เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 63 64 [65] 66 67 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 420446 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 960  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 09:50

เปรียบเทียบดูระหว่างสองภาพในบริเวณเดียวกัน

ภาพแรกเป็นการ์ดปีใหม่ ไม่ทราบเวลาที่ถ่าย และถ่ายในงานพิธีอะไร? มีโรงมโหรสพตั้งอยู่ด้วย

ภาพที่สองเป็นงานเมรุมาศของสี่เจ้าฟ้า ปี พศ 2431

พระที่นั่งจักรีฯ (เริ่มสร้าง 2419)เสร็จแล้ว
หอนาฬิกาภูวดลทัศไนย ยังไม่ได้รื้อทิ้ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 961  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 10:10

ศาลหลักเมือง ตอนนั้นอยู่ไหน ใครทราบบ้างครับ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 962  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 10:57

ศาลหลักเมือง ตอนนั้นอยู่ไหน ใครทราบบ้างครับ

ผมไม่ทราบ ต้องหาข้อมูลต่อไป
น่าจะอยู่ที่เดิมที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ถ้ามีการย้ายหรือตั้งใหม่  น่าจะมีข่าวใหญ่พอสมควรให้เรารู้สึกได้
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 963  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 11:10

อาจารย์ NAVARAT.C  ครับ

ตรงนี้พอจะเข้ากันได้?  ตามหลัก ไม่รู้อย่าไปเดา เดาอย่างไม่รู้โอกาสถูกน้อยมาก อายจัง

ขุนวิจิตรมาตรา ท่านเคยเล่าตอนนี้ว่าบริเวณสนามด้านทิศใต้ของวงกลมแดง(ถ้าตามในรูป  อยู่บน) เป็นโรงช้างยาวไปตลอดถึงคลองคูเมืองเดิม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 964  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 12:47

ในอีกกระทู้ได้เอ่ยถึงชื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา (เขียนเป็นอัพภันตรีปชา )

จากที่ท่านเขียนชื่อตัวท่านเองว่า-- อภันตรี-- ชื่อ อภันตรีปชา น่าจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง

จากชื่อนี้ทำให้นึกถึงว่าช่วงหนึ่งผมได้คุ้นเคยกับชื่อนี้มาก  ในปีหนึ่งเดินผ่านทลุ เดินเฉียดไม่น้อยกว่าครึ่งหนึงของ 365 วัน

นั้นคือ   ตึกอภันตรีปชา เป็นตึกเอ็กซเรย์ ในโรงพยาบาลจุฬาฯ

รพ.จุฬาฯ เปิดทำการเมื่อปี 2457  โดยระยะแรกได้รับการสนับสนุนจากเหล่าเชื้อพระวงศ์เป็นส่วนมาก

ตึกที่อยู่ใน รพ. จะมีชื่อของท่านเหล่านั้นเช่น ตึกปัญจมราชินี -ตึกอาทร- ตึกวชิราวุธ-ตึกพาหุรัด-ตึกจิรประวัติ-ตึกจักรพงศ์

ตึกรับคนไข้เหล่านี้สร้างอย่างดี วัสดุอย่างดี เป็นตึกสองชั้น พื้นปูหินอ่อน บันไดหินอ่อน ประตูเป็นไม้อย่างดี สูง ใหญ่

หลังจากท่านสิ้นพระชนม์ ปี 2477 แล้วต่อมาในปี พศ 2485  มีการสร้างตึก อภันตรีปชา (อยู่ในวงกลมฟ้า)ใช้เป็นตึกเอ็กซเรย์หลังแรก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 965  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 14:21

จากสารคี “เวียงวัง” โดยจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ผู้สันทัดกรณีย์เรื่องของในรั้วๆวังๆกล่าวไว้ประโยคหนึ่งว่า

พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา (เข้าใจว่าจะทรงเปลี่ยนเป็น ‘อภันตรีปชา’)

เชิญตีความตามอัธยาศัยครับ แต่พวกเราใครจะใช้อย่างไรคงไม่ผิดทั้งคู่
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 966  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 16:36

กระทู้ไม่ค่อยเดิน
ผมจะว่าต่อไป

-----------------------------------------------------------------

แหล่ประตูสะพานหันพัง  (แหล่เครื่องเล่นมหาชาติกัณฑ์มหาพน)

ที่ ๒๖  กันยายน                      เกิดโกลาหลอัศจรรย์
ที่ประตูยอดสะพานหัน                พังทะลายลั่นเสียงครืนคราน
ทับสายไฟฟ้าขาดเป็นแสง            ถูกนายแดงดับสังขาร
ประชาชนอลหม่าน                    พากันสงสารเวทนา
สองทุ่มหย่อน ๒๐ มินิต               เวลาเมื่ออิฐพังลงมา
เลื่องลือกันลั่นพารา                   ต่างคนต่างพากันมาดู
ทั้งไทยทั้งเจ๊กเด็กผู้ใหญ่              บ้างชวนกันไปเป็นหมู่หมู่
เสียงโจษกันลั่นสนั่นหู                ว่าจะไปดูประตูพัง
บ้างขึ้นรถไอบ้างไปรถลาก           รถม้าก็มากแล่นประดัง
เขย่ากระดิ่งเสียงกริ่งกรั่ง              ซ้อนซับคับคั่งทั้งรถยนต์
บ้างเดินกันกลุ้มทั้งหนุ่มแก่           เสียงพูดกันแซ่ตามถนน
บางคนก็ว่าตายห้าคน                 พูดกันจนล้นเลยอัตรา
สมคำโบราณท่านขานกล่าว          ว่าคนปากยาวกว่าปากกา
พูดเติมต่อแต้มแกมมุสา              บางคนก็ว่าตายมากมาย
ได้สืบถามผู้อยู่ใกล้ชิด                ว่านายแดงโปลิศคนเดียวตาย
เด็กหญิงสองคนที่ถูกสาย             ก็ไม่วางวายอย่าสงกา
ผู้ใหญ่ผู้หญิงถูกอีกคน                ก็ไม่วายชนม์แต่ช้ำกายา
เขาพาเอาไปรักษา                    ที่โรงไฟฟ้าทั้งสามคน
นี่เป็นความจริงไม่ผิดพลั้ง             ท่านผู้ฟังอย่าฉงน
ตกลงรวมสี่ตายหนึ่งคน               เจ็บอีกสามคนไม่ม้วยมรณ์.....

ยังไม่หมดเรื่องประตูพัง              ขอกล่าวแต่ครั้งเมื่อแรกสร้าง
ฉันจะแก้ไขให้กระจ่าง               ประตูนี้สร้างสามครั้งครา
ครั้งแรกรัชกาลที่หนึ่งชัด             ครั้งที่สองรัชกาลที่ห้า
ถึงครั้งที่สามตามอัตรา              รัชกาลที่ห้าอีกเหมือนกัน
ถึงรัชกาลที่หกนี้                     ประตูพังหมดที่สะพานหัน
จึงพังทลายกระจายลั่น              นี่กล่าวสั้นสั้นไม่พิสดาร
ถ้าท่านผู้ฟังยังไม่แจ้ง               ฉันจะแสดงให้วิตถาร
ท่านที่ไม่ชอบจะรำคาญ             ว่ากล่าวยาวยานจนเกินดี
เมื่อครั้งรัชกาลที่หนึ่งหนา           เสวยราชย์มาได้สองปี
จะสร้างประตูพระบุรี                 พร้อมกำแพงมีรอบนคร
แต่ประตูยอดครั้งก่อนใช้            ยอดทำด้วยไม้สูงสลอน
ทำช่องกุดบ้างเป็นตอนตอน         จนรอบนครแต่เดิมมา
ส่วนประตูที่สะพานหัน               ทำครั้งแรกนั้นช่องกุดหนา
ลงมือศกสองถึงศกห้า               จึงแล้วเสร็จว่าแต่ตั้งแผ่นดิน
ถึงรัชกาลที่สามชัด                  ประตูด้านวัดพรหมสุรินทร์
ยอดไม้ผุพังกระทั่งดิน              ทับคนตายดิ้นกลางมรรคา
จึงรื้อประตูยอดทั่วหมด             ทำซุ้มอิฐลดต่ำลงมา
เรียกว่าหอรบมีหลังคา              เผื่อข้าศึกมาได้ป้องกัน
แต่ช่องกุดที่มีประตู                 ยังคงเดิมอยู่ไม่แปรผัน
ถึงรัชกาลที่ห้านั้น                   ท่านทรงจัดสรรการแผ่นดิน
ศกเก้าสิบหกพระทูลเกล้า           โปรดให้เจ้าพระยามหินทร์
เปลี่ยนแปลงประตูพระบุริน         แต่ไม่ทั่วสิ้นทั้งบุรี
รื้อซุ้มหอรบที่มีอยู่                  ทำเป็นประตูยอดสูงดี
ประตูตัดสั้นนั้นก็มี                  ท่านทำท่วงทีดูโสภณ
แต่ประตูที่สะพานหัน               เมื่อคราวครั้งนั้นแปลงอีกหน
เป็นประตูตัดดาดฟ้าบน             ดูเหมือนจะทนทำแข็งแรง
ถึงศกร้อยปีมีสมโภช               โขนเขนเต้นโลดงิ้วตุ้งแชง
พระสงฆ์สวดมนต์รอบกำแพง      เลี้ยงข้าวเลี้ยงแกงสนุกครัน
ครั้นมาถึงศกร้อยเจ็ดปี             แปลงประตูที่สะพานหัน
เป็นประตูยอดตั้งแต่นั้น             มิได้แปรผันอีกเลยนา
ครั้นถึงศกร้อยสามสิบเอ็ด          ประตูเสด็จพังลงมา
เพราะเก่าชะแรแก่ชรา              ขอยุติกาจบกันที...นั้นแหล่

ในแหล่เครื่องเล่นกัณฑ์มหาพน

ประตูสะพานหันเดิมเป็นประตูช่องกุด
รศ 96 เปลี่ยนยอดเป็นดาดฟ้า (วันหลังจะเอาภาพมาให้ดู)
รศ 106 เปลี่ยนอีกที่เป็นยอดแหลม

สุดท้าย ประตูสะพานหันพัง เมื่อ 26 กันยายน 2454
ทับนายแดง เสียชีวิต คนเดียว เจ็บอีกสามคน

ประตูสะพานหันอยูทางซ้ายนอกกรอบ  ทางขวามีกองอิฐหินที่ประตูพังลงมากอง
ถนนทางขวาคือพาหุรัด ที่รถรางวิ่งออกมาชิดขวาริมกำแพงเมือง วิ่งไปตามถนนมหาชัย  ไปหน้าวังบูรพา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 967  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 10:41

หนังสือ twentieth century impressions of siam ซึ่งพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ห้า
ลงเรื่องของครอบครัวนายพิณเทพเฉลิม  (บุนนาค)  เป็นบุตรของ พระยาศรีสรราชภักดี(วัน บุนนาค)

พระยาศรีสรราชฯเป็นบุตรของ สมเด็จเจ้าพระยามหาประยุรวงศ์

นายพิณเทพแต่งงานกับ สมบุญ มีบุตรสาวสองคน
บุตรคนโตชื่อคุณเพี้ยน  แต่งงานกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ (โอรสของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ )


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 968  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 10:47

นายพิณเทพเฉลิม เป็นเจ้าของเรือเมล์วิ่ง
ระหว่าง สุพรรณบุรี-นครไชยศรี-ท่าจีน
รับผู้โดยสารให้เชื่อมต่อรถไฟสายเพชรบุรี-ท่าจีน-แม่กลอง
กิจการรุ่งเรืองดี
มีเรือหลายลำเช่น ขุนช้าง -นางพิม-ขุนแผน-พระไวยวรนาถ ฯลฯ

นายพิณเทพเฉลิมมีบ้านอาศัยอยู่ในคลองบางหลวง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 969  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 10:49

รูปเต็มหน้าในหนังสือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 970  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 10:52

คุณ วราห์  โรจนวิภาต
เขียนบทความ ยํ้ารอยอดีตคลองบางหลวง 1
เล่าเรื่องของนายพิณเทพเฉลิม ไว้อย่างนี้

(อ่านยากนิด ไม่อยากพิมพ์เดียวผิดอีก)




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 971  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 11:03

ไปเจอรูปในภาพสะสมของนางมาร์กาเร็ต แลนดอน
เป็นรูปหม่อมเปี่ยม(เขียนว่า Mom Piem)
น่าจะเป็นบุตรสาวคนโตของนายพิณเทพเฉลิม
ที่แต่งงานกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์
(ตามประวัติจริงของท่านไตรทศประพันธ์ สมรสกับ เพี้ยน บุนนาค)

นางมาร์กาเร็ต แลนดอน คงเขียนชื่อผิด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 972  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 12:41

บรรยากาศที่น่าสบายร่มรื่นในคลองบางหลวง
ชาวบ้านๆ ยังคงห่มผ้าสไบเฉียง โจงกระเบน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 973  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 18:24

มีรูปแสดงประตูผีของอาจารย์พิพัฒน์ ที่ผมสงสัย
ภาพซ้ายเป็นคำอธิบายของอาจารย์
ภาพขวาเป็นภาพที่ผมพอจะหามาเปรียบได้แต่มุมไม่กว้างเท่าของภาพอาจารย์
ภาพขวาไปสุดที่ประตูช่องกุด   วงไว้เพื่อ เทียบกับภาพซ้าย 
พ้นวงกลมแดงแล้วเป็นประตูผีตามภาพซ้าย

ดูแล้วลองท่านคิดสักนิด     ผมเพียงแต่สงสัยประตูผีกับวัดเทพธิดาราม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 974  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 18:44

ประตูผี

สีเหลืองคือแนวถนนบำรุงเมืองที่ผ่านหน้าวิหารวัดสุทัศน์
มาทะลุประตูผี ออกตามแนวถนนไปนอกเมือง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 63 64 [65] 66 67 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง