เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 51280 รูปหายากจากสมุดภาพเก่าของคุณศรีมนา
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 02 พ.ค. 14, 13:09

พวกที่ผมวงสีไว้ ดูแข้งขาดำๆไม่เนียนเพราะพันสนับแข้งไว้อย่างเขา ก็น่าจะเป็นพวกที่ไม่ถนัดจะใส่รองเท้า(เดี๋ยวมันกัดเอา)สู้หนังธรรมชาติไม่ได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 02 พ.ค. 14, 13:18

ทหารสมัยนั้นก็พอกันละครับ นี่ขนาดไปรบกับฮ่อนะ ต้องบุกป่าฝ่าดงมากมายยังนิยมหนังธรรมชาติ พันสนับแข้งหน่อยกันทากกระโดดเกาะ มุดขากางเกงเข้าไปสูบเลือด ส่วนลูกหาบ หลวงไม่มีงบให้
  
พวกตำหนวดเมืองเดินป่าคอนกรีตเรียบๆชิวๆอย่างนี้ ซำบาย
(ภาพจากอัลบั้มเดียวกัน)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 02 พ.ค. 14, 13:44

กลุ่มเท้าเปล่านี้เป็นพลตระเวนครับ ไม่สวมรองเท้ากันเพราะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 02 พ.ค. 14, 16:44

ไม่สวมรองเท้า คงจะเดินได้ทน  ไม่ถูกรองเท้ากัดอย่างที่ท่านนวรัตนว่าไว้   
และวิ่งไล่กวดผู้ร้ายได้คล่องกว่าสวมรองเท้า
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 02 พ.ค. 14, 19:04

สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งทหาร ตำรวจ เสือป่าและลูกเสือต่างก็ไม่สวมรองเท้ากันเป็นปกติ  แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ต้องพันแข้งเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายขบกัด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 07:16

เสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารค
 
ผมชอบคำนี้ครับ ไม่ห้วนเหมือนที่ราชบัณฑิตท่านสอนให้ใช้ “เสด็จพระราชดำเนินชลมารค” แทนคำที่แต่ก่อนแต่ไรใช้กันว่า เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยอ้างว่าความหมายซ้ำซ้อนเพราะมารคก็แปลว่าทาง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 07:24

ทั้งสองภาพน่าจะถ่ายที่หน้าวัดอรุณ

ฝีพายเรือบตสี่หลักแจวลำนี้ สังเกตุจากหมวกเห็นจะเป็นทหารเกณฑ์ชาวญวน สมัยนั้นใช้ญวนอาสามาเป็นกำลังพลของทหารเรือร่วมกับอาสาจามและอาสามอญ
เรือบตคือเรือแบบฝรั่งที่เรียกว่าโบ๊ต(boat)


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 11:16

เพิ่งจะรู้วันนี้เองค่ะ ว่า'เรือบต'มาจากคำว่า boat 

ตั้งแต่ลงทะเบียนเป็นนิสิตของเรือนไทยมหาวิทยาลัย  ดิฉันได้ความรู้ทั้งเรื่องหลักๆและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมอีกมากมาย  ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านนะคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 11:32

ทั้งสองภาพน่าจะถ่ายที่หน้าวัดอรุณ

ฝีพายเรือบตสี่หลักแจวลำนี้ สังเกตุจากหมวกเห็นจะเป็นทหารเกณฑ์ชาวญวน สมัยนั้นใช้ญวนอาสามาเป็นกำลังพลของทหารเรือร่วมกับอาสาจามและอาสามอญ
เรือบตคือเรือแบบฝรั่งที่เรียกว่าโบ๊ต(boat)

ทั้งสองภาพน่าจะถ่ายที่หน้าวัดอรุณ - ถ่ายจากด้านข้างวัดอรุณริมแม่น้ำ  ยิงฟันยิ้ม (แซวเล่นครับผม)

ให้ดูเรือลำนี้ให้หน่อยครับว่า สาวกำลังถือพายเรือนั้น (การผูกพายเรือกับหลักแบบนี้เรียกว่าโล้เรือใช่ไหม) เป็นญวนหรือเปล่าครับ ภาพนี้ถ่ายไว้ในช่วงกลางรัชกาลที่ ๕ ราวพ.ศ. ๒๔๓X ถ่ายติดแม่น้ำเจ้าพระยา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 11:47

พายที่มีด้ามยาว ตรงปลายมีด้ามน้อยสำหรับใช้มือจับให้มั่น และยึดกับเรือโดยการมัดกับหลักนั้นให้ขยับได้นั้น ถ้าหลักอยู่ที่กราบเรือจะเรียกว่าแจว
กิริยาแจวเรือคือการยืนพาย โดยบังคับการเคลื่อนไหวของใบพายคล้ายกับการพายแบบนั่งพายที่คุ้นตาคนสมัยนี้นั่นเอง

แต่ถ้าหลักจะอยู่ค่อนไปทางท้ายเรือมากๆ คนยืนขยับใบพายให้การเคลื่อนไหวคล้ายกับหางปลาโบกไปมาในน้ำเพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้า จะเรียกว่าโล้ ส่วนใหญ่จะใช้กับเรือที่มีน้ำหนักมากๆ เพราะแจวไม่ไหวต้องโล้ไปช้าๆ

คนญวนกับคนจีนโล้เรือเก่ง ในขณะที่คนไทย คนมอญ แจวเรือเก่ง
หญิงในรูปน่าจะเป็นคนจีนนะครับ  แต่การจับพายจะออกไปทางแจว เพราะเรือเล็กๆอย่างนี้เขาไม่โล้กัน เนื่องจากหัวเรือจะส่ายไปซ้ายทีขวาที ถ้าแจวเอาเรือจะนิ่งกว่าและไปเร็วกว่า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 12:06

แต่วัฒนธรรมแบบนี้ถ่ายทอดกันไม่ยาก คนไทยไม่ว่าจะเชื้อชาติใดสมัยนั้นก็แจวเรือเก่งเหมือนกันหมด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 12:27

ภาพที่น่าสนใจจริงๆสำหรับผมคือรูปนี้ครับ

เป็นภาพโปสการ์ดมีภาษาเยอรมันเขียนว่า

             Zur Erinnerung an den Besuch
S.K.H. des Kronprinzen Wilhelm von Preußen in Bangkok "
(ที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนกรุงเทพของ มกุฏราชกุมารวิลแฮล์ม ฟอน พร์อยเซน)

ตัวหนังสือด้านบนเป็นชื่อเรือรบลาดตระเวนหุ้มเกราะที่เป็นพระราชพาหนะ ชื่อคไนสเนา (S.M. Panzerkreuzer Gneisenau)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 12:40

ผมหาข้อมูลที่ไหนไม่ได้เลยจริงๆว่ามกุฏราชกุมารของเยอรมันได้เสด็จหรือจะเสด็จมาเมืองไทยเมื่อไหร่ ใช้อินทรเนตรตรวจหาทั้งภาษาไทยและเยอรมันก็ไม่พบ มีเวปเดียวที่กล่าวถึงการเสด็จเยือนอินเดียเป็นการส่วนพระองค์ในปี ๑๙๑๑

ผมตามรอยต่อไปจากประวัติของเรือรบลำนี้ พบว่าหลังจากขึ้นระวางแล้วในปี ๑๙๑๐ ก็ได้รับคำสั่งเดินทางมาประจำการในกองเรือเอเชียตะวันออก ซึ่งเยอรมันมีฐานทัพเรืออยู่ที่ชิงเตาในจีน ดังนั้นรัฐบาลอาจจัดพระราชกรณียกิจพิเศษให้มกุฏราชกุมารวิลแฮล์ม ฟอน พร์อยเซน พระโอรสพระองค์ใหญ่ของไกเซอร์วิลแฮล์มเสด็จมาเอเซียโดยเรือลำนี้ด้วย แต่ทว่า อาจจะเป็นเพราะการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีเดียวกันนั้นก็ได้ ทำให้กำหนดการทั้งหลายทั้งปวงต้องเปลี่ยนไปหมด และไม่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไว้ให้เราๆท่านๆได้ทราบเลย นอกจากโปสการ์ดใบน้อยของคุณศรีมนานี้

ไม่แน่ บางทีคุณเพ็ญชมพูอาจจะไปค้นจดหมายเหตุโบราณมาให้เราได้อ่านกันบ้างก็ได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 14:00

ไปดูจัดวังสราญรมย์สำหรับรับรัชทายาทเยอรมัน

วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน เวลาบ่าย ฉันได้ไปที่วังสราญรมย์, เพื่อเตรียมจัดรับรัชทายาทเยอรมัน, ซึ่งกำหนดว่าจะเข้าเยี่ยมกรุงสยามในปลายศก ๒๔๕๓ นั้น วังนี้ได้เปนที่อยู่ประจำของฉันในปลายรัชกาลที่ ๕, และพอทราบว่าทูลกระหม่อมต้องพระราชประสงค์จะใช้เปนที่รับแขกเมือง ฉันก็ได้จัดการแก้ไขและซ่อมแซมขึ้นเปนหลายแห่ง, ฉนั้นจึ่งดูสอาดสอ้านเรียบร้อยดี เมื่อไปดูวังนี้ทำให้รู้สึกออกจะใจหายอยู่บ้าง คือ ข้อ ๑ นึกเสียดายว่าเสียแรงได้จัดการแก้ไขซ่อมแซมแล้วก็เลยไม่ได้ใช้, และอีกข้อ ๑ รู้สึกว่าที่นั้นเปนบ้านเก่าของตน, ที่ได้เคยอยู่เปนสุขแล้วเปนหลายปี, มีเยื่อใยชอบใจติดพันยังไม่หาย

รัชทายาทเยอรมันงดมาเมืองเรา

ตามที่ฉันได้กล่าวมาแล้ว, เราได้ตระเตรียมการรับรองรัชทายาทเยอรมันไว้ตลอดแล้ว, แต่ครั้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ฉันได้รับข่าวจากกระทรวงต่างประเทศ ว่ารัชทายาทเปนอันงดการมาเมืองเรา พระยาศรีธรรมสาสน (ทองดี สุวรรณสิริ), อัครราชทูตของเราที่กรุงเบอร์ลินในเวลานั้น (ภายหลังเปนพระยาบำเรอภักดิ์, แล้วเปนพระยาสุวรรณสิริ), ได้โทรเลขบอกมาว่า มีข้าราชการผู้ใหญ่แห่งกระทรวงการต่างประเทศเยอรมันผู้ ๑ ได้บอกว่า, โดยเหตุที่เกิดมีกาฬโรคที่เมืองจีน, การที่รัชทายาทจะเข้ามาเมืองเราต้องงด, และว่าการไปเมืองจีนและเมืองญี่ปุ่นก็งดด้วย และว่าจะกลับจากอินเดียทีเดียว. แมื่อฉันได้รับข่าวนั้น ฉันรู้สึกไม่พอใจมากอยู่, เพราะประการ ๑ บอกเลิกเอาจวน ๆ เวลาที่กำหนดไว้ว่าจะเข้ามา, ฉนั้นการตระเตรียมต่าง ๆ ก็เปนอันต้องเปลืองเปล่าหมด, เพราะสั่งงดไม่ทัน, อีกประการ ๑ ไหน ๆ จะบอกเลิกทั้งทีแล้ว ตัวรัชทายาทเองจะบอกตรงมายังเราสักคำสองคำก็ไม่ได้, ใช้แต่ให้เจ้าพนักงานบอกทางทูตเท่านั้น ดูไม่มีกิริยาอัชฌาศัยเสียเลย.  ต่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ฉันจึ่งได้รับโทรเลขจากไกเส้อร์มีมาว่า, โดยเหตุที่มีโรคภัยไข้เจ็บชุกชุมอยู่ในประเทศจึน, เปนการจำเปนที่จะต้องงดการที่รัชทายาทมาทางบุรพเทศอีก จึ่งจำเปนต้องของดการที่จะมากรุงสยาม, และขอบใจฉันและรัฐบาลที่ได้ตระเตรียมการับรองไว้ เรื่องงดการรัชทายาทเยอรมันเดิรทางต่อมาจากอินเดียครั้งนั้น ออกจะเปนการลึกลับอยู่หน่อย, และได้มีข้อความโจษกันต่าง ๆ นานา, บ้างก็ว่าเปนเหตุเพราะรัชทายาทได้ไปกระทำเหตุฉาวขึ้นในอินเดีย เนื่องด้วยเรื่องผู้หญิง, บ้างก็ว่าสาเหตุมีเนื่องด้วยการเมือง, แต่ความจริงจะเปนอย่างไรก็เลยไม่ได้ความชัด.

จาก ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 03 พ.ค. 14, 15:28

เยียมจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง