เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 26264 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 18:55

ผมของเจ้าจอม..จำไม่ได้ว่าเจ้าจอมเอิบหรือเจ้าจอมอาบ (แต่ไม่ใช่เจ้าจอมแอบแน่ๆค่ะ ยิ้มเท่ห์) เป็นทรงผมที่พัฒนามาจากผมทรงดอกกระทุ่มข้างล่างนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 18:57

ทรงผมเจ้าจอมม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ เป็นทรงที่พัฒนาจากทรงดอกกระทุ่ม คือด้านหลังยังตัดสั้นแค่ต้นคอ    ปล่อยผมด้านบนให้ยาว แล้วหวีเสยเรียบด้วยขี้ผึ้ง ใช้เหมือนเจลแต่งผมในปัจจุบัน     
ถ้าผมใครไม่หนาพอก็ใช้ช้องหรือหมอนเล็กๆหนุนข้างใต้ผมอีกที


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:12

เอารูปเก่ามาลงบ้าง 

รถไฟยุคแรกของไทย
ไม่ทราบว่าสถานีรถไฟในรูปคือที่ไหนค่ะ    ขอเวลาถูตะเกียงวิเศษก่อน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:24

พอถึง ร๕ ภาพเจ้าจอมแอบ เจ้าจอม ก๊กออ ทรงผมไปอีกแบบ

เจ้าจอมก๊กออ มีแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน  ไม่มีเจ้าจอมแอบ  ยิ้มเท่ห์

ภาพนี้ฝรั่งบรรยายว่า Lady Aab Bunnag in the kitchen of Ruen Ton residence at Dusit.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:26

สถานีรถไฟบางกอกน้อยหรือชื่อเดิมสถานีรถไฟธนบุรีครับ

สร้างก่อนสถานีรถไฟหัวลำโพงหรือชื่อเดิมสถานีรถไฟกรุงเทพตั้งสิบปี

สถานีรภไฟหัวลำโพงแต่เดิมเป็นชื่อของสถานีรถไฟสายปากน้ำ

หมายเหตุ - เปรียบเทียบกับภาพสถานีรถไฟธนบุรีในหนังสือเกิดวังปารุสก์
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:39

พอถึง ร๕ ภาพเจ้าจอมแอบ เจ้าจอม ก๊กออ ทรงผมไปอีกแบบ

เจ้าจอมก๊กออ มีแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน  ไม่มีเจ้าจอมแอบ  ยิ้มเท่ห์

ภาพนี้ฝรั่งบรรยายว่า Lady Aab Bunnag in the kitchen of Ruen Ton residence at Dusit.

 ยิงฟันยิ้ม


ขออภัยอย่างยิ่ง อ่านมาจากภาษาอังกฤษแบบคุณเพ็ญชมพูว่า ไม่ทันพิจารณาให้รอบคอบ
ดีครับยังไงความผิดพลาด    ก็ไม่ผ่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายอยู่แล้ว   รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:43

ค้นภาพมาถาม ... ถามภาพไหนๆ  ... อาลาดินหนุ่มสยามตอบได้หมด ...

เฮ้อ ...

งั้น .. ถามภาพนี้บ้าง



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:54

สถานีนี้เห็นภาพบ่อย ไม่รู้เหมือนกันว่าที่ไหน
สำหรับลุงไก่เคยวิ่งแถวนี้สมัยเป็นเด็ก คงจะจำได้

ชอบดูภาพเก่า ดูรู้บ้างไม่รู้บ้าง
การ identify เป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกัน ต้องมีประสบการณ์ รู้เห็นมาก
ตอนนี้กำลังอยู่ในระยะ training หลักสูตร น่าจะประมาณเกิน ๑๐ ปี  ยิงฟันยิ้ม

ได้ครูดีที่นี้หลายคน เช่นคุณหนุ่ม คุณนวรัตน์ ลุงไก่ คุณเพ็ญชมพู อาจารย์เทาชมพู ฯลฯ
ปักหลักเรียนที่โรงเรียนนี้
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 20:19

ถ้าใครบอกว่า     ไม่รู้ที่ไหน   ผมไม่เชื่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 20:23

^


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 20:32

สำหรับภาพที่อาจารย์เทาชมพูนำมาประกอบภาพของคุณ visitna นั้น ครั้งแรกผมก็เชื่อตามที่เขาเขียนอธิบาย
แต่เมื่อพิจารณาบรรยากาศและสถานที่โดยรอบแล้ว ชักไม่มั่นใจว่าจะเป็นที่เดียวกัน หากพิจารณาเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศที่เห็นกันบ่อยๆ

ผมมีความเห็นว่าภาพของอาจารย์ฯ ไม่ใช่ที่สะพานพระรามหกครับ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ทราบเช่นกันว่าเป็นที่ไหน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 20:40

ได้มาจากเว็บกาญจนาภิเษกค่ะ คุณลุงไก่
http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/art/lab3/pt054_01.html

มีคำบรรยายว่า
                                                                สะพานพระรามที่ ๖
    เป็นภาพประวัติศาสตร์ของเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เลิกใหม่ ๆ ทรงฉายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2489 ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินผ่านสะพานพระรามหกที่ชำรุดเพราะถูกระเบิดทำลาย
    เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานพระรามที่ 6 ได้ถูกระเบิดทำลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ พอสงครามสงบ รัฐบาลจึงดำเนินการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน โดยจัดสร้างทางเบี่ยงขนานกับแนวสะพานเดิม เพื่อให้ยวดยานผ่านไปมา ซึ่งพอจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลงได้บ้าง
    5 มีนาคม 2489 เสด็จพระราชดำเนินผ่านไปบนสะพานเบี่ยง พอได้ทอดพระเนตรเห็นซากสะพานจึงทรงบนทึกไว้ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ที่ทรงไว้นี้ กลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะต่ไปเมื่อสะพานซ่อมสร้างเรียบร้อยแล้ว หากมีใครอยากรู้ว่าสะพานพระรามที่ 6 เมื่อครั้งถูกทำลาย มีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะดูได้จากภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ภาพนี้
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 20:56

ภาพของอาจารย์เทาชมพู ใช้ SmillaEnlarger ขยาย
โปรแกรมนี้ฟรี มีโปรแกรมที่เสียเงิน 160 เหรียญน่าจะคมชัดกว่านี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 21:03

เปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศของ William Hunt

สภาพของสะพานพระรามหกก่อนการซ่อมแซม เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างเหล็กตัวสะพานว่าไม่เหมือนกัน

ลักษณะภูมิทัศน์ในภาพก็แตกต่างกัน

จะลองค้นดูใน รจ หน้าข่าวในพระราชสำนักว่าในวันดังกล่าว มีกำหนดการเสด็จฯ ที่ใดบ้าง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 21:05

ดิฉันใช้ ACDSee ปรับรูปของคุณ visitna ให้สว่างขึ้นนิดหน่อย  ค่ะ  เผื่อคุณลุงไก่อาจเห็นจุดสังเกตมากกว่านี้ พอจะเล่าสู่กันฟังได้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง