เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 418946 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 08:31

ส่วนภาพนี้ถ่ายจากหอเก็บน้ำย้อนไปยังพระปรางค์วัดอรุณ  ยิงฟันยิ้ม

ภาพนี้เป็นภาพที่ช่างภาพขึ้นบนถังน้ำประปา ถ่ายภาพลงมายังท่าราชวรดิษฐ์ สมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ที่ยังมีป้อมอยู่ ๒ มุมซ้ายและขวาครับ และมองดี ๆ มุมซ้ายภาพกลาง ๆ จะเห็นแทงค์น้ำประปา บนโครงไม้สานถัก เป็นถังเก็บน้ำส่งเข้าไปยังพระราชฐานฝ่ายในครับ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 08:42

ที่คนอ้างถึงคือ ข้อความที่คุณเพ็ญชมพู พูดถึง

คือ   มีช่างภาพขึ้นไปถ่ายรูปบนนี้ 

อ้างกันว่าถ้าถ่ายมุมสูง

น่าจะขึ้นไปถ่ายจากถังนํ้าที่ส่งนํ้าไปใช้ในพระราชวัง

ตามรูป ถังนํ้ามีสองถัง ข้างนอกถัง ข้างในถังหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 09:02

รูปข้างบนถ่ายโดยคุณ Wilhelm Burger  พ.ศ. ๒๔๑๒

เช่นเดียวกับรูปข้างล่างนี้ เกาะน้อยหน้าวัดอรุณ

ตะพานท่าน่ามุขมีสีหน้า
รูปกุมภาทำด้วยหินดิ้นไม่ไหว
สองตัวคู่ริมท่าชลาไสย
ตรงนั้นไซร้มีช่องร่องวาริน

แผ่นผาศิลาลาดดูหยาดเหยาะ
ทำเป็นเกาะฝั่งท่าชลาสินธุ์
มีเขื่อนคั่นรายรอบเป็นขอบดิน
ปลูกต้นอินทผลัมมีหนามคม

นิราศยี่สาร - ก.ศ.ร. กุหลาบ





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 10:25

ตรงนี้ ที่ไหนคะ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 11:07

บริเวณสี่แยกบางลำพู 

ถนนที่รถรางอยู่คือถนนจักรพงษ์  มีสี่แยกข้างหน้า

ถนนที่ตัดขวางผ่านข้างหน้าคือถนนพระสุเมรุ

ถนนจักรพงษ์พอพ้นสี่แยกไปกลายเป็นถนนสามเสน 

แล้วไปข้ามคลองบางลำพู  ที่สะพานนรรัตน์สถาน

เป็นสะพานเหล็กพื้นไม้(ตามรูป) สมัยโน้นเรียกว่าสะพานเหล็กโค้ง

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 23:40

สะพานเหล็กโค้งในยุคแรกมีหลายสะพาน

ที่จำได้    นอกจากบางลำพู มีที่
ผ่านฟ้าฯข้ามคลองบางลำพู(โอ่งอ่าง),
ที่ข้ามคลองผดุงฯหน้าหัวลำโพง ,
ที่มหานาคอีกแห่ง

ที่มหานาคเห็นแค่พื้นสะพาน ตัวเหล็กโค้งเห็นเล็กน้อย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 12:38

มีรูปของ Forman หลายภาพที่เข้าไปถ่ายในโรงเรียนแพทย์

ทั้งห้องแลป - ห้อง เล็คเช่อร์

เป็นแพทย์ศิริราช (รูปในห้องแลปอนาโตมี่ ทั้งโต๊ะและสแตนด์ที่วางตำราเหมือนที่จุฬา

จุฬาฯคงไปเอาแบบมาจากที่นี่)





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 12:42

รูปในห้องแลปอนาโตมี่ ทั้งโต๊ะและสแตนด์ที่วางตำราเหมือนที่จุฬา จุฬาฯคงไปเอาแบบมาจากที่นี่)

อันนี้โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งในโลกก็เป็นอย่างนี้ครับ จะว่าจุฬาเอาแบบมาจากที่นี่คงไม่ถูกนัก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 14:07

 ทั่วโลกจะเป็นแบบนี้ไหม?

เหมือนกันอย่างไร      ให้ดูรูปที่จุฬาก่อน  

ขนาดไม้หลังแสตนด์วางตำรายังมีปุ่มไม้เล็กๆยื่นออกมา (ยื่นมาทำไมไม่รู้)

บางทีช่างทำไม่ถูก    ถ้ามีตัวอย่างไปให้ดู  ง่ายขึ้น

ตัวอย่างจะเอาที่ไหนในเมืองไทยมีที่เดียว

เชียงใหม่กับรามา จะเป็นแบบนี่ไหม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 14:12

ที่เหมือนกันน่าจะเป็นกลิ่นฟอร์มาลีน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 14:26

แลปฯนี้โบราณเกินไป ที่บอร์กโด



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 14:35

ว้าววว โครงกระดูกท่านขุนฯ (อ่านไม่ออก) ซะด้วย

แถวล่างสุด "อุทิศเพื่อการศึกษา พ.ศ. ........  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 14:50

บรรยากาศการเรียนแพทย์ ที่ใดหนอ  ฮืม

คล้ายกับห้องกายวิภาค โรงพยาบาลศิริราชเลย


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 14:56

ภาพคุณหนุ่ม เป็นที่ศิริราช น่าจะเป็น lab.  Physiology

โครงกระดูกที่คุณหนุ่มจะอ่าน น่าจะเป็นของท่านขุนกายวิภาควิศาล

ถือว่าเป็นอาจารย์รุ่นแรก 

ผมอ่านมาจากนี้

เรื่องโครงกระดูกในกุฏิท่านเจ้าคุณนรฯ
 
          เมื่อผมเป็นนักเรียนแพทย์ ผมได้ถูกชักชวนโดยอาจารย์ของผมสองท่านคือ
ศาสตราจารย์คองดอน และ    ท่านขุนกายวิภาควิศาล
ให้สมัครทำงานเป็นนักเรียนผู้ช่วยในวิชานี้พร้อมกับเรียนแพทย์ไปด้วย
ผมตกลงเพราะเกิดชอบในวิชานี้อยู่บ้างในการเป็นนักเรียนผู้ช่วยนั้น
นอกจากช่วยสอนบ้างเล็กน้อยแล้ว งานส่วนใหญ่หนักไปทางเทคนิคเพื่อตระเตรียมเครื่องใช้ในการสอน
สมัยนั้นโครงกระดูกที่นำมาใช้สอนต้องสั่งจากต่างประเทศ
เป็นราคาค่อนข้างแพงและไม่ได้กระดูกเหมาะตามความประสงค์
 เพราะเป็นกระดูกชาวต่างประเทศ และกระดูกที่ส่งมาก็มีบางส่วนชำรุด
         
               ศาสตราจารย์คองดอนจึงให้ผมลองประกอบโครงกระดูกขึ้นใช้เอง
นับเป็นการฝึกฝนที่ผมพึ่งมารู้สึกเป็นประโยชน์ในภายหลังสองประการ
หนึ่งช่วยให้ผมจำต้องศึกษาโครงกระดูกที่จะประกอบละเอียดถี่ถ้วนขึ้น
ทำให้ผมมีความรู้ในเรื่องโครงกระดูกดีขึ้นกว่าเดิม
สองทำให้ผมรู้จักใช้มือหัดเจาะ ร้อยโครงกระดูกเหล่านั้น
และช่วยให้ผมรู้จักช่วยตัวเองไม่ให้ต้องพึ่งของจากต่างประเทศ
         
               ผมจำไม่ได้ว่าผมได้ใช้เวลาเท่าใดเกี่ยวกับเรื่องประกอบโครงกระดูก
แต่จำได้ว่าผมประกอบไม่สำเร็จ เสร็จแต่เพียงกระดูกแขนขา
หาวัตถุมาประกอบเป็นกระดูกอ่อนซี่โครงไม่สำเร็จ
พอดีหมดกำหนดการเป็นนักเรียนผู้ช่วย ผมก็กลับไปเรียนแพทย์ต่อจนสำเร็จ
พอสำเร็จก็ได้รับทุนมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ไปเรียนต่อในวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่สหรัฐอเมริกาสองปี
          กลับมาผมก็กลับมาช่วยปฏิบัติงาน
ซึ่งตอนนี้หนักไปทางสอน ปรากฏข้อบกพร่องของการสอนในสมัยนั้นก็คือ
ขาดวัตถุประกอบการสอน ผมจึงลงมือทำขึ้นหลายอย่างร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในแผนก
           
                       วันหนึ่งมีคนมาติดต่อ แจ้งว่าท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตมีความประสงค์อยากจะได้โครงกระดูกมนุษย์สักโครงหนึ่ง
ไว้ช่วยในการปฏิบัติกิจของท่าน โดยท่านจะตอบแทนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง
ครั้งแรกผมไม่กล้ารับปาก เพราะไม่แน่ใจว่าจะประกอบขึ้นสำเร็จหรือไม่
แต่ประการสำคัญก็คือโครงกระดูกเหล่านี้ความประสงค์เดิมใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น
 การจะนำไปใช้เป็นอย่างอื่นจะผิดประสงค์ของผู้อุทิศศพ
แต่เนื่องจากผมได้ทราบประวัติของท่านเกี่ยวกับความกตัญญูที่ท่านแสดงกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6
ผมจึงอยากจะช่วยท่าน นอกจากนั้นก็ยังอยากได้เงินมาใช้จ่ายในการทำวัตถุที่ใช้ในการสอนด้วย
เพราะการเงินในสมัยนั้นค่อนข้างจะฝืดเคือง เบิกมาใช้สอยได้ยาก
         
                ผมได้พยายามทำอยู่หลายเดือน สุดท้ายก็ประกอบสำเร็จขึ้นเป็นโครงสมบูรณ์
แต่ไม่เรียบร้อยเหมือนกับโครงที่ทำขึ้นใหม่
โดยฝีมือของคนงานแผนก จำได้ว่าเจาะกะโหลกตอนบนไม่ได้ศูนย์
เวลาแขวนโครงกระดูกหน้าง้ำมากเกินไป
แต่ผมก็ไม่ไดแก้ไข แจ้งไปยังท่านว่าผมประกอบเสร็จแล้ว
ขอให้กำหนดวันด้วย ผมจะได้เอาไปส่ง
ขณะที่ผมจัดแจงแขวนกระดูกให้เข้าที่
ท่านก็ถามว่าโครงมนุษย์มีกระดูกเท่าใด
ผมกราบเรียนท่านว่าจำนวนเท่าใดนั้นกระผมจำไม่ได้
แต่ถ้าจะให้กระผมนับจำแนกให้ท่านดูทีละส่วนกระผมจะนับให้ท่านดู
และจะชี้ให้ท่านทราบว่าจำนวนกระดูกอาจจะไม่เท่ากันได้ ความจริงผมจำไม่ได้เอง
เพราะตัวเลขกับผมนั้นเป็นปฏิปักษ์กัน ท่านได้มอบเงินมาให้ผม 300 บาท
ซึ่งก็ได้ใช้จ่ายในกิจการเกี่ยวกับหาวัตถุใช้ในการสอน
ในการทำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคคองดอน บางชิ้นอาจเหลือเป็นประโยชน์ต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ผมจึงรู้สึกในบุญคุณของท่านอยู่ แต่ไม่เคยกลับไปหาท่านอีกเลยจนท่านถึงแก่มรณภาพ
         
                      เรื่องเกี่ยวกับโครงการดูกนี้ผมได้เล่าให้นักเรีนแพทย์ฟังอยู่หลายรุ่น
และมักจะเอ่ยว่าท่านเจ้าคุณเป็นนักศึกษา มีความอยากรู้อยากเห็นในทุกสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
และที่สำคัญมีความกตัญญูเป็นเลิศ ควรถือท่านเป็นแบบอย่าง
คนมีความกตัญญู ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
แม้จะมีอุปสรรคภัยอันตรายอย่างไรก็อาจพ้นอุปสรรคภัยอันตรายนั้นไปได้
         
                        ผมพึ่งมาทราบ ความอยากรู้อยากเห็นอยางปรับปรุงแก้ไขกิจการงานที่ท่านได้รับมอบหมายจากหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน
 ตอนที่ทราบว่าท่านได้ไปหาเจ้าคุณดำรงแพทยาคุณ
เพื่อขอศึกษาดูการผ่าศพ หาความรู้เส้นเอ็นต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์
 เพื่อปรับปรุงในหน้าที่ถวายอยู่งานนวดเวลาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 บรรทม
เนื่องจากล้นเกล้าฯ ทรงมีพระวรกายอ้วน เส้นสายอยู่ลึกจะต้องจับนวดแรง ๆ
จึงจะถูกเส้น นับเป็นตัวอย่างอันดีในความประพฤติของท่านอีกประการหนึ่ง
         
                         ผมต้องขอโทษที่เล่าเรื่องมาเสียไกล
นอกออกไปจากเรื่องที่ผมอยากจะได้กระดูกมาไว้เกี่ยวกับประวัติของวิชากายวิภาคศาสตร์
ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป ผมขอความกรุณาช่วยติดต่อให้ผมด้วย
         
                              ในที่สุดนี้ผมขอแสดงความยินดีที่หนังสือต่าง ๆ
ที่คุณพิมพ์มีประโยชน์ต่อบุคคลเป็นจำนวนมาก ขอกุศลที่คุณปฏิบัติจงช่วยให้คุณมีความสุข ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 
โดยความนับถือ
(ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร)
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
 
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 15:34

ภาพชุดนี้ไม่บอกว่าที่ไหน บอกแค่ University of Siam Medical College faculty
แต่มีภาพคุณหมอชัชวาล โอสถานนท์ (อดีต ผอก.ศิริราช)
เลยสรุปว่าเป็นที่ศิริราช



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง