เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 64 65 [66] 67 68 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 418916 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 975  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 19:22

คุณวราห์ โรจนวิภาต เขียนเรื่อง ยํ้ารอยอดีตคลองบางหลวง  ท่านมีความจำแม่น
อ่านดูครับสนุกดี    สำหรับคนชอบความหลัง มีสองตอน

http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=188
http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=189

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 976  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 19:55

ประตูผี

สีเหลืองคือแนวถนนบำรุงเมืองที่ผ่านหน้าวิหารวัดสุทัศน์
มาทะลุประตูผี ออกตามแนวถนนไปนอกเมือง

วัดสระเกศแต่เดิมนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติทำเมรุปูนขึ้นที่หลังหนึ่ง  โดยมีพระราชดำริว่าให้เมรุปูนนี้ เป็นที่สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย และศพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนชาวไทยชาวชาวต่างประเทศที่ต้องการ  และให้มีพลับพลาสำหรับเสด็จมาพระราชทานเพลิงศพด้วย แต่เมรุปูนที่ว่าก็ใช้งานหนักมาก พอถึงรัชกาลที่ ๔ ก็ชำรุดทรุดโทรม ปล่อยให้หลังคาเป็นที่เกาะอาศัยของฝูงแร้งไป   

ในรัชกาลที่ ๕ จึงมีการบูรณะเมรุปูนวัดสระเกศขึ้นใหม่อย่างประณีต มีทั้ง โรงธรรม โรงครัว โรงมหรสพ ตลอดจนพุ่มกัลปพฤกษ์ และระทา ซึ่งเป็นหอสูงทรงสี่เหลี่ยมเรียงกัน ๖ หอตามภาพ สำหรับจุดดอกไม้ไฟงานศพ

เมื่อเข้าหน้าแล้งหมดฝนแล้ว เจ้าภาพที่มีฐานะจะนำศพที่เก็บไว้ที่บ้านออกมากระทำฌาปนกิจ  เรียกว่าออกเมรุ เป็นการจัดงานที่ถือว่าเพื่อจะปลดเปลื้องทุกข์ หลังจากที่ไว้ทุกข์มานมนานแรมเดือนแรมปี  ลมฟ้าอากาศก็สบายๆไร้ฝน สะดวกทั้งเจ้าภาพและแขกเหรื่อที่จะมาร่วมงาน รวมทั้งชาวบ้านชาวช่องที่จะมาชมมหรสพ  เมรุปูนวัดสระเกศจึงถือเป็นบันเทิงสถานของคนกรุงเทพในสมัยนั้น  มีฉายาว่า “วิกเมรุปูน” เวลามีงานศพคนใหญ่คนโต ก็จะมีการละเล่นโขน ลิเก ละคร หุ่นกระบอก  และมีออกร้านขายของกินของใช้ให้กับผู้คน  สนุกครึกครื้นเช่นเดียวกับงานวัด

ประตูเมืองตรงนั้นเลยเปลี่ยนชื่อเป็นประตูสำราญราษฎร์  เพราะเป็นที่เข้าออกของคนเมืองไปดูมหรสพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 977  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 19:59

แต่ประตูสำราญราษฎร์จะเป็นช่องทางที่คนกรุงเอาศพออกไป ที่เรียกว่าประตูผีนั้นหรือไม่ ยังไม่แน่ใจครับ แต่ไม่เป็นไร เชิญเดินกระทู้ต่อไปเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 978  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 20:35

แต่ประตูสำราญราษฎร์จะเป็นช่องทางที่คนกรุงเอาศพออกไป ที่เรียกว่าประตูผีนั้นหรือไม่ ยังไม่แน่ใจครับ แต่ไม่เป็นไร เชิญเดินกระทู้ต่อไปเรื่อยๆ

อาจารย์ NAVARAT.C  ครับ เรื่องชื่อนี้ยังไม่มีคำตอบสุดท้าย

เมื่อประมวลข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายคงจะได้คำตอบ

หรือไม่อาจไปในทิศตรงข้ามคือข้อมูลที่เรารวบรวมไม่ถูกต้อง 
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 979  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 20:42

อาจารย์ ครับ     



จบกิฬาแล้วจะเปิดดูหนังสืออาจารย์ ชัย เรืองศิลป์
ท่านจะเขียนถึงเรื่องนี้หรือไม่  เขียนอย่างไร
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 980  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:21

อาจารย์ชัย เรืองศิลป์ ไม่ได้พูดถึงประตูผีเลยในหนังสือประวัติศาสตร์ ด้านสังคม
แต่เขียนเรืองไฟ้ไหม้ท่าเตียน (มัวไปหน่อย)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 981  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:22

อาจารย์ ส พลายน้อย เขียนว่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 982  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:27

ในภาพนิ่งมีการเคลื่อนไหว



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 983  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:32

สองภาพที่ถ่ายจากจุดเดียวกัน จากบนสะพานผ่านฟ้า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 984  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 08:26

ผมก็ออกจะเอนเอียงไปในทางว่าประตูที่สำราญราษฎร์เป็นประตูผีแหละครับ  เพียงมีคำถามว่าแต่ก่อนในสมัยรัชกาลต้นๆของรัตนโกสินทร์ มาจนถึงสมัยตัดถนนบำรุงเมืองนั้น ประตูนี้มีชื่อในทางราชการว่ากระไร เพราะอาจจะเป็นเพียงประตูช่องกุดเล็กๆ ให้พอจะนำศพผ่านออกไปได้เฉยๆ แล้วก็เรียกประตูผีนี่แหละ แต่มิใช่เป็นประตูเมืองหลักทางทิศตะวันออก ประเภทที่มีเครื่องยอดหลังคาสูง เช่นประตูสามยอด หรือยอดเดียวประตูอื่นๆ

พอตัดถนนบำรุงเมือง ก็ทะลายช่องกุดหรือประตูผีเป็นถนน ผ่านป่าช้าวัดสระเกศไปทางแยกแม้นศรี โดยวัดและเมรุปูนอยู่คนซีกถนนกัน ตอนนี้คำว่าแยกสำราญราษฎร์จึงเกิดขึ้น  ไปๆมาๆประตูช่องกุดที่เคยเรียกว่าประตูผีเลยถูกอ้างอิงว่า แต่ก่อนชื่อประตูสำราญราษฎร์ โดยคนสมัยหลังไปเลย


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 985  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 20:14

วังวินด์เซอร์ หรือที่รู้จักในชื่อ วังประทุมวัน, วังกลางทุ่ง หรือ วังใหม่
เป็นวังที่สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่จะพระราชทานเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมารองค์แรกแห่งสยามประเทศ
ตั้งอยู่บริเวณทุ่งประทุมวัน กรุงเทพมหานคร (คือ สนามศุภชลาศัย ปัจจุบัน)

ชาวต่างประเทศ ณ ราชกรีฑาสโมสรพบเห็นพระตำหนักแห่งนี้
จึงเรียกตามพระราชวังที่ลักษณะคล้ายกันว่า "วังวินด์เซอร์" หรือที่มาจากพระราชวังวินด์เซอร์ ณ สหราชอาณาจักร

การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2424 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ โดยนำแบบของพระราชวังวินด์เซอร์แห่งสหราชอาณาจักรมาย่อส่วน
หากทว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หาได้เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้แต่อย่างใด
ด้วยเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2437

เมื่อมีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นในปี พ.ศ. 2459
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชวังนี้รวมทั้งพื้นที่โดยรอบเป็นสมบัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเคยใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวิทยาเขตประทุมวันก่อนการก่อสร้างอาคารบัญชาการ

ในช่วงปี พ.ศ. 2478 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้นดำริที่จะจัดสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติขึ้น
จึงได้พิจารณาเช่าที่ดินบริเวณพระตำหนักหอวัง และได้ทำการรื้อถอนพระตำหนักหลังนี้ ปี 2479
รวมถึงอาคารหอพักนิสิตโดยรอบ การก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติแล้วเสร็จในราวปี พ.ศ. 2481
ซึ่งได้ใช้เป็นที่ทำการสอนของโรงเรียนพลศึกษากลางและกรมพลศึกษา

วังนี้ควรจะได้ตั้งอยู่จนถึงปัจจุบันเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นได้ใช้
แต่ไม่เป็นอย่างนั้น น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

นิสิตรุ่นเก่าของจุฬาฯ(รวมทั้งมัธยมหอวัง)บางรุ่นได้เรียน ได้อยู่พักอาศัยเป็นหอ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 986  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 07:17

ถนนบำรุงเมืองที่ตรงแน่ว สุดปลายทางคือประตูสำราญราษฏร์ เห็นลิบๆ
เสาชิงช้ายังอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาที่กลางถนน

ตอนต้นเดือน ธันวาคม 2413ทางการรื้อบ้านเรือนริมถนนบำรุงเมือง
แก้ถนนให้ตรง แล้วสร้างตึกแถวสองชั้นทั้งสองฟากขึ้นใหม่
แสดงว่าถ่ายในสมัย ร 5   ก่อนจะย้ายเสาชิงช้า  

เมื่อขึ้นไปภูเขาทอง มองย้อนกลับมา
จะเห็นเสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหม(วงกลมแดง)
ใกล้ล่างของภาพเป็นประตูช่องกุด เป็นกรอบสี่เหลี่ยมยอดตัด ไม่มียอดซุ้มแหลมหรือหอรบข้างบนแต่อย่างไร
ที่เป็นยอดแหลมข้างขวาของช่องกุดคือประตูวัดเทพธิดาราม เป็นซุ้มยอดแหลม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 987  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 07:32

ป้อมพระสุเมรุ

ภาพแรกดูจะไม่เก่าเท่าไหร่ แท้จริงแล้วเก่า
เพราะรถเข็นที่จอดข้างอยู่ข้างเห็นได้ใน
ภาพถ่ายที่สอง ซึ่งถ่ายก่อนปี 2451
ภาพทั้งสองบันทึกในเวลาใกล้กัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 988  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 07:53

ถนนบำรุงเมืองที่ตรงแน่ว สุดปลายทางคือประตูสำราญราษฏร์ เห็นลิบๆ
เสาชิงช้ายังอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาที่กลางถนน

ตอนต้นเดือน ธันวาคม 2413ทางการรื้อบ้านเรือนริมถนนบำรุงเมือง
แก้ถนนให้ตรง แล้วสร้างตึกแถวสองชั้นทั้งสองฟากขึ้นใหม่
แสดงว่าถ่ายในสมัย ร 5   ก่อนจะย้ายเสาชิงช้า  

เมื่อขึ้นไปภูเขาทอง มองย้อนกลับมา
จะเห็นเสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหม(วงกลมแดง)
ใกล้ล่างของภาพเป็นประตูช่องกุด เป็นกรอบสี่เหลี่ยมยอดตัด ไม่มียอดซุ้มแหลมหรือหอรบข้างบนแต่อย่างไร
ที่เป็นยอดแหลมข้างขวาของช่องกุดคือประตูวัดเทพธิดาราม เป็นซุ้มยอดแหลม
ขอบคุณมากครับ ภาพถ่ายเป็นหลักฐานที่ประเสริฐกว่าข้อมูลทั้งปวง ทำให้หายสับสนได้มาก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 989  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 10:34

ถนนบำรุงเมืองที่ตรงแน่ว สุดปลายทางคือประตูสำราญราษฏร์ เห็นลิบๆ
เสาชิงช้ายังอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาที่กลางถนน

ตอนต้นเดือน ธันวาคม 2413ทางการรื้อบ้านเรือนริมถนนบำรุงเมือง
แก้ถนนให้ตรง แล้วสร้างตึกแถวสองชั้นทั้งสองฟากขึ้นใหม่
แสดงว่าถ่ายในสมัย ร 5   ก่อนจะย้ายเสาชิงช้า  

เมื่อขึ้นไปภูเขาทอง มองย้อนกลับมา
จะเห็นเสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหม(วงกลมแดง)
ใกล้ล่างของภาพเป็นประตูช่องกุด เป็นกรอบสี่เหลี่ยมยอดตัด ไม่มียอดซุ้มแหลมหรือหอรบข้างบนแต่อย่างไร
ที่เป็นยอดแหลมข้างขวาของช่องกุดคือประตูวัดเทพธิดาราม เป็นซุ้มยอดแหลม
ขอบคุณมากครับ ภาพถ่ายเป็นหลักฐานที่ประเสริฐกว่าข้อมูลทั้งปวง ทำให้หายสับสนได้มาก

อาจารย์  NAVARAT.C ครับ
ภาพมันหลอกไม่ได้ ภาพหนึ่งๆ อย่างที่รู้แทนคำบรรยายได้หลายคำ
จะพยายามเอาภาพลงโดยไม่ลดคุณภาพ(ในขนาด 250 กิโลไบท์)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 64 65 [66] 67 68 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง