เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 39 40 [41] 42 43 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 418954 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 600  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 16:25

พื้นที่ที่เคยเรียกว่าสะพานถ่าน ตึกแถวริมถนนลงท่าที่เคยเป็นโรงโคมเขียวโคมแดงในอดีต




บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 601  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 21:15

ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระทู้นี้อีกคนนะคะ  อายจัง
รูปนี้ได้มาจากฝรั่งอเมริกันคนหนึ่งที่เคยมาเป็นทหารสมัยสงครามเวียดนาม คิดว่าน่าจะถ่ายไว้ประมาณปี พ.ศ. 2509-2511 ค่ะ
ลองค้นๆ ดูในกูเกิ้ลก็พบว่าเป็นรูปของตึกบริษัท East Asiatic



รูปปัจจุบัน


 
ที่มา http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2011/07/14/entry-2
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 602  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 21:20

ส่วนสองรูปนี้มาจากฝรั่งคนเดิมค่ะ แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าถ่ายจากส่วนไหนของกรุงเทพ
บรรยากาศริมคลองแบบนี้คงหมดไปนานแล้ว
แต่แอบสงสัยนิดนึงค่ะ ฝรั่งคนนี้บอกว่าน่าจะถ่ายไว้ตอนปี 2509-2511 สมัยนั้นยังมีวิถีชีวิตริมคลอง พายเรือขายของอยู่เหรอคะ นึกว่าเปลี่ยนมาเป็นวิถีชีวิตคนเมือง ขับรถ เดินถนน กันหมดแล้ว




บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 603  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 23:59


ล่วงมาทศวรรษที่2520 บางแห่งการเดินทางตามลำคลองสะดวกกว่า เช่นแถวบางกรวย บางใหญ่
พี่ที่ทำงานผมเมื่อก่อน แกไปได้ลูกสาวคนเดียวของเจ้าของสวนทุเรียนนนท์แถวมหาสวัสดิ์ ก็ใช้ชีวิตแบบนี้
เลิกงานตอนเย็นก็ต้องตาลีตาเหลือกไปให้ทันเรือหางที่แล่นรับส่งคนในคลองบางกอกน้อย
ถนนยังมีน้อยและอ้อม บ้านเรือนผู้คนจะหนาแน่นไปตามริมฝั่งคลอง การเดินทางด้วยเรือจึงจำเป็นอยู่






บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 604  เมื่อ 04 มี.ค. 15, 07:49

ขอบคุณคุณ Jalito มากๆค่ะ
นึกว่าตอนนั้นวิถีริมคลองจะหายไปหมดแล้วซะอีกค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 605  เมื่อ 04 มี.ค. 15, 09:04

สวัสดีครับคุณเอื้องหลวง
กรุงเทพเรามีคลองมากจนได้ฉายาว่าเวนิสตะวันออก
เคยมีฝรั่งมานับจำนวนเรือนแพรอบกรุงเทพ นับได้กว่าสองหมื่นหลัง
คนไทยชอบอยู่เรือนแพมากกว่าบนบก สะดวกกว่าหลายอย่าง
เราอยากเอาทหารไปรบกับญวน-เขมร เราขุดคลองแสนแสบ
เราอยากขนนํ้าตาลมากรุงเทพเราก็ขุดคลองภาษีเจริญ ฯลฯ
ประเทศไทยอาศัยทางนํ้าเป็นหลัก ก่อนที่จะมีการสร้างถนน
วิถีชีวิตริมคลองเป็นเรื่องธรรมดาของคนไทยสมัยก่อน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 606  เมื่อ 04 มี.ค. 15, 09:05

ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระทู้นี้อีกคนนะคะ  อายจัง
รูปนี้ได้มาจากฝรั่งอเมริกันคนหนึ่งที่เคยมาเป็นทหารสมัยสงครามเวียดนาม คิดว่าน่าจะถ่ายไว้ประมาณปี พ.ศ. 2509-2511 ค่ะ
ลองค้นๆ ดูในกูเกิ้ลก็พบว่าเป็นรูปของตึกบริษัท East Asiatic


ภาพตึกบริษัท East Asiatic สมัยยังเป็นเรือนไม้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 607  เมื่อ 04 มี.ค. 15, 09:57

ถนนเจริญกรุงต่อ

จากหนังสือ--เรื่องเล่าบางกอก-- ของอาจารย์ ส.พลายน้อย

ท่านอธิบายใต้ภาพว่า"ถนนเจริญกรุง เชิงสะพานดำรงสถิต ฟากตะวันออก"ลอกมาเหมือนทุกคำ

ผมไม่แน่ใจว่าจะถูกไหม เพราะมีรถรางแล้ว หลังปี 2431 ตรงไปด้านขวาต้องเป็นเวิ้งนาครเขษม

เห็นทางรถรางพอจะเข้าได้      แต่ตึกตัวอาคารริมถนนไม่เหมือน  


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 608  เมื่อ 04 มี.ค. 15, 10:13

ถนนเจริญกรุงต่อ

จากหนังสือ--เรื่องเล่าบางกอก-- ของอาจารย์ ส.พลายน้อย

ท่านอธิบายใต้ภาพว่า"ถนนเจริญกรุง เชิงสะพานดำรงสถิต ฟากตะวันออก"ลอกมาเหมือนทุกคำ

ผมไม่แน่ใจว่าจะถูกไหม เพราะมีรถรางแล้ว หลังปี 2431 ตรงไปด้านขวาต้องเป็นเวิ้งนาครเขษม

เห็นทางรถรางพอจะเข้าได้      แต่ตึกตัวอาคารริมถนนไม่เหมือน  


ดูแล้วเป็นสามแยก และคงไม่ใช่ตรงเวิ้งนาครเขษม เนื่องจากบริเวณเวิ้งในยุคนั้นยังไม่มีถนนเข้าเวิ้ง (ถนนบริพัตร) ยังไม่ตัดครับ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 609  เมื่อ 04 มี.ค. 15, 18:44

อุทกทาน มีความหมายว่า ให้ทานด้วยน้ำ (หรือให้น้ำเป็นทาน) เป็นศาลตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินใน
 เป็นปูนปั้นรูปพระแม่ธรณีกำลังบีบมวยผม มีน้ำสะอาดไหลออกมาจากปลายมวยผม สามารถใช้ดื่มกินได้

อุทกทาน สร้างจากพระราชดำริของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เพื่อแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดบริสุทธิ์ให้ผู้คนทั่วไป

ปั้นขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระยาจินดารังสรรค์ (พลับ)เป็นผู้ออกแบบเรือนครอบ
 
แล้วเสร็จ     ทำพิธีเปิดในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2460
อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 610  เมื่อ 05 มี.ค. 15, 09:00

อยากให้คุณพี่ visitna นำภาพคุณแม่ที่ถ่ายภาพบริเวณหลังโรงพยาบาลศิริราช ที่เคยนำลงที่เวปพันทิปเมื่อหลายปีก่อนให้ชมอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 611  เมื่อ 05 มี.ค. 15, 09:12

ถนนเจริญกรุงต่อ

จากหนังสือ--เรื่องเล่าบางกอก-- ของอาจารย์ ส.พลายน้อย

ท่านอธิบายใต้ภาพว่า"ถนนเจริญกรุง เชิงสะพานดำรงสถิต ฟากตะวันออก"ลอกมาเหมือนทุกคำ

ผมไม่แน่ใจว่าจะถูกไหม เพราะมีรถรางแล้ว หลังปี 2431 ตรงไปด้านขวาต้องเป็นเวิ้งนาครเขษม

เห็นทางรถรางพอจะเข้าได้      แต่ตึกตัวอาคารริมถนนไม่เหมือน  


ดูแล้วเป็นสามแยก และคงไม่ใช่ตรงเวิ้งนาครเขษม เนื่องจากบริเวณเวิ้งในยุคนั้นยังไม่มีถนนเข้าเวิ้ง (ถนนบริพัตร) ยังไม่ตัดครับ

ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี ๒๔๘๙ แสดงให้เห็นว่าถนนบริพัตรในพื้นที่เวิ้งนาครเขษมที่เชื่อมถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราชยังไม่ได้ก่อสร้าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 612  เมื่อ 05 มี.ค. 15, 09:54

ลุงไก่---ผมจำไม่ได้เป็นภาพไหนถ้าเจอจะนำมาลงให้
ตอนนี้ความจำชักจะไม่ค่อยดี  ขอโทษ นึกไม่ออกจริงๆ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 613  เมื่อ 05 มี.ค. 15, 09:59

ถ้าเป็นวัดประยุรวงศาวาส (ปี พศ 2430)
หมอปลัดเล เคยตั้งบ้านอยู่ที่ริมนํ้านี้สิบกว่าปี
ก่อนจะย้ายไปอยู่หลังป้อมวิชัยประสิทธิ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 614  เมื่อ 05 มี.ค. 15, 10:03

จากมุมมองท่านํ้าโรงเรียนราชินี ไปที่วัดประยุรวงศาวาส ปี 2446


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 39 40 [41] 42 43 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง