เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 95 96 [97] 98 99 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 420556 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1440  เมื่อ 10 เม.ย. 16, 13:10

หลังคาเหล็กโค้ง มาจากสัญชาติเยอรมัน (วิศวกรต่างชาติของกรมรถไฟหลวง)
มุขซ้ายขวาสีเหลืองนวลที่เป็นตัวจบปลายอาร์ค และถูกเช่ือมถึงกันด้วยทางเข้าหลัก ที่เป็นdeckข้างบน มาจากสัญชาติอิตาเลียน (นายช่างออกแบบของกรมโยธาธิการ-มารีโอ ตามัญโญ)  มุขนี้มีรูปแบบเดียวกับโดมเล็กของพระที่นั่งอนันตฯที่สร้างร่วมสมัยกัน เพียงแต่ตัดหลังคาโดมออก ส่วนเสาใหญ่เล็กของทางเข้าเป็นสไตล์เดียวกับรั้วของพระที่นั่งฯ
เลยเป็นรูปแบบเยอรมันผสมอิตาเลียน เฉพาะตัว ใครเห็นก็บอกได้ว่านี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีหัวลำโพง


ดูภาพอีกมุมมองคือภาพในระยะไกล


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 1441  เมื่อ 10 เม.ย. 16, 15:54

ถนนพระรามที่๔ยังไม่ได้ขยาย คลองหัวลำโพงยังไม่ถูกถม ยังเห็นตึกแถวและสถานีหัวลำโพงของรถรางสายปากน้ำ แต่รถรางไฟฟ้าสายนี้เลิกให้บริการไปแล้วตั้งแต่ ๑ ม.ค.๒๕๐๓  กลิ่นน้ำครำของคลองหัวลำโพงช่วงนี้ยังจำติดจมูกอยู่ คลองในกรุงเทพช่วงเวลานั้นดำปี๋แทบทุกคลอง ผู้รับผิดชอบคือเทศบาลนครกรุงเทพ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1442  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 10:10

ถนนบำรุงเมือง   รถรางจอดที่ป้าย ถ่ายจากแยกแม้นศรีเข้าในเมือง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1443  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 17:12

ภาพฝั่งธนบุรีที่ถ่ายจากเจดีย์วัดโพธิ์  คิดว่าถ่ายจากเจดีย์ประจำ ร3 องค์ใต้สุด
มองผ่านหลังคาศาลต่างประเทศ ที่มีเสา(ไม่รู้ว่าเสาอะไร?)อยู่ด้านหน้า
ฝั่งตรงข้ามน่าจะเป็นบริเวณพระราชวังเดิม ? ดูรกทึบเต็มไปด้วยต้นไม้
ประมาณเวลาของรูป  ราว ตั้งแต่สร้างศาลต่างประเทศ ถึงพศ. 2450

ภาพที่สองเป็นแนวทางของมุมกล้อง  ที่ลองเสนอว่าเป็นแบบนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 1444  เมื่อ 12 เม.ย. 16, 06:57

ฝั่งตรงข้ามตอนนี้น่าจะเป็นหอประชุมกองทัพเรือมากกว่าพระราชวังเดิม หลังคาพระวิหารหรือพระอุโบสถเห็นยอดพระเจดีย์ด้านขวาของภาพก็คงเป็นวัดเครือวัลย์
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1445  เมื่อ 12 เม.ย. 16, 08:10

วันที่ 14 ธค. พศ 2487  เวลา 9.40 น.     ในช่วงสงครามโลก
เครื่องบิน B 29 ของสัมพันธมิตร 33 ลำ (คุณสรศัลย์ เขียนในหนังสือ หวอ ว่า 30 ลำ)
เข้ามาทิ้งระเบิดกรุงเทพ โดยมีจุดหมายทำลายสะพานพระราม 6  แต่ทำลายไม่สำเร็จในวันนั้น
 มีเครื่องบินลำหนึ่งเข้าใจผิด ไปทิ้งระเบิดสะพานพุทธ เสียหายขาดไปช่วงหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1446  เมื่อ 13 เม.ย. 16, 07:51

พระราชพิธีเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมา ระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าขึ้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439

รายละเอียด พระราชพิธี มีดังนี้

     เวลา  10.00  น. พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ 
เสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนรถพระที่นั่ง ออกจากพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวไปตามถนนบำรุงเมือง 
แล้วเลี้ยวไปทางถนน  หน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสพานกรมรถไฟ ข้ามสพานไปเทียบพะรที่นั่ง ณ ที่พักรถม้า
ในบริเวณรถไฟ  พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น พิทยลาภพฤติธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ 
และข้าราชการกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ พร้อมกันรับเสด็จอยู่ที่นั่น

      ครั้นเสด็จฯ  ลงจากรถพระที่สั่งแล้ว หม่อมเจ้าหญิงมุมนมาลย์  ใน  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติธาดา 
ได้ทูลเกล้าฯ ถวายดอกกุหลาบมัดแด่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราินีนาถ

      เมื่อมีพระราชดำรัส  พอสมควรแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปตามทางซึ่งดาดปรำตกแต่งเป็นระยะทาง 3 เส้น 
จึงถึงโรงพระราชพิธี ซึ่ง  ณ ที่นั้น มีพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมห้าม เจ้านาย ข้าราชการ และภรรยา
 ตลอดจนทูตานุทูต และภรรยา  กับผู้มีบรรดาศักดิ์ และพ่อค้าบรรดาที่ได้รับเชิญ
ได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก

      เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส กับบรรดาที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพะรบาท บางท่านแล้ว
 ก็ทรงจุดเทียนนมัสการ ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จพระราชดำเนินสู่ที่ ซึ่งจะได้ทำพระราชพิธี ที่หน้าพลับพลา
ตรงที่ได้เทมูลดิน ซึ่งทรงขุดกระทำพระฤกษ์ เริ่มการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2434 
ทรงตรึงหมุดที่รางทองรางเงิน ข้างเหนือให้ติดกับหมอนไม้มริดคาดเงิน มีอักษรจารึก เป็นพระฤกษ์ 
พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่  15  รูป  มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธาน
สวดคาถาชัยมงคล เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรพิณพาทย์ และแตรวงขึ้นพร้อมกัน
แล้ว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ จึงทรงตรึงรางเงินรางทอง ลงเหนือหมอนไม้มรดคาดเงิน 
มีอักษรจารึก ซึ่งทอดไว้ทางด้านใต้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต
ทั้งชายหญิง ช่วยกันตรึงต่อไป 
จนเสร็จทั้ง 2 ราง ซึ่งนับว่าทางรถไฟ ในระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าติดต่อกันแล้ว  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

     ต่อจากนั้น  พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่โรงพิธี ประทับหน้าพระบัลลังก์
ซึ่งจัดตั้งพระราชอาศน์คู่หนึ่งอยู่ใต้เพดานแพร
มีธงบรมราชธวัชดาดอยู่ด้านหลังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น พิทยลาภพฤฒิธาดา
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ทรงอ่านคำกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว
มิสเตอร์เบทเก เจ้ากรมรถไฟ อ่านรายงานกราบบังคมทูพระกรุณา
ต่อจากนั้น พระองค์ได้มีพระราชดำรัส แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ ์เป็นบำเหน็จ  แก่เจ้าพนักงานกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ

     ต่อมา เจ้าพนักงานกรมรถไฟ  ได้เคลื่อนขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง
 ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินประทับ เป็นพระฤกษ์
เข้ามาเทียบ ที่หน้าพลับพลา  เมื่อพระองค์ทรงเจิมรถไฟพระที่นั่งแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระชัยแนาวโลหะขึ้นสู่รถนำ 
พร้อมด้วยพระราชาคณะผู้ใหญ่ 3 รูป มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ และ หม่อมเจ้าพระศรีสุคตดัติยานุวัตร
กับพระราชาคณะฝ่ายรามัญ 1 รูป ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  1 รูป 
สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และโปรยทรายไปในรถนำ
ซึ่งอยู่หน้าพระที่นั่งแล้ว พระองค์ก็เสด็จพะรราชดำเนินขึ้นสู่รถพระที่นั่ง
(ส่วนสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถนั้น ไม่ได้โดยเสด็จด้วย  เมื่อส่งเสด็จจนรถพระที่นั่งเคลื่อนออกจากหน้าพลับพลาแล้ว จึงได้เสด็จพะรราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง)
โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูตและพ่อค้า ตามเสด็จขึ้นสู่รถพ่วงคัน ต่อจากรถพระที่นั่งตามลำดับ

     ครั้นพร้อมแล้ว  ขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง ซึ่งนับเป็นรถโดยสารขบวนแรก
ก็เคลื่อนออกจากที่พระสงฆ์ ที่ยังเหลือ 10 รูป มีสมเด็จพระวันรัต เป็นประธานสวดคาถาถวายชัยมงคลอีกครั้งหนึ่ง 
ชาวประโคม ก็ประโคมสังข์  แตรและพิณพาทย์พร้อมกัน

     รถพระที่นั่งดังกล่าว ได้วิ่งผ่านสถานีรายทางซึ่งตกแต่ง
ประดับประดาด้วยธงและรายทางซึ่งตกแต่งประดับประดา ด้วยธงและไบไม้ไปตามลำดับ 
จนกระทั่ง13.00 น. เศษ  จึง่ถึงพลับพลาหลวง สถานีพระราชวังบางปะอิน
ที่นี่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินลงจากรถพระที่นั่ง ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน 
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย และทูตานุทูต

     ครั้นเสวยแล้ว  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
จึงกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว
แล้วพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต พร้อมกันถวายชัยมงคล 
ต่อจากนั้น พระองค์ได้พระราชทานพร แก่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
และกรมรถไฟ แล้วพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง
ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ส่วนผู้ที่ไม่ได้ตามเสด็จทางกรมรถไฟ ได้จัดรถไฟอีกขบวนหนึ่ง นำกลับเข้ากรุงเทพฯ)

     เมื่อขบวนรถไฟพระที่นั่ง เคลื่อนออกจากสถานีบางปะอิน บรรดาข้าราชการ และทูตานุทูต ชาวต่างประเทศ
ที่ไม่ได้ตามเสด็จ ได้โห่ถวายชัยมงคล 3 ลา
ต่อจากนั้น ขบวนรถไฟพระที่นั่ง ก็ได้วิ่งมาถึงสถานีกรุงเก่า 
ณ ที่นั่น มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
และข้าราชการหัวเมือง มาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากที่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธีเปิด ศาลาว่าการรัฐบาลแล้ว
 เวลา 16.00 น. เศษ พระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง กลับกรุงเทพฯ  ถึงกรุงเทพฯ เวลา 18.00 น. เศษ


ภาพแรก สมเด็จฯทรงตรึงรางหมุดเป็นปฐมฤกษ์
ภาพที่สอง สเตชั่นรถไฟหรือชาวบ้านเรียกว่าสเตแท่น เป็นสถานที่ทำพิธีเปิดในวันนั้น

ภาพอีกหนึ่งภาพในพิธีเปิดทางรถไฟครั้งแรก ที่สถานีสเตชั่นรถไฟ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1447  เมื่อ 13 เม.ย. 16, 09:10

ภาพวันเดียวกัน ?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1448  เมื่อ 13 เม.ย. 16, 18:28

ภาพวันเดียวกัน ?

ภาพการตกแต่งอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟสายแปดริ้ว
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1449  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 07:31

วันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2475

เป็นวันเริ่มการฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 150 ปี

โดยในวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระที่นั่งราชยานพุดตานทองเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารค 
จากพระบรมมหาราชวังเพื่อทรงนมัสการบูชาปูชนียวัตถุ ณ วัดบวรนิเวศวิหารและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
และทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีกระบวนแห่นำและตามเสด็จไปยังพระโรงราชพิธีที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมรูป พระปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
 ซึ่งเชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี ถือเป็นอนุสรณ์ที่ยิ่งใหญ่ของงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ในครั้งนี้
จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินลงประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคไปเทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษฐ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1450  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 07:42

พิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
เมื่อ  วันที่ 5 ธันวาคม  2436


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1451  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 07:44

พิธีรัชดาภิเษก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1452  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 13:03

สถานีรถไฟหัวลำโพง ไม่ทราบเวลา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1453  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 14:25

สะพานผ่านฟ้า ป้อมมหากาฬ     น่าจะมีสะพานมหาดไทยอุทิศแล้ว
ต้องเป็นหลัง พศ. 2457   ยังเห็นแนวกำแพงเมืองตามถนนพระสุเมรุ

ตรงสามแยกปากคลองมหานาค บริเวณด้านหลังป้อมมหากาฬ มีตึกโบราณหลังหนึ่ง
เป็นอาคารชั้นเดียวที่พระยาญาณประกาศ (เลื่อน ศุพศิริวัฒน์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารหลังนี้ใช้เป็นท่าเรือต้นทาง
สำหรับเจ้านายและข้าราชการที่จะเดินทางไปเฝ้าฯสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ซึ่งทรงย้ายไปประทับที่วังสระปทุม ริมคลองแสนแสบ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๙
นอกจากนั้นแล้ว ยังเล่ากันว่า อาคารท่าเรือหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายที่เสด็จมาทอดพระเนตรการเล่นสักวาในคลองโอ่งอ่าง
ซึ่งในระยะหลังการเล่นสักวามักมีในช่วงงานภูเขาทอง กลางเดือน ๑๒ วันลอยกระทง งานมีถึง ๑๐ วัน ๑๐ คืน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1454  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 19:50

รูปปี พศ 2508 มาเปรียบเทียบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 95 96 [97] 98 99 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง