เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 98 99 [100] 101
  พิมพ์  
อ่าน: 420585 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1485  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 18:28

เมื่อดูรูปด้านข้างสะพานเฉลิมโลก
มาดูรูปด้านบน ของ William Hunt จะได้ครบกระบวนการไม่ต้องวนกลับไปมา
ถ่ายเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน 2489 
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ยังไม่ได้สร้าง ถนนเพชรบุรีมาตันที่ถนนราชปรารภ ข้างสะพานเฉลิมโลก
แนวที่เป็นถนนเพชรบุรีตัดใหม่จะเห็นโรงหนังศาลาเฉลิมโลก

ส่วนสะพานเฉลิมโลกดูเหมือนจะมีสะพานคู่ขนานที่เล็กกว่าแต่ยังหาคำอธิบายไม่ได้

เป็นสะพานใหญ่สำหรับทางรถวิ่ง และสะพานเล็กสำหรับคนข้าม โดยสองสะพานแยกห่างกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1486  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 20:29

ภาพจากเอสซีจี 100ปี  มีภาพสวยๆมาให้ดู


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1487  เมื่อ 26 เม.ย. 16, 07:27

ภาพจากเอสซีจี 100ปี  มีภาพสวยๆมาให้ดู

ภาพงานแห่งานหนึ่งบนถนนตีทอง บ้านไหนตีทองคำเปลวบ้างหนอ  ฮืม
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1488  เมื่อ 26 เม.ย. 16, 08:27

ถนนตีทองเราเห็นมานานแต่จะเบลอไม่ชัด ภาพนี้ชัดที่สุดเท่าที่เคยพบ เอามาฝากสมาชิก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1489  เมื่อ 29 เม.ย. 16, 10:53

หนังสือความทรงจำ พระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งมีความว่า...

ฉันมาทราบในภายหลังว่า การทำเสาธงนั้น เกี่ยวกับการเมือง เป็นข้อสำคัญ
ควรจะเล่าให้ปรากฏ คือในเมืองไทยแต่ก่อนมา การตั้งเสาธงมีแต่ในเรือกำปั่น
บนบกหามีประเพณีเช่นนั้นไม่

มีคำเล่ากันมาว่า เมื่อในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงตำแหน่งเจ้าฟ้า โปรดขนบธรรมเนียมฝรั่ง
ให้ทำเสาธงขึ้น ณ พระราชวังเดิม อันเป็นที่เสด็จประทับ
และชักธงบริวารเป็นเครื่องบูชาในเวลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ไปทอดพระกฐิน

เมื่อสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็น ตรัสถามผู้อยู่ใกล้พระองค์ว่า

*****นั่นท่านฟ้าน้อย เอาผ้าขี้ริ้วขึ้นตากทำไม??******

พิเคราะห์เห็นว่า มิใช่เพราะไม่ทรงทราบว่า ทำโดยเคารพตามธรรมเนียมฝรั่ง
ที่มีพระราชดำรัสเช่นนั้น เพราะไม่โปรดที่ไปเอาอย่างฝรั่งมาตั้งเสาชักธงเท่านั้นเอง

คุณเอนก นาวิกมูล บันทึกเรื่องนี้ไว้ใน หมายเหตุประเทศสยามเล่ม 8 ว่า เวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ยังไม่ได้เป็นวังหน้า ส่วน ร.4 ยังทรงผนวช

ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสสั่งให้ทำเสาธงขึ้นทั้งในวังหลวงและวังหน้า
เสาธงวังหลวงให้ชักธงตราพระมหามงกุฏ เสาธงวังหน้าให้ชักธงจุฑามณี (ปิ่น) ...


------------------------------------------------------------------------------------

...คนทั้งหลายก็เข้าใจกันว่า เสาชักธงนั้นเป็นเครื่องหมายพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน

ครั้นเมื่อทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับรัฐบาลฝรั่งต่างประเทศ
มีกงสุลนานาประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งเสาชักธงชาติของตนขึ้น
คนทั้งหลายไม่รู้ประเพณีฝรั่งก็พากันตกใจ โจษกันว่าพวกกงสุลจะเข้ามาตั้งแข่งพระราชานุภาพ

ทรงรำคาญพระทัย ทรงพระราชดำริหาอุบายแก้ไข
ดำรัสสั่ง เจ้านายต่างกรม กับขุนนางผู้ใหญ่ให้ทำเสาธงช้าง ขึ้นตามวังและที่บ้าน

เมื่อมีเสาธงชักมากขึ้น คนทั้งหลายก็หายตกใจ

------------------------------------------------------------------------------
นอกจากพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้วยังมีหลักฐานการมีเสาธงแรกบนแผ่นดินสยาม
ซึ่งอยู่ในหนังสือสาสน์สมเด็จอีกเล่ม
มีใจความการโต้ตอบด้วยลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ ดังนี้

แรกสุด สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงกล่าวว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งบรรยายรูปเสาธงบนป้อมเผด็จดัสกร
ตรงข้ามศาลหลักเมืองเป็นทำนองว่าเก่าแก่มากๆ ทั้งๆ ที่ความจริงเก่าเพียง ๓๑ ปี เท่านั้นเอง เรียกว่าเป็นของเมื่อวานซืน

จากนั้นจึงทรงระลึกถึงเสาธงครั้ง ร. ๔***** ที่ ร. ๔ ทรงสร้างขึ้นบริเวณเก๋งกรงนกหรือสกุณวัน “อันเป็นเสาธงแรกมีในพระบรมมหาราชวัง”

“เสาธงที่ทูลกระหม่อมทรงสร้างขึ้นในบริเวณเก๋งกรงนกอันเป็นเสาธงแรกมีในพระบรมมหาราชวัง
 ต่อมาเมื่อสร้างพระที่นั่งใหม่ ย้ายเสาธงไปตั้งที่สนามหน้าพระที่นั่งใหม่ ครั้นสร้างพระที่นั่งจักรี
ย้ายเสาธงไปตั้งที่หน้าหอรัชฎากร ไม้เสาธงนั้นผุ จะต้องเปลี่ยนใหม่
จึงคิดทำเสาเหล็ก และย้ายไปตั้งที่บนป้อมเผด็จดัสกร...”

จากข้างต้นทำให้ทราบว่าเสาธงแรกอย่างเป็นทางการที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง
ก็คือเสาธงหน้าเก๋งกรงนกหรือกรงเลี้ยงนกขนาดใหญ่ตรงสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอมรอมรินทรวินิจฉัยนั่นเอง
เสาธงนี้ต่อมาถูกย้ายไปที่ใกล้ๆ กันเพื่อสร้างเก๋งใหม่
ครั้นสร้างพระที่นั่งจักรีปราสาท (พ.ศ. ๒๔๑๘ เฉลิมพระราชมณเฑียร พ.ศ. ๒๔๒๕)
ก็ถูกย้ายอีก คราวนี้ย้ายไปตั้งที่หน้าหอรัษฎากรพิพัฒน์
ต่อมาไม้เสาธงนั้นผุ ต้องเปลี่ยนใหม่ จึงทำเสาเหล็กขึ้นแทน แล้วย้ายเสาธงไปตั้งที่ป้อมเผด็จดัสกร

ต่อไปสมเด็จฯ กรมพระยานริศฯ ทรงระลึกบ้าง
ทรงให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าเสาธงที่ว่าแรกมีในพระบรมมหาราชวังนั้นมี ๒ เสา
คือ เสาข้างตะวันออกเป็นเสาแบบจีน ทาสีแดง ใช้ชักธงตราประจำพระองค์ตามรัชกาลในเวลาทำบุญพระบรมอัฐิ
และเสาข้างตะวันตกเป็นเสาอย่างฝรั่ง ทาปล้องขาวปล้องดำ ใช้ชักธงสแตนดาดทุกวัน
ส่วนในเวลากลางคืน เสาจีนจะชักโคมคอนนกแก้ว ๒ ดวง และเสาฝรั่งชักโคมคันกังหันดวงเดียว กับหางนกยูง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1490  เมื่อ 29 เม.ย. 16, 11:38

 อีกตอนที่กล่าวถึงเก๋งกรงนก ในพระประวัติ กรมสมเด็จดำรงฯ

เมื่ออายุได้ ๗ หรือ ๘ ปี  ได้เริ่มเรียนหนังสือขอมกับพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม)  ครั้งยังเป็นหลวงราชาภิรมปลัดกรมราชบัณฑิต  
ที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์พร้อมด้วยเจ้าพี่หลายพระองค์  อันที่จริงเรียนมคธภาษา  
แต่ต้องเรียนตั้งแต่อ่านหนังสือขอมที่เป็นเครื่องใช้เขียน และจารตำหรับเรียน  เรียกอย่างหมิ่นเหม่  แต่บุพพภาคว่า  เรียนหนังสือขอม  
ใครชักนำให้ไปเรียนหารู้ไม่  ในเวลานี้เราก็หลากใจว่า  อายุเท่านั้นเริ่มเรียนมคธภาษาแล้ว
 เราเป็นเด็กที่สุดในหมู่เจ้านายผู้เรียนอยู่  
ตั้งแต่หัดอ่านหนังสือขอมตลอดถึงเรียนบทมาลาที่เรียกว่า ไวยากรณ์
ในบัดนี้อาจารย์ลำบากมาก  ต้องเขียนต่อลงในสมุดดำให้ศิษย์ทุกพระองค์
 ต่อขึ้นคัมภีร์คืออรรถกถาธรรมบท  จึงค่อยสะดวก  ไม่ต้องเขียน  
อาจารย์ของเราแกมีใจดีเยือกเย็น  
แต่แกเป็นข้าราชการฝ่ายหน้า  แกไม่อาจตั้งตัวเป็นอาจารย์แกถ่อมตัว  แกไหว้พวกเรา พูดอย่างอ่อนน้อม  
เราหาได้ความรักใคร่สนิทสนมฉันครูกับศิษย์ไม่  ออกจะเห็นเป็นครูชั้นเลว  แต่ก็ยังคมคือยกมือไหว้แก  
เราเรียนต่อมากับท่านอาจารย์นี้จนถึงรัชกาลที่ ๕  แต่ย้ายสถานมาเรียนที่เก๋งกรงนก  หรือสกุณวัน  
เรียกชื่ออย่างนั้นเพราะเดิมมีกรงนกใหญ่  ทำเขาและผาไว้ในนั้น  
เลี้ยงนกและสัตว์จตุบทเล็กๆ  เราจำได้ว่ามีกระจง  
มีเก๋งอยู่สี่ทิศของกรงนก  แต่ในเวลาที่มาเรียนนั้น  กรงนกรื้อเสียแล้วทำเป็นศาลาใหญ่  ชื่อเก๋งวรสภาภิรมย์  ที่สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  
ครั้งยังเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  นั่งว่าราชการ  
เก๋งหลังที่เราเรียนหนังสือนั้น  ชื่อราชานุอาสน์ (อีกประวัติเขียนว่าราชานุราชอาสน์)
อยู่หน้าพระทวารเทเวศรรักษาแห่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย  มีทางเดินคั่นในระวางเท่านั้น  แต่เรียนอยู่ไม่นานก็เลิก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1491  เมื่อ 29 เม.ย. 16, 13:36

จากภาพประตูนํ้า คลองแสนแสบ เมื่อเอามาขยายจะเห็นรายละเอียดเพิ่ม
จะเห็นโรงหนังศาลาเฉลิมโลก ที่อยู่ในแนวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ที่จะตัดเพิ่มในเวลาต่อมา
อีกภาพจะเป็นทางรถไฟสายแม่นํ้า ที่เชื่อมระหว่าสถานีมักกะสันกับคลองเตย คลังนํ้ามันช่องนนทรี โรงกลั่นบางจาก
เป็นเส้นทางรถไฟขนสินค้า แต่ให้มีผู้โดยสารบ้าง(จากเวปรถไฟไทย)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1492  เมื่อ 30 เม.ย. 16, 09:05

ถนนเจริญกรุงด้านในกำแพงพระนครชาวบ้านเรียกกันอย่างสามัญว่า ถนนใหม่ หรือ new road
มีประตูเมืองที่เรียกว่าประตูสามยอด สร้าง-ประมาณ-ปี 2430 แทนประตูเดิมที่พัง
ประตูสามยอดน่าจะรื้อไปราวปี 2444 หรือ 2445 (จากขุนวิจิตรมาตราในหนังสือ กรุงเทพเมื่อวานนี้)
ภาพถนนเจริญกรุงสองภาพนี้ ภาพหนึ่งมีประตูสามยอด อีกภาพไม่มีประตูแล้ว
คงจะถ่ายใกล้เคียงกัน ประมาณปี 2444 ( - +)
ภาพที่สองเขียนว่า photo by j antonio
ท่านเล่าว่าถนนเจริญกรุงจากสะพานมอญ จนจดถนนมหาไชย ปลูกต้นหูกวางเป็นระยะๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1493  เมื่อ 30 เม.ย. 16, 09:24

แผนที่ส่วนบนของเกาะรัตนโกสินทร์
แผ่นแรก ปี พศ.2475
แผ่นที่สอง ปี พศ.2490
ในระยะสิบห้าปีมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1494  เมื่อ 01 พ.ค. 16, 09:00

วันนี้เป็นภาพของด๊อกเตอร์เพนเดิลตัน ที่ถ่ายไว้ช่วง 2490 ต้นๆ
ภาพพวกนี้เราคงเคยเห็นกันแล้ว  
ภาพแรกเยาวราช เมื่อ 31 มีนาคม 2491 รถลากกลายเป็นรถขนของ ผู้โดยสารหันไปนั่งสามล้อแทน
ภาพที่สองสะพานเจริญสวัสดิ์ หัวลำโพง ถ่ายวันเดียวกับภาพแรก
ภาพตลาดสะพานหัน 31 มีนาคม 2491 เหมือนกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1495  เมื่อ 01 พ.ค. 16, 09:05

ตลาดน้อย 23 มีนาคม 2491
ถนนเจริญกรุงแถวสี่พระยาเห็นตึกนายเลิศ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1496  เมื่อ 02 พ.ค. 16, 09:42

ภาพเยาวราชต่อจากเมื่อวาน ยุค พศ.2491 เห็นด้านหน้าโรงหนังศรีราชวงศ์
ป้อมมหากาฬ   เมื่อประมาณ พศ. 2500 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1497  เมื่อ 02 พ.ค. 16, 19:50

ภาพโปสการ์ดของนาย ไว เอบาต้า ชื่อ city wall มุมกล้องเหมือนภาพบน
โปสการ์ดส่งจากนครราชสีมาไปอุบล
ที่ด้านหลังไปรษณีย์ประทับวันที่ ๑๒-๑๐-๖๘ หมายถึงวันที่ ๑๒ เดือน ๑๐ ปี พศ.๒๔๖๘
กับ 12-1-1924 คือ วันที่ 12 เดือน มกราคม คศ 1924  ซึ่งเป็นวันเดือนปีเดียวกัน


วันที่ (ไทย) ๑๒ เดือน ๑๐ คือเดือนมกราคม (เริ่ม นับเดือนเมษายน เป็นเดือน ๑) พศ ๒๔๖๘
เดือน ๑๑ คือ กุมภาพันธ์  ไปหมดเดือนสุดท้าย  ๑๒ คือ  มีนาคม  

ส่วนวันที่ฝรั่ง ตรงตามสากล

เรานับวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันปีใหม่ตั้งแต่ ปี๒๔๓๒ ถึง๒๔๘๓
ก่อนหน้าเราถือวันขึ้น ๑ คํ่าเดือน ๕ เป็นวันปีใหม่
หลังจากปี ๒๔๘๓ เรานับวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันปีใหม่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1498  เมื่อ 03 พ.ค. 16, 08:30

ภาพวัดในกรุงเทพ เป็นภาพสะสมของนาย Galileo Chini
อุโบสถหลังเล็กๆที่ทรุดโทรม ลักษณะเรียบง่ายไม่มีลวดลายประดับ หน้าบันไม่มีลายใดๆ
มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่สวยงาม ประดับลวดลายเต็มที่
คงจะถ่ายในราว พศ 2454-2456


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1499  เมื่อ 03 พ.ค. 16, 15:44

มีภาพเก่าที่มีคำบรรยายไว้ว่า  "1902-silom-road-scene-near-charoen-krung-crossing-bkk"
หมายความว่าเป็นภาพถนนสีลมที่ไปออกถนนเจริญกรุง อย่างที่ผมเรียกว่า สามแยกบางรัก

เวลาตามที่เขียน   ปี พศ 2445 อาจจะเป็นไปได้
แต่ตัวถนน   ดูไปแล้วไม่เหมือนสีลม  ถนนสีลมมีคลองขุดกว้างถึง 6 วา หรือ 12 เมตร
ในภาพไม่มีคลองให้เห็น
ที่พอจะเข้าได้   มีต้นประดู่ริมถนนอย่างที่ถนนสีลมปลูกไว้จริง

ถนนสีลมในยุคแรกเป็นสวน ที่ดินเลี้ยงแพะเลี้ยงวัวของพวกแขก นานๆถึงจะมีบ้านสักหลัง
เป็นบ้านหลังใหญ่ ไม่ใช่กระจุกตัวแน่น หรือมีคนพลุกพล่านอย่างในรูป

ในภาพเป็นย่านพลุกพล่าน ย่านค้าขาย อย่างแถวเยาวราช เจริญกรุง ตลาดน้อย

ผมไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นถนนสีลมจริง
เรียนถามท่านผู้รู้ว่าเป็นถนนอะไรกันแน่หรือใครทราบช่วยบอกด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 98 99 [100] 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง