เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
อ่าน: 51433 รูปหายากจากสมุดภาพเก่าของคุณศรีมนา
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 10:29

คุณหนุ่มได้นำภาพซุ้มรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯที่โคราชมาให้ชมไปแล้วในตอนต้นๆ ในอัลบั้มของคุณศรีมนาก็มีภาพซุ้มรับเสด็จเหมือนกัน ที่เมืองสกลนคร
ในพระนิพนธ์กล่าวถึงซุ้มรับเสด็จอยู่ตอนหนึ่ง ที่อุดร แต่ผมไม่มีรูปดังกล่าวเลยยังไม่ได้คัดให้อ่าน จะทิ้งก็เสียดาย เอามาบรรยายภาพนี้ดีกว่า

เมื่อฉันผ่านไปในแขวงเมืองกุมภวาปี ถึงตำบลบ้านสองเปลือย  ผู้นำทางเขาบอกว่าในตำบลนั้นมีพวกลาว (ไทยลานช้าง) ชาวเมืองนครนายกที่อพยพกลับมาจากเมืองเวียงจันทน์  แต่หมดกำลังไม่สามารถจะลงไปให้ถึงเมืองนครนายกได้  ยังต้องตั้งทำมาหากินอยู่ที่บ้านสองเปลือยหลายครัว  ฉันได้ยินแทบจะออกปากว่า "สมน้ำหน้า"  แต่หากละอายใจด้วยสงสาร  เพราะฉันเคยรู้เรื่องของคนพวกนั้นมาแต่ต้น

ด้วยในหนังสือสัญญาที่ไทยทำกับฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)  มีข้อความหนึ่งว่า "ถ้าลาวเชื้อสายชาวเวียงจันทน์ที่ไทยกวาดเป็นเชลย(เมื่อรัชกาลที่ ๓)  อยากจะกลับไปบ้านเมืองเดิม  รัฐบาลไทยจะยอมให้ไปไม่ขัดขวาง" ดังนี้  แต่แรกไม่มีใครอยากไป  ต่อมาฝรั่งเศสแต่งให้กรมการชาวเมืองเวียงจันทน์คนหนึ่ง  เป็นพระยา แต่ชื่อไรฉันลืมเสียแล้ว  จะสมมติเรียกในนิทานนี้ว่า "พระยาเมือง" กับพรรคพวกลงมาเที่ยวเกลี้ยกล่อมพวกเชื้อสายชาวเวียงจันทน์  มีพวกที่อยู่เมืองนครนายกสมัครจะไปเมืองเวียงจันทน์ราวสัก ๒๐๐ คน  เพราะพระยาเมืองมาสัญญาว่าเมื่อขึ้นไปถึงเมืองเวียงจันทน์  รัฐบาลฝรั่งเศสจะให้ที่ไร่นา กับทั้งบ้านเรือน วัว ควาย ไถคราด และเงินทุน  ให้พอทำมาหากินเป็นสุขทุกคน

ฉันให้เจ้าเมืองกรมการชี้แจงว่าไม่จริงได้ดังว่าดอก  ก็ไม่เชื่อ  พากันขายเหย้าเรือนไร่นาแล้วอพยพไป  ต่อมาฉันได้ยินว่ามีพวกเวียงจันทน์ลงมาเกลี้ยกล่อมคนอีก  ฉันนึกขึ้นถึงคำที่เขาพรรณนาว่า  นิสัยแมว ถ้าใครดึงหนังท้องมันก็โก่งหลัง  ถ้าใครดึงหลังมันก็แอ่นท้อง  จึงเปลี่ยนอุบายใหม่คราวนี้สั่งอย่าให้ห้ามปราม  ถ้าใครอยากไปให้ไป  เจ้าเมืองกรมการสงเคราะห์ช่วยหาคนซื้อไร่นาวัวควาย เร่งให้มันไปตามใจสมัคร  ก็กลายเป็นอย่างแมวได้จริงๆ  ไม่มีใครไป

ฝ่ายพวกที่อพยพไปคราวแรกนั้น  ไปถึงเมืองเวียงจันทน์ก็ไม่ได้ลาภผลตามสัญญา  ทั้งไปได้ความรู้ว่านาทางลานช้างทำไม่ได้ผลมากเหมือนนาทางข้างใต้  ก็พากันอพยพกลับมา  ที่ยังมีทุนกลับมาได้ถึงเมืองนครนายกก็มี  ที่หมดทุนก็ต้องตกค้างอยู่ที่บ้านสองเปลือย

แต่เรื่องนี้ยังมีข้อขำต่อไปอีก  เมื่อวันฉันไปถึงเมืองอุดรธานี  เขากระซิบบอกให้ดูชายคนหนึ่ง  ซึ่งยืนรับอยู่ที่ซุ้มคร่อมถนนที่ทำรับฉัน  สังเกตดูเป็นคนกลางคน อายุราวสัก ๕๐ ปี  เขาบอกคนนั้นแหละคือ พระยาเมือง ที่ได้ลงมาเกลี้ยกล่อมคนที่เมืองนครนายก  เมื่อกลับไปอยู่เวียงจันทน์  ไปเกิดผิดใจกับฝรั่งเศสขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง  จึงอพยพครอบครัวของตนข้ามมาขอพึ่งไทย  พระยาศรีสุริยราชวรานุวัติรับไว้ให้อยู่ในเมืองอุดร  แล้วเลยให้เป็นนายงานทำซุ้มรับฉัน  จึงยืนรับอยู่ที่ซุ้มนั้น


อ่านแล้วได้ความรู้อย่างหนึ่งว่า แม้จะล่วงเลยมาถึงสมัยรัชกาลที่๕แล้ว ทรัพยากรมนุษย์ในเชิงปริมาณก็ยังเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอยู่ แม้จะกวาดต้อนกันไม่ได้ง่ายๆเหมือนผู้ชนะสงครามในโบราณกาล ก็ต้องใช้วิธีอื่นหลอกล่อกันไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 10:38

จากเมืองสกลนครเดินบกวกกลับลงไป ๓ วันถึงพระธาตุพนมที่ริมแม่น้ำโขง ลงเรือยาวพายล่องจากพระธาตุพนมทาง ๒ วันถึงเมืองมุกดาหาร

วันแรกที่ประทับค้างคืน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 10:40

อ้างถึง
.....มาลงเรือยาวพายล่องจากพระธาตุพนมลงมาเมืองมุกดาหาร ฉันลงเรือพายของเจ้าเมืองมา จึงได้เห็นน้ำวนในแม่น้ำโขงถนัดที่แก่งคันกะเบา เป็นแก่งใหญ่แห่งหนึ่งในแขวงเมืองมุกดาหาร แม้ในฤดูแล้วน้ำก็ยังไหลวนเป็นวงใหญ่ ที่กลางวงลึกดูน่ากลัว ถ้าเรือพลัดเข้าไปถึงสะดือวนก็คงดูดจมเป็นแน่ไม่ต้องสงสัย เรือยาวที่ฉันไปเป็นเรือขุดมาดอยู่ข้างจะเปลี้ยน้ำ น่ากลัวอยู่บ้าง แต่อุ่นใจที่ฝีพายล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญสัก ๑๕ คนด้วยกัน เมื่อใกล้จะถึงแก่ง ได้ยินนายเรือสั่งให้ฝีพายเตรียมตัว พอเรือเข้าวงวนก็ตั้งข้อพายเต็มเหนี่ยวพรักพร้อม รู้ท่วงทีกันทั้งคนคัดหัวถือท้ายและฝีพายตลอดลำราวกับได้ซักซ้อมกันไว้ สังเกตดูวิธีเขาเอาเรือผ่านน้ำวน ดูเหมือนจะต้องเข้าตามน้ำให้ค่อนข้างขอบวงวนซึ่งสายน้ำอ่อน แล้วเร่งฝีพายเต็มเหนี่ยว ให้สายน้ำกับแรงพายพาเรือแล่น ให้หัวพุ่งออกจากขอบวงทางข้างโน้น มิทันให้น้ำพัดเรือแปรไปวงของสายน้ำ เรืออยู่ในวงวนราวสักนาทีเดียวก็พ้นไปได้ พอเรือออกนอกวงวน พวกฝีพายก็พากันรื่นเริงตลอดลำ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 10:46

แก่งกะเบาวันนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 10:49

ขึ้นเดินบกแต่เมืองมุกดาหารเข้ามณฑลอีสาน ทาง ๕ วันถึงเมืองยโสธร เวลานั้นข้าหลวงปันเขตแดนไทยกับฝรั่งเศสกำลังประชุมกันอยู่ที่เมืองอุบล ฉันจึงไม่ไปเฝ้ากรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นแต่ได้สนทนากันด้วยโทรศัพท์ ออกจากเมืองยโสธรเดินบกไปเมืองเสลภูมิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:02

ตั้งแต่รู้ความจนกระทั่งมาเขียนกระทู้นี้ จึงได้ค้นพบว่าเสลภูมิ มิได้อ่านว่า สะ-เหล-ภูม ตามความเข้าใจ แต่อ่านว่า เส-ละ-ภูม ซึ่งแปลความดังนี้

เสล คือ หิน หรือเต็มไปด้วยหิน เช่นเดียวกับคำว่า ศิลา ไม่รู้คำไหนแผลงมาจากคำไหน
ภูมิ คือ แผ่นดิน

เสลภูมิ แปลว่า แผ่นดินที่เต็มไปด้วยหิน

ใครไม่รู้ก็โปรดรู้นะครับ ขับรถไปแถวนั้นจะได้คุยกับชาวบ้านรู้เรื่อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:04

ออกจากเมืองยโสธรเดินบกไปเมืองเสลภูมิ เมืองร้อยเอ็ด แล้วผ่านเมืองมหาสารคามมาในเขตมณฑลอีสานทาง ๗ วันถึงเมืองผไทสง ปลายเขตมณฑลนครราชสีมา แต่นั้นมาทาง ๓ วันถึงเมืองพิมาย

ได้รับสารตรากระทรวงมหาดไทย ว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาตรัสห้ามมิให้เข้าไปพักที่เมืองนครราชสีมา ด้วยเป็นเวลามีกาฬโรค ออกจากเมืองพิมายเดินทาง ๒ วันมาถึงบ้านท่าช้าง ห่างเมืองนครราชสีมา ๔๕๐ เส้น จึงพักแรมอยู่ที่นั้น แล้วออกเดินทางแต่ดึก มาถึงสถานีรถไฟพอได้เวลาขึ้นรถไฟพิเศษกลับมาถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๙ นั้น รวมเวลาที่ไปตรวจหัวเมืองครั้งนั้น ๓ เดือน หย่อน ๔ วัน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:05

จบภาพชุดอิสานเพียงเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:10

ตลิ่งริมแม่น้ำโขงก็ยังเหมือนเดิมคือ ตลิ่งสูงกว่าน้ำโขงมากๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:33

^เข้ามาก็ดีแล้ว^

ยังมีภาพของคุณศรีมนาอีก๔-๕ภาพ แต่จะขอลัดคิวเอาภาพนี้ก่อนเลย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:39

หนุ่มรัตนะพันทิป ณล (เป็นคนละคนเดียวกันกับหนุ่มสยาม siamese) ได้ลงภาพนี้ในสมุดหน้าของท่านไว้แบบสาธารณชนอ่านได้ ดังนั้นผมจึงขอนำมาขยายผลต่อ เพราะบรรจุความรู้อยู่ในนั้นแน่นปึ่ก

เกาะลอยในอดีต เมื่อราว ๗๐ ปีที่ผ่านมา ใครจะมาไหว้พระต้องเดินมา ไม่สามารถนำรถมาได้ และทางที่เห็นคาดว่าจะเป็นเส้นทางรถไฟที่บริษัท ศรีราชา ค้าไม้สักก่อสร้างไว้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:44

ข้อความที่มีผู้แสดงความเห็นไว้มีดังนี้

รัชดา หัวหน้าหมายกโหล
บริษัทของจมื่นไวยเหรอเปล่าคะ

นายเก่า คนก่อน

สมัยวัยเด็ก 7-8ขวบ ได้เคยมาเที่ยวกับแม่ จำได้ว่าทางเดินเป็นไม้ ตอกห่างมีร่อง มีทางรถไฟเล็กๆ เหมือนทางรถไฟเล็กงานรัฐธรรมนูญ จำไม่ได้ว่า มีรถไฟไหมหรือมีเพียงแต่ แคร่ล้อเลื่อนสำหรับบรรทุกไม้ ลือกันว่าเคยเห็นฉลามบริเวณนี้ด้วย ข้อเท็จจริงน่าจะเล่าไว้ หลอกเด็กๆ ครับ

Loong Kai
บริษัทศรีมหาราชาที่จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้รับพระบรมราชานุญาตให้สัมปทานตัดไม้ในภาคตะวันออกทั้งหมด

บังโมทย์ ขำทั้งวัน
ทางรถไฟเส้นนี้ผมไม่แน่ใจว่าผ่านตลาดหัวกุญแจหรือป่าวครับ

Warawut Klannurak
ยายเล่าให้ฟังแม่ฟังว่า แหม่มฝรั่งข้างๆบ้าน(ยายอยู่สีลม) มาหาตอนเย็นน้ำตานองหน้า บอกว่าผัวหล่อนลงไปว่ายน้ำเล่นที่เกาะลอย แล้วถูกปลาฉลามกัดตาย......

Thinnaphat Thanyacharoen

เรื่องนี้มีการศึกษาครับ ของ รศ.ภารดี มหาขันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยบูรพาครับ ชื่อหนังสือว่า บริษัท ศรีมหาราชา จำกัด

....กิจการสัมปทานป่าไม้ภาคตะวันออกส่วนใหญ่ ไม่ใช่ไม้สักครับ แต่เป็นไม้กระยาเลย เป็นไม้เนื้อแข็ง เป็นที่ต้องการของประเทศในตะวันตกยุคนั้น โดยเอาไปสร้างไม้หมอนรถไฟครับ ไม้ของศรีมหาราชาเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพราะมีมาตรฐาน แต่ปัญหาเกิดจากท่าาเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ไม่มีความเชี่ยวชาญในการค้า กอปรกันท่านโดนโกงในเรื่องส่วนต่างกับบริษัทที่ร่วมหุ้นด้วย ทำให้ท่านต้องล้มละลาย แล้วหนี้ที่ท่านกู้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พอเมื่อท่านไม่มีเงินมาใช้ บรริษัทก็โดนยึด แต่ว่าศรีมหาราชาไม่ได้มีเพียงแต่กิจการค้าไม้ มีการทำที่นอนใยมะพร้าวยี่ห้อสายรุ้งครับ แต่สุดท้ายกิจการทั้งสองของศรีมหาราชาก็ต้องปิดตัวลงไป กลายเป็นตำนานของบริษัทแห่งแรกของภาคตะวันออกครับ....

บ้านท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ที่ศรีราชาอยู่ที่แหลมฟาน พอเมื่อมีการขายออก ตระกูลไรวาจึงซื้อบ้านเพื่อเป็นท่าเรือใช้ขนส่งแป้งมัน ปัจจุบันเป็นร้านอาหารแกรนด์ ซีไซด์ครับ

ส่วนเรื่องรถไฟศรีมหาราชา ผมขอแนะนำกระทู้นี่ครับ มีการศึกษาอย่างสนุกสนาน ผมลองอ่านแล้วถือว่าใช้ได้ครับ

http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums...

Rotfaithai.Com Forums-viewtopic-ทางรถไฟของบริษัท ป่าไม้ศรีมหาราชา จำกัด ลงทะเลไปเกาะลอยตรงไหน

portal.rotfaithai.com

Rotfaithai.Com : The Best & Biggest Online Community for Rail Transport Fans in Thailand

รัชดา หัวหน้าหมายกโหล
ขอบคุณค่ะ ยังนึกสงสารท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ อยู่เลย จากข้าราชบริพารใกล้ชิดสมัยต้นรัชกาล ไปปราบฮ่อสำเร็จ จัดการระบบทหารจนเรียบร้อย ท้ายสุดต้องล้มละลาย บ้านที่ศาลาแดงถูกกดราคาขายไปถูกๆ ระหว่างร.5เสด็จยุโรป

Thinnaphat Thanyacharoen
ใช่ครับ ด้วยตัวท่านเองเป็นคนที่มีน้ำใจกว้างขวางและไว้ใจใครหลายๆคน ประกอบตัวท่านเองไม่เชี่ยวชาญด้านการค้า เพราะท่านเป็นทหารจึงไม่เชี่ยวชาญด้านการค้าท่าที่ควร ท่านเคยถูกค้านในเรื่องการทำกิจการป่าไม้มาก่อน แต่ท่านกลับเลือกที่จะทำต่อไป ด้วยความที่ท่านไม่เชี่ยวชาญเลยกลายเป็นปัญหาให้ตัวท่านและท่านเองต้องล้มละลายครับ

Sloka Dinesvara
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนั้น เป็นคนมีความคิดริเริ่มดี แต่ไม่รอบคอบ สมัยที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ก็ก่อหนี้อันเกิดจากการใช้จ่ายที่ประมาณผิดพลาด ที่ประชุมเสนาบดีสภาตำหนิมาก ในหลวงก็ทรงตำหนิว่าเจ้าคุณใช้เงินเกินตัวมาก เจ้าคุณต้องทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานลาออก กระนั้นก็ยังพยายามดิ้นรนทำธุรกิจอีก แต่ก็ล้มเหลว ในสมัยรัชกาลที่ ๗ มีคนเล่าว่า พยายามเข้าหา... แล้วก็พากันไปเผา... เจ้านายพระองค์หนึ่งทรงกริ้วมาก เรื่องที่ดินที่ศรีราชาพอเจ้าคุณถึงแก่อสัญกรรม ก็มีคดีความฟ้องร้องกัน มีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ

Art Pattarapol
อุปนิสัยส่วนตัวของเจ้าคุณสุรศักดิ์ฯ นั้น ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงทราบดี มีแจ้งอยู่ในพระราชนิพนธ์บางเรื่องด้วย

Amon Bunn
เดี๋ยวนี้เกาะลอยสภาพแย่มาก แทบจะหมดสภาพความเป็นเกาะ ไม่มีเสน่ห์อะไรน่าสนใจเลย ผมเห็นความเปลี่ยนของมันแล้วเศร้าครับ

อนุชา ดุริยะมโนรม
เรือฉลอมเกลื่อนเทียวนะขอรับ

Nin Wasin
อยากหาข้อมูลเก่าๆเกี่ยวกับประวัติ ผู้คน เศรษฐกิจของศรีราชา สัก 30 - 100 ปีที่แล้วครับ ไม่ทราบว่าพอจะหาได้จากไหนครับ ที่เทศบาลพอจะมีไหมครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:46

เมื่อกี้ใครนะกล่าวถึงเรือฉลอม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:50

จากวันนี้ไป ผมมีกิจธุระจะกระทำไปอีกสามสี่วัน จึงจะขอลงรูปที่เหลือให้หมดเผื่อจะไม่ว่าง ส่วนท่านใดยังมีประเด็นค้างอยู่ กรุณาต่อได้เลยครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 11:52

ผู้ถ่ายภาพคงเริ่มต้นเดินทางจากกรุงเทพ นั่งเรือขึ้นไปทางเหนือแล้วเลี้ยวเข้าคลองรังสิต


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง