เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 420317 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 10 มี.ค. 14, 20:11

สมัยก่อนเวลาไปบ้านญาติที่แปดริ้ว ถ้าไม่มาขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง หรือมักกะสัน

ก็ออกมาคอยรถเมล์หลังคาเตี้ยแบบนี้ที่ริมถนนปากซอยบ้าน

หลังคาเตี้ยซะจนเด็กๆก็ยังต้องก้มหัวเพราะกลัวหัวโขกเพดานหลังคา

รถเมล์เส้นทางตะวันออกมีจุดพักแรกที่สามแยกหอนาฬิกา จุดต่อไปก็ที่คลองด่าน แล้วไปตามเส้นทางสุขุมวิท ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเส้นเดียวสมัยนั้น

สมัยนั้นที่ว่าคือประมาณใกล้ๆจะถึงยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ

ถ้านั่งรถไฟก็จะกินลมชมทุ่งเรื่อยไปตั้งแต่มักกะสัน คลองตัน บ้านหัวหมาก หัวตะเข้  ลาดกระบัง คลองพระองค์เจ้า เปร็ง คลองบางพระ ถึงฉะเชิงเทราก็บ่ายสองกว่าๆ

คำถามของอาจารย์เช็คอายุอีกแล้ว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 10 มี.ค. 14, 21:04

คุณ Jalito ถึงฉะเชิงเทราเอาบ่ายสองกว่าๆ    ออกจากบ้านตั้งแต่กี่โมงคะ

ใครจำรถฝากเงินเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินได้บ้างคะ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 10 มี.ค. 14, 21:50

สมัยก่อนเวลาไปบ้านญาติที่แปดริ้ว ถ้าไม่มาขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง หรือมักกะสัน

ก็ออกมาคอยรถเมล์หลังคาเตี้ยแบบนี้ที่ริมถนนปากซอยบ้าน

หลังคาเตี้ยซะจนเด็กๆก็ยังต้องก้มหัวเพราะกลัวหัวโขกเพดานหลังคา

รถเมล์เส้นทางตะวันออกมีจุดพักแรกที่สามแยกหอนาฬิกา จุดต่อไปก็ที่คลองด่าน แล้วไปตามเส้นทางสุขุมวิท ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเส้นเดียวสมัยนั้น

สมัยนั้นที่ว่าคือประมาณใกล้ๆจะถึงยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ

ถ้านั่งรถไฟก็จะกินลมชมทุ่งเรื่อยไปตั้งแต่มักกะสัน คลองตัน บ้านหัวหมาก หัวตะเข้  ลาดกระบัง คลองพระองค์เจ้า เปร็ง คลองบางพระ ถึงฉะเชิงเทราก็บ่ายสองกว่าๆ

คำถามของอาจารย์เช็คอายุอีกแล้ว



ถือโอกาสเรียนถามคุณ Jalito เลยครับว่่า ยุคนั้นที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงหรือยัง เพราะที่ผมดูแผนที่เก่า ถนนสายกรุงเทพฯ - ชลบุรีสายแรก ไม่ใช่เส้นทางปัจจุบัน แต่ถนนจะเข้าสมุทรปราการ - คลองด่าน - บางปะกง - ฉะเชิงเทรา แล้วจะข้ามแม่น้ำบางปะกงมา มีถนนอีกสายหนึ่งจากบางปะกง - พนัสนิคม - บ้านบึง - ชลบุรี - ศรีราชา - นาเกลือ - สัตหีบ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 10 มี.ค. 14, 21:57


ใครจำรถฝากเงินเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินได้บ้างคะ

เคยเห็นแต่รถฝากเงินรุ่นปัจจุบัน สมัยที่สมเด้จพระเทพฯ ทรงฝากครับ

แต่ที่เห็นบ่อยๆ คือ เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินสาขาปากคลองตลาด เดินมาเก็บเงินแม่ค้าย่านปากคลองเอาไปเข้าบัญชีให้ที่สำนักงาน โดยที่แม่ค้าไม่ต้องไปฝากเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 10 มี.ค. 14, 21:59

รูปรถฝากเงินของธนาคารออมสินค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 07:05

อ้างถึง
มารอขึ้นรถที่สถานีขนส่งเอกมัย เตรียมเที่ยวท่องถนนสุขุมวิทต่อไป
ไปคร้าบปาย

เมื่อสุขุมวิทถึง “บางปะกง” ต้องหยุดอยู่ริมฝั่งเพราะยังไม่มีสะพาน ต้องข้ามด้วยแพขนานยนต์ จึงทำให้รถต้องเข้าคิวรอแพกันยาวทีเดียว เมื่อข้ามแพไปแล้วก็ถึงชลบุรี
เมื่อสร้างสะพานแล้วเสร็จ ช่วยให้คนกรุงเทพฯ ได้ลิ้มรสอาหารทะเลสดๆกันมากขึ้น เมื่อการติดต่อกับกรุงเทพฯสะดวก เลยทำให้ชลบุรีเจริญขึ้นด้วย


ดูจากภาพแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ำบางปะกงที่หามาได้แล้ว เห็นลำเล็กนิดเดียว คิดถึงจอมพลป.ตอนนั่งซีตรองหนีจอมพลสฤษดิ์ปฏิวัติ มุ่งหน้าจะไปเขมร แต่ต้องมาติดแหง็กที่ท่าข้าม รอแพขนานยนต์กว่าจะมาถึง กว่าจะลงแพเคลื่อนไปขึ้นอีกฝั่งหนึ่งได้ คงร้อนรนใจชายชาติทหารไม่น้อย ถ้าจอมพลสฤษด์สั่งให้ทหารตามมา หรือให้หน่วยรบที่เมืองชลมารอดัก อาจจะมีข่าวโจรจีนมลายูมาชิงท่านจอมพลที่ท่าข้ามอีกก็เป็นได้



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 07:08

ถัดจากบางปิ้งไป ก็จะถึงคลองด่าน ในสมัย 2480-2499 การเดินทางระหว่างบางปะกง - กรุงเทพ ใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่านี้ การเดินทางใช้เวลาสองสามวัน และรถโดยสารจะมาหยุดพักครึ่งทางที่คลองด่านนี้. ที่คลองด่านมีวัดบางเหี้ยตั้งอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสมานมัสการหลวงพ่อปาน ผู้สร้างเขี้ยวเสืออันโด่งดัง

ประมาณปี พ.ศ. 249 กว่า ๆ ทางครอบครัวเห็นลู่ทางการเดินทางระหว่าง ท่าไข่ - กรุงเทพ มีการขนส่งไข่เป็ดจำนวนมาก โดยใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่าผ่านบางปู ไปยังกรุงเทพได้ จึงได้ต่อรถบรรทุกหัวโต ด้านหลังให้คนนั่งได้ แล้วจ้างคนขับรถวิ่งระหว่าง บางปะกง ไปหัวลำโพง วิ่งวันละเที่ยว

ออกรถประมาณบ่ายโมง ถึงหัวลำโพงประมาณบ่ายสี่ บ่ายห้าโมงเป็นต้น โดยจะพักรถแวะทานข้าวกันที่คลองด่าน รถที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารใช้ชื่อ "ศรีสอ้าน" ภายหลังย้ายท่ารถไปแถววัดดวงแข

หลังจากนั้นเมื่อมีการจัดระเบียบการเดินรถในเขตกรุงเทพ จึงไม่ได้วิ่งรถสายนี้ แต่กลับไปวิ่งรับผู้โดยสารระหว่าง แปดริ้ว-เมืองชล แทนครับ

โดยพ้นคลองด่านไป ก็จะเจอ "คลองผีขุด" และ "คลองสอง" และ "ท่าไข่"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 09:29

รถบรรทุกหัวโต ด้านหลังให้คนนั่งได้ แล้วจ้างคนขับรถวิ่งระหว่าง บางปะกง ไปหัวลำโพง วิ่งวันละเที่ยว

นึกไม่ออกว่าเป็นยังไง  นึกออกแต่แบบนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 10:13

รถบรรทุกหัวโต ด้านหลังให้คนนั่งได้ แล้วจ้างคนขับรถวิ่งระหว่าง บางปะกง ไปหัวลำโพง วิ่งวันละเที่ยว

นึกไม่ออกว่าเป็นยังไง  นึกออกแต่แบบนี้ค่ะ


ภาพถ่ายการเดินทางสถานีรถที่มีนบุรี กับท้ายรถแบบไม้


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 16:00

เรือริมนํ้าเป็นพาหนะส่วนใหญ่ในยุคก่อน

ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในทุกครัวเรือน

ไม่เว้นครัวเจ้านายใหญ่โต ต้องใช้ถ่าน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 16:12

จำรถเมล์หัวโตแบบนี้ไม่ได้  คงไม่เคยเห็นหรือเห็นก็น้อยครั้งมากค่ะ

คลองในรูปข้างบนนี้ คลองบางกอกน้อยหรือเปล่าหนอ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 16:17

ริมแม่นํ้าอีกแห่ง  คือท่าพระจันทร์  มองเห็นโดมชัดจากริมนํ้า  1946

(ภาพก่อนไม่บอกว่าริมแม่นํ้าหรือคลองใด)
 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 16:50

เมื่อคืนอ่านเรื่องของคุณสรศัลย์ แพ่งสภา

เล่าถึงเรือโดยสารของอีสต์เอเซียติก

ที่ไปทั้งฝั่งตะวันออกและใต้ 

มีหลายลำ  ที่ตั้งชื่อตามเจ้าฟ้า เช่น ภาณุรังสี

มีอยู่ลำหนึ่งตั้งตามเจ้าฟ้านิภานพดล คือ เรือนิภา วิ่งทั้งไปจันทบุรี และ สงขลา

(ถ่ายที่ท่าจันทบุรี)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 16:54

แบบนี้ ผู้โดยสารเห็นจะค้างคืนในเรือ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 17:41

ต้องนอนค้าง ไปสงขลาอาจจะต้องนอนสองคืน?

เรือแวะรับส่งของหลายท่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง