เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4672 รบกวนทุกท่านช่วยวิเคราะห์เหตุการณ์ ในสมัยรัชกาลที่7
เอ้อระเหย
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เอกเขนก


เว็บไซต์
 เมื่อ 21 เม.ย. 14, 22:57

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา
ได้มีหลักฐานปรากฏมาว่ามีหลักจารึกพระปรมาภิไธย รัชกาลที่7 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ซึ่งหลักจารึกนี้ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าสวนหม่อม ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา
แต่เดิมนั้นที่ดินบริเวณนี้เป็นสวนปาล์ม (แห่งแรกในประเทศไทย?) ซึ่งเจ้าของสวนปาล์มนั้นคือ หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร พระองค์ทรงรอบรู้และสนพระทัยการเกษตรกรรมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ทรงศึกษาทดลองเพาะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน และทรงดำริที่จะวางรากฐานการประกอบอาชีพทำสวนปาล์มน้ำมัน ให้ชาวไทย ในเวลาต่อมาจึงปรากฏสวนปาล์มน้ำมัน (African oil palm) ขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยบริเวณทางภาคใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ชาวบ้านเรียกสวนปาล์มน้ำมันแห่งนี้ว่า "สวนหม่อม"
การปลูกปาล์มน้ำมันที่สวนหม่อมจะปลูกไว้เมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ แน่ชัดแต่จากการบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้เล่าว่า ปาล์มน้ำมันที่สวนหม่อม ได้ปลูกขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ.2475 (ร.7) เพราะขณะเวลาดังกล่าวสวนปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว บริเวณภายในสวนปาล์มปรากฏสิ่งก่อสร้างต่างๆอย่างถาวร เช่น พลับพลาที่ประทับ หอคอยสำหรับทอดพระเนตรคนงาน สระน้ำขนาดใหญ่ โรงเรือนที่อยู่ของคนงาน ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 300 คน ร้านค้าของชำ และโรงงานเครื่องจักรทำน้ำมันปาล์มบรรจุลงถังน้ำมันดิน และสามารถส่งผลผลิตออกจำหน่ายได้ประมาณเดือนละ 6 ตัน โดยลำเลียงน้ำมันไปตามเส้นทางถนนหม่อมออกสู่ถนนทางหลวงที่บ้านปริกใต้ แล้วบรรทุกต่อไปยังสถานีรถไฟคลองแงะ เพื่อลำเลียงเข้าสู่ตลาดกรุงเทพฯ
แต่ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นตั้งฐานกำลังที่สงขลา ทำให้กิจการน้ำมันปาล์มต้องหยุดชะงัก คนงานต่างก็หลบหนีภัยสงคราม สวนปาล์มถูกปล่อยทิ้งร้างไว้หลายสิบปี มิอาจฟื้นฟูกิจการได้อีกเลย
ข้อมูลนี้ผมค้นใน pantip.com และ gimyong.com

แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ช่วงปีพุทธศักราชแล้ว หลักจารึกปรากฎว่าเป็นวันที่ 4/8/2476 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว พระองค์ท่านประทับอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ เพราะตามบันทึกของหม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ ชุมพล ได้บันทึกไว้ว่า
"เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินจากพระนครไปยังทวีปยุโรป"
หากเป็นไปตามลำดับนี้ก็เป็นไปไม่ได้เลยเนื่องจากมีระยะห่างในช่วงเวลาที่พระองค์ท่านเสด็จออกจากกรุงเทพฯและช่วงเวลาที่ทรงมาปลูกต้นปาล์มที่จ.สงขลา

จึงอยากให้ท่านผู้รู้ช่วยกันวิเคราะห์เหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นครับ เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ที่จะจารึกไว้ในจังหวัดสงขลาต่อไปครับ


บันทึกการเข้า
เอ้อระเหย
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เอกเขนก


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 เม.ย. 14, 23:00

หลักจารึกของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 เม.ย. 14, 05:30

ก่อนปี ๒๔๘๔ ไทยเราเปลี่ยน พ.ศ.กันในวันที่  ๑  เมษายน  นอกจากนั้นยังมีประกาศเรื่องการนับวันในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงกำหนดให้เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ ๑  ไปจนถึงเดือน ๑๒ คือเดือนมีนาคม  ฉะนั้นวันที่ ๔/๘/๗๖ ตามจารึกจึงตรงกับวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๖  หลังเหตุการณ์ "กบฏบวรเดช" ไม่ถึงเดือน  ซึ่งตามบันทึหประวัติศาสตร์เมื่อเกิดกบฏบวรเดชแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินจากวังไกลกังวลพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ไปประทับแรมที่สงขลาในช่วงเวลานั้น  ส่วนที่ว่าเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปในเดือนมกราคม ๗๖ นั้นเป็นเหตุการณ์ภายหลังจากเสด็จกลับจากสงขลาแล้ว
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 เม.ย. 14, 08:05

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จประทับที่ตำหนักเขาน้อย
ปัจจุบันเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
มีรับสั่งเชิญเสด็จสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า
เสด็จฯจากกรุงเทพไปสงขลา ประทับ ณ พลับพลาไม้ไผ่เชิงเขาน้อยเบื้องหลังตำหนัก
ระหว่างประทับที่สงขลาทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ ดังเช่นการเสด็จทอดพระเนตรสวนปาล์มและทรงปลูกต้นปาล์ม
เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน และวันต่อมาสมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้าเสด็จทอดพระเนตรและทรงปลูกต้นปาล์ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 เม.ย. 14, 08:43

ก่อนปี ๒๔๘๔ ไทยเราเปลี่ยน พ.ศ.กันในวันที่  ๑  เมษายน  นอกจากนั้นยังมีประกาศเรื่องการนับวันในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงกำหนดให้เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ ๑  ไปจนถึงเดือน ๑๒ คือเดือนมีนาคม  ฉะนั้นวันที่ ๔/๘/๗๖ ตามจารึกจึงตรงกับวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๖  หลังเหตุการณ์ "กบฏบวรเดช" ไม่ถึงเดือน  ซึ่งตามบันทึกประวัติศาสตร์เมื่อเกิดกบฏบวรเดชแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินจากวังไกลกังวลพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ไปประทับแรมที่สงขลาในช่วงเวลานั้น  ส่วนที่ว่าเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปในเดือนมกราคม ๗๖ นั้นเป็นเหตุการณ์ภายหลังจากเสด็จกลับจากสงขลาแล้ว

อธิบายความต่อจากคุณวีมี

ส่วนที่ว่าเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปในเดือนมกราคม ๗๖ นั้นเป็นเหตุการณ์ภายหลังจากเสด็จกลับจากสงขลาแล้ว เนื่องจาก "มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖" เป็นการนับศักราชแบบเก่า หากนับแบบปัจจุบันคือ "มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗"   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 เม.ย. 14, 14:26

รัชกาลที่ ๗  สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระราชโอรสบุญธรรม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พร้อมด้วยเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ (ทางซ้ายของภาพ) บริเวณสถานีรถไฟวิคตอเรีย ลอนดอน วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๗  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 เม.ย. 14, 22:07

ชายหนุ่มไทยที่เดินตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัว ร7และสมเด็จพระราชินี คล้ายพระองค์เจ้าจุมพฎพงศ์บริพัตร

น่าจะใช่!
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 เม.ย. 14, 22:30

ขออภัยครับ สะกดพระนามผิด

พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 19:37

พ.ศ. ๒๔๗๘ ประทับที่พระตำหนัก เมืองแครนลี (Cranleigh) มณฑลเซอร์เรย์ (Surrey) ประเทศอังกฤษ ยิงฟันยิ้ม

http://youtube.com/watch?v=Ik9bhhXKSzA#ws
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 20:02

ทราบแต่ว่าท่านเคยพาหม่อมเจ้าชวลิตโอภาสพระชายาไปรักษาองค์ที่อังกฤษ   หม่อมเจ้าชวลิตโอภาสสิ้นชีพิตักษัยเมื่อพ.ศ. 2475 
หม่อมเจ้าอมรฯ ก็คงจะเสด็จไปอยู่อังกฤษชั่วระยะหนึ่ง
เข้าใจว่าท่านกลับมาประทับอยู่ที่สงขลาเป็นการถาวรจนกระทั่งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นบุกในเดือนธันวาคม  พ.ศ. 2482
ท่านก็น่าจะเสด็จกลับกรุงเทพ  ต่อมาเมื่อหม่อมเจ้าอัปษรสมาน (เทวกุล) กิติยากร สิ้นชีพิตักษัย หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ทรงรับมรดกโรงภาพยนตร์พัฒนากร (สิริรามา)จึงทรงบริหารโรงภาพยนตร์อยู่ในกรุงเทพ  มิได้กลับไปสงขลาอีก

ทั้งหมดนี้ปะติดปะต่อข้อมูลเอง อาจผิดพลาดได้  รอท่านอื่นๆมาเพิ่มเติมดีกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
ciri
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 22:32

เหตุการณ์นี้คือ ช่วงที่เกิดกบฎบวรเดชครับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงตัดสินพระทัยไม่เสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ
จึงเสด็จฯ ลงทางใต้ ประทับที่พระตำหนักเขาน้อย สงขลาเป็นเดือนๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จสวนปาล์มของหม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
และทรงปลูกปาล์ม ประทับบนพลับพลา แต่ไม่ได้ประทับแรม

หลังจากช่วงนั้น เสด็จฯ กลับกรุงเทพ อีกไม่นานก็เสด็จฯ อังกฤษ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง