เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 42147 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 8
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 07:39

^
หอน้ำที่เห็น เป็นหอเติมอากาศให้น้ำ(Aeration Tower)สำหรับสูบน้ำบาดาลที่ขึ้นมาจากใต้ดินสดๆ ไปฉีดพ่นเป็นฝอยคลุกเคล้ากับอากาศเพื่อละลายออกซิเจนไปไว้ในตัว ซึ่งจะทำให้น้ำตกตะกอนสนิมแดงออกมา สามารถกรองเอาแต่น้ำสะอาดไปใช้ต่อไป

น้ำที่ตกลงมาจากหอเติมอากาศจึงต้องถูกนำไปพักในถังเก็บใหญ่ๆที่ตั้งไว้บนดินสักระยะหนึ่ง เพื่อรอให้น้ำตกตะกอน จึงเป็นไปได้อย่างมากตามที่ลุงไก่สันนิฐาน พื้นที่ด้านล่างบริเวณหอที่เห็น คงมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่เต็มสนาม และเป็นที่มาของชื่อที่เรียก
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 08:48

มาสนับสนุนความเก็นคุณลุงไก่ครับ
คำว่า "สนาม" ในสมัยก่อนนั้นเป็นสนามจริงๆ  เช่นสนามสถิตยุติธรรม คือ สนามที่หน้าศาลสถิตยุติธรรม
สนามไชย คือ สนามที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสูรย์ปราสาท  ฉะนั้นสนามน้ำจืดจึงน่าจะเป็นสนามกว้างที่มี
หอสูบน้ำบาดาลตั้งอยู่  มิใช่สระน้ำแน่นอนครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 09:21

ช่วยพิจารณาภาพวังบูรพายุคโก๋หลังวังด้วยครับ ว่าตรงที่ผมทำศรชี้ไว้ จะใช่ Aeration Tower หรือไม่

โก๋ตึกยาวปากคลองตลาดอย่างผม ไม่ทันได้สังเกตว่ายังมีอยู่หรือไม่ แต่ยังโชคดีที่ยังได้ทันเห็นตึกห้างรัตนมาลาตรงหัวมุมสี่แยกพาหุรัด



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 18:02

ข้ามไปเรื่องรถจอมพล ป.อีกที

อ่านเรื่องสามเกลอ พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต
เสี่ยกิมหงวน ใช้รถ แคดิลแลค กับ รถบูอิค แสดงว่าสองยี่ห้อนี้หรูจริง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 12:12

ขอต่อเรื่อง "สนามน้ำจืด" ต่อไปอีกสักนิด
จากเรื่อง "การจัดกิจการตำรวจกรมกองตระเวณในรัชกาลที่ ๕" ในหนังสือ "พระมหากษัตริย์กับประวัติศาสตร์ตำรวจสยาม" รวบรวมโดย ประยุทธ สิทธิพันธ์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ กล่าวถึงการจัดการคนตระเวณในเขตพระนคร ตอนหนึ่งว่า
"ถนนบ้านญวณ วางที่ศาลาบ่อน้ำ ยามละ ๒ คน สามผลัดเป็น ๖ คน
ถนนบ้านญวณ วางที่คูวัดราชบูรณะ ยามละ ๔ คน สามผลัดเป็น ๑๒ คน
ถนนบ้านญวณ วางที่เชิงสะพานศีรษะจรเข้ฟากตะวันออก ยามละ ๒ คน รวมสามผลัดเป็น ๖ คน"

ถนนบ้านญวณอยู่ที่ไหน
จากเวปวารสารเมืองโบราณ ตอน "จากพาหุรัดถึงตลาดมิ่งเมือง" โดยคุณปราณี กล่ำส้ม อธิบายไว้ว่า
" ... ส่วนบ้านหม้อที่อยู่ใกล้เคียงกันเป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ.๒๔๔๑ เกิดไฟไหม้ใหญ่ที่บ้านญวนติดๆ กันถึงสองครั้ง ทำให้มีที่ว่าง จึงมีการตัดถนนสายใหม่จากตำบลบ้านลาวไปถึงสะพานหัน (ระหว่างถนนมหาชัยกับถนนเฟื่องนคร) ขึ้น

พลตรี พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เล่าไว้ในเรื่อง “พระมหานครกรุงเทพฯ ในความทรงจำของคนอายุเจ็ดสิบ” ว่า “…ภายหลังเพลิงไหม้บ้านญวนตำบลบ้านหม้อติดๆ กัน ทั้งมีพื้นที่ติดต่อกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดถนนพาหุรัด ซึ่งเป็นถนนแรกที่กว้างที่สุด คือกว้างตั้ง ๑๐ ม. ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านผู้ใหญ่มากคนบ่นว่าถนนกว้างถึงเพียงนี้จะเอารถเอาคนที่ไหนมาเดิน….”

อ้างถึง - http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=44

ผมก็มาติดใจสถานที่ "ศาลาบ่อน้ำ ถนนบ้านญวณ"
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 12:28

(ต่อ)
ในเวปของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้กล่าวถึงประวัติการขุดเจาะน้ำบาดาลในกรุงเทพไว้ว่า

"การเจาะบ่อน้ำบาดาลระดับลึกในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2450 โดนนายเส็งยัง แซ่อาว เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด อาวย่งซุนฮวด ได้เจาะบ่อน้ำบาดาลโดยใช้ไม้ไผ่ ต้นแบบของเครื่องเจาะไม้ไผ่มากจากประเทศจีน โดยเจาะบ่อบาดาลบ่อแรกที่โรงพยาบาลเทียบหัวย่านเยาวราช กรุงเทพฯ ใกล้โรงภาพยนตร์นิวโอเดียนในอดีต ความลึกประมาณ 120 เมตร ได้น้ำบาดาลพอที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ บริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการน้ำบาดาลแห่งแรกของประเทศไทยคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อาวย่งซุนวด โดยรับจ้างเจาะบ่อบาดาลด้วย เครื่องเจาะแบบไม้ไผ่ตลอดมาจนถึงปลายปี พ.ศ.2510 ได้ทำการเจาะบ่อบาดาลไม้ไผ่เป็นเครื่องสุดท้ายที่บริเวณที่ดินจัดสรรใกล้โรงแรมรินคำ จังหวัดเชียงใหม่ และได้เลิกใช้เครื่องเจาะประเภทนี้ตั้งแต่นั้นมา"

"ประมาณ ปี พ.ศ. 2480 มีการสั่งหัวตอกจากต่างประเทศเข้ามาทำบ่อตอกน้ำบาดาลในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง การทำบ่อตอกส่วนใหญ่ทำในบริเวณที่มีน้ำบาดาลระดับตื้น ประเภท กรวด ทราย ตามหัวเมืองภาคต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน กาญจนบุรี ราชบุรีและสงขลา ซึ่งมีชั้นน้ำบาดาลอยู่ลึกระหว่าง 15-20 เมตร ตามบริเวณทางน้ำเก่า หรือบริเวณใกล้ทางน้ำสายปัจจุบัน"
 
"ประมาณ ปี พ.ศ. 2490 บริษัท บางกอกวอเตอร์เวอร์ค จำกัด ได้สั่งซื้อเครื่องเจาะแบบ Reverse rotary จากประเทศอังกฤษ เพื่อเจาะบ่อบาดาลในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นการเจาะบ่อบาดาลเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 8 นิ้ว เพื่อสูบน้ำทำประปาให้แก่การประปานครหลวงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้มีการเจาะบ่อบาดาลในกรุงเทพฯ อย่างกว้างขวาง มีบริษัทรับจ้างเจาะบ่อบาดาล และขายเครื่องสูบน้ำบ่อลึก ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง บางบริษัทสามารถสร้างเครื่องเจาะได้เอง โดยเหตุที่เครื่องเจาะชนิดนี้สามารถใช้เจาะได้ในชั้นน้ำบาดาลประเภทกรวด ทรายเท่านั้น การเจาะบ่อจึงดำเนินการอยู่ในเฉพาะในเขตกรุงเทพนฯ และบริเวณใกล้เคียง"

อ้างถึง - http://www.dgr.go.th/inside/inside2_page2.htm

ความสงสัยของผมคือ บ่อน้ำที่ "สนามน้ำจืด" น่าจะมีมาก่อนการก่อสร้างโรงภาพยนต์เฉลิมกรุงและพัฒนาตลาดมิ่งเมือง แต่สมัยการตัดถนนพาหุรัด โดยแหล่งน้ำเดิมน่าจะเป็นการขุดบ่อในระดับตื้น เพื่อนำ "น้ำผิวดิน" ขึ้นมาใช้ (ก็คงเป็นอย่างเดียวกับการขุดบ่อน้ำในชนบท ที่ขุดลงไปประมาณ ๑๐ เมตร แล้ววางบ่อซีเมนต์ลงไป ตักน้ำขึ้นมาโดยใช้ "กระแป๋ง" ผูกเชือกยาวๆ จากปากบ่อ) ในสมัยแรกคงยังไม่มีหอเติมอากาศ (Aeration Tower) ซึ่งคงมาสร้างในสมัยการก่อสร้างตลาดมิ่งเมือง




บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 16:28

รูปเฉลิมกรุงคนถ่ายเอียงไปด้านหนึ่ง
ผมต้องขอแก้ไข


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 16:31

อย่างรูปพระพุทธบาทของ Burger ผมว่าแกถ่ายเอียง
จะเป็นความตั้งใจ(ด้วยเหตุผลใดๆ) ดูแล้วไม่สวย


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 16:38

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมครับว่า แนวกำแพงของวังบูรพาภิรมย์ ถ้าเทียบกับปัจจุบันคือบริเวณตรงไหนบ้างครับ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 16:46

แก้นิดหนึง รูปนี้ประกาศขาย ใบละ 180 ยูเอสดอลล่า


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 10:54

อาจารย์เทาชมพูครับ
เรื่องรถของพนมเทียนผมไม่แน่ใจ      เพียงแต่เคยอ่านผ่านๆ
แต่มั่นใจว่ามีเรื่องขอรถแน่นอน ในหนังสือเล่มไหนผมลืมไปแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 14:23

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมครับว่า แนวกำแพงของวังบูรพาภิรมย์ ถ้าเทียบกับปัจจุบันคือบริเวณตรงไหนบ้างครับ



นำแผนที่ประกอบ พร้อมภาพถ่ายทางอากาศ เปรียบเทียบวังบูรพา แนวป้อม และแนวกำแพงเมือง

แนวกำแพงเมืองบริเวณหน้าวังบูรพา ควรดูจากแนวรถรางเก่าซึ่งวางเลียบขนานแนวกำแพงเมืองครับ  ดังนั้นในปัจจุบันกำแพงเมืองควรเป็นแนวฟุตบาธคงจะได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 16:18

ลักษณะและขนาดของอิฐที่ขุดได้ในแนวใต้ทางเท้าถนนมหาไชยใกล้ตำแหน่งประตูสามยอด

จึงเรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณาว่าแนวกำแพงเมืองควรจะอยู่ที่ใด



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 16:26

และจากภาพนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
แนวรถรางด้านขวาคือสายรถรางจากถนนเยาวราช
แนวรถรางด้านซ้ายคือสายรถรางเลียบเมืองจากผ่านฟ้า



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 07:48


คำว่า "สนาม" ในสมัยก่อนนั้นเป็นสนามจริงๆ  เช่นสนามสถิตยุติธรรม คือ สนามที่หน้าศาลสถิตยุติธรรม
สนามไชย คือ สนามที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสูรย์ปราสาท  ฉะนั้นสนามน้ำจืดจึงน่าจะเป็นสนามกว้างที่มี
หอสูบน้ำบาดาลตั้งอยู่  มิใช่สระน้ำแน่นอนครับ


เพิ่มเติม - จากหนังสือพระราชกรณยกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๖ โดย จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช)

... แถวโรงหนังเฉลิมกรุงนั้นแต่ก่อนยังมิได้สร้าง ด้านหลังเคยเป็นสนามโล่งเตียน เป็นที่เช่าตั้งกระโจมแสดงละครสัตว์ เรียกว่าสนามน้ำจืด พอเขาพากันเดินเหนื่อยก็แวะเข้าดื่มน้ำกันตามตุ่มน้ำที่ชาวบ้านมักจะตั้งไว้ตามหน้าบ้าน เพื่อให้คนเดินทางได้อาศัยดื่มแก้กระหาย ...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง