visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1410 เมื่อ 28 มี.ค. 16, 18:10
|
|
รูปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อีกรูป เราไม่ค่อยเห็นรูปอนุสาวรีย์ฯบ่อยนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1411 เมื่อ 29 มี.ค. 16, 09:24
|
|
ไปอ่านหนังสือคอคิดขอเขียนของ อ สถิตย์ เสมานิล ท่านเล่าเรื่องไปดูหนังฉายครั้งแรกของท่านในกรุงเทพ ท่านเล่าว่าในปี 2456 ท่านไปดูหนังที่โรงหนังญี่ปุ่นหลวง หรืออีกชื่อที่ท่านเรียกคือโรงหนังสะพานเหล็ก ในสมัยนั้นมีโรงหนังแค่สามโรงคือ 1 โรงหนังญี่ปุ่นหลวงได้ตราอาร์มหลวง แขวนเหนือป้ายชื่อโรงหนัง 2 โรงหนังกรุงเทพ หรือโรงวังเจ้าปรีดา หน้าวังพระองค์เจ้าปรีดา 3 โรงหนังพัฒนากร
ส่วนโรงหนังที่สี่ที่สร้างคือ โรงหนังปีระกา สร้างปี รศ 129 หรือปี พศ 2453 โรงนี้อยู่ในเวิ้งนาครเขษม แต่ฉายได้วันเดียวหรืออาจจะไม่กี่วัน(เขาเล่า) ไฟไหม้หมด เราคงจะหาภาพโรงหนังปีระกายากมาก
โรงหนังญี่ปุ่นหันหน้าไปทิศใต้ (ซ้าย)โรงหนังที่สร้างใหม่ต่อมาคือโรงเวิ้งนาครเขษมหันไปทางทิศเหนือ ลักษณะพื้นที่สร้างอยู่ต่อติดกัน
ภาพที่เห็นหลังคาสูงในเวิ้งน่าจะเป็นโรงเวิ้งนาครเขษม ที่หันหน้าไปทิศเหนือ(ขวามือ)
ขอแก้ที่จำผิด หนังสือของอาจารย์สถิตย์ ชื่อ หนังสือ วิสาสะ ไม่ใช่คอคิดขอเขียน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1412 เมื่อ 29 มี.ค. 16, 09:40
|
|
ภาพสะพานแม้นศรีที่สวยงามและหายาก ผมเคยเอามาให้ดูครั้งหนึ่งแต่เป็นภาพเล็ก วันนี้เป็นภาพดั้งเดิม มีวิศวกรและสถาปนิกนั่งอยู่ด้วย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1413 เมื่อ 30 มี.ค. 16, 10:49
|
|
Open air fruit market in front of Wat Nora Nat Bangkok 1938 (พศ 2491) ของ Robert L Pendleton
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1414 เมื่อ 30 มี.ค. 16, 13:05
|
|
ข้อความ ที่ถูก พศ 2481 ไม่ใช่ 2491
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1415 เมื่อ 31 มี.ค. 16, 08:51
|
|
สำนักงานหนังสือพิมพ์จีนโนสยามวารศัพท์ ของนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง ตั้งอยู่ที่ตรอกฮ่องกงแบ็งค์ ปากคลองผดุงกรุงเกษม รูปทรงชิโนปอร์ตุกีสรุ่นแรกๆ ช่วงหลังหนังสือพิมพ์นี้มี 12 หน้าเป็นจีน 8 หน้า ไทย 4 หน้า
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1416 เมื่อ 01 เม.ย. 16, 08:16
|
|
หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม พิศลยบุตร)เป็นผู้ขุดคลองสาทรและสร้างถนนสาทร เป็นบุตรของเจ้าสัวยิ้ม(พระยาพิศลสมบัติบริบูรณ์ ---พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ เขียนกันสองแบบ) ผู้ขุดคลองภาษีเจริญ
หลวงสาทรฯเกิดเมื่อปี 2400 ได้ราชทินนามเป็นหลวงสาทรราชายุตก์เมื่อปี 2434 ท่านคงจะขุดคลองสาทรเมื่อปี 2431 ก่อนได้ตำแหน่งจึงเรียกคลองที่ท่านขุดว่า คลองพ่อยม -คลองเจ้สัวยม
เมื่อท่านเสียชีวิตในปี 2438 มีอายุแค่ 38 ปี
บ้านหลังใหญ่ของท่านอยู่ที่ถนนสาทรฝั่งเหนือ
ใน พ.ศ. 2467 บ้านท่านแปลงสภาพเป็นโรงแรม "โฮเต็ล รอแยล" ต่อมาราว พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงแรมไทยแลนด์" ต่อมา พ.ศ. 2491-2542 สถานเอกอัครราชทูตสหภาพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (ปัจจุบันใช้ชื่อว่าสถานเอกอัครราชทูตรัสเซีย) ได้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโรงแรมไทยแลนด์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อใช้เป็นสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2543 กรมศิลปากร โดยฝ่ายทะเบียนโบราณสถานฯ ได้เข้าทำการสำรวจอาคารและพื้นที่ โดยจัดให้เป็นอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของกรมศิลปากร
ปัจจุบันอาคารดังกล่าวได้กลับมาใช้งานเป็นโรงแรมอีกครั้ง โดย บริษัท นอร์ท สาธร เรียลตี้ จำกัด ได้เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อปรับปรุงบ้านสาทรเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพ ซึ่งปัจจุบัน บ้านสาทรตั้งอยู่ระหว่างตัวโรงแรมและสาทรสแควร์
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1417 เมื่อ 02 เม.ย. 16, 08:04
|
|
แม่นํ้าเจ้าพระยาปี พศ 2414 กับ ปี พศ 2443
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1418 เมื่อ 03 เม.ย. 16, 09:11
|
|
ภาพที่คิดว่าเป็นฝีมือของ Pierre Joseph Rossier ช่างภาพสวิส เข้ามาในสยามเมื่อปี พศ. 2404 (คศ. 1861) บางภาพที่เจอในเวป แคปชั่นผิดเวลาผิดสถานที่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 1419 เมื่อ 03 เม.ย. 16, 20:14
|
|
ภาพบ้านที่เพชรบุรี ไม่ทราบว่าถ้ามีบ้านลักษณะนี้ เจ้าของบ้านจะมีฐานะอยู่ประมาณไหนคะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1420 เมื่อ 04 เม.ย. 16, 08:42
|
|
ตอบคุณแอนนา ผมลืมอธิบายต่อในภาพ ที่เขียนว่า*** ปี 1880 บ้านที่เพชรบุรี****
ในภาพที่เขียนว่าปี 1880 ผิด ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 1861-1862 เพราะรอสสิเออร์เข้ามาเมื่องไทยปี 1861-1862 ส่วนบอกว่าเป็นบ้านเพชรบุรีก็น่าจะผิด ภาพแรก ผมเจอภาพนี้อีกที่หนึ่งที่บรรยายว่า house in siam capital (ซึ่งผิดเช่นกัน) ภาพที่สองจากหนังสือ Siam ของคุณพิพัฒน์ อธิบายว่าเป็น กุฏิเจ้าอาวาส น่าจะถูกต้อง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1421 เมื่อ 05 เม.ย. 16, 07:59
|
|
วัยรุ่นกรุงเทพ ปี พศ. 2453
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 1422 เมื่อ 05 เม.ย. 16, 20:48
|
|
ทรงผม 5 คน 5 สไตล์ น่าจะซ่าส์ตามควรแก่ยุคสมัย ถ้าอยู่ถึงพ.ศ.นี้ก็เกินร้อยไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 1423 เมื่อ 05 เม.ย. 16, 21:40
|
|
ทรงผมคนขวาสุดเป็นทรงแมนจู น่าจะเป็นคนจีน ภาพข้างล่างจาก ชมรมประวัติศาสตร์สยาม บรรยายว่า ภาพครอบครัวชาวจีนที่ร่ำรวยในบางกอก พ.ศ. ๒๔๔๓ สมัยรัชกาลที่ ๕
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 1424 เมื่อ 06 เม.ย. 16, 09:18
|
|
ภาพวัดโพธิ์จาก P Rossier เป็นภาพกระจกที่เรียกว่าสเตริโอวิว จะสังเกตุเห็นว่ากลับด้านจากขวาเป็นซ้าย จะไม่เห็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่สี่ที่เรียกว่าเจดีย์ทรงศรีสุริโยทัย เป็นเจดีย์เรือนธาตุเข้าไปข้างในได้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|