เพราะสถานีที่ละครฉาย บอกว่าบรรดาศักดิ์นี้มีจริง เป็น 1 ใน 9 ตุลาการในยุคนั้น และเคยเป็นทาสมาก่อนจริง แต่ผมไม่พบข้อมูลใดๆ ครับ
นาทีที่ ๔.๒๕ - ๘.๑๐
นาทีที่ ๓.๕๕ - ๖.๓๐
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ได้ขึ้นเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และได้ทรงเปิดโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น แก้วเข้าไปเรียนจนจบเนติบัณฑิตและได้เป็นผู้พิพากษาสมใจ โดยได้บรรดาศักดิ์เป็น "หลวงรัตนอรรถชัย" พระยานิติธรรมก็ได้เลื่อนเป็นถึง "เจ้าพระยานิติธรรมธาดา" เช่นกัน เรื่องย่อจาก
กะปุกข้อมูลที่มีจริงคือ เนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ ๑ ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) มีอยู่ ๙ ท่านจริง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ และพระองค์ก็ได้ร่วมลงมือสอนด้วยตนเอง
ในที่สุดมีนักเรียนกฎหมายที่สอบไล่ได้ในปีแรก ๙ คน ล้วนเคยทำงานมาแล้ว
คะแนนแบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นที่หนึ่งมี ๔ คน ชั้นที่สองมี ๕ คน ในชั้นที่ ๑ มีผู้ได้เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ๑ คน คือ นายลออ ไกรฤกษ์
รายนามเนติบัณฑิตรุ่นแรกมีดังต่อไปนี้
ชั้นที่ ๑
๑. นายลออ ไกรฤกษ์ ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหิธร ได้รับการยกย่องว่าเป็นเนติบัณฑิตคนแรก
๒. นายไชยขรรค์ หุ้มแพร (เทียม บุนนาค) ภายหลังเป็นขุนหลวงพระยาไกรสี
๓. นายบุ สุวรรณศร ภายหลังเป็นหลวงอรรถสารสิทธิกรรม
๔. นายถึก ภายหลังเป็นหลวงนิเทศยุติญาณ
ชั้นที่ ๒
๕. นายทองดี ธรรมศักดิ์ ภายหลังเป็นพระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี
๖. นายจำนงค์ อมาตยกุล ภายหลังเป็นพระยาเจริญราชไมตรี
๗. นายเสนอ งานประภาษ ภายหลังเป็นพระยาพิจารณาปฤชามาตย์(สุหร่าย วัชราภัย)
๘. นายโป๋ คอมันตร์ ภายหลังเป็นพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย
๙. ขุนสุภาเทพ (เภา ภวมัย) ภายหลังเป็นพระยามหาวินิจฉัยมนตรี
ข้อมูลจาก
โรงเรียนกฎหมายของกรมหลวงราชบุรี โดย อาจารย์ทวี กสิยพงศ์ นาม "หลวงรัตนอรรถชัย" ไม่ปรากฏใน ๙ ชื่อนี้ 