Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 1455 เมื่อ 14 เม.ย. 16, 22:15
|
|
ภาพปี๒๕๐๘ ที่ต่างไปจากพ.ศ.นี้(๒๕๕๙)คือ ยังไม่มีหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เชิงสะพานผ่านฟ้าตรงจุดนั้นยังเป็นที่ตั้งคัตเอาท์โฆษณาหนังไทย และตึกบชน.ผ่านฟ้า ยังตั้งเด่นเป็นสง่า (ตึกสูงหลังคาทรงไทย ฝั่งตรงข้ามกระทรวงคมนาคม) ก่อนถูกเผาวอดไปเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ต.ค.๒๕๑๖
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 1456 เมื่อ 14 เม.ย. 16, 23:41
|
|
ขออภัยครับเกิดอาการหลงทิศ! ฝั่งตรงข้ามบชน.ผ่านฟ้า คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และวัดปรินายก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1457 เมื่อ 15 เม.ย. 16, 06:52
|
|
ภาพจาก หนังสือ an official guide to eastern asia v 5 ของการรถไฟญี่ปุ่น ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ปี พศ. 2463
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1458 เมื่อ 15 เม.ย. 16, 07:21
|
|
คลองรอบกรุง(โอ่งอ่าง) คลองมหานาค ภูเขาทอง แต่ละเวลา
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1459 เมื่อ 16 เม.ย. 16, 08:45
|
|
สะพานกษัตริย์ศึก ที่ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่ถนนบำรุงเมืองและทางรถไฟที่ถนนพระรามหนึ่ง ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสร้างพร้อมกันเป็นตอนเดียวตลอดหรือสร้างข้ามทางรถไฟก่อน แล้วถึงจะมาสร้างข้ามคลองผดุงฯ(สะพานยศเสเดิมเป็นไม้) ที่หลัง ตามแผนที่ปี 2450 เห็นมีสะพานไม้ชื่อยศเส ส่วนทางรถไฟยังไม่มีสะพานลอยข้าม
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1460 เมื่อ 16 เม.ย. 16, 09:07
|
|
วันที่ 6 เมษายน 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเสด็จมาเปิดสะพานกษัตริย์ศึก รางรถบนสะพานคือรถรางสายปทุมวันที่มีต้นสายอยู่ที่นี่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1461 เมื่อ 16 เม.ย. 16, 09:19
|
|
หมอสงัด เปล่งวานิช อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขียนเล่าเรื่องราว ในปี 2463 ของนิสิตจุฬาฯยุคที่เรียนกันที่หอวังหรือวังวินเซอร์(ที่อยู่ตรงสนามศุภชลาศัย) ปี 2463 ยังไม่มีรถรางสายปทุมวัน ถ้ามีรถรางสายนี้ท่านไม่ต้องเดินไปขึ้นรถที่ยศเส
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1462 เมื่อ 17 เม.ย. 16, 10:14
|
|
ภาพ Poo Kao Tongจาก หนังสือ an official guide to eastern asia v 5 ของการรถไฟญี่ปุ่น ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ปี พศ. 2463 เป็น postcard ฝีมือของนาย Y Ebata ร้านถ่ายรูปพร้อมปากตรอกชาร์เตอร์แบงค์ นาย Ebata คงรับเซ้งร้าน charoen Krung photographic studio ของนาย J Antonio มาดำเนินต่อ ด้านหลังภาพเขียนว่า Issued by Y. Ebata ( Photo studio Mikasa, Y. Asow & Co. ) เป็นไปได้ว่าร้านถ่ายรูปของชาวญี่ปุ่นสามร้านร่วมมือกันในการจำหน่ายภาพ ร้านสามร้านคือ Prom Photo Studio --อยู่ที่ถนนเจริญกรุง Mikasa--อยู่ที่สี่กั๊กพระยาศรี Y Asow & CO --อยู่แถวสะพานพุทธ พาหุรัด (จำตำแหน่งไม่ได้แน่นอน)
ภาพของ นาย วาย อีบาต้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1463 เมื่อ 17 เม.ย. 16, 10:19
|
|
ภาพอื่นๆที่เป็นของร้าน ถ่ายรูปพร้อม ของ นาย Y Ebata เช่น bird eye view of bangkok คงจะบันทึกประมาณหลังปี 2459ิ ไม่นาน
เอาภาพ (ภาพ 2-3)ของท่านอื่นในตำแหน่งเดียวกันมาเปรียบเทียบ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1464 เมื่อ 18 เม.ย. 16, 08:00
|
|
ไปรษณีย์ไทยสมัยที่ยังอาศัยอาคารสถานทูตอังกฤษเก่าที่ถนนเจริญกรุง ภาพนี้มีอายุประมาณ ปี 2470 ถึง 2482 ไม่แน่ใจว่าเป็นด้านข้าง,ด้านหลังหรือด้านหน้า เพราะด้านหน้าห่างจากถนนเจริญกรุงมาก มีวงเวียนอยู่ด้านหน้าอาคาร เคยมีรูปเก่าถ่ายด้านหน้าในเรือนไทย ผมหาไม่เจอ ตัวอาคารเป็นอย่างในรูปที่สองที่สาม อ่านเรื่องไปรษณีย์ไทยที่นี่ http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=yyswim&date=06-03-2008&group=3&gblog=164
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1465 เมื่อ 18 เม.ย. 16, 08:08
|
|
ไปรษณีย์ไทย มีที่ทำการตั้งอยู่ ณ อาคารใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426 ตอนปากคลองโอ่งอ่าง ด้านทิศเหนือ ..อาคารนี้ เดิมทีเป็นของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) เจ้าเมืองปราจีนบุรี ซึ่งได้โอนมาเป็นของหลวง ..แต่ปัจจุบันน่าเสียดาย อาคารนี้ถูกรื้อไปแล้ว เพื่อใช้สถานที่สร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ ..และที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกนี้ ได้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดพระนครด้วย เรียกชื่ออาคารว่า “ไปรษณียาคาร”
กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งอยู่ ณ ไปรษณียาคาร จนกระทั่งถึงปีพ.ศ.2470 จึงได้ย้ายไปใช้อาคารและที่ดินริมถนนเจริญกรุงเป็นที่ทำการ(บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งสถานทูตอังกฤษ) ..ณ ที่ทำการแห่งใหม่นี้ใช้งานอยู่ 12 ปี พอถึงปีพ.ศ.2482 ก็ได้ปรับปรุงอาคารโดยรื้ออาคารออก แล้วสร้างอาคารหลังใหม่เป็นที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ที่ทำการไปรษณีย์กลาง”
ไปรษณียาคาร ปากคลองโอ่งอ่าง ที่เคยเป็นบ้านของพระปรีชากลการ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1466 เมื่อ 18 เม.ย. 16, 08:30
|
|
ไปรษณีย์กลาง บางรัก เจริญกรุง หลังปี 2482
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1467 เมื่อ 18 เม.ย. 16, 12:22
|
|
ไปรษณีย์ royal mail
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1468 เมื่อ 18 เม.ย. 16, 13:51
|
|
ภาพไปรษณีย์โทรเลขกลาง ที่เคยลงในเรือนไทย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1469 เมื่อ 19 เม.ย. 16, 10:27
|
|
เมื่อดูรูปร้านถ่ายรูปพร้อม มาดูรายละเอียดเกี่ยวกับนาย ไว เอบาต้า เจ้าของร้านชาวญี่ปุ่น จากข้อเขียนของคุณสรศัลย์ แพ่งสภา เขียนไว้ในหนังสือชื่อ "สงครามมืด วันญี่ปุ่นบุกไทย" อย่างน้อยร้านถ่ายรูปนี้อยู่มาจนถึงสงครามโลก 2484 ------------------------------------------------------------------------------------------------------
ห้างถ่ายรูปพร้อมหรืออีกชื่อหนึ่งคือห้าง ไว เอบาต้า ตั้งอยู่ที่ปากตรอกชาร์ตเตอร์แบงค์ ถนนเจริญกรุง ใกล้กับตรอกโฮเต็ล โอเรียลเตล ถนนเจริญกรุง ใครๆก็รู้จักครับ ชอบไปถ่ายกันทั้งนั้น ไฮโซไฮซ้อวัยรุ่น วัยจ๊าบวัยดึก เพราะราคาถูกกว่า ไวต์ อเวย์ ของอังกฤษ ที่อยู่ตรงข้ามกับตึกไปรษณีย์กลาง สินค้าญี่ปุ่นเป็นมิตรกับกระเป๋ามากกว่าของอังกฤษแน่นอน เจ้าของห้างถ่ายรูปพร้อม คือนาย ไว เอบาต้า เข้ามาดำเนินกิจการนานเต็มที นานจนกระทั่งลูกชายที่เกิดในกรุงเทพฯ เรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัน ราว พศ.2477 ชื่อนายสุริยะ เอบาต้า ห้างพร้อมมีผู้จัดการอีกคนชื่อ นายทีเคดะ(นาย ที เอ็ม ทีเคดะ)และมีพนักงานชาวญี่ปุ่นอยู่อีกคนสองคนค้นชื่อไม่ได้ สุริยะ เอบาต้า ไปเรียนต่อวิชาอะไรที่ญี่ปุ่นไม่มีใครสนใจ เขากลับมาเป็นหนุ่มใหญ่ตอนต้นปี พศ.2484 ผมทราบแค่นั้น ตึกแถวสองชั้นที่ตั้งของห้างถ่ายรูปพร้อมนี้เช่าจาก สำนักงานจัดการผลประโยชน์ในพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 อยู่กันมาช้านานทีเดียว
นายเอบาต้าเป็นคนมีอัธยาศัยโอภาปราศรัย และยังเป็นช่างภาพมือดีอีกด้วย จึงกว้างขวางอยู่ในทุกระดับสังคม นายเอบาต้ามาออกลายแสดงตัวเอาใน วันที่ 8 ธันวาคม พศ. 2484 ตอนเช้ามืดแกเข้าไปที่กรมโฆษณาการ(กรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน ตรงข้ามโรงแรมรัตนโกสินทร์) เข้าไปแสดงอาการที่เรียกว่า “เบ่ง” คาดคั้นจะเอาคำตอบของรัฐบาลไทยว่า จะ รบ หรือจะยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเข้าประเทศและเดินผ่าน ซึ่งขณะนั้นรัฐมนตรีก็ยังประชุมไม่ได้ ฯพณฯนายกฯยังมาไม่ถึงวังสวนกุหลาบ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ท่านอันตรธานไปไหนไม่มีผู้ใดทราบ และที่กรมโฆษณาการไม่มีตัวอธิบดีนั่งอยู่ที่นั้น พันตรีวิลาส โอสถานนท์ ผู้เป็นอธิบดีต้องเข้าประชุมที่วงสวนกุหลาบ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการคมนาคมด้วย ตอนนั้นเราก็รู้มาขั้นหนึ่งว่านายช่างถ่ายภาพย่านบางรัก เป็นเจ้าหน้าที่มีระดับของญี่ปุ่น และอีกไม่กี่วันต่อมาคนในละแวกไปรษณีย์กลางก็เห็นนายทหารญี่ปุ่นที่ชื่อ พันโท ไว เอบาต้า สวมเครื่องแบบลากดาบญี่ปุ่นไปกินอาหารกลางวันอยู่กับ ร้อยเอก ที เอ็ม ทีเคดะ ในห้องอาหารชมซุยฮง
ภาพสามภาพคือร้านของ J Antonio เปลี่ยนมาเป็นร้านถ่ายรูป พร้อม
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|