เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 11065 การตั้งกรมและประวัติพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 เม.ย. 14, 14:40

Sri Susuhunan Paku Buwono X กษัตริย์สุรการ์ตา เกาะชวา (ทรงยืนทางซ้ายพระหัตถ์รัชกาลที่ ๕) ทรงต้อนรับรัชกาลที่ ๕ ครั้งเสด็จประพาสชวา พ.ศ. ๒๔๓๙  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงยืนทางขวาพระหัตถ์



พระรูปหมู่ในวโรกาสเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม

ทางขวาพระหัตถ์คือ สมเด็จพระพันปี และ เจ้าจอมมารดาชุ่ม นางสนองพระโอษฐ์


บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 เม.ย. 14, 19:59



เป็นไปได้หรือไม่ว่า ร.5 ทรงรู้สึกว่าพระองค์มิได้ทรงมอบพระอิสริยยศกับเสด็จพระนางสุขุมาลฯ อย่างเพียงพอ (จะด้วยเหตุผลใดนั้น ผมเคยเปิดประเด็นไว้ในกระทู้ก่อนๆ แต่ยังไม่มีข้อสรุปไปในทางเดียวกัน)

ยังมองไม่เห็นประเด็นว่า "มิได้ทรงมอบอย่างเพียงพอ" นั้นเป็นอย่างไร     คุณหมายความว่าพระนางเจ้าสุขุมาลฯควรจะได้เป็นสมเด็จ เช่นเดียวกับสมเด็จพระพันวษาและสมเด็จพระพันปีอย่างนั้นหรือคะ   ถ้าอย่างนั้นก็เป็นเรื่องของรัชกาลที่ ๖  ไม่ใช่รัชกาลที่ ๕  ที่จะพระเฉลิมพระนามให้   

เชิญดูอะไรหน่อย  เกี่ยวกับวันเดือนปีประสูติของเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อม หรือเจ้าฟ้าชั้นเอกสี่พระองค์นี้
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร  ประสูติเมื่อ  14 กันยายน 2420,
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  สยามมกุฎราชกุมาพระองค์แรก  ประสูติเมื่อ  27 มิถุนายน พ.ศ. 2421
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ   (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่สอง ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ประสูติเมื่อ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424

ถ้าหากว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทรเป็นชาย  ตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารก็จะตกอยู่กับพระองค์ท่าน      พระชนนีก็จะทรงดำรงตำแหน่งพระมเหสีเทวีองค์สำคัญที่สุด เช่นเดียวกับสมเด็จพระพันวษาเคยทรงเป็นมาแล้ว      เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จประพาสยุโรป   พระนางเจ้าสุขุมาลก็อาจจะได้เป็น "สมเด็จรีเยนต์" ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เช่นเดียวกับสมเด็จพระพันปี
แต่ในเมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทรเป็นหญิง    ความเป็นไปได้เหล่านี้ก็จบไปตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น     

พระราชโอรสพระองค์เดียวในพระนางเจ้าสุขุมาล ประสูติหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าถึง 1 ปีกว่า  จึงตัดประเด็นได้อีกเช่นกันถึงตำแหน่งมกุฎราชกุมารพระองค์ที่สอง หลังสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสิ้นพระชนม์

เรื่องนี้ต้องถือว่าเป็นโชคชะตาฟ้าลิขิต    ดิฉันไม่เห็นว่าจะเกี่ยวกับเรื่องเพียงพอหรือไม่เพียงพอ   

กราบเรียน อจ. ผมต้องขอบคุณที่ อจ. ชี้แนะตรรกะที่ถูกต้องครับ ผมย้อนกลับไปอ่านสิ่งที่ผมเขียนอีกครั้ง พบว่าไม่มีตรรกะและข้อมูลเชิงวิชาการครับ
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 เม.ย. 14, 20:47

ขออนุญาตคุยด้วยนะคะ
เรื่องเจ้าุคุณจอมมารดาสำลีนั้น ท่านไม่มีพระราชโอรส จึงอยู่ในวังหลวงมาตลอด เมื่อถึงแก่พิราลัยจึงจัดพิธีเช่นนั้น
ส่วนเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระปิยมาวดีฯ อยู่ที่วังสะพานถ่านของพระราชโอรสมาตั้งแต่สิ้นรัชกาลที่ 4
จึงจัดพิธีที่วังของพระราชโอรส และในประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระปิยมาวดีฯ ก็ใช้คำว่า พิราลัย เช่นกันค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 09:37

กรณีที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรที่โปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมหลวงนัเลยทีเดียวนั้น  คงจะเป็นกรณีพิเศษเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาพระราชทานเกียรติยศพิเศษให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระบรมราชชนนี ๒ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟเาฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช  ซึ่งได้ทรงเป็นกำลังสำคัญในราชการมาในรัชสมัย  ส่วนทูลกระหม่อมหญิงใหญ่นี้คงจะเป็นเพราะทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตที่ทรงเจริญพระชันษายืนยาวจนได้ทรงรับราชการในรัชสมัย ทั้งนี้เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ซึ่งในรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานเฉลิมพระอัฐิเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระเทพนารีรัตน สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปแต่ทรงพระเยาว์

ส่วนพระนามกรมที่เป็น "ศรีรัตนโกสินทร์" นั้น  หมายถึงมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นไปตามพระราชนิยมที่พระราชทานพระนามกรมแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ แลพระเจ้าลูกยาเธอตามนามหัวเมืองลูกหลวง  แล้วจึงทรงขนานพระนามกรมตามชื่องมณฑลฝ่ายเหนือฝ่ายใต้  (ภาคอีสานมีพระนามกรมเพียง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา  ไม่มีพระนามกรมเป็นมณฑลอุบลและร้อยเอ็จ)  แล้วจึงเป็นนามหัวเมืองในมณฑลต่างๆ อีกที

ขอบคุณครับ ถ้าเช่นนั้นจากที่คุณ V_mee บอก แสดงว่า รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งพระทัยไว้แต่แรกแล้วหรือครับ ที่จะตั้งพระนามกรมของกรมหลวงว่า ศรีรัตนโกสินทร เพราะก่อนหน้าที่พระองค์จะได้รับการสถาปนา ก็มีพระราชโอรสหลายพระองค์ที่ทรงได้ัรับการสถาปนากรมก่อนแต่ก็ไม่มีพระองค์ใดได้รับพระนามกรมนี้เลย

แล้ว คุณ V_mee พอจะทราบรายละเอียดของธำมรงค์ที่ทรงได้รับพระทานไหมครับ

คุณ wisa คงไม่เข้าใจที่คุณ V_Mee เขียน หรือมิฉะนั้นดิฉันก็คงตีความคำถามของคุณ wisa ผิดเอง     
คุณ V_Mee ไม่ได้บอกว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งพระทัยไว้แต่แรก ที่จะตั้งพระนามกรมของกรมหลวงว่า ศรีรัตนโกสินทร
แต่บอกว่า พระนามทรงกรมนั้นตั้งตามเมืองและมณฑลค่ะ  ส่วนจะเป็นเมืองไหนก็แล้วแต่พระราชอัธยาศัย
บันทึกการเข้า
wisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 10:49

กรณีที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรที่โปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมหลวงนัเลยทีเดียวนั้น  คงจะเป็นกรณีพิเศษเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาพระราชทานเกียรติยศพิเศษให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระบรมราชชนนี ๒ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟเาฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช  ซึ่งได้ทรงเป็นกำลังสำคัญในราชการมาในรัชสมัย  ส่วนทูลกระหม่อมหญิงใหญ่นี้คงจะเป็นเพราะทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตที่ทรงเจริญพระชันษายืนยาวจนได้ทรงรับราชการในรัชสมัย ทั้งนี้เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ซึ่งในรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานเฉลิมพระอัฐิเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระเทพนารีรัตน สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปแต่ทรงพระเยาว์

ส่วนพระนามกรมที่เป็น "ศรีรัตนโกสินทร์" นั้น  หมายถึงมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นไปตามพระราชนิยมที่พระราชทานพระนามกรมแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ แลพระเจ้าลูกยาเธอตามนามหัวเมืองลูกหลวง  แล้วจึงทรงขนานพระนามกรมตามชื่องมณฑลฝ่ายเหนือฝ่ายใต้  (ภาคอีสานมีพระนามกรมเพียง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา  ไม่มีพระนามกรมเป็นมณฑลอุบลและร้อยเอ็จ)  แล้วจึงเป็นนามหัวเมืองในมณฑลต่างๆ อีกที

ขอบคุณครับ ถ้าเช่นนั้นจากที่คุณ V_mee บอก แสดงว่า รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งพระทัยไว้แต่แรกแล้วหรือครับ ที่จะตั้งพระนามกรมของกรมหลวงว่า ศรีรัตนโกสินทร เพราะก่อนหน้าที่พระองค์จะได้รับการสถาปนา ก็มีพระราชโอรสหลายพระองค์ที่ทรงได้ัรับการสถาปนากรมก่อนแต่ก็ไม่มีพระองค์ใดได้รับพระนามกรมนี้เลย

แล้ว คุณ V_mee พอจะทราบรายละเอียดของธำมรงค์ที่ทรงได้รับพระทานไหมครับ

คุณ wisa คงไม่เข้าใจที่คุณ V_Mee เขียน หรือมิฉะนั้นดิฉันก็คงตีความคำถามของคุณ wisa ผิดเอง     
คุณ V_Mee ไม่ได้บอกว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งพระทัยไว้แต่แรก ที่จะตั้งพระนามกรมของกรมหลวงว่า ศรีรัตนโกสินทร
แต่บอกว่า พระนามทรงกรมนั้นตั้งตามเมืองและมณฑลค่ะ  ส่วนจะเป็นเมืองไหนก็แล้วแต่พระราชอัธยาศัย

ขอบคุณ คุณเทาชมพู ที่ช่วยแนะนำผม ให้เข้าใจถูกต้องครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 11:01

คุณ noon มีเกร็ดอะไรจะถ่ายทอดสู่กันฟังอีกไหมคะ  อยากฟังค่ะ
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 13:53

กรณีที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรที่โปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมหลวงนัเลยทีเดียวนั้น  คงจะเป็นกรณีพิเศษเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาพระราชทานเกียรติยศพิเศษให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระบรมราชชนนี ๒ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟเาฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช  ซึ่งได้ทรงเป็นกำลังสำคัญในราชการมาในรัชสมัย  ส่วนทูลกระหม่อมหญิงใหญ่นี้คงจะเป็นเพราะทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตที่ทรงเจริญพระชันษายืนยาวจนได้ทรงรับราชการในรัชสมัย ทั้งนี้เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ซึ่งในรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานเฉลิมพระอัฐิเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระเทพนารีรัตน สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปแต่ทรงพระเยาว์

ส่วนพระนามกรมที่เป็น "ศรีรัตนโกสินทร์" นั้น  หมายถึงมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นไปตามพระราชนิยมที่พระราชทานพระนามกรมแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ แลพระเจ้าลูกยาเธอตามนามหัวเมืองลูกหลวง  แล้วจึงทรงขนานพระนามกรมตามชื่องมณฑลฝ่ายเหนือฝ่ายใต้  (ภาคอีสานมีพระนามกรมเพียง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา  ไม่มีพระนามกรมเป็นมณฑลอุบลและร้อยเอ็จ)  แล้วจึงเป็นนามหัวเมืองในมณฑลต่างๆ อีกที

อาจารย์ขา เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ฯ ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่มาตั้งแต่แรกไม่ใช่หรือคะ ไม่ใช่หลังจากเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัยทรงสิ้นพระชนม์
จำได้เลาๆว่าเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัยทรงประสูติที่หลังค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 14:31

กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรนั้นเมื่อมีพระสูติกาลนั้น พระฉวีขาวผ่อง งดงามยิ่งนัก ซึ่งโบราณถือคติว่า เด็กเกิดแล้วรูปร่างลักษณะดีจะตายเร็ว ฝ่ายในก็กลัวกันหนักหนา ถึงกับอุ้มแล้วทักร้องว่า "น่าเกลียดน่าชัง" เพื่อจะให้คลายความกังวลไป ด้วยความที่มีความน่ารัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงตรัสชมว่า "ลูกพ่องามเหมือนเทวดา"

เมื่อพระชนม์ได้ ๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงอุ้มพระธิดาน้อยๆ และส่งคืนให้เจ้าจอม ทันใดนั้นพระเศียรก็ไปกระทบกับพานแก้ว ทำให้คิ้วนั้นเป็นแผลเลือดออกเป็นรอยแผลเป็นตั้งแต่นั้นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงทรงทักว่า ผีเขาไม่เอาเจ้าแล้วเพราะหน้ามีตำหนิแล้ว
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 15:16

เจ้าฟ้าพระราชธิดาพระองค์แรกในรัชกาลที่ห้า คือองค์ที่ประสูติแต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชาฯ สิ้นพระชนม์แต่แรกประสูติค่ะ
บันทึกการเข้า
wisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 15:20

เจ้าฟ้าพระราชธิดาพระองค์แรกในรัชกาลที่ห้า คือองค์ที่ประสูติแต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชาฯ สิ้นพระชนม์แต่แรกประสูติค่ะ


พระราชกุมาร ครับ

รบกวนถาม คุณ noon ครับ จากที่ทราบมา สมเด็จพระปิยมาวดี สิ้นพระชนม์ ในปี 2447 แต่มีการทำพระศพก็ล่วงมาถึงปี 2453
หลังการพระราชเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์ ทำไมถึงได้มีการเก็บพระศพไว้นานขนาดนั้นครับ
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 เม.ย. 14, 17:20

ขอโทษค่ะ แก้ไขตรงนี้นะคะ เจ้าฟ้าพระองค์แรกในรัชกาลที่ 5 เป็นพระราชโอรสประสูติแต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชาฯ

ส่วนเรื่องงานพระศพ ไม่มีข้อมูลค่ะ แต่สมัยก่อนคนทั่วไปก็เก็บไว้นานเป็นปีก็มีนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง