เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 73 74 [75] 76 77 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 420627 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1110  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 08:48

บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1111  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 14:49

ภาพเก่าในวังสุโขทัย   ประมาณ ปี ๒๔๗๓-๒๔๘๓
คณะรัฐบาลเคยยึดทำเป็นกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระยะหนึ่ง
ระหว่างที่พระปกเกล้าฯ เสด็จต่างประเทศ

ไม่ทราบว่ารื้อไปแล้วหรือไม่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1112  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 14:51

บริเวณปากคลองตลาด
ภาพแรกรู้ว่าประมาณปี ๒๔๑๘
ภาพหลังไม่รู้ว่าถ่ายเมื่อปีไหน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1113  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 16:04

บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ชื่อขนมของจีนในนี้น่าสนใจค่ะ อาจารย์หมอ บางอย่างก็ไม่เคยได้ยิน 
ขอยกไปตั้งกระทู้ในห้องวิเสทนิยมนะคะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1114  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 06:41

บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ชื่อขนมของจีนในนี้น่าสนใจค่ะ อาจารย์หมอ บางอย่างก็ไม่เคยได้ยิน 
ขอยกไปตั้งกระทู้ในห้องวิเสทนิยมนะคะ

ด้วยความยินดีครับอาจารย์

เรื่องขนมจีน(ราดนํ้ายา) เท่าที่เคยอ่านมา เชื่อว่าเราเอามาจากมอญ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1115  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 06:48

เมื่อ Dmitri  Kessel เช้ามาถ่ายภาพในเมืองไทย เมื่อปี ๒๔๙๓
แกคงติดใจยิ้มสยามของสาวชาวสวนคนหนึ่ง เก็บภาพไปสิบกว่าภาพ
เป็นภาพปอร์เตรทที่น่าสนใจ มาดูกันสัก ๔ ภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1116  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 08:52

บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ




คำกลอนนี้อยู่ใน "เพลงยาวตำนานหวย" แต่งโดยนายกล่ำในสมัยรัชกาลที่ ๓ โรงหวยที่นายกล่ำกล่าวถึงเป็นของเจ้าสัวหงตั้งที่กำแพงเมืองใกล้สะพานหัน  แล้วเลื่อนมาอยู่ที่วังบูรพาภิรมย์

เจ้าสัวหงคือพระศรีไชยบาล  คิดตั้งอากรหวยเมื่อปีมะแม ๒๓๗๘
ตั้งที่กำแพงเมืองใกล้สะพานหัน  แล้วเลื่อนมาอยู่ที่วังบูรพาภิรมย์
ออกหวยเวลาเช้า

พระศรีวิโรจน์ดิศเห็นเจ๊สัวหงมีกำไรดี จึงกราบบังคมทูลขอตั้งโรงหวยอีกหนึ่งโรงอยู่ทางบางลำภู
ออกเวลาค่ำวันละครั้ง

ต่อมาพระศรีวิโรจน์ทำการไม่เรียบร้อยหวยจึงรวมอยู่ที่เจ๊สัวหงแห่งเดียว

เงินอากรเมื่อแรกตั้งนั้น ๒๐,๐๐๐ บาท


เพลงยาวตำนานหวยของนายกลำ่  กล่าวถึงเจ๊สัวหงไว้ว่า
(ประชุมเพลงยาวภาคพิเศษ        กรมศิลปากร  ๒๕๔๙)

ยังมีเฒ่าเมธาชราภาพ                           แกโลภลาภไม่เล็กชื่อเจ๊กหง
เจ้าสัวศรีไชยบานชาญณรงค์                    ให้ไทยหลงกลเล่ห์จนเซโซ
เมียสาวสาวบ่าวไพร่ใช้ออกคึก                  ดูพิฤกสิ้นทีมีอักโข
เขาร้องเรียกว่าคุณเปียหังเบี้ยโป                เหมือนสิงโตตั้งตัวไม่กลัวใคร

เพลงยาวตำนสนหวยของนายกล่ำ  แต่งขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ความรู้เรื่องหวยเมื่อแรกมี และรายละเอียดต่างๆ  รวมทั้งประวัติเดิมของตัวหวยที่ยังรวบเรื่องไม่ได้
เอกสารหลุดมือไปอยู่ที่นักสะสมผู้หนึ่ง

จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ โรงหวยหน้าวังบูรพาเกิดไฟไหม้ขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๑๕ จึงได้ย้ายมาอยู่ประตูสามยอด ซึ่งเรียกกันเต็มปากเต็มคำว่า “โรงหวย”
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1117  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 09:56

ขอบคุณ คุณหมอเพ็ญชมพู
เท่าที่อ่านมาโรงหวยแรกอยู่ภายในกำแพงเมืองแถวสะพานหัน
แล้วย้ายมาที่หน้าวังบูรพา
สุดท้ายย้ายมาที่ริมคลองหลอดเยื้องประตูสามยอด

เวลาออกหวยสองครั้งในหนังสือแต่ละเล่มไม่เหมือนกัน
บางที่บอกเก้าโมงเช้ากับสามโมงเย็น
แต่ขุนวิจิตรบอกว่ารอบสองออกหลังเที่ยงคืน

ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ลงตัว
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1118  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 11:23

วันนี้ เป็นวันอานันทมหิดล
วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1119  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 11:28

มีพิธีวางพวงมาลาเมื่อเช้านี้ ที่ รพ.จุฬาฯ
นำโดยคุณหมอเจรียงนายกสมาคมนิสิตเก่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1120  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 13:28

๙ มิถุนายน เป็น  “วันอานันทมหิดล”  ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวอานันทมหิดล  พระผู้ให้กำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

http://www.md.chula.ac.th/about.php

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1121  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 18:12

รถไฟสายปากนํ้า ที่มีสถานีอยู่ริมคลองหัวลำโพง

รถไฟสายปากน้ำดำเนินการโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำ
บริหารงานโดยอังเดร เดอ ริเชอลิเออ (พระยาชลยุทธโยธิน) ชาวเดนมาร์ก และแอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช (พระนิเทศชลธี)
ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434  มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก
ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
(เคยเล่าไว้ว่า ร๕ เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระราชวัง มาตามถนนสนามชัย ไปทางเจริญกรุง ถึงสามแยกบางรัก
เลี้ยวลงตามถนนสีลม ไปถึงชายทุ่งปทุมวันตรงที่จะสร้างทางรถไฟสายปากนํ้า  ตรงแยกศาลาแดง  แซะดินเป็นปฐมฤกษ์)

เมื่อทางรถไฟสายปากน้ำแล้วเสร็จเปิดเดินขบวนรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดบริการ
และเสด็จขึ้นประทับโดยสารขบวนรถไฟพระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
 ในพิธีเปิดการเดินรถครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัส ปรากฏความตอนหนึ่งว่า

    "...เรามีความยินดีที่ได้รับหน้าที่อันเป็นที่พึงใจ คือจะได้เป็นผู้เปิดรถไฟสายนี้
ซึ่งเป็นที่ชอบใจและปรารถนามาช้านานแล้วนั้น ได้สำเร็จสมดังประสงค์ลงในครั้งนี้
เพราะเหตุว่าเป็นรถไฟสายแรกที่จะได้เปิดในบ้านเมืองเรา
แล้วยังจะมีสายอื่นต่อ ๆ ไปอีกจำนวนมากในเร็ว ๆ นี้
 เราหวังว่าจะเป็นการเจริญแก่ราชการและการค้าขายในบ้านเมืองเรายิ่งนัก..."

มีภาพ และเรื่องราวของรถไฟสายปากนํ้า ให้เราเห็นบ่อยๆ ลองอ่านดู

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3

ภาพนี้เป็นการเสด็จของ ร๕ ไปที่ปากนํ้า อาจจะเป็นภาพ   วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 1122  เมื่อ 09 มิ.ย. 15, 22:56

หลังจากวันเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ ๑๑ เม.ย ๒๔๓๖ ได้ ๓ เดือน  วันที่ ๑๓ ก.ค. ๒๔๓๖ ก็เกิดกรณีเรือรบฝรั่งเศสล่วงล้ำอธิปไตยสยามที่ปากน้ำ
ร้อยเอก ที.เอ.ก็อตเช่ วิศวกรเดินรถ ยังเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทร อำนวยการยิงสกัดเรือรบฝรั่งเศสด้วย
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1123  เมื่อ 10 มิ.ย. 15, 09:53

หลังจากวันเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ ๑๑ เม.ย ๒๔๓๖ ได้ ๓ เดือน  วันที่ ๑๓ ก.ค. ๒๔๓๖ ก็เกิดกรณีเรือรบฝรั่งเศสล่วงล้ำอธิปไตยสยามที่ปากน้ำ
ร้อยเอก ที.เอ.ก็อตเช่ วิศวกรเดินรถ ยังเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทร อำนวยการยิงสกัดเรือรบฝรั่งเศสด้วย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลสำคัญ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1124  เมื่อ 10 มิ.ย. 15, 10:09

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ของหลวงดำรงธรรมสาร(ไม่รู้สะกดถูกไหม)
จากหนังสือ twentieth century impressions of siam พศ ๒๔๕๑
อยู่ที่ถนนบำรุงเมือง มีทั้งโรงพิมพ์ ภายในโรงพิมพ์(๒)   และร้านขาย (๓)พร้อมกัน

เปิดโรงเรียนดรุณีวิทยา(๔) ครู นักเรียนและหลวงดำรงฯยืนอยู่ข้างๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 73 74 [75] 76 77 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง