เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 51278 รูปหายากจากสมุดภาพเก่าของคุณศรีมนา
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 04 พ.ค. 14, 10:04

และนี่คือเหตุผลว่าทำไมจดหมายเหตุอย่างเป็นทางการของเยอรมันจึงละเลยที่จะกล่าวถึงการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศทางซีกโลกตะวันออกขององค์รัชทายาทของพระเจ้าไกเซอร์นี้ไปเลย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 09:41

กลับมาเรื่องของเราดีกว่า

จุดที่น้ำมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่หรือแม่น้ำบรรจบกับทะเลเรียกว่าปากน้ำ ที่กบินทร์บุรีหรือในรัชกาลที่ ๕ สะกดว่ากบิลซึ่งหมายถึงข้าวนั้น มีแม่น้ำหรือแควมารวมกันเป็นแม่น้ำปราจินบุรี ๔ แคว ได้แก่แควพระปรง แควหนุมาน แควห้วยยางและแควห้วยโสมง จุดที่แควหนุมานและแควพระปรงรวมกันเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี เรียกว่าบ้านปากน้ำ สมัยโบราณเป็นจุดชุมนุมของเรือข้าวดังที่เห็นในภาพ

แม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่าน อำเภอศรีมหาโพธิ(ออกเสียงว่าศรีมหาโพดนะครับ) อำเภอประจันตคาม และอำเภอเมืองปราจีนบุรี ไปรวมกับแม่น้ำนครนายกที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นแม่น้ำบางปะกง ไหลผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราไปลงทะเลอ่าวไทย

คำว่าปะกง ท่านว่าเพี้ยนมาคำว่าบงกง ซึ่งออกสำเนียงว่าบองกองในภาษาเขมร แปลว่ากุ้ง ด้วยเหตุว่าแม่น้ำบางปะกงมีกุ้งนางชุกชุมมาก ท่านที่ไปนม้สการหลวงพ่อโสธร หากมีโอกาสอย่าลืมไปทานกุ้งเผาแถวร้านอาหารพื้นเมืองดังๆริมแม่น้ำด้วยนะครับ ราคาทางฉะเชิงเทราเห็นจะย่อมเยากว่าทางอยุธยาอ่างทองนิดหน่อย
 
ฉะเชิงเทรา ท่านก็ว่ารากเง่ามาจากภาษาเขมรเหมือนกัน คือสร์ตึง หมายถึงแม่น้ำคำหนึ่ง และ โจร์ว ซึ่งแปลว่าลึกอีกคำหนึ่ง แสดงว่าครั้งโบราณนานมาชนชาติเขมรมีอิทธิพลในสุวรรณภูมิแถบนี้มากมาย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 10:21

แม่น้ำลพบุรี ไม่ได้มีต้นน้ำจากการรวมตัวของแควน้อยใหญ่ แต่แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี  แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเข้าเขตจังหวัดลพบุรี ผ่านตัวเมืองแล้ววกกลับเข้าจังหวัดอยุธยา ไปรวมกับแม่น้ำป่าสักที่ตำบลหัวรอในตัวเมือง กลับเข้าบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดพนัญเชิง สมัยกรุงศรีตำบลนั้นเป็นที่ชุมนุมของเรือสำเภาบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่มาจากแดนไกลมากมาย

แม่น้ำลพบุรีมีความสำคัญขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายน์  เพราะพระองค์ทรงใช้เป็นเส้นทางหลักในการเสด็จไปสร้างพระราชวังที่นั่นเพื่อลดแรงรุมเร้าทางการเมือง หมดรัชสมัยแล้ว ลพบุรีก็สิ้นความเป็นนครหลวงอย่างไม่เป็นทางการไป แต่ร่องรอยของอารยธรรมระดับพระราชนิเวศน์ยังคงปรากฏ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 11:48

แม่น้ำลพบุรี ไม่ได้มีต้นน้ำจากการรวมตัวของแควน้อยใหญ่ แต่แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี  แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเข้าเขตจังหวัดลพบุรี ผ่านตัวเมืองแล้ววกกลับเข้าจังหวัดอยุธยา ไปรวมกับแม่น้ำป่าสักที่ตำบลหัวรอในตัวเมือง กลับเข้าบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดพนัญเชิง สมัยกรุงศรีตำบลนั้นเป็นที่ชุมนุมของเรือสำเภาบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่มาจากแดนไกลมากมาย

แม่น้ำลพบุรีมีความสำคัญขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายน์  เพราะพระองค์ทรงใช้เป็นเส้นทางหลักในการเสด็จไปสร้างพระราชวังที่นั่นเพื่อลดแรงรุมเร้าทางการเมือง หมดรัชสมัยแล้ว ลพบุรีก็สิ้นความเป็นนครหลวงอย่างไม่เป็นทางการไป แต่ร่องรอยของอารยธรรมระดับพระราชนิเวศน์ยังคงปรากฏ


เจดีย์สูงใหญ่สร้างบนเกาะกลางแม่น้ำลพบุรี อยู่ในวัดมณีชลขันธ์ ของพระเกจิ พระอาจารย์แสง ซึ่งชาวลพบุรีนับถือมากๆ ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 16:38

ไปหาคลิ๊ปคนจีนโล้เรือมาฝากคุณหนุ่มสยาม หากที่ผมอธิบายไปนั้นยังไม่เห็นภาพชัด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 16:40

และนี่เป็นการแจวครับ เพิ่งทราบว่าคนญวนเรียกกิริยานี้ว่าแจวเหมือนกัน ยุ่งละซี แสดงว่าคนญวนอาจจะมาสอนวิธีนี้คนไทยก็ได้ เพราะคนญวนอพยพมาทำมาหากินในเมืองไทยมากกว่าคนไทยจะไปที่นั่น ต้องรบกวนคุณเพ็ญอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 17:11

ชอบคุณครับ เอาภาพการพายเรือของชาวอินเล ของพม่าใช้เท้าไขว้พายเลยครับ
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 05 พ.ค. 14, 21:40


ภาพคุณแม่ของคุณศรีมนาค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 06:25

^สวยนะครับ^

ขอบพระคุณ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 06:27

อ้างถึง
และนี่เป็นการแจวครับ เพิ่งทราบว่าคนญวนเรียกกิริยานี้ว่าแจวเหมือนกัน ยุ่งละซี แสดงว่าคนญวนอาจจะมาสอนวิธีนี้คนไทยก็ได้ เพราะคนญวนอพยพมาทำมาหากินในเมืองไทยมากกว่าคนไทยจะไปที่นั่น ต้องรบกวนคุณเพ็ญอีกแล้ว

เช้านี้ ขอแก้ไขในสิ่งผิดหน่อยครับ

มาคิดดู คนญวนเริ่มอพยพมาไทยมากก็สมัยองเชียงสือหนีขบถภายในมาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารในรัชกาลที่๑นี่เอง แต่การแจวเรือในไทยน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาสุโขทัยโน้นแล้ว ตอนนั้นเราอยู่ภายใต้อิทธิพลของราชอาณาจักรขอม และภาษาเขมรคือรากเง่าของภาษาไทย ศัพท์เขมรหลายคำที่เรานำมาใช้ จึงรวมทั้งคำว่าแจวด้วย
ผมหาพจนานุกรมไทย-เขมรดู ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ
เขมรว่า แจว ตูก – ไทยว่า แจว เรือ
เนียง แจว ตูก ลัวะ นม จ็อมเน็ย – เธอแจวเรือขายพวกขนมพวกของกิน

ญวนก็คงรับอารยธรรมจากเขมรไว้ด้วย เรือเป็นพาหนะที่ใช้กันมากในลุ่มแม่น้ำโขงก่อนออกทะเล ซึ่งภูมิภาคนั้นทั้งหมดอยู่ในราชอาณาจักรเขมรจวบจนแพ้สงครามแก่ญวนในรัชกาลที่๓นี้เอง สมัยนั้นสยามยังเคยส่งกองทัพเรือไปช่วยเขมรรบที่เมืองบันทายมาศ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่คุมปากแม่น้ำโขงที่จะนำไปสู่พนมเปญ เมื่อญวนครอบครองได้ในที่สุดแล้วได้เปลี่ยนชื่อเป็นฮาเตียน
คนญวนคนเขมรในลุ่มแม่น้ำโขงจึงแทบจะแยกกันไม่ออก และล้วนแต่แจวเรือด้วยกันทั้งสิ้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 10:03

คุณนวรัตนวิสัชนาคำว่า "แจว" ได้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว

ทีนี้มาเรื่องของคำว่า "โล้" คุณม้าเคยวิสัชนาไว้ดังนี้

ที่มาของคำว่าโล้นั้นยิ่งน่าสนใจ และเป็นกุญแจไขสู่คำตอบของเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

เรือสำปั้นนั้น จะมีแจวยึดอยู่กับหลักแจวทางท้ายเรือ เวลาใช้งานจะต้องโยกแจวอันนี้ไปมาซ้ายขวาอย่างลำตัวปลาเวลาว่ายน้ำ กริยานี้เป็นอย่างที่รอยอินบอกว่าคือการ "โล้" นี่แหละครับ ภาษาจีนจะว่า 摇橹 จีนกลางอ่านว่า เหยาหลู่ กวางตุ้งว่า ยิ่วโหลว พวกฮกเกี้ยน-แต้จิ๋วออกเสียงคล้ายกันว่า เอี่ยวโล่ ฝรั่งเอาคำนี้ไปใช้ โดยเขียนว่า yuloh ครับ

ทั้งนี้คำว่า "เอี่ยว" นั้นแปลว่าโยก ส่วน "โล่" แปลว่าแจว(คำนาม) ครับ
 
เห็นได้ว่า คำว่า "โล้" มาจากว่า "เอี่ยวโล่" ซึ่งเป็นคำกริยาโดยตัดคำหน้าทิ้ง คำว่า โล่(นาม) ในภาษาจีน จึงกลายมาเป็น โล้(กริยา) ในภาษาไทยด้วยประการฉะนี้เองครับ 

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 10:13

เอาภาษาจีนของคุณม้าไปหาต่อ ได้ภาพมาบรรยายความที่ผมบอกว่าเรือเล็กถ้าโล้แล้ว หัวเรือจะส่ายไปส่ายมา

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 07 พ.ค. 14, 07:46

ภาพชีวิตในแม่น้ำลำคลองต่อครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 07 พ.ค. 14, 07:52

นิวาศสถานและวิถีชีวิตของคนไทยในแม่น้ำแบบนี้ ไม่มีการอนุรักษ์ของจริงไว้แบบมีชีวิตเลยสักแห่งเดียว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 07 พ.ค. 14, 08:23

นิวาศสถานและวิถีชีวิตของคนไทยในแม่น้ำแบบนี้ ไม่มีการอนุรักษ์ของจริงไว้แบบมีชีวิตเลยสักแห่งเดียว

ภาพคลองนี้ ชวนให้นึกถึงจังหวัดอุทัยธานี หรืออยุธยา หรือลพบุรี ที่เป็นช่วงแม่น้ำแคบๆ มีเรือนแพตั้งอยู่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง