เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 52 53 [54] 55 56 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 420543 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 795  เมื่อ 27 มี.ค. 15, 11:21

คลองเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก
แม้ในวัดเลียบมีคลองทะลุกลางไปที่ถนนพาหุรัด


คลองในโรงไฟฟ้าวัดเลียบเป็นคลองที่ขุดเชื่อมกับคลองโอ่งอ่าง สำหรับเป็นทางขนส่ง ไม้ฟืน แกลบ ถ่านหิน สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการต้มน้ำในหม้อน้ำ เพื่อนำไปป้อนเครื่องกำเนิดไฟฟ่าต่อไป
 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 796  เมื่อ 27 มี.ค. 15, 11:32

ของไทยมีบางครั้ง เอาข้าวเปลือกมาเผาเป็นเชื้อเพลิงด้วยในปีที่ข้าวดีจนล้นตลาด ทั้งนี้เพื่อรักษาราคาไม่ให้ตกต่ำเกิน ตามทฤษฎีของฝรั่งที่ปรึกษารัฐบาล
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 797  เมื่อ 05 เม.ย. 15, 08:27

สกุณวัน หรือ เก๋งกรงนก
สร้างในสมัย ร.4 รื้อในสมัย ร.5
มีเสาธงอยู่สองเสาด้วย
ในปัจจุบันคือสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 798  เมื่อ 05 เม.ย. 15, 08:37

บ้านหมอแมตตูน เป็นมิชชั่นนารี ไม่ใช่หมอจริง
(เข้ามาเมืองไทยปี พศ.2390-สมัย ร.3)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 799  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 09:39

เก๋งกรงนก อีกภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 800  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 09:42

บ้านหมอเฮ้า MD สามีของนางแฮเรียต ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวังหลัง
เข้ามาในเมืองไทยพร้อมหมอแมตตูน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 801  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 09:43

วันนี้ขอออกนอกกรุงเทพฯขึ้นทางเหนือ
ไปดูพุทธสถานที่เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ

            รอยพระพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ของประเทศ
ตามคติอินเดียถือเป็นอุทเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่งมาแต่โบราณ
ภายหลังพุทธกาลไม่นานัก โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศต่อพระพุทธเจ้า เป็นของนับถือแทน พระพุทธรูป
(สมัยก่อนชาวชมพูทวีป ไม่นิยมสร้างรูปเคารพ เพราะเป็นการไม่เคารพ เหมือนเป็นการดูหมิ่น
ภายหลังพระเจ้ามิลินท์ หรือ เมนันเดอร์ ราชาชาติกรีก ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนา
จึงเริ่มสร้างพระพุทธรูป ซึ่งจะคล้ายเทวรูปของกรีกมาก ซึ่งเรียกว่าพระพุทธรูปสมัยคันธาระ)
แต่ตามคติของลังกา เชื่อกันว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทแห่งนี้
ไว้ด้วยพระองค์เอง ดังนั้น รอยพระพุทธบาทเป็นบริโภคเจดีย์อย่างหนึ่งด้วย คือ
เป็นของเนื่องใน ตถาคตเจ้า เหมือนกับสังเวชนียสถาน 4 แห่ง
ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานรอยพระพุทธบาท
ซึ่งอ้างกันว่าเป็นรอยที่พระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปเหยียบไว้ ด้ยพระองค์เอง มีอยู่ 5 แห่ง ซึ่งก็มีตำนานต่าง ๆ กัน คือ

    ขาสุวรรณมาลิก
    เขาสุมนกูฏ
    เมืองโยนก
    หาดทรายในลำน้ำนัมมทานที
    เขาสุวรรณบรรพต

                     รอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ประดิษฐานบนไหล่เขาสุวรรณบรรพต
หรือเรียกันว่า "เขาสัจจพันธคีรี" ปัจจุบันอยู่ในตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 140 กิโลเมตร
รอยพระพุทธบาทนี้ มีขนาดกว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต และลึก 11 นิ้ว
ค้นพบในรัชสมัยของ พระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163-2171)
ประดิษฐานอยู่ในมณฑปน้อย อันมีพระมณฑปใหญ่สวมครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง
 

                    พระมณฑปน้อยที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท สร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรม
แต่เดิมมีทองคำหุ้มอยู่ ต่อมาได้ถูกพวกจีนที่อาสาต่อสู้กับพม่า ลอกเอาทองคำไป
 แล้วยังเผาพระมณฑปด้วย
รัชกาลที่ 1 ได้ทรงปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2330
และได้รับการปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
                 
 พระมณฑปใหญ่ สร้างในสมัยพระเจ้าทรงธรรมเดิมเป็นพระมณฑปยอดเดียว
ได้รับการเปลี่ยนแปลงเครื่องบนให้เป็นพระมณฑป 5 ยอด ในรัชกาลพระเจ้าเสือ (พ.ศ. 2246-2251)
แต่การปฏิสังขรณ์ได้ตกค้างมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ. 2251-2275)
ครั้นในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงเปลี่ยนให้เป็นมณฑปยอดเดียวอีก
ต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนยอดจากไม้เป็นคอนกรีต ทั้งตัว เมื่อ พ.ศ. 2265

     สมเด็จพระพุฒนาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม ได้จัดการซ่อมครั้งหลังสุด เมื่อ พ.ศ. 2477-2478
 สูงประมาณ 37.25 เมตร เครื่องบน และเสาลงรักปิดทองและประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ รอบผนังด้านนอก
ประดับด้วยทองแดงฉลุลายเทพนมบนกระจกสีน้ำเงิน ผนังด้านในถือปูนถึง 3 ชั้น
                    ชั้นแรก  ถือปูนแล้วทาสีแดง เชื่อกันว่า ทำในสมัยรัชกาล ที่ 1
                    ชั้นที่ 2 ถือปูนแล้วปิดทองทึบ ทำในสมัยรัชกาล ที่ 3
                    ชั้นที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบัน ประดับลายทองเป็นรูป พระเกี้ยว ปูลาดด้วยแผ่นเงิน เปลี่ยนเป็นเสื่อเงิน สมัยรัชกาลที่ 4
   

 งานนักขัตฤกษ์ประจำปีของเทศกาลพระพุทะบาท มี 2 ช่วง คือ ช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3 ครั้งหนึ่ง
กับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงวันแรก 1 ค่ำ  เดือน 4  อีกครั้งหนึ่ง
คำให้การของขุนโขลน ซึ่งพิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 บันทึกเกี่ยวกับ รอยพระพุทธบาทไว้ว่า
               

รัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม มีพระสงฆ์ไทยพวกหนึ่ง เดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ ลังกาทวีป
พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ จึงตรัสแก่คณะสงฆ์ ไทยว่า รอยพระพุทธบาทที่อยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา
 บนยอดเขาสุวรรณบรรพต ทิศเหนือกรุงศรีอยุธยา
พร้อมกับทรงพระราชอักษรเป็นราชสาส์นถวายมายัง พระเจ้าทรงธรรม
เมื่อพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้ทราบความในพระราชสาส์นของพระลังกาแล้ว
 จึงมีพระราชโองการตรัสแก่เสนาบดีให้ออกป่าวร้อง แก่ประชาราษฎร์ให้เที่ยวค้นหารอยพระพุทธบาท ให้จงได้
                 นายพรานผู้หนึ่งชื่อบุญ เที่ยวยิงเนื้อในแคว้น ปะรัตนครราชธานี
นายพรานนี้ถือสัตว์มั่นคง จะยิงตัวดำ ถ้าตัวแดงขวางก็ไม่ยิง ถ้าจะยิงตัวเมีย ตัวผู้มาขวาง ก็ไม่ยิง
วันหนึ่งนายพรานยิงเนื้อตาย พอพระฤๅษีลงไป สรงน้ำที่ท่าวัด
นายพรานจึงสั่งพระฤๅษีว่าช่วยบอก พระคงคาให้ไหลขึ้นมาจะล้างเนื้อ
พระฤๅษีจึงว่า ตนเอง สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันค่ำเข้ามิได้ขาด
ตังแต่หนุ่มจนแก่ ก็ไม่เคยเรียกพระคงคาไหลขึ้นมา บนเขาได้
ต้องลงไปอาบน้ำถึงท่าวัด แต่นายพราน ฆ่าสัตว์อยู่เป็นนิจ
จะสั่งให้พระคงคาไหลขึ้นมาหา ถึงบนเขาได้อย่างไร
 นายพรานจึงให้ไปบอก  เมื่อพระฤๅษีลงไปที่ท่าวัด และบอกแก่พระคงคาตามสั่ง
พระคงคาก็ไหลขึ้นไปที่นายพรานยิงเนื้อไว้นั้น
นายพรานจึงยกเอาก้อนศิลากั้นน้ำไว้ให้เป็นขอบคันบ่ออยู่
นายพรานจึงล้างเนื้อในบ่อนั้น จนกลายเป็น "บ่อพรานล้างเนื้อ" ในปัจจุบัน
                ต่อมาวันหนึ่ง นายพรานยิงเนื้อจนบาดเจ็บ มัหลบหนี ขึ้นไปบนไหล่เขา
ปรากฏว่า เนื้อนั้นกลับหายจากบาดเจ็บ เป็นปกติ
นายพรานเห็นประหลาด จึงเข้าไปดูในถสานที่นั้น
เห็นศิลานั้นเป็นลิ้นถอด มีน้ำขังอยู่ไม่มาก
แต่พอเนื้อได้ดื่มกิน นายพรานจึงตักน้ำ มาดื่ม
และลูกกาย เกลื้อนกลากก็หายไป
นายพราน จึงชักลิ้นศิลาถอดที่ปิดฝ่าพระพุทธบาทนั้นออก ตักน้ำให้แห้ง
จึงได้เห็นพระลายลักษณ์เป็นกงจักร ปรากฏอยู่
นายพรานคิดว่าเป็นรอยของคนโบราณ จึงมิได้บอกเล่าผู้ใด
เมื่อข้าหลวงกรมการเมือง พบนายพรานจึงไต่ถาม นายพรานจึงเล่าให้ฟัง
แล้วนำขึ้นไปยังรอยพระพุทธบาท และพากันไปกราบทูล พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงทราบว่า
รอยพระพุทธบาท สถิตอยู่เหนือยดเขาสุวรรณบรรพต
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อเป็นฝาผนังหลังคามุงกระเบื้องอย่าง
วัดเจ้าพระยาเชิง  (วัดพนัญเชิง อยุทธยา) ให้เป็นร่มพระบาทไว้
 ตั้งให้นายพรานเป็น ขุนสัจภัณฑ์คีรีนพคูหาพนมโขลน นับแต่นั้นมา


.........บทความจาก..........เวปจังหวัดสระบุรี


ภาพวาดพระพุทธบาท โดย M. Catenacci, from a sketch by M. Mouhot  ในหนังสือของมูโอต์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 802  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 09:47

ภาพจากหนังสือ twentieth century impressions of siam พิมพ์เมื่อปี 2446


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 803  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 09:50

ภาพของวิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ ปี พศ 2412


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 804  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 09:56

ภาพของ ดร พิลเดิลตัน เมื่อปี 2491
เห็นถนนพหลโยธิน ช่วง สระบุรี ลพบุรี  เพิ่งเสร็จ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 805  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 10:10

ของ ดร พิลเดิลตัน อีกรูป  จะได้ครบ  
ท่าน J.A. Prescott ยืน next to a Naga Head sculpture at Wat Phra Phutthabat


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 806  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 10:12

และรูปอื่นๆ
รูปสุดท้ายปี พศ.2463


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 807  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 10:32

ทางรถไฟสายพระพุทธบาท
 เป็นทางรถไฟเอกชนที่เดินรถระหว่างสถานีรถไฟท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ถึง พ.ศ. 2485
ชาวบ้านท้องถิ่นมักเรียกรถไฟสายนี้ว่า รถไฟกรมพระนรา หรือ รถไฟกรมพระดารา

รถไฟเล็กสายพระพุทธบาทนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ
 เมื่อปี พ.ศ. 2445 และได้รับการจัดชั้นเป็น รถราง โดยเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2449

ทางรถไฟสายพระพุทธบาทดำเนินการโดย บริษัทท่าเรือจำกัด
ซึ่งมีผู้ถือหุ้นหลักคือ บริษัทนาบุญจำกัดสินใช้
 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 808  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 10:41

ภาพเก่าพระพุทธบาทมีอีกหลายภาพ
ระบบเก็บของผมไม่ดี หาเจอในช่วงเช้านี้แค่นี้
วันหลังจะนำมาเพิ่มเติม  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ภาพทางอากาศ ปี 2489  ของฮันท์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 809  เมื่อ 08 เม.ย. 15, 09:26

             บรรยายภาพนี้ไว้ว่า
.........new road (Taphan Lek)..........
น่าจะเป็นภาพแถวสะพานเหล็กบนตรงตามที่เขียนบอกไว้
ตรงด้านซ้ายน่าจะเป็นเวิ้งสะพานเหล็ก (ต่อมาเรียกเป็นเวิ้งนาครเขษม)

ภาพล่างถ่ายสมัยต่อมา(พศ.2456)  ตำแหน่งใกล้เคียงกับภาพแรก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 52 53 [54] 55 56 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.017 วินาที กับ 20 คำสั่ง