เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 94 95 [96] 97 98 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 418984 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1425  เมื่อ 06 เม.ย. 16, 09:24

ภาพแรก เมื่อกลับด้านให้ถูกจะเป็นอย่างนี้  ป้อมมหายักษ์ต้องอยู่ด้านขวาของวิหารพระนอน หรือ ขวาของประตูนกยูง
            ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี พศ 2404

ภาพที่สอง ถ่ายหลังจากภาพแรกสี่ปี เป็นของ จอห์น ทอมสัน เห็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ สี่กำลังก่อสร้าง  ภูมิสถานหน้าวัดก็เปลี่ยนไปมาก



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1426  เมื่อ 06 เม.ย. 16, 14:51

ภาพของ เจ แอนโตนิโอ ประมาณคราวๆ ราวปี 2450 (+-)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1427  เมื่อ 07 เม.ย. 16, 08:38

หอระฆังวัดเทพธิดาราม ปี 2404


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1428  เมื่อ 07 เม.ย. 16, 08:43

เสาชิงช้าต้นเก่าก่อนที่จะย้ายมาอยู่บนถนนหน้าวิหาร น่าจะปลายรัชกาลที่ สี่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1429  เมื่อ 07 เม.ย. 16, 08:49

วัดกัลยาณมิตร ร่วมสมัยภาพข้างบน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 1430  เมื่อ 07 เม.ย. 16, 12:47

เสาชิงช้าต้นเก่าก่อนที่จะย้ายมาอยู่บนถนนหน้าวิหาร น่าจะปลายรัชกาลที่ สี่
จุดที่น่าสังเกตคือ ไม่มีเสาคู่สั้นยึดขนาบที่โคนเสาตัวหลัก อย่างที่มีในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1431  เมื่อ 08 เม.ย. 16, 08:52

ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม  ของ  วิลเลี่ยม ฮันท์
มีวันที่บอกไว้ขอบด้านล่างของภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1432  เมื่อ 09 เม.ย. 16, 09:12

Tamagno continued with the Hua Lampong Railway Station in 1910,
 a familiar Bangkok landmark near Chinatown.
The station was completed in 1912


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
walai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64


ความคิดเห็นที่ 1433  เมื่อ 09 เม.ย. 16, 09:54

 ???อยากทราบความเป็นมาในการก่อสร้างค่ะ  ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1434  เมื่อ 09 เม.ย. 16, 10:28

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1435  เมื่อ 09 เม.ย. 16, 17:09

ประวัติสถานีรถไฟหัวลำโพง
   
   

“สถานีรถไฟกรุงเทพ” หรือเรียกกันทั่วไปว่า “หัวลำโพง”
เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือในปี 2453
การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการ
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯทรงกระทำพิธี กดปุ่มสัญญาณไฟฟ้า
ให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2459

“สถานีรถไฟกรุงเทพ” สร้างอยู่ในพื้นที่ 120 ไร่เศษ
อยู่ห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศใต้ ประมาณ 500 เมตร
ตั้งอยู่ใน ท้องที่ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
 มีอาณาเขตทิศใต้จรดถนนพระราม 4 ทิศเหนือจรดคลองมหานาค ทิศตะวันออก จรดถนนรองเมือง
และทิศใต้จรดคลองผดุงกรุงเกษม
สำหรับที่ตั้งของสถานีกรุงเทพเดิมซึ่งอยู่บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
ทรงประกอบพระราชพิธีเริ่มการก่อสร้างและเปิดเดินรถไฟหลวงนั้น หลังจากได้ก่อสร้างสถานีกรุงเทพหลังปัจจุบันแล้ว
จึงรื้อถอนออกไป
ต่อมาผู้ปฏิบัติงานรถไฟได้ร่วมกันสละทรัพย์สร้างเป็นอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงขึ้น
เมื่อปี พ.ศ.2533 เพื่อเป็นการ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเป็นอนุสรณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์แก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป

“สถานีกรุงเทพ” มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง
มีลักษณะคล้ายกับสถานี รถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
อีกทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนีเช่นกัน
ลวดลายต่างๆที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตรสวยงามมาก
บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสารหรือ
โรงแรมราชธานีเดิมเป็นหินอ่อน โดยเฉพาะเพดานเป็นไม้สักสลักลายนูน
ซึ่งหาดูได้ยาก จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่ง
คือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ซึ่งติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคารเช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลา
ที่มีอายุเก่าแก่เท่าๆกับตัวอาคารสถานี โดยติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานี
เป็นนาฬิกาที่สั่งทำพิเศษเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิต
แสดงให้เห็นเหมือนนาฬิกาอื่นๆ นาฬิกาเรือนนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร
ควบคุมด้วยไฟฟ้าระบบ ดี.ซี.จากห้องชุมสาย โทรศัพท์กรุงเทพ
เป็นเครื่องบอกเวลาแก่ผู้สัญจรผ่านไป-มา และผู้ใช้บริการที่สถานีกรุงเทพจนถึงปัจจุบันนี้

บริเวณด้านหน้าสถานีกรุงเทพมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน
โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์เป็นมูลค่า 9,150.-บาท
จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯอุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร”
มีพระบรมฉายาลักษณ์ด้านข้างแบบลายนูนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่
เดิมสถานีกรุงเทพใช้เป็นที่รับ-ส่ง ทั้งผู้โดยสารและสินค้า
โดยถ้าเรายืนอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีและหันหน้าเข้าสู่สถานี ภายใต้พื้นที่หลังคารูปครึ่งวงกลมจะเป็นส่วนให้บริการแก่ผู้โดยสาร
พื้นที่ด้านขวามือเป็นที่ตั้งของโรงแรมราชธานี
ปัจจุบันนี้ เป็นที่ทำการกองโดยสาร และด้านซ้ายมือจะเป็นที่ทำการรับ-ส่งสินค้า
ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดจอดรถแท๊กซี่
โดยในส่วนพื้นที่บริการด้าน สินค้านี้ การรถไฟฯได้พิจารณาให้ย้ายไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503
เนื่องจากมีการขยายตัวทั้งด้านการโดยสาร และสินค้าประกอบกับ การจราจรบริเวณหน้าสถานีเริ่มมีปัญหา
อีกทั้งเพื่อปรับปรุงย่านสถานีกรุงเทพเสียใหม่ให้สามารถรองรับ การโดยสาร ที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นทุกๆปี

สถานีกรุงเทพได้รับการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับการสภาพการโดยสารตลอดมา
เป็นต้นว่าการขยายความยาวของชานชาลา
หรือก่อสร้างชานชาลาและหลังคาคลุมชานชาลาเพิ่มเติม
ปรับปรุงห้องจำหน่ายตั๋ว โดยแยกเป็นห้องจำหน่ายตั๋วประจำวันและ ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า
จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆแก่ผู้โดยสารและผู้ที่มารับส่ง เช่น ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านค้าเบ็ดเตล็ด
ร้านขายหนังสือพิมพ์ ที่ทำการไปรษณีย์ เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วสถานีกรุงเทพยังเป็นสถานที่รณรงค์ต่อต้านภัยจากการสูบบุหรี่โดยจัด
ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่เพื่อสุขภาพของผู้โดยสารของทุกคนส่วนรวม
ในปี 2541 สถานีกรุงเทพได้รับการปรับปรุงในส่วนพื้นที่รองรับ ผู้โดยสารหรือผู้เข้ามาใช้บริการอื่นๆ
แบบที่เรียกว่า“พลิกโฉม” โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของรถไฟไทยให้ตอบรับกับ ปีอะเมซิ่งไทยแลนด์
และรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ระหว่างวันที่ 6 – 20 ธันวาคม พ.ศ.2541
โดยการรถไฟฯได้คัดเลือกและแต่งตั้งบริษัทไทยสินเอ็กซ์เพรส จำกัด
ซึ่งมีประสบการณ์ในการบูรณะและพัฒนาอาคาร อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์หลายแห่งมาแล้ว
ให้เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าต้องอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีกรุงเทพ ให้อยู่ในสภาพเดิม
เนื่องจากเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์

ในการปรับปรุงอาคารสถานีกรุงเทพจะประกอบด้วยการปรับปรุงพื้นที่ 2 ข้างในห้องโถงอาคารให้เป็นร้านขายอาหารและ ร้านค้า
โดยมีชั้นลอยเพื่อเป็นที่นั่งคอยของผู้โดยสารเป็นการเพิ่มบริการให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย
ในการนั่งรอและสามารถ เลือกซื้อ อาหาร ตลอดจนของใช้จำเป็นอื่นๆได้ตามความต้องการ
โดยมีร้านค้าหลากหลาย อาทิ ร้านอาหาร , ขนม ,เครื่องดื่ม ,ผลไม้ ,ขนมปังและเบเกอรี่, ไอศกรีม, อาหารจานด่วน, อุปกรณ์การเดินทาง, หนังสือ และร้านขายยา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ให้ บริการด้านการท่องเที่ยว,บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน,บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ,ตู้ เอ.ที.เอ็ม. และห้องละหมาด เป็นต้น

สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วประจำวันก็ได้จัดสร้างขึ้นใหม่
โดยหันหน้ารับผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในสถานีบนชั้น 2 ของห้อง
 ขายตั๋วทำเป็นพื้นที่ทำงานของพนักงาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสะดวกในการปฏิบัติงาน
 ส่วนที่เป็นห้องโถงจะคงสภาพเดิมไว้ เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารจำนวนมากๆได้
ในส่วนชานชาลาได้เพิ่มเติมร้านขายของ และจัดเป็นที่พักสำหรับผู้โดยสารที่มารอ การเดินทางด้วย
ทางด้านข้างของอาคารสถานีทิศตะวันตก หรือคลองผดุงกรุงเกษม
ก่อสร้างเป็นหลังคาคลุมใหม่เป็นรูปโค้งครึ่ง วงกลมครอบคลุมพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร
เป็นพื้นที่สำหรับรองรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออกให้ได้รับความสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม
การปรับปรุงเพื่อพลิกโฉมของสถานีกรุงเทพใหม่ที่กล่าวมานี้แล้วเสร็จและจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2541

“สถานีกรุงเทพ” เป็นสถานีเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง
ถ้านับอายุจนถึงปัจจุบัน(พ.ศ. 2544)ก็มีอายุถึง 85 ปีแล้ว
ปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ ในแต่ละวันจะมีขบวนรถเข้า-ออก ประมาณ 200 ขบวน
และมีผู้โดยสารเดินทางเข้าและออกที่สถานีนี้ นับหมื่นคนเลยทีเดียว
โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์สำคัญๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา
หรือตรุษจีนจะมีผู้คนหลั่งไหล มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพนี้นับแสนคน
จนสถานที่อันกว้างขวางโอ่โถงของสถานีแห่งนี้ดูคับแคบลงไปเลยทีเดียว
นอกจากความเก่าแก่ แล้ว“สถานีกรุงเทพ”ยังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม
และการคมนาคมขนส่ง สมควรยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกของชาติและอนุชนรุ่นหลังสืบไป
 
   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1436  เมื่อ 09 เม.ย. 16, 17:19

“สถานีกรุงเทพ” มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน



สถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน



สถานี Porta Nuova เมืองตูรินในประเทศอิตาลี




ลองพิจารณาดูให้ดี

หัวลำโพงของเราเหมือนสถานีรถไฟของเยอรมันหรืออิตาลี
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1437  เมื่อ 10 เม.ย. 16, 07:55

พระราชพิธีเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมา ระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าขึ้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439

รายละเอียด พระราชพิธี มีดังนี้

     เวลา  10.00  น. พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ 
เสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนรถพระที่นั่ง ออกจากพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวไปตามถนนบำรุงเมือง 
แล้วเลี้ยวไปทางถนน  หน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสพานกรมรถไฟ ข้ามสพานไปเทียบพะรที่นั่ง ณ ที่พักรถม้า
ในบริเวณรถไฟ  พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น พิทยลาภพฤติธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ 
และข้าราชการกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ พร้อมกันรับเสด็จอยู่ที่นั่น

      ครั้นเสด็จฯ  ลงจากรถพระที่สั่งแล้ว หม่อมเจ้าหญิงมุมนมาลย์  ใน  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติธาดา 
ได้ทูลเกล้าฯ ถวายดอกกุหลาบมัดแด่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราินีนาถ

      เมื่อมีพระราชดำรัส  พอสมควรแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปตามทางซึ่งดาดปรำตกแต่งเป็นระยะทาง 3 เส้น 
จึงถึงโรงพระราชพิธี ซึ่ง  ณ ที่นั้น มีพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมห้าม เจ้านาย ข้าราชการ และภรรยา
 ตลอดจนทูตานุทูต และภรรยา  กับผู้มีบรรดาศักดิ์ และพ่อค้าบรรดาที่ได้รับเชิญ
ได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก

      เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส กับบรรดาที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพะรบาท บางท่านแล้ว
 ก็ทรงจุดเทียนนมัสการ ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จพระราชดำเนินสู่ที่ ซึ่งจะได้ทำพระราชพิธี ที่หน้าพลับพลา
ตรงที่ได้เทมูลดิน ซึ่งทรงขุดกระทำพระฤกษ์ เริ่มการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2434 
ทรงตรึงหมุดที่รางทองรางเงิน ข้างเหนือให้ติดกับหมอนไม้มริดคาดเงิน มีอักษรจารึก เป็นพระฤกษ์ 
พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่  15  รูป  มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธาน
สวดคาถาชัยมงคล เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรพิณพาทย์ และแตรวงขึ้นพร้อมกัน
แล้ว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ จึงทรงตรึงรางเงินรางทอง ลงเหนือหมอนไม้มรดคาดเงิน 
มีอักษรจารึก ซึ่งทอดไว้ทางด้านใต้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต
ทั้งชายหญิง ช่วยกันตรึงต่อไป 
จนเสร็จทั้ง 2 ราง ซึ่งนับว่าทางรถไฟ ในระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าติดต่อกันแล้ว  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

     ต่อจากนั้น  พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่โรงพิธี ประทับหน้าพระบัลลังก์
ซึ่งจัดตั้งพระราชอาศน์คู่หนึ่งอยู่ใต้เพดานแพร
มีธงบรมราชธวัชดาดอยู่ด้านหลังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น พิทยลาภพฤฒิธาดา
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ทรงอ่านคำกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว
มิสเตอร์เบทเก เจ้ากรมรถไฟ อ่านรายงานกราบบังคมทูพระกรุณา
ต่อจากนั้น พระองค์ได้มีพระราชดำรัส แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ ์เป็นบำเหน็จ  แก่เจ้าพนักงานกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ

     ต่อมา เจ้าพนักงานกรมรถไฟ  ได้เคลื่อนขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง
 ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินประทับ เป็นพระฤกษ์
เข้ามาเทียบ ที่หน้าพลับพลา  เมื่อพระองค์ทรงเจิมรถไฟพระที่นั่งแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระชัยแนาวโลหะขึ้นสู่รถนำ 
พร้อมด้วยพระราชาคณะผู้ใหญ่ 3 รูป มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ และ หม่อมเจ้าพระศรีสุคตดัติยานุวัตร
กับพระราชาคณะฝ่ายรามัญ 1 รูป ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  1 รูป 
สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และโปรยทรายไปในรถนำ
ซึ่งอยู่หน้าพระที่นั่งแล้ว พระองค์ก็เสด็จพะรราชดำเนินขึ้นสู่รถพระที่นั่ง
(ส่วนสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถนั้น ไม่ได้โดยเสด็จด้วย  เมื่อส่งเสด็จจนรถพระที่นั่งเคลื่อนออกจากหน้าพลับพลาแล้ว จึงได้เสด็จพะรราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง)
โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูตและพ่อค้า ตามเสด็จขึ้นสู่รถพ่วงคัน ต่อจากรถพระที่นั่งตามลำดับ

     ครั้นพร้อมแล้ว  ขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง ซึ่งนับเป็นรถโดยสารขบวนแรก
ก็เคลื่อนออกจากที่พระสงฆ์ ที่ยังเหลือ 10 รูป มีสมเด็จพระวันรัต เป็นประธานสวดคาถาถวายชัยมงคลอีกครั้งหนึ่ง 
ชาวประโคม ก็ประโคมสังข์  แตรและพิณพาทย์พร้อมกัน

     รถพระที่นั่งดังกล่าว ได้วิ่งผ่านสถานีรายทางซึ่งตกแต่ง
ประดับประดาด้วยธงและรายทางซึ่งตกแต่งประดับประดา ด้วยธงและไบไม้ไปตามลำดับ 
จนกระทั่ง13.00 น. เศษ  จึง่ถึงพลับพลาหลวง สถานีพระราชวังบางปะอิน
ที่นี่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินลงจากรถพระที่นั่ง ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน 
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย และทูตานุทูต

     ครั้นเสวยแล้ว  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
จึงกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว
แล้วพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต พร้อมกันถวายชัยมงคล 
ต่อจากนั้น พระองค์ได้พระราชทานพร แก่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
และกรมรถไฟ แล้วพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง
ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ส่วนผู้ที่ไม่ได้ตามเสด็จทางกรมรถไฟ ได้จัดรถไฟอีกขบวนหนึ่ง นำกลับเข้ากรุงเทพฯ)

     เมื่อขบวนรถไฟพระที่นั่ง เคลื่อนออกจากสถานีบางปะอิน บรรดาข้าราชการ และทูตานุทูต ชาวต่างประเทศ
ที่ไม่ได้ตามเสด็จ ได้โห่ถวายชัยมงคล 3 ลา
ต่อจากนั้น ขบวนรถไฟพระที่นั่ง ก็ได้วิ่งมาถึงสถานีกรุงเก่า 
ณ ที่นั่น มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
และข้าราชการหัวเมือง มาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากที่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธีเปิด ศาลาว่าการรัฐบาลแล้ว
 เวลา 16.00 น. เศษ พระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง กลับกรุงเทพฯ  ถึงกรุงเทพฯ เวลา 18.00 น. เศษ


ภาพแรก สมเด็จฯทรงตรึงรางหมุดเป็นปฐมฤกษ์
ภาพที่สอง สเตชั่นรถไฟหรือชาวบ้านเรียกว่าสเตแท่น เป็นสถานที่ทำพิธีเปิดในวันนั้น



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1438  เมื่อ 10 เม.ย. 16, 08:04

ภาพเก่าๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 1439  เมื่อ 10 เม.ย. 16, 11:24

หลังคาเหล็กโค้ง มาจากสัญชาติเยอรมัน (วิศวกรต่างชาติของกรมรถไฟหลวง)
มุขซ้ายขวาสีเหลืองนวลที่เป็นตัวจบปลายอาร์ค และถูกเช่ือมถึงกันด้วยทางเข้าหลัก ที่เป็นdeckข้างบน มาจากสัญชาติอิตาเลียน (นายช่างออกแบบของกรมโยธาธิการ-มารีโอ ตามัญโญ)  มุขนี้มีรูปแบบเดียวกับโดมเล็กของพระที่นั่งอนันตฯที่สร้างร่วมสมัยกัน เพียงแต่ตัดหลังคาโดมออก ส่วนเสาใหญ่เล็กของทางเข้าเป็นสไตล์เดียวกับรั้วของพระที่นั่งฯ
เลยเป็นรูปแบบเยอรมันผสมอิตาเลียน เฉพาะตัว ใครเห็นก็บอกได้ว่านี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีหัวลำโพง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 94 95 [96] 97 98 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง