เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 22818 ขอรบกวนถามเรื่องนามสกุลประทาน พัฒนางกรู หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับ เจริญ พัฒนางกรูครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 11:43

การปั้นหล่อกลุ่มพระพุทธรูปตระกูลพระกริ่งนัั้น ทราบว่าทางวัดสุทัศน์ (โดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และสมเด็จเจ้าประคุณ (ศรี) ได้สร้างพระกริ่งออกมาหลายรุ่นมาก โดยให้ช่างหรัส พัฒนากูร และช่างหนู (แดง) เป็นนายช่างในการหล่อโลหะและทำการแต่งพิมพ์ แต่งพระที่หล่อแล้วทั้งหมด รวมทั้งสายวัดบวรนิเวศในบางรุ่น ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๖ - หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 12:48

ผมส่งรูปพระประธานวัดระฆังที่ปู่เจริญปั้นพอกเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
รูปใต้องค์พระที่ทำดินไทย และสำรอกดินออกแบบพัฒนช่าง


ตามประวัติว่าช่างจากบ้านช่างหล่อช่วยกันหลายคน

กรมหมื่นนราเทเวศร์ (ได้ทรงกรมหลวงในรัชกาลที่ ๓) พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์โดยเสด็จพระราชกุศลกรมละหนึ่งองค์ภายในกำแพงพระอุโบสถด้านทิศเหนือ และได้ทรงสร้างเสนาสนะสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกในเนื้อที่ที่ได้ขยายออกไป ได้อัญเชิญพระประธานหล่อมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่ทรงสร้างขึ้นใหม่จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำเศวตฉัตรในพระอุโบสถหลังเก่ามากั้นพระประธานองค์ใหม่ พระประธานองค์เก่านั้น ของเดิมองค์เล็ก ปั้นด้วยปูน มีเสาหินขนาดย่อมเป็นแกน ไม่ใหญ่โตอย่างเดี๋ยวนี้ และผุพังทรุดโทรมมาก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ให้ช่างปั้นชาวบ้านช่างหล่อหลายคนด้วยกันที่สืบได้ ๑ คน คือ นายจำเริญ พัฒนางกูร ร่วมกันปั้นรูปพระประธานทับพระประธานองค์เก่าจึงดูใหญ่โตขึ้นจนไม่น่าเชื่อว่าจะใช้เศวตฉัตรองค์นี้กั้นถวายได้


จาก ประวัติ วัดระฆังโฆษิตาราม วรมหาวิหาร  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 13:31

พบว่าในพระราชกิจรายวัน ร.ศ. ๑๐๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๘ รายงานการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ซึ่งรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าให้พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สายราชสกุลมาลากุล) ดูแลการช่าง ๑๐ หมู่สืบมา

ยกเว้นการหล่อ โปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าสุบรรณ กำกับเท่านั้น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 14:22

เห็นใช้ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. มาจากเล่มนี้กระมัง  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 18:10

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระศพพระองค์เจ้าประดิษฐวรการคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๕  และจากจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์) ได้ทรงบังคับการกรมช่างสิบหมู่มาตั้งแต่พระบิดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่
บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 23:31

ขอบคุณมากนะครับเรื่องจดหมายเหตุราชกิจรายวัน

ส่วนเรื่องพระประธานวัดระฆังนั้น ผมลืมไปว่าใช้ข้อมูลของบ้านช่างหล่อประกอบกับวัดระฆัง

เจริญ พัฒนางกูร ถือเป็นปรมาจารย์ช่างพระผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของบ้านช่างหล่อ เป็นครูสอนทำพระ แกะหินสบู่
และในการทำพระนั้น มีคนเดียวที่ออกแบบกำกับ ไม่งั้นงง หลายคนผสมกันออกมาก็ไม่งาม การทำพระเป็นศิลปะ ไม่เหมือนลงแขกเกี่ยวข้าว
อีกอย่างถ้าปู่เจริญอยู่ตรงไหน ช่างที่เหลือถอยหมด เพราะเขาคือช่างใหญ่สุด
ผมดูแล้วก็เลยสรุปไปว่าที่เหลือคือลูกน้องที่มาช่วยปั้น โดยปู่เจริญกำกับ เขาจึงจำเอาแต่หัวหน้าที่มาทำ เพราะบ้านช่างหล่อเดิมก็ทำกันแบบลงแขกเกี่ยวข้าว แต่มีผู้กำกับที่เป็นเจ้าของงานครับ
ผมไปนั่งดูพระเนตรที่ทำจากเปลือกหอยมุกและเม็ดนิลรีๆ ก็รู้แล้วว่าพัฒนช่าง เพราะช่างในบ้านช่างหล่ออื่นไม่ทำกัน ทำยาก
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 07:13

เมื่อยังเด็ก ไปเที่ยวบ้านป้าเจียรบ่อย ๆ แต่ไม่ได้สนใจอะไร
จำได้ว่าที่เรือนหลังใหญ่มีหุ่นขี้ผึ้งเล็ก ๆ เยอะมาก ฝีมือป้าเจียรก็มี
ด้านหลัง ริมคลอง มีเรือนไทย ที่บอกกันว่าย่าจีนอยู่ที่นี่ กลัวผีกันน่าดู
พอลุงกับป้าเสียแล้ว ไม่ได้ไปอีกเลย ดีใจค่ะที่มีการพูดถึงงานตระกูลช่างนี้กันที่นี่
บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 08:17

ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันที่คุณ siamese นั้นแสดงว่า (วิเคราะห์)

1. มจ.สุบรรณ คือ มจ.สุบัน ในกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์
2. ยังมีกรมช่างหล่ออยู่ที่เดิม คือวังคลองตลาด จึงไม่ใช่วังว่าง จนกระทั่งมจ.สิ้น ในปี 2442
3. มีโรงหล่อหลวงกรมช่างหลวงของพระองเจ้าประดิษฐ์ ที่ทำจากโครงไม้หลังคามุงจาก ที่มีการออกแบบ function ภายใน (เป็นผลจากประสบการณ์ที่ทำงานมามากมายในประวัติศาสตร์ จึงสามารถแบ่งองค์ประกอบและจัด flow การทำงานได้)  จนชำรุดมาก
4. มีข้าราชการสังกัดกรมช่างหล่อ อยู่ที่เดิม คือวังพระองค์ประดิษฐ์
5. หลังสิ้น มจ.สุบรรณ กรมช่างหล่อย้ายไปสังกัดจงขวา คืออธิบดีกรมช่างสิบหมู่ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณบดี มรว. ปุ้ม มาลากุล โดยเอกสารที่ได้ขณะนี้ ยังไม่อาจระบุได้ว่า กรมย้ายไปแล้ว คนย้ายตามไปมากน้อยเท่าไร ลาออกไปบ้างมากน้อยเท่าใด เพราะมีการเปลี่ยนนาย ซึ่งอยู่กันมานานมาก ตั้งแต่พระองค์เจ้าดวงจักร ที่กำกับกรมช่างหล่อ มาพระองค์เจ้าประดิษฐ์
ุ6. ในเอกสารเห็นทายาทของวังนี้คือ มรว.เหมาะ ดวงจักรท่านเดียว ทายาทท่านอื่นไม่มีปรากฏเลย ซึ่งโดยธรรมชาติของสายช่างโบราณ ลูกหลานในบ้าน ต้องฝึกช่วยทำหมด เป็นการศึกษาในครอบครัว มรว....ดวงจักร รุ่นนี้ยังไม่ทัน การเรียนในระบบการศึกษาภาครัฐ เพราะเกิดแถวๆ พศ.2400 ปัจจุบันเหลือทายาทรุ่นหลานของ มรว....ดวงจักร แค่ สองคน แปลก ที่เหลือไปไหนหรือไม่มี แล้วเครื่องมือช่างที่ทำกันมโหฬารในรัชกาลที่ 3 โดยพิมพ์หินสบู่ลายพระทรงเครื่องจำนวนมาก ที่เป็นของถาวร ใช้ซำ้ได้ ไปไหนเสียละ เพราะสิ่งนี้คือหลักฐานของผู้สืบทอด ผู้ถือตราดวงจักร คือสืบทอดสายเลือด แต่สายเลือดที่ได้รับมรดกช่างพระคือผู้สืบทอดงานฝีมือองค์ความรู้สายตรง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 09:33

ช่างหล่อสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีอีกชุมชนหนึ่งทางฝั่งพระนคร อยู่แถวบ้านพานถม ปัจจุบันเป็นตรอกช่างหล่อ ฝั่งตรงข้ามกับวัดตรีทศเทพครับ
พอดีผ่านไปเลยเก็บภาพมาฝากเฉยๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 07 พ.ค. 14, 08:59

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระองค์เจ้าดวงจักร ในหนังสือปฐมวงศ์ให้ข้อมูลว่า

 "เป็นพระองค์เจ้าพระเคราะห์ร้าย สบายบ้างไม่สบายบ้าง แต่แข็งแรงรับราชการเป็นกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ว่าราชการกรมช่างหล่อ"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 07 พ.ค. 14, 14:55

หยิบพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระยาอนุรักษ์ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๘ ความว่า
“ในการช่างแต่ก่อนมีพระองค์ดิษฐใช้สำหรับจะแผลงฤาจะปัจจุบันทันด่วนขุกค่ำขุกคืนเรียกร้องเอาได้ง่ายๆ ครั้นพระองค์ดิษฐตายพระองค์ขจรมาแทน พระองค์ขจรทำมายังไรเจ้าก็เห็น แต่ทั้งพระองค์ดิษฐพระองค์ขจรบ้าๆทั้งคู่ ข้าคนใช้ก็บ้าๆ เหมือนกัน ทำอะไรจึงได้สำเร็จได้ทันอกทันใจ ....

ครั้นเมื่อพระองค์ขจรตายแล้ว ต้องเที่ยวกราบไหว้วิงวอนผู้มีความรู้ความคิด ฝีมือต่างๆให้เขาคิดแล้วเจ้าจึงจะทำ การงานก็ติดไปหมด
ความรู้สึกขาดพระองค์ดิษฐฤาพระองค์ขจรไม่หายเลยจนกระทั่งบัดนี้”
บันทึกการเข้า
ตามรอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 10 พ.ค. 14, 20:55

ขอบคุณคุณ siamese มากครับ
เรื่องพระราชหัตถเลขาที่ในหลวงทรงกล่าวถึง
ผมมีข้อมูลเพิ่ม ออกจะลึกไปหน่อยนะครับ

กระทรวงโยธาธิการ

                                       รศ 102             รศ 111                     รศ  117                              รศ  118

เสนาบดี                                                       กรมขุนนริศฯ                กรมหมื่นพิทยลาภพฤติธาดา                       กรมขุนนริศ

กรมช่างหล่อซ้าย          
จางวาง              พระโลหเดชพิจิตร (พ่วง)           พระโลหเดชพิจิตร(มรว ชื่น)              พระโลหเดชพิจิตร(มรว ชื่น)                           -

ปลัดจางวาง         พระพินิจโลหการ(มรว. เสนาะ)                                                 หลวงประสิทธิปฏิมา                                  -

เจ้ากรม             หลวงอินทรพิจิตรบันจง(อ่อน)        หลวงอินทร์นิมิตร       หลวงอินทรพิจิตรบรรจง ( จัน)                       -
           
ปลัดกรม                                                 หลวงประสิทธิปฏิมา(มรว เหมาะ)          ขุนโลหกรรมพิจิตร                                    -

ปลัดกรม            ขุนโลหกรรมพิจิตร(จัน)             ขุนโลหกรรมพิจิตร(จัน)         
                 
กรมช่างหล่อขวา
เจ้ากรม             หลวงสรอัคนีพิจิตร์(ภู่)            หลวงสรอัคนีพิจิตร์(ภู่)                   หลวงสรอัคนีพิจิตร์                                ขุนพิทักษ์อัคนี
ปลัดกรม            ขุนพินิจสรเพิลง                   ขุนพินิจสรเพลิง                        ขุนพินิจสรเพลิง                                    หมื่นไชยอัคนี

รายชื่อนี้ค้นจากทำเนียบข้าราชการกระทรวงโยธาธิการ และสารบาญชี พศ 2426
ในปีร.ศ. 111 เจ้ากรมช่างหล่อซ้าย หลวงอินทร์นิมิตร เจ้ากรมช่างหล่อซ้าย ไม่มีชื่อว่าเป็นใคร และปรากฏตัวอยู่ในปีนี้ ต่อมาทำเนียบในปีร.ศ. 117 ชื่อนี้ก็หายไป พอร.ศ. 118 กรมช่างหล่อซ้ายก็หายไปทั้งกรม หาข้อมูลไม่เจออีก เหลือแต่หล่อขวา
เดิมกรมช่างหล่อคือกรมที่หล่อพระพุทธรูปกรมเดียว
แบ่งเป็นซ้ายขวา ซ้าย 4 ขวา 2
หล่อซ้ายเป็นหลัก คือช่างพระรับผิดชอบเป็นหลักตั้งแต่ปั้น ขัด แต่ง จนจบงาน
หล่อขวาเป็นรองคือคุมไฟ หล่อโลหะ
ดูเหมือนจะมีปัญหาหรือเปล่าที่กรมช่างหล่อซ้าย ที่อาจสูญเสียช่างฝีมือไปในรัชกาลที่ 6 เมื่อหมดจาก มรว.เหมาะ ดวงจักรแล้ว กรมช่างหล่อซ้ายดูเหมือนจะไม่มีคนมีฝีมือ ก็เลยต้องไปใช้กรมช่างปั้นซ้าย คือพระเทพรจนา ในรัชกาลที่ 6 ที่สงสัยเพราะเดิมตั้งแต่ ร 1 มา ใช้แต่กรมช่างหล่อ กรมเดียว
ข้อสันนิฐานนะครับ อาจจะผิดนะครับ
รบกวนถามหน่อยได้ไหมครับว่า  หลวงอินทร์นิมิตร เจ้ากรมช่างหล่อซ้าย คือใคร ใช่ มรว ที่เป็น ดวงจักร อีกท่านหรือเปล่า
และสอบถามว่าพระองค์เจ้าประดิษฐ์มีโอรสกี่คนครับ
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 10 พ.ค. 14, 21:07

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4858.0;wap2
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 11 พ.ค. 14, 13:07

เพิ่มข้อมูลอุตสาหกรรมการหล่อพระ ที่ราชการจัดทำหนังสือไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 13 พ.ค. 14, 16:40

เห็นชุดรามเกียรติ์นี้ จับตอนศึกอินทรชิต หนุมานล้มช้างเอราวัณในครอบแก้ว นึกถึงฝีมือของพระองค์เจ้าประดิษฐ์


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง