เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 26253 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 20:36

ข้อที่ชวนให้สับสนคือ เดิมประตูหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ทางถนนอังรีดูนังต์หรือด้านทิศตะวันออกเหมือนโรงเรียนวชิราวุธครับ
มาเปลี่ยนเป็นประตูด้านทิศตะวันตกหรือประตูด้านถนนพญาไทในยุคท่านผู้นำเป็นอธิการบดี  แล้วสร้างหอประชุมหันหน้าไปทางทิศตะวันตกนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 20:44

ภาพนี้น่าจะเป็นพิธีการวางศิลาฤกษ์
พอมองออกบ้างไหมว่าอยู่ที่ห้องไหน


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 21:09

ได้มาจากเว็บกาญจนาภิเษกค่ะ คุณลุงไก่
http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/art/lab3/pt054_01.html

มีคำบรรยายว่า
                                                                สะพานพระรามที่ ๖
    เป็นภาพประวัติศาสตร์ของเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เลิกใหม่ ๆ ทรงฉายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2489 ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินผ่านสะพานพระรามหกที่ชำรุดเพราะถูกระเบิดทำลาย
    เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานพระรามที่ 6 ได้ถูกระเบิดทำลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ พอสงครามสงบ รัฐบาลจึงดำเนินการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน โดยจัดสร้างทางเบี่ยงขนานกับแนวสะพานเดิม เพื่อให้ยวดยานผ่านไปมา ซึ่งพอจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลงได้บ้าง
    5 มีนาคม 2489 เสด็จพระราชดำเนินผ่านไปบนสะพานเบี่ยง พอได้ทอดพระเนตรเห็นซากสะพานจึงทรงบนทึกไว้ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ที่ทรงไว้นี้ กลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะต่ไปเมื่อสะพานซ่อมสร้างเรียบร้อยแล้ว หากมีใครอยากรู้ว่าสะพานพระรามที่ 6 เมื่อครั้งถูกทำลาย มีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะดูได้จากภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ภาพนี้

ขออนุญาตกลับมาเรื่องสะพานพระรามหกอีกครั้งนะครับ ภาพถ่ายทางอากาศของ William Hunt ที่นำมาอ้างถึง ระบุว่าถ่ายเมื่อวันที่ 12 Mar 46 คือวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๘๙ แต่ในเวปกาญจนาภิเษกบรรยายว่าทรงฉายภาพเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๘๙ เวลาต่างกันเพียง ๗ วัน ครับ

เพิ่มเติม - ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ ต้องเผชิญหน้ากับการถูกทิ้งระเบิด ของฝ่ายสัมพันธมิตร ตามสถานที่จุดยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น หัวลำโพง เขตสี่พระยา สีลม รวมทั้งสะพานพระราม 6 ซึ่งเสียหายอย่างมาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จึงว่าจ้างบริษัทของอังกฤษ ให้มาดำเนินการซ่อมแซมสะพาน ในปี พ.ศ.2493-2496

สะพานพระราม 6 ที่ได้รับการซ่อมแซมใหม่ แตกต่างจากสะพานเดิม โดยดัดแปลงมาจาก สะพานรูปวอร์เรน (Warren Type with Posts & Hangers) ตัวสะพานมีความยาว 442.08 เมตร กว้าง 10 เมตร และสูงจากระดับน้ำทะเล 10 เมตร ซึ่งเรือขนาดธรรมดา สามารถลอดผ่านได้อย่างสบาย โดยบนสะพานมีเส้นทางแบ่งเป็น 2 สาย คือ รถไฟ 1 สาย และทางหลวง 1 สาย สร้างด้วยถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีทางเท้าคนเดิน 2 ฟาก ปูด้วยไม้อยู่นอกโครงสะพาน ด้านเหนือและด้านใต้ โดยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชดำเนิน เปิดสะพานพระราม 6 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2496


 



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 21:38

ตอบคุณ visitna
เข้าใจมาตลอดว่าเป็นห้อง 10 ชั้นล่างทางทิศตะวันตกของตึกเทวาลัยหรือคณะอักษรศาสตร์ค่ะ   เคยอ่านพบในหนังสือคณะเช่นนั้น   ลักษณะห้องก็เหมือนกันคือมีประตูยาวเป็นช่วงๆทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นหน้าต่าง    
แต่พออ่านที่คุณ V_Mee เล่า ก็นึกได้ว่าทางปีกด้านตะวันออกของตึก ห้องก็มีลักษณะแบบเดียวกันเช่นกัน  

ดูรูปข้างล่างนี้ทั้งสองรูป แล้วเทียบกับห้อง ก็ยังเทียบไม่ถูก  
ดูรูปทางขวา
ถ้าหากว่าตั้งสมมุติฐานว่าห้องนี้คือห้อง 10  และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่ต่อมาเป็นหน้าชั้นเรียน  (คือตรงพื้นที่อาจารย์ยืนสอนนิสิต)    ห้องนี้ก็จะเป็นห้อง 10 ไปไม่ได้  เพราะส่วนที่เป็นด้านนอกอาคารต้องอยู่ทางขวาของพระองค์ท่าน  ไม่ใช่ทางซ้าย
แต่ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่เป็นท้ายห้องในปัจจุบัน  หรือตรงหลังชั้นเรียน   ห้องนี้ก็เป็นห้อง 10 ได้  เพราะด้านนอกของอาคารจะอยู่ทางเบื้องซ้าย

เอาใหม่นะคะ
ทีนี้กลับมาดูแสงที่ส่องเข้ามาในห้อง   ถ้าหากว่ารูปนี้ถ่ายตอนเช้าหรือสาย   แสงแดดจะต้องส่องเข้ามาทางทิศตะวันออก   ห้องนี้ก็ต้องเป็นห้องทางด้านถนนอังรีดูนังต์  ไม่ใช่ห้อง 10 ทางด้านหอประชุม

แต่ถ้าการวางศิลาฤกษ์เริ่มในตอนบ่าย    แดดส่องมาทางทิศตะวันตก    ห้องนี้ก็คือห้อง 10  ซึ่งหันด้านข้างไปทางหอประชุมจุฬา

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่แม่นอีกนั่นแหละค่ะ    เพราะดูจากภาพซ้าย ตึกเพิ่งจะก่อสร้างเพียงห้องเดียวเท่านั้น    แดดอาจส่องเข้ามาได้ทั้งเช้าและบ่ายในห้องเดียว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 21:39

ภาพที่ทรงฉายตามที่เวปกาญจนาภิเษกอ้างถึง อาจจะเป็นภาพนี้ครับ แต่ัวันที่ระบุ อาจจะไม่ใช่วันที่อ้างถึง คงจะต้องค้นคว้าหากันต่อ

ภาพนี้ผมก็ได้จากเวปกาญจนาภิเษกเช่นกัน และระบุวันเวลาเดียวกับภาพที่อาจารย์นำมาอ้างถึง





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 21:43

ตอบคุณ visitna
เข้าใจมาตลอดว่าเป็นห้อง 10 ชั้นล่างทางทิศตะวันตกของตึกเทวาลัยหรือคณะอักษรศาสตร์ค่ะ   เคยอ่านพบในหนังสือคณะเช่นนั้น   ลักษณะห้องก็เหมือนกันคือมีประตูยาวเป็นช่วงๆทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นหน้าต่าง    
แต่พออ่านที่คุณ V_Mee เล่า ก็นึกได้ว่าทางปีกด้านตะวันออกของตึก ห้องก็มีลักษณะแบบเดียวกันเช่นกัน  

ดูรูปข้างล่างนี้ทั้งสองรูป แล้วเทียบกับห้อง ก็ยังเทียบไม่ถูก  
ดูรูปทางขวา
ถ้าหากว่าตั้งสมมุติฐานว่าห้องนี้คือห้อง 10  และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่ต่อมาเป็นหน้าชั้นเรียน  (คือตรงพื้นที่อาจารย์ยืนสอนนิสิต)    ห้องนี้ก็จะเป็นห้อง 10 ไปไม่ได้  เพราะส่วนที่เป็นด้านนอกอาคารต้องอยู่ทางขวาของพระองค์ท่าน  ไม่ใช่ทางซ้าย
แต่ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่เป็นท้ายห้องในปัจจุบัน  หรือตรงหลังชั้นเรียน   ห้องนี้ก็เป็นห้อง 10 ได้  เพราะด้านนอกของอาคารจะอยู่ทางเบื้องซ้าย

เอาใหม่นะคะ
ทีนี้กลับมาดูแสงที่ส่องเข้ามาในห้อง   ถ้าหากว่ารูปนี้ถ่ายตอนเช้าหรือสาย   แสงแดดจะต้องส่องเข้ามาทางทิศตะวันออก   ห้องนี้ก็ต้องเป็นห้องทางด้านถนนอังรีดูนังต์  ไม่ใช่ห้อง 10 ทางด้านหอประชุม

แต่ถ้าการวางศิลาฤกษ์เริ่มในตอนบ่าย    แดดส่องมาทางทิศตะวันตก    ห้องนี้ก็คือห้อง 10  ซึ่งหันด้านข้างไปทางหอประชุมจุฬา

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่แม่นอีกนั่นแหละค่ะ    เพราะดูจากภาพซ้าย ตึกเพิ่งจะก่อสร้างเพียงห้องเดียวเท่านั้น    แดดอาจส่องเข้ามาได้ทั้งเช้าและบ่ายในห้องเดียว

เปรียบเทียบกับภาพที่ผมนำมาเสนอในความเห็นที่ ๓๔๑๘

ภาพแนวต้นไม้จะอยู่ในทิศตะัวันออกด้านถนนอังรีดูนังค์และทิศใต้ด้านตึกคณะวิศกรรมศาสตร์ อาจารย์ลองสังเกตแนวต้นไม้ในภาพที่อาจารย์นำมาแสดงสิครับ

เหตุการณ์ในภาพซ้ายและภาพขวา เหตุการณ์ใดควรจะเกิดขึ้นก่อนและหลัง?

แก้ไขเพิ่มเติม - เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๕๘
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 21:46

อ้างถึง
ภาพที่ทรงฉายตามที่เวปกาญจนาภิเษกอ้างถึง อาจจะเป็นภาพนี้ครับ

ขออนุญาตเพิ่มแสงหน่อย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 22:50

อ้างถึง
ภาพแนวต้นไม้จะอยู่ในทิศตะัวันออกด้านถนนอังรีดูนังค์และทิศใต้ด้านตึกคณะวิศกรรมศาสตร์ อาจารย์ลองสังเกตแนวต้นไม้ในภาพที่อาจารย์นำมาแสดงสิครับ
ถ้าไม่มีต้นไม้ทางทิศตะวันตก    มีแต่ทางทิศตะวันออก    ห้องนี้ก็ต้องอยู่ตรงกันห้อง 105 ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 22:57

ตอบคุณ visitna
เข้าใจมาตลอดว่าเป็นห้อง 10 ชั้นล่างทางทิศตะวันตกของตึกเทวาลัยหรือคณะอักษรศาสตร์ค่ะ   เคยอ่านพบในหนังสือคณะเช่นนั้น   ลักษณะห้องก็เหมือนกันคือมีประตูยาวเป็นช่วงๆทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นหน้าต่าง    
แต่พออ่านที่คุณ V_Mee เล่า ก็นึกได้ว่าทางปีกด้านตะวันออกของตึก ห้องก็มีลักษณะแบบเดียวกันเช่นกัน  

ดูรูปข้างล่างนี้ทั้งสองรูป แล้วเทียบกับห้อง ก็ยังเทียบไม่ถูก  
ดูรูปทางขวา
ถ้าหากว่าตั้งสมมุติฐานว่าห้องนี้คือห้อง 10  และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่ต่อมาเป็นหน้าชั้นเรียน  (คือตรงพื้นที่อาจารย์ยืนสอนนิสิต)    ห้องนี้ก็จะเป็นห้อง 10 ไปไม่ได้  เพราะส่วนที่เป็นด้านนอกอาคารต้องอยู่ทางขวาของพระองค์ท่าน  ไม่ใช่ทางซ้าย
แต่ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่เป็นท้ายห้องในปัจจุบัน  หรือตรงหลังชั้นเรียน   ห้องนี้ก็เป็นห้อง 10 ได้  เพราะด้านนอกของอาคารจะอยู่ทางเบื้องซ้าย

เอาใหม่นะคะ
ทีนี้กลับมาดูแสงที่ส่องเข้ามาในห้อง   ถ้าหากว่ารูปนี้ถ่ายตอนเช้าหรือสาย   แสงแดดจะต้องส่องเข้ามาทางทิศตะวันออก   ห้องนี้ก็ต้องเป็นห้องทางด้านถนนอังรีดูนังต์  ไม่ใช่ห้อง 10 ทางด้านหอประชุม

แต่ถ้าการวางศิลาฤกษ์เริ่มในตอนบ่าย    แดดส่องมาทางทิศตะวันตก    ห้องนี้ก็คือห้อง 10  ซึ่งหันด้านข้างไปทางหอประชุมจุฬา

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่แม่นอีกนั่นแหละค่ะ    เพราะดูจากภาพซ้าย ตึกเพิ่งจะก่อสร้างเพียงห้องเดียวเท่านั้น    แดดอาจส่องเข้ามาได้ทั้งเช้าและบ่ายในห้องเดียว

คัดลอกจากวิกิไทย ประวัติคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรือที่เรียกติดปากว่า "เทวาลัย" เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ให้เป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ออกแบบโดย ดร. คาร์ล โดริง (Dr. Karl Dohring) นายช่างชาวเยอรมัน ซึ่งรับราชการในกระทรวงมหาดไทย และนายเอดเวิร์ด ฮีลีย์ (Mr. Edward Healey) นายช่างชาวอังกฤษ ซึ่งรับราชการในกระทรวงธรรมการ โดยนำศิลปะไทยโบราณที่สุโขทัยและสวรรคโลกมาคิดปรับปรุงขึ้นเป็นแบบของอาคาร

ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่กำลังก่อสร้างเพื่อทรงวางศิลาพระฤกษ์ หลังจากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

อาคารดังกล่าวใช้เป็นสำนักงานบริหารและเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า "ตึกบัญชาการ" ต่อมาอาคารดังกล่าวก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ตึกอักษรศาสตร์ 1" และ "อาคารมหาจุฬาลงกรณ์" โดยลำดับ

http://203.172.205.25/ftp/intranet/ChulalongkornUniversityHistory/history/dist/stone_th.htm

จากเวลาที่ทรงประกอบพิธีในเวปที่อ้างถึง คือ ๑๖.๐๗ น. และจากทิศทางของแสง ในเดือนมกราคม พระอาทิตย์จะเบนไปทางทิศตะัวันตกเฉียงใต้

ตำแหน่งของหลุมศิลาฤกษ์น่าจะอยู่ทางทิศใต้ของอาคาร ... ผมสันนิษฐานอย่างนี้นะครับ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 05:08

ตำแหน่งของหลุมศิลาฤกษ์น่าจะอยู่ทางทิศใต้ของอาคาร ... ผมสันนิษฐานอย่างนี้นะครับ


ขอแก้ไขเป็นทิศตะัวันออกเฉียงใต้ของอาคารครับ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 06:47


ในภาพ 3430  จะเห็นเสาใหญ่ที่สุด  ซึ่งเป็นเสาสุดท้าย
คงจะวางตรงแนวนอกสุดหรือใกล้แถวผนังอาคาร


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 08:19

จากภาพเขียนที่คุณพี่ visitna นำมาประกอบเรื่อง ความเห็นของผมคือ ตรงห้องที่อยู่ตรงบันไดขึ้นตึกนั่นแหละครับ

จะเป็นห้องเลขที่เท่าไร ต้องให้อาจารย์ฯ ท่านบอกให้ทราบ

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 08:38

ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลจากคุณวิกี้ที่คุฯลุงไก้อ้างถึงว่า ผู้ที่ออกแบบตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ คาร์ล ดอร์ริง และเอดเวิร์ด ฮีลี่นั้น
ที่ถูกคือ ดอร์ริงเสนอราคามาสูงมาก  สภากรรมการจึงเลือกแบบของฮีลี่  และผู้ที่ออกแบบลวดลายไทยที่ไม่มีใครพูดถึงน่าจะเป็น พระสมิทธเลขา (ปลั่ง  วิภาตะศิลปิน)
ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาจินดารังสรรค์ สองท่านนี้เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างหอสวดและหอนอนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ซึ่งสร้างขึ้น
พร้อมๆ กัน  วางศิลาพระฤกษ์ในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา ๑ มกราคม ๒๔๕๘ เหมือนกัน

นอกจากตำแหน่งที่เสด็จฯ วางศิลาพระฤกษ์แล้ว  ใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่านได้โปรดสังเกตที่หน้าบันของอาคารนี้ที่เป็นงานปูนปั้นชั้นครู  มุขกลางของอาคารทำเป็นมุขลด 
มุขหน้าเป็นลายปูนปั้นรูปพระเกี้ยวหรือตราแผ่นดิน(จำไม่ได้) มีความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดการอุดมศึกษาไทย
หน้าบันอีก ๖ หน้าบัน ล้วนเป็นรูปพระครุฑพ่าห์  ที่รัดอกประดับด้วยตราจักรกับตรี  มีลายกนกหัวนาคขนาบ ๒ ข้างๆ ละ ๓ ตัว  ซึ่งพอจะอธิบายความได้ว่า
มุขทั้ง ๖ นั้น หมายถึงอาคารนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๖
พระครุฑพ่าห์มีตราจักรกับตรีประดับที่อก  หมายถึงพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรีทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งสถาบันการศึกษานี้
ลายกนกก้านขดหัวพญานาค ๒ ข้างๆ ละ ๓ ตัว  ตรงกับ "๓รอบ มโรงนักษัตร"  และกนกก้านขดในแต่ละหน้าบันนับรวมกันได้ ๖ ตัว  รวม ๖ หน้าบัน
เท่ากับ ๓๖ ตัว  จึงมีความหมายว่าอาคารนี้สร้างขึ้นในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา ๓ รอบใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครบ ๓ รอบ
ในวันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๕๙  และเมื่อมีนักเรียนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ๒๔๕๙  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน
โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร.ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นพระบรมราชานุสรณ์ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในวโรกาสทรงเจริญ
พระชนมายุครบ ๓ รอบมโรงนักษัตร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 09:18

ตึกมหาจุฬาลงกรณ์หรือตึกอักษรศาสตร์  มีตึกแฝดที่สร้างขึ้นภายหลังอยู่ตรงกันข้าม  มีระเบียงยาวเชื่อมตึกทั้งสองเข้าด้วยกัน    ตึกแฝดเมื่อก่อนเรียกว่าตึกหอสมุด   ชั้นสองเป็นห้องสมุดที่คุณ visitna เคยขึ้นไปอ่านหนังสือ     แม้ว่าโครงสร้างอาคารทำแบบเดียวกัน  แต่ตึกอักษรศาสตร์มีรายละเอียดที่ประณีตงดงามกว่าก็ตรงหน้าบันที่มีลวดลายสัญลักษณ์ อย่างที่คุณ V_Mee รวบรวมมาให้อ่านกันนี่ละค่ะ

ส่วนคำถามของคุณลุงไก่ทำให้ดิฉันงงหนักเข้าไปอีก    ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าศิลาฤกษ์ไม่ได้อยู่ในห้องทางทิศตะวันออกด้านถนนอังรี ดูนังต์ อย่างที่คุณสถาปนิกสัญชัย หมายมั่นคำนวณมา  แล้วคุณ V_Mee นำมาถ่ายทอดให้อ่านกันอีกที
แต่อยู่ในห้องหมายเลข 10 ทางทิศตะวันตกด้านหอประชุมจุฬา  อย่างที่ดิฉันอ่านพบในหนังสือคณะมา

ถ้าแนวต้นไม้ในภาพที่คุณลุงไก่เอ่ยถึง อยู่ในทิศตะวันออกด้านถนนอังรีดูนังค์และทิศใต้ด้านตึกคณะวิศกรรมศาสตร์     ห้องนี้ก็ต้องอยู่ทางทิศตะวันออก คือห้อง 105 ในปัจจุบัน    เพราะถ้าเป็นห้อง 10 ทางทิศตะวันตก จะไม่สามารถมองเห็นแนวต้นไม้ทางถนนอังรี ดูนังต์ใกล้ๆขนาดนั้นได้  เพราะมันไกลกันมาก
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 09:29

เรียนอาจารย์ฯ ครับ

ตามที่ผมอธิบายหมายถึงอาคารด้านตะวันออก ด้านถนนอังรีดูนังค์ครับ

ด้านเฉียงใต้ หมายถึงมุมอาคารด้านที่หันไปทางด้านโรงอาหารของคณะวิศวฯ ครับ

ลุงเทียมมี่แกจะจอดรถเข็นขายผลไม้สดและดองตรงมุมตึกนี้ประจำ ก่อนที่จะเข็นต่อเข้าไปทางโรงอาหารของคณะอักษรฯ ด้านตึก ๔ น่ะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง