เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 11423 "เสด็จ" ในละครเรื่อง ลูกทาส น่าจะหมายถึงเจ้านายพระองค์ใดครับ
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


 เมื่อ 11 มี.ค. 14, 20:26

เมื่อคืนวันจันทร์ ผมดูละครเรื่อง ลูกทาส พบฉากที่นางเอก (ในเรื่องชื่อน้ำทิพย์) เอ่ยถึงเสด็จ ซึ่งน้ำทิพย์ไปศึกษางานฝีมือชาววังต่างๆ ท่านคิดว่าเสด็จพระองค์นี้ น่าจะเป็นเจ้านายพระองค์ใดครับ ผมคะเนจากท้องเรื่อง เป็นช่วงต้นของการเลิกทาส ซึ่งเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2417 หากสมมติว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ในช่วงก่อน 2430 ก็ไม่น่าจะเป็นทูลกระหม่อมหญิง สมเด็จ หรือพระองค์หญิงใดๆ ที่เป็นพระราชธิดา ร.5 ได้ทัน คำว่าเสด็จน่าจะหมายถึง เสด็จพระนางสุขุมาลฯ หรือไม่ก็กรมพระสุทธาสินีนาฎ ไม่ทราบว่าตรรกะนี้ โอเคหรือไม่ครับ

และขอเรียนถามเชื่อมไปว่า เสด็จพระองค์นี้ เป็นไปได้ที่จะเป็นพระองค์เดียวกับในเรื่อง สี่แผ่นดิน หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 20:31

น่าจะเป็นพระเจ้าลูกเธอ  พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 4 ค่ะ

เป็นตัวละครสมมุติ ที่คนละองค์กับเสด็จในสี่แผ่นดินแน่นอนค่ะ   ผู้แต่งคนละคนกันนี่คะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 22:43

คำว่าเสด็จน่าจะหมายถึง เสด็จพระนางสุขุมาลฯ หรือไม่ก็กรมพระสุทธาสินีนาฎ ไม่ทราบว่าตรรกะนี้ โอเคหรือไม่ครับ

ไม่ใช่ค่ะ    เสด็จทั้งในเรื่องสี่แผ่นดินและลูกทาส ไม่ปรากฏว่ามีพระอิสริยยศอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า "เสด็จ"    ตามปกตินักเขียนในสมัยนั้นก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งซึ่งมีพระองค์จริงอยู่ในประวัติศาสตร์อยู่แล้ว      จึงมี "เสด็จ" เป็นตัวแทนของเจ้านายฝ่ายใน ในฉากที่นางเอกเป็นลูกผู้ดีถูกส่งตัวไปอยู่ในวัง   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 เม.ย. 14, 09:34

ขออนุญาตบันทึกไว้ ณ ที่นี้

เมื่อวานเป็นตอนจบของ "ลูกทาส"  ถ้าหากสังเกตที่สถิติออนไลน์มากที่สุดของเรือนไทยจะอยู่ที่เมื่อวานนี้ (๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗) คือ ๘๓๑ ครั้ง เมื่อเวลา ๒๒.๔๘ น. โดยเว็บที่ถูกเปิดมากที่สุด ณ เวลานั้นคือ ยศของข้าราชการสมัยก่อน

คนดูคงจะงงกับบรรดาศักดิ์ของตัวละครในเรื่อง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 เม.ย. 14, 10:33

ขออนุญาตบันทึกไว้ ณ ที่นี้

เมื่อวานเป็นตอนจบของ "ลูกทาส"  ถ้าหากสังเกตที่สถิติออนไลน์มากที่สุดของเรือนไทยจะอยู่ที่เมื่อวานนี้ (๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗) คือ ๘๓๑ ครั้ง เมื่อเวลา ๒๒.๔๘ น. โดยเว็บที่ถูกเปิดมากที่สุด ณ เวลานั้นคือ ยศของข้าราชการสมัยก่อน

คนดูคงจะงงกับบรรดาศักดิ์ของตัวละครในเรื่อง  ยิงฟันยิ้ม
ช่างสังเกตจริงๆ  เซนเซเพ็ญ

ดิฉันไม่ได้ดูลูกทาสตอนจบ   คุณเพ็ญช่วยขยายความหน่อยได้ไหมคะ บรรดาศักดิ์ของพระเอกหรืออะไรที่คนดูน่าจะงง
บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 เม.ย. 14, 11:45

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพู และอาจารย์เพ็ญชมพู ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ดูละครจบแล้ว ไปหาข้อมูลใน google ครับ เพราะสถานีที่ละครฉาย บอกว่าบรรดาศักดิ์นี้มีจริง เป็น 1 ใน 9 ตุลาการในยุคนั้น และเคยเป็นทาสมาก่อนจริง แต่ผมไม่พบข้อมูลใดๆ ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 เม.ย. 14, 12:28

เพราะสถานีที่ละครฉาย บอกว่าบรรดาศักดิ์นี้มีจริง เป็น 1 ใน 9 ตุลาการในยุคนั้น และเคยเป็นทาสมาก่อนจริง แต่ผมไม่พบข้อมูลใดๆ ครับ

นาทีที่ ๔.๒๕ - ๘.๑๐




นาทีที่ ๓.๕๕ - ๖.๓๐



พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ได้ขึ้นเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และได้ทรงเปิดโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น แก้วเข้าไปเรียนจนจบเนติบัณฑิตและได้เป็นผู้พิพากษาสมใจ โดยได้บรรดาศักดิ์เป็น "หลวงรัตนอรรถชัย" พระยานิติธรรมก็ได้เลื่อนเป็นถึง "เจ้าพระยานิติธรรมธาดา" เช่นกัน

เรื่องย่อจาก กะปุก

ข้อมูลที่มีจริงคือ เนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ ๑ ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) มีอยู่ ๙ ท่านจริง



พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ และพระองค์ก็ได้ร่วมลงมือสอนด้วยตนเอง

ในที่สุดมีนักเรียนกฎหมายที่สอบไล่ได้ในปีแรก ๙ คน  ล้วนเคยทำงานมาแล้ว

คะแนนแบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นที่หนึ่งมี ๔ คน ชั้นที่สองมี ๕ คน ในชั้นที่ ๑ มีผู้ได้เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ๑ คน คือ นายลออ ไกรฤกษ์

รายนามเนติบัณฑิตรุ่นแรกมีดังต่อไปนี้

ชั้นที่ ๑

๑. นายลออ ไกรฤกษ์ ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหิธร  ได้รับการยกย่องว่าเป็นเนติบัณฑิตคนแรก
๒. นายไชยขรรค์ หุ้มแพร (เทียม บุนนาค) ภายหลังเป็นขุนหลวงพระยาไกรสี
๓. นายบุ สุวรรณศร ภายหลังเป็นหลวงอรรถสารสิทธิกรรม
๔. นายถึก ภายหลังเป็นหลวงนิเทศยุติญาณ

ชั้นที่ ๒
๕. นายทองดี ธรรมศักดิ์ ภายหลังเป็นพระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี
๖. นายจำนงค์ อมาตยกุล ภายหลังเป็นพระยาเจริญราชไมตรี
๗. นายเสนอ งานประภาษ ภายหลังเป็นพระยาพิจารณาปฤชามาตย์(สุหร่าย วัชราภัย)
๘. นายโป๋ คอมันตร์ ภายหลังเป็นพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย
๙. ขุนสุภาเทพ (เภา ภวมัย) ภายหลังเป็นพระยามหาวินิจฉัยมนตรี

ข้อมูลจาก โรงเรียนกฎหมายของกรมหลวงราชบุรี โดย อาจารย์ทวี กสิยพงศ์

นาม "หลวงรัตนอรรถชัย" ไม่ปรากฏใน ๙ ชื่อนี้  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 เม.ย. 14, 12:48

ดิฉันไม่ได้ดูลูกทาสตอนจบ   คุณเพ็ญช่วยขยายความหน่อยได้ไหมคะ บรรดาศักดิ์ของพระเอกหรืออะไรที่คนดูน่าจะงง

ในเรื่องลูกทาส มีการกล่าวถึงบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา

ข้อสงสัยพื้นฐานของคนไทยสมัยนี้เกี่ยวกับบรรดาศักดิ์ของข้าราชการสมัยก่อน เห็นจะเป็นการเรียงลำดับขั้นของบรรดาศักดิ์ สูงต่ำกันอย่างอย่างไร  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ืnoon
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 เม.ย. 14, 17:51

ทางสถานีไม่ได้บอกตอนจบเรื่องค่ะ เป็นช่วงข่าวบันเทิง ถ้าจำไม่ผิดพิธีกรบอกว่า มีลูกทาสที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และสอบได้เป็นตุลาการจริง
แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นบรรดาศักดิ์หลวงรัตนอรรถชัยค่ะ ที่จำได้เพราะตั้งใจจะมาค้นดูเหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 เม.ย. 14, 09:27

เพราะสถานีที่ละครฉาย บอกว่าบรรดาศักดิ์นี้มีจริง เป็น 1 ใน 9 ตุลาการในยุคนั้น และเคยเป็นทาสมาก่อนจริง

ทางสถานีไม่ได้บอกตอนจบเรื่องค่ะ เป็นช่วงข่าวบันเทิง ถ้าจำไม่ผิดพิธีกรบอกว่า มีลูกทาสที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และสอบได้เป็นตุลาการจริง
แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นบรรดาศักดิ์หลวงรัตนอรรถชัยค่ะ

รายนามเนติบัณฑิตรุ่นแรกมีดังต่อไปนี้

ชั้นที่ ๑

๑. นายลออ ไกรฤกษ์ ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหิธร  ได้รับการยกย่องว่าเป็นเนติบัณฑิตคนแรก
๒. นายไชยขรรค์ หุ้มแพร (เทียม บุนนาค) ภายหลังเป็นขุนหลวงพระยาไกรสี
๓. นายบุ สุวรรณศร ภายหลังเป็นหลวงอรรถสารสิทธิกรรม
๔. นายถึก ภายหลังเป็นหลวงนิเทศยุติญาณ

ชั้นที่ ๒
๕. นายทองดี ธรรมศักดิ์ ภายหลังเป็นพระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี
๖. นายจำนงค์ อมาตยกุล ภายหลังเป็นพระยาเจริญราชไมตรี
๗. นายเสนอ งานประภาษ ภายหลังเป็นพระยาพิจารณาปฤชามาตย์(สุหร่าย วัชราภัย)
๘. นายโป๋ คอมันตร์ ภายหลังเป็นพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย
๙. ขุนสุภาเทพ (เภา ภวมัย) ภายหลังเป็นพระยามหาวินิจฉัยมนตรี

ใครคือ "หลวงรัตนอรรถชัย" ตัวจริงหนอ  ฮืม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 เม.ย. 14, 10:11

อาจไม่มีจริงก็ได้หนอ


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ส.ค. 14, 22:53

ขอโทษค่ะ ที่ยกกระทู้เก่าขึ้นมาใหม่  เพิ่งจะมีเวลาอ่านย้อนหลังค่ะ

ขอเรียนถามอาจารย์เทาชมพูค่ะ  กรณีหลวงอรรถฯ ซึ่งถูกแต่งเติมขึ้นนี้โอเคสำหรับการเขียนนิยายใช่ไหมคะ

ป.ล.ขอโทษอีกครั้งค่ะ  ความจริงควรเข้าไปถามในชั้นเรียนวรรณกรรม  แต่ทำไม่เป็น  ไม่ทราบว่าจะยกกระทู้นี้ไปได้ยังไงค่ะ อายจัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ส.ค. 14, 18:58 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ส.ค. 14, 18:59

ถ้าไม่ทำให้ผู้ใดเสียหายก็โอเคค่ะ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ส.ค. 14, 19:18

ขอบพระคุณ อาจารย์เทาชมพูค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง