เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 41 42 [43] 44 45 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 418933 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 630  เมื่อ 06 มี.ค. 15, 16:26

ให้แผนที่สะพานดำ ไว้ดูครับ จุดที่ถ่ายภาพนั้นยืนหันหน้าเข้าภูเขาทองครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 631  เมื่อ 06 มี.ค. 15, 17:18

แสดงว่าภาพในความเห็นที่ ๖๒๙ มองเข้าเมืองไปทางสี่แยกแม้นศรี
ตามภาพแผนที่ในความเห้นที่ ๖๓๐ น่าจะแสดงว่ายังไม่ได้มีการก่อสร้างการประปาแม้นศรี เพราะยังมีภาพห้องแถวแสดงอยู่ในแผนที่
มีหลีกรถรางสาย ...? อยู่บนถนนจักรพรรดิพงศ์ใกล้สี่แยกแม้นศรี
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 632  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 09:46

ทำเนียบท่าช้าง(วังหน้า)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 633  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 10:34

ตึกสวยมาก  ทำเนียบท่าช้างวังหน้า เป็นบ้านของใครคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 634  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 10:56

อีกชื่อหนึ่งคือ วังถนนพระอาทิตย์  คุณวิกกี้ ให้คำตอบไว้ละเอียดเชียว

http://youtube.com/watch?v=Mv7RbeS9lAI#ws

วังถนนพระอาทิตย์ ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) บุตรเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี เชื้อสายมอญ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เป็นปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นมรดกตกทอดมาถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนัก ๒ ชั้น เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทิธิ์และเจ้าจอมมารดา ต่อมาเรียกอาคารหลักนี้ว่า ตำหนักเดิม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตำหนักใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สร้างเป็นอาคารทรงยุโรปก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น เรียกว่า วังมะลิวัลย์ จากนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ทรงย้ายไปประทับอยู่ ณ วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ส่วนตำหนักเดิมนั้น สันนิษฐานว่าเป็นที่พำนักของเจ้าจอมมารดากลิ่น หลังจากที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์สิ้นพระชนม์ พระโอรสองค์ใหญ่ซึ่งทรงเป็นผู้จัดการมรดก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายขายตำหนักและที่ดินแก่พระคลังข้างที่ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ หรือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน

ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ พระองค์พระราชทานตำหนักเดิม วังถนนพระอาทิตย์ ให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัฒน์ เมื่อพักได้ระยะหนึ่งจนตำหนักใหม่สูง ๓ ชั้นสร้างเสร็จ ตำหนักเดิมจึงถูกไม่มีใครอาศัย จนประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๘๑ คุณหญิงลิ้นจี่ สุริยานุวัตร เข้ามาพำนักที่ตำหนักเดิม ต่อมารัฐบาลได้จัดให้วังถนนพระอาทิตย์ เป็นที่พักของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๙๐ ซึ่งใช้เป็นที่ทำการการผู้สำเร็จราชการ จนเป็นที่รู้จักในชื่อ ทำเนียบท่าช้าง
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 635  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 11:35

สงสัยว่าคุณหญิงลิ้นจี่ สุริยานุวัตร เข้ามาอาศัยอยู่ได้ยังไง คือสงสัยว่าคุณหญิงเป็นเชื้อสายท่านเจ้าของวังแห่งนี้ทางสายไหนน่ะค่ะ
ตอนแรกเกรงใจเลยไปถามคุณวิกกี้ก่อน แต่คุณวิกกี้ตอบไม่ได้ค่ะ เลยต้องเข้ามาขอรบกวนอาจารย์ในเรือนไทย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 636  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 13:17

พฤศจิกายน 2490 ฝ่ายค้าน ได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ คณะราษฎร ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน
ในกรณีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการอื้อฉาว เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียม แจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร
แต่เป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม"
กระแสกดดันที่รุนแรงทำให้ท่านต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น และได้รับเลือกกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อทันที
(พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489)

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ด้วยสาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคต ร.8 ลงได้
ประกอบกับการทุจริตคอร์รัปชั่น และ  ปัญหาเศรษฐกิจตกตํ่าหลังสงครามโลก

คณะทหารแห่งชาติ นำโดยจอมพลผิน , พันเอกสฤษดิ์ ฯลฯ
และโดยการสนับสนุนจาก CIA อเมริกา
เห็นท่าไม่ดี จึงทำรัฐประหาร ตัดไฟแต่ต้นลมโค่นล้มอำนาจของ รัฐบาล พลเรือตรีถวัลย์
โดย กองกำลังรถถังส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร
เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล

รถถังอีกส่วนหนึ่ง บุกเข้ายิงทำเนียบท่าช้างวังหน้าซึ่ง นายปรีดี และครอบครัวอาศัยอยู่
แล้วพยายามจะจับกุมตัวนายปรีดี แต่ท่าน ได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ
ครอบครัว นายปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง ท่านผู้หญิงพูนศุข ภรรยาของนายปรีดี  และลูกๆ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 637  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 20:57

วัดราชนัดดาราม และโลหปราสาท ต่างยุค ต่างสมัย




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 638  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 21:26

วัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเล่งเน่ยยี่ ถนนเจริญกรุง




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 639  เมื่อ 07 มี.ค. 15, 21:36

ภาพลายเส้น ประตูทางเข้าพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 640  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 07:31

ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายข้างพ่อเมื่อเรียนจบชั้นมัธยม ๖ จากบ้านนอกแล้ว ก็มุ่งหน้าเข้าบางกอกเพื่อเรียนชั้น ม.๗-๘ กันต่อ แล้วก็เรียนต่อชั้นอุดมศึกษากันไปตามกำลังความสามารถ เรียนจบแล้วก็หางานการทำกันต่อไปในกรุงเทพฯ บ้านของตัวเองก็ไม่มี ต้องใช้วิธีเช่าบ้านอยู่ด้วยกัน

จากซ้ายไปขวาในภาพ - เพื่อนของลุง น้าคนเล็กของพ่อ ลุงคนใหญ่ของผม เพื่อนของลุง และพ่อผมเอง เช่าบ้านกันอยู่ในตรอกวังหลัง ตรงข้ามกับโรงพยาบาลศิริราช ภาพนี้น่าจะประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ท่านที่ ๔ ที่แต่งชุดนักเรียนนายเรือนั่นน่าจะเป็น พลเรือตรีพิชิต พิชัยกุล สามีของอาจารย์อรสา พิชัยกุล ซึ่งเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ

สมัยเด็กๆ จำได้ว่าผมไปนอนเล่นบ่อยๆ เป็นบ้านไม้สองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโล่ง หน้าบ้านเป็นสระน้ำเล็กๆ ไปนั่งเล่น นอนเล่น ดูปลาในสระ ตอนบ่ายๆ วันหยุด ก็เป็นที่สังสรรค์กินเหล้าของบรรดาผู้ใหญ่เขา เราเป็นเด็กก็ฉกกับแกล้มกินไปเรื่อยๆ หลังบ้านเป็นชานไม้ สมัยนั้นใครปลูกบ้านตึกปูนคอนกรีต มักจะเป็นคนรวยหรือเป็นพ่อค้าชาวจีน ข้าราชการอย่างคนไทยไม่มีเงินมาปลูกหรอก

ปัจจุบัน ทุกท่านในภาพได้จากภพนี้ไปภพใหม่กันหมดแล้ว คนสุดท้ายคือคุณลุงของผม (คนที่ ๓) เพิ่งจากไปเมื่อวันส่งท้ายปีเก่าที่ผ่านมานี้เอง


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 641  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 09:51

เล่าเรื่องสะพานหัน

สองข้างสะพานทำเป็นห้องแถวไม้ติดต่อกันตลอด
ฟากหนึ่งราวเจ็ดหรือแปดห้อง ห้องนั้นเป็นห้องเล็กๆ------------(ถ้านับจากรูปมีเจ็ดห้อง)
แต่ทำอย่างดีเป็นที่คนอยู่และขายของได้
ด้านหลังของห้องเป็นหน้าต่าง
ระหว่างห้องทั้งสองข้างเป็นทางคนเดินข้าม กว้างราวสักสามศอก
ห้องทั้งหมดมีคนเช่าอยู่และขายของเต็ม
แทบทั้งหมดเป็นคนจีนและขายผลไม้ที่มาจากเมืองจีน
เช่นองุ่น สาลี่ ลูกพลับ ฯลฯ ตลอดจนลิ่นจี่ดองเป็นไห
สมัยนั้นองุ่นไม่มีในเมืองไทยอย่างสมัยนี้
เขาใส่ลังไม่ฉำฉาขนาดกลาง มาเป็นพวง มีเศษไม้ก๊อกชิ้นเล็กแทรกอยู่เต็ม....

บางห้องขายของเบ็ดเตล็ดบ้าง
มีอยู่สองห้องเป็นคนไทย
ห้องหนึ่งขายหมากพลูบุหรี่ ธูปเทียนนํ้าอบไทย อยู่ห้องสุดท้ายก่อนเข้าสำเพ็ง
อีกห้องหนึ่งเป็นร้านตัดผม อยู่ตรงกลางสะพานทางขวามือ
ช่างตัดผมมีลูกสาวสวย ชอบนั่งข้างกระจกบานใหญ่ ริมหน้าต่าง
ผู้เข้าไปตัดผมมักเป็นหนุ่มๆ ถ้าไม่มองกระจกเผลอไปมองลูกสาว
แกมักเอากรรไกรเคาะหัวให้รู้สึกว่า"อย่ามองลูกสาวฉัน  มองกระจกซี"


จากข้อเขียนของอีกท่านเล่าว่าผนังของห้องในสะพานทาเป็นสีเขียว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 642  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 10:30

เป็นพิธีเมรุมาศของท่านใดบอกไม่ได้ ห้วงเวลาบอกไม่ได้
สถานที่คือทุ่งพระเมรุ     เห็นพลับพลาสูงของวังหน้า
ภาพมีคุณภาพตํ่า มองไม่ค่อยชัด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 643  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 10:45

เป็นพิธีเมรุมาศของท่านใดบอกไม่ได้ ห้วงเวลาบอกไม่ได้
สถานที่คือทุ่งพระเมรุ     เห็นพลับพลาสูงของวังหน้า
ภาพมีคุณภาพตํ่า มองไม่ค่อยชัด

ภาพชุดนี้อยู่ในกลุ่มงานพระเมรุของสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ พ.ศ. 2404 ครับผม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 644  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 11:16

อยู่มุมใดของแผนที่วังหน้าสมัยนั้นนะ ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 41 42 [43] 44 45 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง