เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 38 39 [40] 41 42 ... 101
  พิมพ์  
อ่าน: 418955 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 585  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 11:34

ตึกนี้สร้างสมัยรัชกาลที่ ๖   ไม่น่าจะมีตะรางหรือห้องขังเอาไว้จับกุมคุมขังนักโทษ อย่างบ้านตุลาการในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ นะคะ

เห็นภาพเก่าๆ แล้วนึกถึงความงามของตึกรามบ้านช่องถนนหนทางในอดีต   เสียดายเหลือเกินที่รักษาไว้ไม่ได้
ความงามไม่ได้อยู่ที่ตัวตึก แต่ต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบคือบริเวณและสภาพแวดล้อมที่ออกแบบให้มีสัดส่วนกลมกลืนกัน  จึงจะออกมางาม
อาคารออกแบบสวยเท่าไหนก็ตาม  แต่ถ้าสภาพแวดล้อมไม่สวยเลย  คับแคบ แน่นแออัด   ไม่มีสนาม ไม่มีอะไรเข้ากับอาคาร  มันก็ไม่สวย
เหมือนเอาทัชมาฮาลมาล้อมรอบด้วยตึกแถวร้านค้าแน่นขนัด   ถึงมีหินอ่อนและส่วนประกอบอยู่ครบทุกชิ้น  แต่จะออกมาน่าดูไหมล่ะคะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 586  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 17:13

ขอบคุณครับอาจารย์เทาชมพู

เมื่อพูดถึงตึกนารีสโมสร     ต้องดูตึกใหญ่บ้านหลักของเจ้าพระยารามราฆพ    ตึกไกรสร ของบ้านนรสิงห์

built by the architects M Tamagni and Rigotti, 1915-1920 ca.จาก Fratelli Alinari Museum Collections,Florence



ชื่อสถาปนิกผิด ต้องเป็น ตามาญโย ไม่ใช่ ตามาญยี่
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 587  เมื่อ 01 มี.ค. 15, 09:04

ภาพถนนเจริญกรุง ต้อนรับลุงไก่

ถนนเจริญกรุงสร้างเสร็จปี 2407 กว้าง 5 วาครึ่ง

รถรางเริ่มวิ่ง พศ 2431

ประตูสามยอดถูกรื้อทิ้งประมาณปี พศ 2445(อ้างจากขุนวิจิตรมาตราที่ท่านว่ารื้อก่อนท่านเข้ามาอยู่ กรุงเทพหนึ่งหรือสองปี
ท่านมาอยู่กรุงเทพ ปี พศ.2446 )

ภาพนี้ควรจะถ่ายราวปี พศ. 2431-2445


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 588  เมื่อ 01 มี.ค. 15, 09:15

แยกสามยอดเมื่อรื้อประตูสามยอดแล้ว

มองจากถนนมหาชัย

ลงจากสะพานข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ  ขวามือเป็นโรงหวย กข.ก่อนถึงสี่แยก

ข้ามสี่แยกไปซ้ายมือเป็นตึกใหญ่เคยเป็นที่ทำการของ บีกริมแอนด์โก-การไฟฟ้าสยาม-ห้างไทยนิยม

เลี้ยวซ้ายไปเป็นสะพานเหล็ก

ไปตรงผ่านแยก เป็นป้อมมหาชัยหน้าวังบูรพา



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 589  เมื่อ 01 มี.ค. 15, 09:28

ภาพวาด  จากหนังสือ the kingdom of yellow robe



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 590  เมื่อ 02 มี.ค. 15, 15:19

คลองคูเมือง หน้าวัดราชบพิธ  ประมาณปี พศ 2453 (1910 ca)
ยามนํ้าแห้งดูแล้วไม่สดชื่น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 591  เมื่อ 02 มี.ค. 15, 15:22

ก่อนหน้าหนึ่งปี เดือนตุลาคม พศ.2452
นํ้าเต็มคลองดูแล้วดีกว่า
มองเห็นสะพานหกข้างหน้า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 592  เมื่อ 02 มี.ค. 15, 15:47

 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
   
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412
มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก
คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
แปลว่า วัดพระมหากษัตริย์ทรงสร้าง ซึ่งมีสีมากว้างใหญ่รอบอาณาเขตวัด   
ลักษณะพิเศษของมหาสีมาราม คือการทำสังฆกรรมไม่จำกัดเฉพาะในพระอุโบสถ แต่สามารถทำได้ทุกแห่งในเขตมหาสีมา
   
 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีของการสร้างวัดประจำรัชกาล
   
 ผังวัดมีพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง
พระอุโบสถอยู่ทิศเหนือของพระเจดีย์
พระวิหารทิศใต้ พระวิหารขนาดย่อมทิศตะวันออกและตะวันตก
มีระเบียงโค้งรอบพระเจดีย์ ผนังทุกด้านประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบวิจิตรงดงาม
   

    พระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ภายในเป็นแบบตะวันตก
 พระประธานคือพระอังคีรส
ที่ฐานบัลลังก์ ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระราชสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
   

    นอกเขตกำแพงมหาสีมาด้านทิศตะวันตก ติดถนนอัษฎางค์ เป็นสุสานหลวง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ
และพระสรีรางคารของพระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระองค์
รูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม แบบโกธิค
อยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม
   

อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์ทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ มีชื่อคล้องจองกันดังนี้
    สุนันทานุสาวรีย์ บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดา
    รังษีวัฒนา บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชนัดดา อาทิ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    เสาวภาประดิษฐาน บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และพระราชนัดดา เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
    สุขุมาลนฤมิตร์ บรรจุพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระนัดดา

(เนื้อหา  จากบล๊อค คุณไมตรี  อนันตโกศล)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 593  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 14:14

ดูภาพลายเส้นสวยๆ
จากหนังสือตามชื่อด้านล่างของภาพ
mont meru น่าจะเป็น mont kailas



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 594  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 14:23

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
   
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412
มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก
คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
แปลว่า วัดพระมหากษัตริย์ทรงสร้าง ซึ่งมีสีมากว้างใหญ่รอบอาณาเขตวัด   
ลักษณะพิเศษของมหาสีมาราม คือการทำสังฆกรรมไม่จำกัดเฉพาะในพระอุโบสถ แต่สามารถทำได้ทุกแห่งในเขตมหาสีมา
   
 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีของการสร้างวัดประจำรัชกาล
   
 ผังวัดมีพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง
พระอุโบสถอยู่ทิศเหนือของพระเจดีย์
พระวิหารทิศใต้ พระวิหารขนาดย่อมทิศตะวันออกและตะวันตก
มีระเบียงโค้งรอบพระเจดีย์ ผนังทุกด้านประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบวิจิตรงดงาม
   

    พระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ภายในเป็นแบบตะวันตก
 พระประธานคือพระอังคีรส
ที่ฐานบัลลังก์ ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระราชสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
   

    นอกเขตกำแพงมหาสีมาด้านทิศตะวันตก ติดถนนอัษฎางค์ เป็นสุสานหลวง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ
และพระสรีรางคารของพระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระองค์
รูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม แบบโกธิค
อยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม
   

อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์ทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ มีชื่อคล้องจองกันดังนี้
    สุนันทานุสาวรีย์ บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดา
    รังษีวัฒนา บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชนัดดา อาทิ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    เสาวภาประดิษฐาน บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และพระราชนัดดา เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
    สุขุมาลนฤมิตร์ บรรจุพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระนัดดา

(เนื้อหา  จากบล๊อค คุณไมตรี  อนันตโกศล)


 "ผังวัดมีพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง พระอุโบสถอยู่ทิศเหนือของพระเจดีย์ พระวิหารทิศใต้ พระวิหารขนาดย่อมทิศตะวันออกและตะวันตก มีระเบียงโค้งรอบพระเจดีย์ ผนังทุกด้านประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบวิจิตรงดงาม"

 พระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ภายในเป็นแบบตะวันตก  พระประธานคือพระอังคีรส

ขออนุญาตแก้ไขข้อความครับ พระอุโบสถหันหน้าออกทางด้านทิศเหนือ พระวิหารหันหน้าออกทางด้านทิศใต้ ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตกเป็นประตูทางเข้าสู่วิหารคตภายในรอบองค์พระเจดีย์ พระประธานทรงนามว่า พระพุทธอังคีรส




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 595  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 14:36

ดูภาพลายเส้นสวยๆ
จากหนังสือตามชื่อด้านล่างของภาพ
mont meru น่าจะเป็น mont kailas



การบรรยายของฝรั่งบรรยายว่าเป็น "เขาพระเมรู" หมายถึงเขาพระสุเมรุมานานแล้วครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 596  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 14:37

ภาพถนนเจริญกรุง ต้อนรับลุงไก่

ถนนเจริญกรุงสร้างเสร็จปี 2407 กว้าง 5 วาครึ่ง

รถรางเริ่มวิ่ง พศ 2431

ประตูสามยอดถูกรื้อทิ้งประมาณปี พศ 2445(อ้างจากขุนวิจิตรมาตราที่ท่านว่ารื้อก่อนท่านเข้ามาอยู่ กรุงเทพหนึ่งหรือสองปี
ท่านมาอยู่กรุงเทพ ปี พศ.2446 )

ภาพนี้ควรจะถ่ายราวปี พศ. 2431-2445

สภาพของตึกแถวทางขวามือในภาพเดิมเมื่อ ๒ ปีก่อน แต่วันนี้คงถูกทุบไปเรียบร้อยแล้วครับ "ร้านกาแฟออนล๊อคหยุ่น"


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 597  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 14:55

เสมาที่มุมกำแพงวัดราชบพิธตรงมุมสี่แยกถนนราชบพิธตัดกับถนนเฟื่องนคร ใกล้ๆ กับโรงพิมพ์ของ กศร. กุหลาบ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 598  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 15:27

ขอบคุณลุงไก่ คุณหนุ่ม

ก๊อบปี้ตามบล๊อค เห็นว่าอ่านเข้าใจง่าย

จากบทสัมภาษณ์ คุณมัลลิกา วัชราภัย ลูกคุณสัน พานิช(หลวงเสรฐสนิท)
เจ้าของร้านสรรพานิช สโตร์ ที่อยู่ เจริญกรุงตอน ๔ เลขที่ ๓๐ (๓๑-๓๒-๓๓-๓๔) ห้าห้องเรียงกัน
ขายเหล้าฝรั่ง นมตราหมี โต๊ะสนุกเกอร์
เล่าถึงร้านค้าแถวสามยอด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 599  เมื่อ 03 มี.ค. 15, 15:57

ถ้าให้พิกัดละเอียดขนาดนี้ ผมก็ตอบได้เลยครับว่า ตึกแถวตรงที่เคยเป็นที่ตั้งของร้านสรรพานิช ปัจจุบันคือร้านหนังสือบูรพาสาส์น
ซอยข้างๆ ก็จะเชื่อมกับถนนข้างใน ในซอยนี้มีร้านข้าวแกง 50 ปีอยู่ครับ
ร้านหมอเหล็งอยู่ทางซ้ายมือของภาพ ไล่มาตลอดแนวถนนเจริญกรุงเลยครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 38 39 [40] 41 42 ... 101
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง