนนั้น ยังไม่มีพัฒนางกูร เลยครับ ปู่เจริญยังอายุน้อย ยังไม่เก่งเลย
ขอเรียนถามประเด็นสำคัญที่สุดเลยครับ

ใครเป็นช่างผู้สร้างของที่ระลึกชิ้นนี้ครับ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 04:13

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/12/K7316947/K7316947.html

เรื่องวังและหม่อมเจ้าสุบรรณถึงชีพิตักษัยนั้น ค้นหาได้ในราชกิจจานุเบกษาค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 08:36

4. หม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร มีทายาทหรือไม่ครับ

ทายาทคนหนึ่งของหม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร เท่าที่ทราบคือ หม่อมราชวงศ์เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็นหลวงประสิทธิปฏิมาได้ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิมที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อเป็นส่วน ๆ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔  พระพุทธชินราชจำลององค์นี้ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔

หลวงประสิทธิปฏิมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระประสิทธิปฏิมา ศักดินา ๘๐๐ ตำหน่งจางวางกรมช่างหล่อขวา เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ณ ภายในพระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

คุณตามรอยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้  อยากทราบประวัติการสร้างพระพุทธชินราช ที่วัดเบญจฯว่าใครเป็นผู้ปั้น ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 11:53

จำได้เลาๆ ว่า คราวยักษ์วัดพระแก้วชำรุดเสียหาย โปรดเกล้าให้พระประสิทธิปฏิมาเป็นผู้ซ่อม ด้วยบรรพษุรุษของท่านเคยปั้นหรือซ่อมมาก่อนหน้านี้ครับ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 15:29

รูปหล่อในภาพแรกของ คห. ๑๖ คือท่านผู้ใดหรือคะ  รายละเอียดประณีตงดงามมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 15:39

เป็นรูปหล่อ ที่ "รูปหล่อ" จริงเสียด้วย  ใครหนอ?


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 20:31

ผมเกือบบกพร่องมองข้ามเรื่องสำคัญไปอย่างมาก
กวางสองตัว และ ความสองตัวนั้น เป็นที่ระลึกในพระศพพระนางเรือล่ม
แถบโบว์ตัวหนังสือที่ติดอยู่ที่ด้านใต้ ก็คือตัวหนังสือที่ถอดออกมาจากแม่พิมพ์หินสบู่นั่นเอง
ตอนนั้น ยังไม่มีพัฒนางกูร เลยครับ ปู่เจริญยังอายุน้อย ยังไม่เก่งเลย
ขอเรียนถามประเด็นสำคัญที่สุดเลยครับ

ใครเป็นช่างผู้สร้างของที่ระลึกชิ้นนี้ครับ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

ของตกแต่งต่างๆนั้นด้านการฝีมือทั้งหลายรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ และหม่อมเจ้าจร เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ มีการทำชุดรามเกียรติ์ปิดทอง รูปสัตว์ปิดทอง (สิงโต เสือ ลิง) โดยเป็นเครื่องตกแต่งพระเมรุ และทำไว้สำหรับพระราชทานแขกต่างประเทศชาวยุโรปที่เข้าร่วมในการออกพระเมรุครับ ดังนั้นเราจะเห็นสิ่งของต่างๆเกี่ยวกับการพระเมรุได้ที่พิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 30 เม.ย. 14, 20:43

ให้ภาพเจ้านาย ๒ พระองค์ครับคุณหมอ  ภาพถ่ายไว้สมัยรัชกาลที่ ๔ ประมาณช่วง พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๐๕

ภาพพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ (ถ่ายรูปกับของที่ผูกพันคือ แท่งโลหะสำหรับงานหล่อ) และพระองค์เจ้าสุบรรณ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง