เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 420479 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 480  เมื่อ 01 ก.พ. 15, 14:38

กำลังก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 
จากภาพเหมือนมีเนิน หรือ อาจเป็นแนวต้นไม้ใบไม้อยู่ด้านหลัง?
แต่มีการขุดเป็นแนววงกลม กลางบริเวณที่เห็นค่อนข้างชัดว่าเป็นสี่แยก
อาจจะเป็นต้นจามจุรีริมถนนพญาไทกระมังครับ
น่าจะเป็นอย่างนั้น
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 481  เมื่อ 01 ก.พ. 15, 14:42

อนุสาวรีย์ชัยฯ ถ่ายก่อน พศ 2497

ด้านบนภาพคือ รพ.ราชวิถี (เดิมเรียก รพ.หญิง)

ด้านล่างเป็นคลองสามเสน ลอดใต้ถนนพหลโยธิน (เดิมเรียกว่า ถนนประชาธิปัตย์)



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 482  เมื่อ 01 ก.พ. 15, 14:54

ก่อนหน้าภาพที่แล้วประมาณ 8 ปี
ปีเตอร์ ฮันต์ ถ่ายภาพบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ไว้ เมื่อ 5 มีค 2489

คลองสามเสนอยู่ซ้ายมือ รพ. ราชวิถี (อาจจะยังไม่มี?) อยู่ขวามือล่าง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 483  เมื่อ 01 ก.พ. 15, 15:48

ก่อนหน้าภาพที่แล้วประมาณ 8 ปี
ปีเตอร์ ฮันต์ ถ่ายภาพบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ไว้ เมื่อ 5 มีค 2489

คลองสามเสนอยู่ซ้ายมือ รพ. ราชวิถี (อาจจะยังไม่มี?) อยู่ขวามือล่าง



รพ. ราชวิถีก่อตั้งขึ้นเมื่อ พศ. 2494 ดังนั้นภาพทางอากาศของฮันท์ จึงไม่ปรากฎโรงพยาบาลครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 484  เมื่อ 01 ก.พ. 15, 17:23

ต้นทศวรรษ 2490 บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังเป็นชนบทอยู่มากๆ แทบมองไม่เห็นรถยนต์บนถนน
มิพักต้องพูดถึงจุดที่เลยออกไป อย่างสนามเป้า สะพานควาย ตลาดหมอชิต หรือแยกลาดพร้าว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 485  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 09:26

ก่อนหน้าภาพที่แล้วประมาณ 8 ปี
ปีเตอร์ ฮันต์ ถ่ายภาพบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ไว้ เมื่อ 5 มีค 2489

คลองสามเสนอยู่ซ้ายมือ รพ. ราชวิถี (อาจจะยังไม่มี?) อยู่ขวามือล่าง



โรงพยาบาลราชวิถีหรือโรงพยาบาลหญิงในปีนั้นยังไม่ได้สร้าง แต่พื้นที่บริเวณนี้มีอาคารและสิ่งก่อสร้างของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาตร์ เกิดขึ้นแล้ว

โดยดำริที่จะให้มีการเรียนการสอนสัตวแพทยศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ พลจัตวา หลวงสนั่นรักษ์สัตว์ พันเอก หลวงสนิทรักษ์สัตว์ และพันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ การศึกษาวิชาสัตวแพทย์ขั้นปริญญา ถือกำเนิดโดยเริ่มต้นจัดตั้งเป็นแผนกสัตวแพทยศาสตร์ เป็นแผนกอิสระเช่นเดียวกับแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ และแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๗๗ ตราไว้ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยเปิดรับสมัครนักเรียนจบประโยคมัธยมบริบูรณ์ (มัธยมที่ ๘) แผนกวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตเตรียมสัตวแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในแผนกสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๘

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ แผนกสัตวแพทยศาสตร์ได้รับงบประมาณจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท และเงินสนับสนุนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม อธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และนายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ เลขาธิการ ช่วยหามาเพิ่มเติมอีก ๔๐,๐๐๐ บาท เป็นค่าก่อสร้างตึกเรียน โรงพยาบาลสัตว์ และแปลงที่ทดลองเลี้ยงสัตว์ตามโครงการบนเนื้อที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประมาณ ๒๕ ไร่บนถนนพญาไท อำเภอดุสิต การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายแผนกไปเปิดทำการสอนที่ตึกใหม่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นต้นมา ถือเป็นอาคารเรียนหลังแรกของแผนกสัตวแพทยศาสตร์หลังการสถาปนาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๕ ได้มีการเลื่อนฐานะแผนกสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๔๘๕ ตราไว้ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕

จนปีพ.ศ. ๒๔๙๓ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พิจารณาเห็นว่าเนื้อที่บริเวณที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ตั้งอยู่เหมาะที่จะทำเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์จึงได้มีการก่อสร้างตึกโรงพยาบาลหญิงขึ้น ระหว่างตึกเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์กับแผนกเลี้ยงสัตว์ ต่อมาโรงพยาบาลหญิงขยายตัวเร็วมากมีตึกและโรงเรียนเพิ่มขึ้น รั้วของโรงพยาบาลหญิงก็เริ่มโอบเข้าเรื่อย ๆ จนล้อมรอบเนื้อที่เดิมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ทั้งหมด


ที่มา ประวัติการจัดการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบเรียงโดย รศ.น.สพ. ดร. คณิศักดิ์ อรวีระกุล  หนังสือ ๗๒ ปี สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ๒๔๗๘-๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 486  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 09:34

อาคารเรียน โรงพยาบาลสัตว์ และแปลงเลี้ยงสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ บนถนนพญาไท (บริเวณโรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน) ไม่ทราบปีที่ถ่าย หากก่อนวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากหลังจากวันนั้นขึ้นกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก หอประวัติและหอเกียรติยศ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 487  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 10:19

อาคารเรียน โรงพยาบาลสัตว์ และแปลงเลี้ยงสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ บนถนนพญาไท (บริเวณโรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน) ไม่ทราบปีที่ถ่าย หากก่อนวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากหลังจากวันนั้นขึ้นกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก หอประวัติและหอเกียรติยศ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[/quote
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ตึกที่คุณเพ็ญชมพูว่า    คือตึกใหญ่ที่อยู่กลางภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 488  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 12:59

เรียนถามคุณหมอ visitna ว่าภาพข้างบน ใครเป็นผู้ถ่าย และถ่ายเมื่อไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 489  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 13:33

คิดว่าเป็นวันที่ 5 มีนา  2489 เหมือนภาพ อีกมุม ที่ผมโพสต์ไว้

ผู้ถ่ายคือ Peter Williams-Hunt 

อย่าถามผมมาก พอรู้งูๆปลาๆ

ถ้ามีรูปที่เกี่ยวข้องอยากลงให้บางท่านได้เก็บไปดู  แบ่งปันกัน
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 490  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 21:35

เจริญกรุง ตัด สี่พระยา 2463  (ว่าตามที่เขา เขียนไว้)

หนังสือ bangkok then and now ของ Steve Van Beek เล่มล่าสุดที่ซื้อมา
พิมพ์ในประเทศไทย ภาพไม่คมชัดเหมือนเก่า ภาพบางภาพตัดออกเหลือแค่ 3/4 แต่ละภาพลดขนาดเหลือเล็กจิดเดียว



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 491  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 22:37

ภาพต่อเนื่อง  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 492  เมื่อ 03 ก.พ. 15, 10:16

คิดว่าเป็นวันที่ 5 มีนา  2489 เหมือนภาพ อีกมุม ที่ผมโพสต์ไว้

ผู้ถ่ายคือ Peter Williams-Hunt
 

พบภาพเต็มแล้ว น่าจะถ่ายวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 493  เมื่อ 03 ก.พ. 15, 14:08

ผ่านเข้าไปในเวปของมหาวิทยาลัยนี้
พบภาพสะสมของ  Margaret Landon 
ผู้เขียน Anna and the King of Siam, สมัยอยู่เมืองไทย
ผู้สนใจเข้าไปดูได้ บางภาพเหมือนตัดมาจากหนังสือพิมพ์ หรือเอามาจาก รูปแถม 
บางภาพชัดเจนเพราะเป็นภาพถ่ายจริง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 494  เมื่อ 03 ก.พ. 15, 14:39

ตัวอย่างภาพสะสมของ มาร์กาเรต แลนดอน
ภาพวัดเลียบ  คำบรรยาย เหมือนบางภาพที่เคยเห็นเช่นวัดราชนัดดาราม วัดสระเกศ
แสดงว่าภาพชุดนี้มีหลายภาพ เราเคยเห็นเพียงบางภาพ และที่ มาร์กาเรต แลนดอน อีกสี่ภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง